project สิ่งแวดล้อม

แลกป่าเมืองน่าน

ขอคืนผืนป่ากลับมาฟื้นฟูด้วยการสร้างอาชีพทางเลือกให้เกษตรกรเลิกปลูกข้าวโพด พร้อมสร้างความร่วมมือของชุมชนให้มีกติการ่วมกันดูแลป่าไม่ให้ถูกทำลายอีก

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ น่าน

ยอดบริจาคขณะนี้

184,935 บาท

เป้าหมาย

314,710 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 59%
จำนวนผู้บริจาค 103

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ผลการทำงานแลกป่าเมืองน่าน

20 เมษายน 2018

นาแลกป่า เป็นหนึ่งในความเพียรพยายามในการฟื้นฟูป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยเน้นกระบวนการและแนวคิดในการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีในบริบทของชุมชนดั้งเดิม นำกลับมารื้อฟื้น และยกระดับความคิดของประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย “การคืนฝืนป่า” และการสร้างสร้างทางเลือกด้านอาชีพ ด้านความมั่นคงสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่

พื้นที่นำร่องอยู่ใน ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง  จังหวัดน่าน  ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 5,994 คน หรือ 2,024 ครัวเรือน เป็นชุมชนที่มีพร้อม ทั้งในแง่ของ ผู้นำชุมชน ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นพื้นที่ ที่มีลักษณะทางภูมิกายภาพที่ติดกับแม่น้ำน่าน

สาเหตุสำคัญคือการขยายพื้นที่ทำการเกษตรจากประชากรที่เพิ่มขึ้นและความต้องการรายได้เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายและหนี้สินของครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น และตำบลเมืองจังเองก็เป็นหนึ่งในหลายพื้นที่ที่เผชิญกับสถานการณ์การลดลงของพื้นที่ป่า จากปี พ.ศ. 2530 มีพื้นที่ป่า 29,485.24 ไร่ ปี พ.ศ.2556 มีพื้นที่ป่าเหลือเพียง 17,974.52 ไร่

จากวิกฤต “โครงการนาแลกป่า”มองว่าต้นเหตุปัญหาคือการขาดพื้นที่ในการปลูกข้าว จึงเป็นที่มาของโครงการนาแลกป่า เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มีพื้นที่นาในการเพาะปลูกข้าวตามฤดูกาล

ที่ผ่านมาปี 2559 - 2560 ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนโครงการนี้ มีจำนวนหมู่บ้านที่เราดำเนินการในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ได้แก่

1.บ้านหาดเค็ด หมู่ 1

2.บ้านเมืองจังเหนือ หมู่ 5

3.บ้านสบยาว หมู่ 7

4.บ้านใหม่สามัคคี หมู่ 9

5.บ้านเมืองจังใต้ หมู่ 2

6.บ้านหาดผาขน หมู่ 3

7.บ้านเมืองหลวง หมู่ 4

8.บ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8

เป้าหมายในการดำเนินการครั้งนี้ภายใต้กรอบแนวคิด “น้ำแลกป่า” ซึ่งการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำได้ยึดหลักการตามแนวพระราชดำริที่ว่า “...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้นสำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ...” ดังนั้น สิ่งสำคัญในลำดับแรก คือ การฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ตามแนวพระราชดำริ ทฤษฏีการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยและสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดย“น้ำแลกป่า” ได้นำร่อง 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเมืองหลวง หมู่ 4 และบ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8 หากสามารถดำเนินการตามเป้าหมายตั้งไว้ จะทำให้เกิดนิเวศใหญ่ของการประกอบอาชีพทางเกษตรกร ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเมืองจังได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นที่ที่เป็นระบบน้ำเพื่อการเกษตร จำนวนถึง 367 ครัวเรือน ประมาณการที่ 7,240 ไร่ ดังแผนภาพต่อไปนี้

หลังจากการดำเนินการจนได้ระบบน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการภายใต้ระบบน้ำดังกล่าวยินดีที่จะคืนพื้นที่ทำกินบางส่วนให้สามารถปลูกกลับคืนเป็นพื้นที่ป่าสูงๆ ได้ ซึ่งในพื้นที่ บ้านเมืองหลวง ประมาณการพื้นที่ได้รับคืนเป็นป่า จำนวน 109 ไร่ และในพื้นที่ บ้านราษฏรสามัคคี ประมาณการพื้นที่ได้รับคืนเป็นป่า จำนวน 153 ไร่ ทั้งนี้อยู่ในกระบวนการของการเจรจาระหว่างผู้นำชุมชนกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพราะกลุ่มเกษตรกรบางรายยังไม่เชื่อมั่นในกระบวนการที่จะสามารถสร้างระบบน้ำในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ภูเขา พื้นที่ที่ราบสูงได้ จึงไม่กล้าที่จะแลกเปลี่ยนผลต่างตอบแทนใดๆ แต่กระนั้นเกษตรกรบางรายก็ยินดีที่จะลดพื้นที่ทำกินของตนเองลง เมื่อมีระบบน้ำที่ดีได้ และสร้างมาเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี

                        บ้านเมืองหลวง หมู่ 4                                                                                 บ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8 


ในเบื้องต้นเนื่องจากพื้นที่ที่เราจะเข้าไปดำเนินการเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่น้ำน่าน ฝั่งตะวันออกตอนใต้ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการขออนุญาตุในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ ส่งผลให้การดำเนินการมีความล่าช้าใน ณ เวลาขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันมีการอนุญาตุให้ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวได้ เป็นพื้นที่สำหรับการขุดและวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร เป็นพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 5-2-322 ไร่ เพื่อดำเนินการก่อสร้างตามเป้าหมาย ได้แก่

1. ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขนาด 10x12 เมตร จำนวน 2 ตัว

2. ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำขนาด นิ้ว ระยะทางประมาณ 8,200 เมตร

3. ก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 20 x 10 เมตร ขนาดความจุ 800 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง

4. ก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 4 x 2 เมตร ขนาดความจุ 50 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 11 ถัง

ทั้งนี้ในการดำเนินการที่แล้วเสร็จไปเบื้องต้น เป็นการดำเนินการใน ระยะแรก คือ กระบวนการทำถังพักน้ำ ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 2 หมู่บ้าน (ตามข้อ 3 และข้อ 4)

ภาพการดำเนินการ

สำรวจแปลงเกษตรโดยใช้ GPS

สำรวจพื้นที่ทำถังพัก

เริ่มขุดถังพัก

ติดตั้งฐานถังพักป้องกันน้ำรั่ว

น้ำในนี้จะแลกป่าน่าน

ขอบคุณทุกแรงสนับสนุนในการแลกป่าให้คืนสู่ประเทศไทย

รายงานการใช้เงินงบประมาณ ภายใต้โครงการครั้งนี้

1. กระบวนการจำแนกพื้นที่ทำกิน พื้นที่เขตป่าสงวน ด้วยระบบข้อมูลด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้มีความชัดเจน เชื่อถือได้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยมีการออกจับพิกัดรายแปลงของพื้นที่ทำกินของเกษตรกรในพื้นที่หมู่ 4 และ หมู่ 8 จำนวน 367 แปลง เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

2. กระบวนการขุดสระ พร้อมปรับพื้นที่หน้าดิน เพื่อก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 20 x 10 เมตร ขนาดความจุ 800 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง เป็นจำนวนเงิน 130,000 บาท

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

ระหว่างการถกเถียง หาทางออกของปัญหาการสูญเสียพื้นที่ป่า ในจ.น่าน 

เรามีทางออกเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน เราอยากให้ทุนคนลองจินตนาการตามว่าวันหนึ่งเกษตรกรที่เคยรุกล้ำพื้นที่ป่าไปปลูกข้าวโพด เลิกการปลูกข้าวโพดและนำพื้นที่ป่าที่เคยรุกล้ำไปกลับมาคืนเปลี่ยนไปทำการเกษตรทางเลือกหรืออาชีพอื่นๆ ที่ได้รับการส่งเสริมการผลิตและการตลาด จนมีรายได้เพียงพอ สามารถชำระหนี้และดูแลใช้จ่ายในครัวเรือน

ขณะเดียวกันพื้นที่ป่าที่เกษตรกรนำมาคืนนั้นได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นผืนป่าสีเขียว บางพื้นที่ต้องปลูกใหม่ บางพื้นที่แค่ปล่อยไว้ไม่รบกวนก็สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ และในพื้นที่ดังกล่าวยังมีศูนย์รวบรวมพันธ์พืช เพาะกล้า ศูนย์การเรียนรู้ที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนเอง ที่สำคัญมีการสร้างแนวกันไฟและมีการกำหนดกติการ่วมกันให้ชุมชนช่วยกันดูแลป่า ไม่ให้ใครเข้าไปทำลายป่าอีก

เชื่อว่าภาพดังกล่าวคงเป็นภาพที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้น รู้หรือไม่ว่าภาพเหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงจินตนาการ แต่มันเกิดขึ้นแล้วและกำลังแก้ไขปัญหาจริงๆอยู่ในพื้นที่ เกิดจากความพยายามจากคนท้องถิ่นเอง

ปี 2558 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการและมีอาชีพทางเลือก 29 ราย จังหวัดน่านเราได้คืนผืนป่าและร่วมกันฟื้นฟูกว่า 579 ไร่ แนวคิดของโครงการได้รับการพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้จริง

ปี 2559 นี้ มีเกษตรกรยื่นความจำนงค์คืนผืนป่าและเลิกปลูกข้าวโพด อีกกว่า 1500 ไร่ ตัวเลขดังกล่าวอาจจะไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนป่าที่หายไป แต่ความพยายามนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ภาพการอยู่ร่วมกันของชุมชน ป่าและคนเมือง สามารถเกิดขึ้นได้จริงและกำลังเกิดขึ้นแล้ว

ดังนั้นเราจึงอยากชวนทุกคนมาร่วมกันสร้างความยั่งยืนในการคืนผืนป่าจำนวน 38 ไร่ พร้อมสร้างศูนย์เพาะกล้าไม้: เพื่อรวบรวมพันธ์ุพืช จัดตั้งคณะกรรมการชุมชน พัฒนากระบวนการและกติกาการดูแลผืนป่าให้ชาวบ้าน และขุดนา 1.5 ไร่ แหล่งน้ำ 5 จุด: ขุดร่องน้ํา ปรับหน้าดิน เตรียมระบบจัดการน้ําและตั้งศูนย์การเรียนรู้การเกษตรผสมผสานแบบปราณีต

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ได้พื้นที่ป่าคืนมา 38 ไร่ มีพื้นที่ขุดนา 1.5 ไร่ และมีแหล่งน้ำ 5 จุด
  2. เกษตรกรมีอาชีพทางเลือกและเลิกปลูกข้าวโพด 4 ราย
  3. ภายในปี 2559 นี้ มีเกษตรกรยื่นความจำนงค์คืนผืนป่าแล้ว 1,429 ไร่ และในปี 2560 พื้นที่ป่าจะคืนกลับมา จํานวน 4,000 ไร่
  4. ชุมชนและรัฐมีแผนที่/ข้อมูลรายแปลงกำหนดขอบเขตพื้นที่นาและป่าอย่างละเอียด
  5. ชุมชนมีศูนย์เพาะกล้าเพื่อรวบรวมเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นและเพาะต้นกล้าที่ใช้ปลูกในการฟื้นฟูป่า ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรทางเลือกเพื่อพัฒนาอาชีพ
  6. ชุมชนได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้สามารถเปลี่ยนระบบการผลิตจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรปราณีตแบบผสมผสานได้อย่างแท้จริง
  7. ชุมชนได้รับการสนับสนุนกลไกการเชื่อมโยงตลาด ทำให้รายได้จากการเกษตรทางเลือก ได้รับการพัฒนาอาชีพควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  8. ชาวบ้านมีรายได้ที่หลากหลาย ทั้งจากการทำนา เก็บของป่า (เห็ด, สมุนไพร) ทำสวนผัก/ผลไม้

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

  1. คืนพื้นที่ป่า 38 ไร่: สร้างศูนย์เพาะกล้าไม้: เพื่อรวบรวมพันธ์ุพืช จัดตั้งคณะกรรมการชุมชน พัฒนากระบวนการและกติกาการดูแลผืนป่าให้ชาวบ้าน
  2. ขุดนา 1.5 ไร่ และสร้างแหล่งน้ำ 5 จุด: ขุดร่องน้ํา ปรับหน้าดิน เตรียมระบบจัดการน้ําและตั้งศูนย์การเรียนรู้การเกษตรผสมผสานแบบปราณีต
  3. จัดเวทีประชุมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่: สร้างความเข้าใจในชุมชนและร่วมอาสาสมัครเคลื่อนโครงการร่วมกัน
  4. สํารวจพื้นที่รายแปลง: ลงพื้นที่ร่วมกับอาสาสมัคร วัดขอบเขตพื้นที่รายแปลงด้วยระบบ Geographic infomation System (GIS) เป็นฐานข้อมูลระบุพิกัด

สมาชิกภายในทีม

ดำเนินโครงการโดย คุณสำรวย ผัดผล 

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฮักเมืองน่าน เป็นประธานสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน มีสมาชิกรวมกันกว่า 40 มูลนิธิในจังหวัดน่าน เป็นผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ซึ่งเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ให้กลุ่มโรงเรียนชาวนาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้านอย่างมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกร ได้รับเลือกให้เป็นอโชก้าเฟลโลว์ ที่มีเครือข่ายผู้นำทางสังคมอยู่กว่า 3000 คนทั่วโลก

ติดต่อผ่านผู้ช่วย คุณกฤตยรัฐ ปารมี โทร 081-033-3088 อีเมล์ kit.pa01@gmail.com

ภาคี

  • มูลนิธิกสิกรรมไทยของธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนบุคคลากรและเคร่ืองมือระบบภูมิสนเทศ (GIS)
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบท่อการขนส่งลาเลียงน้ำในพื้นท่ี
  • โครงการปิดทองหลังพระสนับสนุนด้านองค์ความรู้และบุคลากรในการพัฒนาและวางระบบขนส่งลำเลียงน้ำ เป็นต้น

ผลการทำงานแลกป่าเมืองน่าน

20 เมษายน 2018

นาแลกป่า เป็นหนึ่งในความเพียรพยายามในการฟื้นฟูป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยเน้นกระบวนการและแนวคิดในการจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีในบริบทของชุมชนดั้งเดิม นำกลับมารื้อฟื้น และยกระดับความคิดของประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย “การคืนฝืนป่า” และการสร้างสร้างทางเลือกด้านอาชีพ ด้านความมั่นคงสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่

พื้นที่นำร่องอยู่ใน ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง  จังหวัดน่าน  ประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 5,994 คน หรือ 2,024 ครัวเรือน เป็นชุมชนที่มีพร้อม ทั้งในแง่ของ ผู้นำชุมชน ทุนทางสังคม ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นพื้นที่ ที่มีลักษณะทางภูมิกายภาพที่ติดกับแม่น้ำน่าน

สาเหตุสำคัญคือการขยายพื้นที่ทำการเกษตรจากประชากรที่เพิ่มขึ้นและความต้องการรายได้เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายและหนี้สินของครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น และตำบลเมืองจังเองก็เป็นหนึ่งในหลายพื้นที่ที่เผชิญกับสถานการณ์การลดลงของพื้นที่ป่า จากปี พ.ศ. 2530 มีพื้นที่ป่า 29,485.24 ไร่ ปี พ.ศ.2556 มีพื้นที่ป่าเหลือเพียง 17,974.52 ไร่

จากวิกฤต “โครงการนาแลกป่า”มองว่าต้นเหตุปัญหาคือการขาดพื้นที่ในการปลูกข้าว จึงเป็นที่มาของโครงการนาแลกป่า เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มีพื้นที่นาในการเพาะปลูกข้าวตามฤดูกาล

ที่ผ่านมาปี 2559 - 2560 ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนโครงการนี้ มีจำนวนหมู่บ้านที่เราดำเนินการในพื้นที่ 8 หมู่บ้าน ได้แก่

1.บ้านหาดเค็ด หมู่ 1

2.บ้านเมืองจังเหนือ หมู่ 5

3.บ้านสบยาว หมู่ 7

4.บ้านใหม่สามัคคี หมู่ 9

5.บ้านเมืองจังใต้ หมู่ 2

6.บ้านหาดผาขน หมู่ 3

7.บ้านเมืองหลวง หมู่ 4

8.บ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8

เป้าหมายในการดำเนินการครั้งนี้ภายใต้กรอบแนวคิด “น้ำแลกป่า” ซึ่งการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำได้ยึดหลักการตามแนวพระราชดำริที่ว่า “...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้นสำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ...” ดังนั้น สิ่งสำคัญในลำดับแรก คือ การฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ตามแนวพระราชดำริ ทฤษฏีการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยและสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดย“น้ำแลกป่า” ได้นำร่อง 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเมืองหลวง หมู่ 4 และบ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8 หากสามารถดำเนินการตามเป้าหมายตั้งไว้ จะทำให้เกิดนิเวศใหญ่ของการประกอบอาชีพทางเกษตรกร ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเมืองจังได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นที่ที่เป็นระบบน้ำเพื่อการเกษตร จำนวนถึง 367 ครัวเรือน ประมาณการที่ 7,240 ไร่ ดังแผนภาพต่อไปนี้

หลังจากการดำเนินการจนได้ระบบน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการภายใต้ระบบน้ำดังกล่าวยินดีที่จะคืนพื้นที่ทำกินบางส่วนให้สามารถปลูกกลับคืนเป็นพื้นที่ป่าสูงๆ ได้ ซึ่งในพื้นที่ บ้านเมืองหลวง ประมาณการพื้นที่ได้รับคืนเป็นป่า จำนวน 109 ไร่ และในพื้นที่ บ้านราษฏรสามัคคี ประมาณการพื้นที่ได้รับคืนเป็นป่า จำนวน 153 ไร่ ทั้งนี้อยู่ในกระบวนการของการเจรจาระหว่างผู้นำชุมชนกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพราะกลุ่มเกษตรกรบางรายยังไม่เชื่อมั่นในกระบวนการที่จะสามารถสร้างระบบน้ำในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ภูเขา พื้นที่ที่ราบสูงได้ จึงไม่กล้าที่จะแลกเปลี่ยนผลต่างตอบแทนใดๆ แต่กระนั้นเกษตรกรบางรายก็ยินดีที่จะลดพื้นที่ทำกินของตนเองลง เมื่อมีระบบน้ำที่ดีได้ และสร้างมาเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี

                        บ้านเมืองหลวง หมู่ 4                                                                                 บ้านราษฏรสามัคคี หมู่ 8 


ในเบื้องต้นเนื่องจากพื้นที่ที่เราจะเข้าไปดำเนินการเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่น้ำน่าน ฝั่งตะวันออกตอนใต้ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการขออนุญาตุในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ ส่งผลให้การดำเนินการมีความล่าช้าใน ณ เวลาขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันมีการอนุญาตุให้ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวได้ เป็นพื้นที่สำหรับการขุดและวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร เป็นพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 5-2-322 ไร่ เพื่อดำเนินการก่อสร้างตามเป้าหมาย ได้แก่

1. ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขนาด 10x12 เมตร จำนวน 2 ตัว

2. ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำขนาด นิ้ว ระยะทางประมาณ 8,200 เมตร

3. ก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 20 x 10 เมตร ขนาดความจุ 800 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง

4. ก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 4 x 2 เมตร ขนาดความจุ 50 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 11 ถัง

ทั้งนี้ในการดำเนินการที่แล้วเสร็จไปเบื้องต้น เป็นการดำเนินการใน ระยะแรก คือ กระบวนการทำถังพักน้ำ ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 2 หมู่บ้าน (ตามข้อ 3 และข้อ 4)

ภาพการดำเนินการ

สำรวจแปลงเกษตรโดยใช้ GPS

สำรวจพื้นที่ทำถังพัก

เริ่มขุดถังพัก

ติดตั้งฐานถังพักป้องกันน้ำรั่ว

น้ำในนี้จะแลกป่าน่าน

ขอบคุณทุกแรงสนับสนุนในการแลกป่าให้คืนสู่ประเทศไทย

รายงานการใช้เงินงบประมาณ ภายใต้โครงการครั้งนี้

1. กระบวนการจำแนกพื้นที่ทำกิน พื้นที่เขตป่าสงวน ด้วยระบบข้อมูลด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้มีความชัดเจน เชื่อถือได้ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดยมีการออกจับพิกัดรายแปลงของพื้นที่ทำกินของเกษตรกรในพื้นที่หมู่ 4 และ หมู่ 8 จำนวน 367 แปลง เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท

2. กระบวนการขุดสระ พร้อมปรับพื้นที่หน้าดิน เพื่อก่อสร้างถังพักน้ำขนาด 20 x 10 เมตร ขนาดความจุ 800 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง เป็นจำนวนเงิน 130,000 บาท

แผนการใช้เงิน

รายการ บาท
พื้นที่คืนพร้อมปลูกป่า 38 ไร่ๆ ละ 3,450 131,100
พื้นที่ขุดนา 1.5 ไร่ x 20,000 30,000
พื้นที่ขุดสระน้ำ 5 หน่วย ๆ ละ 25,000 125,000
ค่าดำเนินการเทใจ  10 % 28,610
รวม 314,710