project ผู้พิการและผู้ป่วย

เปิดตา เปิดใจ และเสริมพลังคนพิการ

ทริปท่องเที่ยวเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้รับรู้ถึงศักยภาพของตนเองแม้ในสภาพร่างกายที่แตกต่างออกไป ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทั้งที่พักและการเดินทาง ตลอดจนการมีผู้ช่วยเหลือผู้พิการเมื่อจำเป็น

ระยะเวลาโครงการ 11 ม.ค. 2565 ถึง 31 ต.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ภาคกลาง (คนพิการที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง), ภาคตะวันออก (คนพิการที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก)

ยอดบริจาคขณะนี้

12,159 บาท

เป้าหมาย

556,600 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 2%
จำนวนผู้บริจาค 45

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมเปิดตา เปิดใจ และเสริมพลังผู้พิการ จำนวน 5 คน

14 กันยายน 2023

13 มิถุนายน 2566 : ผู้พิการได้เดินทางเข้าพักที่โรงแรมมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ

14 มิถุนายน 2566 : ผู้พิการร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจกับผู้พิการที่ทำงานอยู่ในโรงเรียนเด็กพิเศษคุณพ่อเรย์ ซึ่งเป็นครูฝึกอาชีพคนพิการด้านสติปัญญาและออทิสติกซ์ พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้พิการใหม่อย่างพวกเขาว่าช่องทางการทำงานหรือสังคมคนพิการที่เข้าใจคนพิการการยังมีอยู่ตรงนี้

จากนั้นได้พาผู้พิิการนั่งรถเดินทางไป 2 เขาพระตำหนักชมวิวเพื่อผ่อนคลาย เดินทางไปทานอาหาร และเดินทางเพื่อไปหาดยินยอมที่มีทางลาดและสวนหย่อมเหมาะสมกับผู้พิการ ทำให้ผู้พิการได้บรรยากาศสดชื่นและได้พูดคุยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน และได้เดินทางกลับที่พักเพื่อพักผ่อน

15 มิถุนายน 2566 : ได้พาผู้พิการเข้าศึกษาดูงานในสถานที่จริงที่มีผู้พิการทำงานอยู่ในรั้วมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อาทิ ห้องควบคุมการดูกล้อง ซึ่งเป็นห้องระดับควบคุมและประสานงานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ของบริษัทรถน้ำมันและรถบรรทุกที่อยู่ในเครือ เช่น หากตรวจพบการหลับในจะส่งสัญญาณเตือนไปยังรถที่พนักงานที่หลับในทันทีและมีการโทรแจ้งเตือนในขณะเดียวกัน และการรับเรื่องเกี่ยวกับองค์กร และ 1479 สายด่วนคนพิการ ซึ่งการให้ข้อมูลของหัวหน้าทีม 1479 ค่อนข้างดีมากทำให้คนพิการที่ร่วมโครงการเปิดตาเปิดใจในครั้งนี้มีแรงบันดาลใจขึ้นมาก

ทั้งนี้จากการเข้าไปเรียนรู้งานทำให้ผู้พิการในโครงการมีแรงบันดาลใจแล้ว ผู้พิการที่ทำงาน 1479 มีแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน ดีใจที่ได้ให้ความรู้กับผู้พิการใหม่ที่ยังไม่เคยพบเจอสังคมผู้พิการ จากสิ่งที่ได้จากโครงการนี้ผู้พิการเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีความสุขเป็นอย่างมาก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 นายวงศธร เตยสิริเศรษฐ์ คุณฮอส ผู้พิการทางด้านสายตา " ผู้พิการทางด้านสายตาก็สามารถใช้การสัมผัส โดยการบอกเล่าจากผู้พิการที่ร่วมโครงการด้วยกัน ทำให้เกิดจิตนาการและรอยยิ้มด้วยเช่นกัน และทำให้ได้รู้ว่าการพักโรงแรมโดยไม่มีผู้ปกครองหรือผู้ช่วยก็ไม่ใช่อุปสรรคอะไรมากสำหรับการดำเนินชีวิต และจะพยายามศึกษาและใช้เทคโนโลยีที่ทำขึ้นเพื่อผู้พิการทางด้านสายตาให้มากที่สุด และต่อไปอยากเรียนต่อเพื่อจุดประสงค์มีงานทำและอยู่ร่วมกับสังคมให้มีความสุขโดยพึ่งทางบ้านให้น้อยที่สุด "

 นายไพรวัลย์ จิตต์ประเสริฐ คุณไพร ผู้พิการขาผิดรูปทั้งสองข้างตั้งแต่กำเนิด " อยู่แต่บ้านเคยทำงานแต่ก็ทำไม่ได้นานเพราะทางบริษัทแค่เอาไปลดหย่อนภาษีเฉยๆ ก่อนที่เข้ามาร่วมโครงการกำลังหางานทำ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพราะว่าอยากรู้ชีวิตผู้พิการสังคมคนพิการในรั้วมูลนิธิพระมหาไถ่ที่เคยได้ยินมาจะเป็นอย่างไร จนมาได้สัมผัสสถานที่ที่ผู้พิการอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก การบริหารงานที่ผู้พิการมีส่วนร่วม และการทำงานใบบทบาทต่างๆ ของผู้พิการ ในมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะหางานทำที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้ "

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยผู้พิการที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ออกจากบ้านและทำงานกับสังคมคนพิการ5 คนทำให้ผู้พิการเกิดแรงบันดาลใจและอยากหางานทำโดยพึ่งพาตัวเองได้
รูปภาพกิจกรรม

   

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ทริปท่องเที่ยวเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้รับรู้ถึงศักยภาพของตนเองแม้ในสภาพร่างกายที่แตกต่างออกไป ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทั้งที่พักและการเดินทาง ตลอดจนการมีผู้ช่วยเหลือผู้พิการเมื่อจำเป็น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สภาพปัญหา

คนพิการ หมายถึงบุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 7 ประเภท (พ.ม.) ได้แก่ บกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน ร่างกาย จิต/พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้และออทิสติก หรืออาจแบ่งความพิการได้อีก ๒ ประเภท คือ พิการตั้งแต่กำเนิด และพิการภายหลัง ซึ่งคนพิการตั้งแต่กำเนิด จะมีแนวโน้มยอมรับในความพิการ ได้ดีกว่าคนพิการภายหลัง

จากข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการชีวิตคนพิการ พบว่า มีคนพิการที่จดทะเบียนความพิการทั่วประเทศกว่า 2 ล้านคน กว่า 8 แสนคนอยู่ในวัยทำงาน และมีงานทำเพียง 1.8 แสนคน คนพิการจำนวนไม่น้อย อยู่ในพื้นเพของครอบครัวที่ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความพิการมากนัก มองคนพิการ ความพิการว่าเกิดจากเวรกรรมในชาติปางก่อน เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม บางส่วนครอบครัวก็รู้สึกอับอายที่มีคนพิการในครอบครัว ทำให้คนพิการขาดโอกาสในการได้รับการพัฒนาหรือได้รับกำลังใจอย่างเหมาะสม ใช้ชีวิตวันๆ โดยปราศจากซึ่งพลังแรงใจในการจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเอง

ศูนย์ประชุมมหาไถ่ บริษัท เรย์วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ภายใต้ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำเนินการโดยคนพิการ เพื่อเสริมพลัง ฝึกอาชีพและสร้างอาชีพแก่คนพิการ เพราะถือว่า หลังจากมีความพิการกำลังใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแรกพอๆ กับการฟื้นฟูในด้านอื่นๆ

ด้วยประสบการณ์ในการทำงานกว่า 30 ปี ของมูลนิธิฯ ซึ่งมีสถานศึกษาเพื่อฝึกอาชีพคนพิการ ศูนย์จัดหางานคนพิการ สายด่วน 1479 ซึ่งหน่วยบริการของมูลนิธิฯ ซึ่งฝึกอาชีพ ส่งเสริมคนพิการมีงานทำและส่งเสริมคนพิการเข้าถึงสิทธิมาแล้วกว่า 10,000 คน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตอิสระได้ในสังคม โดยใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ การให้คำปรึกษาฉันเพื่อน การทำ Group สนับสนุน การนำเสนอคนพิการต้นแบบ (Role Model) ฯลฯ เพื่อให้คนพิการหลุดพ้นจากความหดหู่สิ้นหวัง หลุดพ้นจากการไม่ยอมรับตนเอง ความรู้สึกอายเวลาถูกมองจากคนไม่พิการทั่วไป ฯลฯ

การก้าวข้ามความพิการ ไม่ได้หมายถึงเพียงการฟื้นฟูเฉพาะในความพิการเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการที่คนพิการยอมรับในความพิการของตนเอง การรู้สึกเข้มแข็งเวลามีคนไม่พิการมองมา การรู้สึกเป็นอิสระและเลือกทำในส่งที่ตนเองต้องการอย่างเหมาะสม การเลือกประกอบอาชีพตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งมีคนพิการจำนวนไม่น้อยที่ก้าวข้ามความพิการ ออกมาใช้ชีวิต เป็นนักกีฬา เป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จสายงานของต้น แต่คนพิการเหล่านี้ ล้วนได้รับกำลังใจไม่ว่าจากภายในหรือภายนอกและก้าวพ้นจากความพิการออกใช้ชีวิตอย่างอิสระได้ นั่นเอง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

 คนพิการนั่งรถเข็น / เดือนทางลำบาก ที่ท้อแท้สิ้นหวัง ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน ๒๐๐ คน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 

  1. ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. ประสานจัดทำโครงการ
  3. หาช่องทางเพื่อหาทรัพยากรมาสนับสนุนกิจกรรม
  4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนพิการที่ท้อแท้และยากลำบาก เข้าร่วมผ่านสมาคมคนพิการต่างๆ เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พมจ.จังหวัดต่างๆ
  5. คัดเลือกคนพิการร่วมกิจกรรม ๒๐๐ คน
  6. จัดเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม อาทิ ทีมวิทยากรคนพิการ คนพิการต้นแบบ ที่พัก อาหาร รถตู้มีลิฟท์สำหรับคนพิการนั่งวีลแชร์ ร่วมถึงผู้ช่วยเหลือคนพิการ ด้วย
  7. จัดทำข้อมูลเพื่อเก็บรายละเอียดในการจัดทำรายงาน
  8. จัดทำรายส่งผู้สนับสนุน 

รูปแบบกิจกรรม

  1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม
  2. กิจกรรมแม่น้ำแห่งชีวิต
  3. กลุ่มสนับสนุน (Group Support)
  4. พูดคุยกับคนพิการต้นแบบ (Role Model)
  5. ท่องเที่ยวสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก
  6. ดูงานอาชีพและศักยภาพกีฬาคนพิการ
  7. ถอดบทเรียน


กิจกรรม 3 วัน 2 คืน

วันที่ 1

7.00 - 12.00 น. เดินทางถึงพัทยา / เข้าที่พัก / รับประทานอาหารกลางวัน

14.00 - 15.30 น. กิจกรรมละลายพฤติกรรม / กิจกรรมแม่น้ำแห่งชีวิต

15.30 - 17.30 น. กลุ่มสนับสนุน (Group Support) การให้คำปรึกษาฉันเพื่อนคนพิการ / พูดคุยกับคนพิการต้นแบบ (Role Model)

18.00 น. รับประทานอาหารเย็น

วันที่ 2

7.00 - 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า

8.30 - 16.30 น. สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกท่องเที่ยวเมืองพัทยา,สวนนงนุช, แหลมบาลีฮาย, จุดชมวิวเขา สทร. ฯลฯ รับประธานอาหารกลางวันระหว่างท่องเที่ยว

18.00 น. รับประทานอาหารเย็น

วันที่ 3

7.00 - 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า

8.30 - 10.00 น. ดูงานอาชีพและศักยภาพกีฬาคนพิการ สถานศึกษาภายใต้มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ

10.00 - 11.00 น. ถอดบทเรียน ทบทวนประสบการณ์

11.00 - 17.00 น. เดินทางกลับ / รับประทานอาหารกลางวันระหว่างเดินทาง


ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ระยะเวลาระดมทุน : มกราคม – ตุลาคม 2565

ระยะเวลาดำเนินกิจกรรมเดินตาเปิดใจคนพิการ : เมษายน – ตุลาคม 2565 รวม 10 เดือน


ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเมธ พลคะชา 

เป็นคนพิการ นั่งวีลแชร์ไฟฟ้า ทำงานเป็น ผอ.รร. และมาสนับสนุนงานที่ศูนย์ประชุมมหาไถ่ พัทยา 

เคยทำงานเกี่ยวกับการเสริมพลังคนพิการและครอบครัวในชุมชน IL CBR และศูนย์การเรียนรู้ อาสาสมัครช่วยพิการและอื่นๆ 

เคยดูแลการส่งเสริมอาชีพคนพิการในชุมชน 

ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการ รร เด็กพิเศษคุณพ่อเรย์จัดการศึกษาสู่อาชีพเด็กพิเศษ 

เข้าใจคนพิการยากลำบาก ท้อแท้ และมมองไม่เห็นโอกาส เพราะเราก็เคยตกในสสถานการณ์อย่างเดียวกัน จนมาได้รับโอกาสจากมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ 

จึงได้มาฝึกอาชีพ web design เริ่มจาก web designer และมาเป็นครูผู้สอน ทำงานคนพิการในชุมชน ส่งเสริมอาชีพคนพิการในชุมชน จนมาดูแลการฝึกอาชีพเด็กพิเศษ เช่นในปัจจุบัน 


กิจกรรมเปิดตา เปิดใจ และเสริมพลังผู้พิการ จำนวน 5 คน

14 กันยายน 2023

13 มิถุนายน 2566 : ผู้พิการได้เดินทางเข้าพักที่โรงแรมมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ

14 มิถุนายน 2566 : ผู้พิการร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจกับผู้พิการที่ทำงานอยู่ในโรงเรียนเด็กพิเศษคุณพ่อเรย์ ซึ่งเป็นครูฝึกอาชีพคนพิการด้านสติปัญญาและออทิสติกซ์ พร้อมทั้งเล่าประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้พิการใหม่อย่างพวกเขาว่าช่องทางการทำงานหรือสังคมคนพิการที่เข้าใจคนพิการการยังมีอยู่ตรงนี้

จากนั้นได้พาผู้พิิการนั่งรถเดินทางไป 2 เขาพระตำหนักชมวิวเพื่อผ่อนคลาย เดินทางไปทานอาหาร และเดินทางเพื่อไปหาดยินยอมที่มีทางลาดและสวนหย่อมเหมาะสมกับผู้พิการ ทำให้ผู้พิการได้บรรยากาศสดชื่นและได้พูดคุยเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน และได้เดินทางกลับที่พักเพื่อพักผ่อน

15 มิถุนายน 2566 : ได้พาผู้พิการเข้าศึกษาดูงานในสถานที่จริงที่มีผู้พิการทำงานอยู่ในรั้วมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ อาทิ ห้องควบคุมการดูกล้อง ซึ่งเป็นห้องระดับควบคุมและประสานงานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ของบริษัทรถน้ำมันและรถบรรทุกที่อยู่ในเครือ เช่น หากตรวจพบการหลับในจะส่งสัญญาณเตือนไปยังรถที่พนักงานที่หลับในทันทีและมีการโทรแจ้งเตือนในขณะเดียวกัน และการรับเรื่องเกี่ยวกับองค์กร และ 1479 สายด่วนคนพิการ ซึ่งการให้ข้อมูลของหัวหน้าทีม 1479 ค่อนข้างดีมากทำให้คนพิการที่ร่วมโครงการเปิดตาเปิดใจในครั้งนี้มีแรงบันดาลใจขึ้นมาก

ทั้งนี้จากการเข้าไปเรียนรู้งานทำให้ผู้พิการในโครงการมีแรงบันดาลใจแล้ว ผู้พิการที่ทำงาน 1479 มีแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน ดีใจที่ได้ให้ความรู้กับผู้พิการใหม่ที่ยังไม่เคยพบเจอสังคมผู้พิการ จากสิ่งที่ได้จากโครงการนี้ผู้พิการเกิดความรู้สึกประทับใจ และมีความสุขเป็นอย่างมาก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 นายวงศธร เตยสิริเศรษฐ์ คุณฮอส ผู้พิการทางด้านสายตา " ผู้พิการทางด้านสายตาก็สามารถใช้การสัมผัส โดยการบอกเล่าจากผู้พิการที่ร่วมโครงการด้วยกัน ทำให้เกิดจิตนาการและรอยยิ้มด้วยเช่นกัน และทำให้ได้รู้ว่าการพักโรงแรมโดยไม่มีผู้ปกครองหรือผู้ช่วยก็ไม่ใช่อุปสรรคอะไรมากสำหรับการดำเนินชีวิต และจะพยายามศึกษาและใช้เทคโนโลยีที่ทำขึ้นเพื่อผู้พิการทางด้านสายตาให้มากที่สุด และต่อไปอยากเรียนต่อเพื่อจุดประสงค์มีงานทำและอยู่ร่วมกับสังคมให้มีความสุขโดยพึ่งทางบ้านให้น้อยที่สุด "

 นายไพรวัลย์ จิตต์ประเสริฐ คุณไพร ผู้พิการขาผิดรูปทั้งสองข้างตั้งแต่กำเนิด " อยู่แต่บ้านเคยทำงานแต่ก็ทำไม่ได้นานเพราะทางบริษัทแค่เอาไปลดหย่อนภาษีเฉยๆ ก่อนที่เข้ามาร่วมโครงการกำลังหางานทำ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพราะว่าอยากรู้ชีวิตผู้พิการสังคมคนพิการในรั้วมูลนิธิพระมหาไถ่ที่เคยได้ยินมาจะเป็นอย่างไร จนมาได้สัมผัสสถานที่ที่ผู้พิการอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก การบริหารงานที่ผู้พิการมีส่วนร่วม และการทำงานใบบทบาทต่างๆ ของผู้พิการ ในมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ก็ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะหางานทำที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้ "

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยผู้พิการที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ออกจากบ้านและทำงานกับสังคมคนพิการ5 คนทำให้ผู้พิการเกิดแรงบันดาลใจและอยากหางานทำโดยพึ่งพาตัวเองได้
รูปภาพกิจกรรม

   

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเดินทางเฉลี่ย ไป – กลับ คนละ 1200 บาท 200 240,000.00
2 ค่าที่พัก 2 คืนๆ ละ 500 บาท รวมอาหารเช้า 200 200,000.00
3 ค่าอาหารกลางวันและเย็น 3 วัน รวม 5 มื้อ (ต่อท่าน) มื้อละ 60 บาท 200 60,000.00
4 ค่าผู้ช่วยเหลือระหว่างกิจกรรม วันละ 400 บาท 3 วัน 5 6,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
506,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
50,600.00

ยอดระดมทุน
556,600.00