เปิดตา เปิดใจ และเสริมพลังคนพิการ

ทริปท่องเที่ยวเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้รับรู้ถึงศักยภาพของตนเองแม้ในสภาพร่างกายที่แตกต่างออกไป ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยทั้งที่พักและการเดินทาง ตลอดจนการมีผู้ช่วยเหลือผู้พิการเมื่อจำเป็น
ระยะเวลาโครงการ 11 ม.ค. 2565 ถึง 31 ต.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ภาคกลาง (คนพิการที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง), ภาคตะวันออก (คนพิการที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก)
ยอดบริจาคขณะนี้
12,159 บาทเป้าหมาย
556,600 บาทสำเร็จแล้ว
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
สภาพปัญหา
คนพิการ หมายถึงบุคคลที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 7 ประเภท (พ.ม.) ได้แก่ บกพร่องทางการมองเห็น การได้ยิน ร่างกาย จิต/พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้และออทิสติก หรืออาจแบ่งความพิการได้อีก ๒ ประเภท คือ พิการตั้งแต่กำเนิด และพิการภายหลัง ซึ่งคนพิการตั้งแต่กำเนิด จะมีแนวโน้มยอมรับในความพิการ ได้ดีกว่าคนพิการภายหลัง
จากข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการชีวิตคนพิการ พบว่า มีคนพิการที่จดทะเบียนความพิการทั่วประเทศกว่า 2 ล้านคน กว่า 8 แสนคนอยู่ในวัยทำงาน และมีงานทำเพียง 1.8 แสนคน คนพิการจำนวนไม่น้อย อยู่ในพื้นเพของครอบครัวที่ไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความพิการมากนัก มองคนพิการ ความพิการว่าเกิดจากเวรกรรมในชาติปางก่อน เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม บางส่วนครอบครัวก็รู้สึกอับอายที่มีคนพิการในครอบครัว ทำให้คนพิการขาดโอกาสในการได้รับการพัฒนาหรือได้รับกำลังใจอย่างเหมาะสม ใช้ชีวิตวันๆ โดยปราศจากซึ่งพลังแรงใจในการจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเอง
ศูนย์ประชุมมหาไถ่ บริษัท เรย์วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ภายใต้ มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำเนินการโดยคนพิการ เพื่อเสริมพลัง ฝึกอาชีพและสร้างอาชีพแก่คนพิการ เพราะถือว่า หลังจากมีความพิการกำลังใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแรกพอๆ กับการฟื้นฟูในด้านอื่นๆ
ด้วยประสบการณ์ในการทำงานกว่า 30 ปี ของมูลนิธิฯ ซึ่งมีสถานศึกษาเพื่อฝึกอาชีพคนพิการ ศูนย์จัดหางานคนพิการ สายด่วน 1479 ซึ่งหน่วยบริการของมูลนิธิฯ ซึ่งฝึกอาชีพ ส่งเสริมคนพิการมีงานทำและส่งเสริมคนพิการเข้าถึงสิทธิมาแล้วกว่า 10,000 คน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตอิสระได้ในสังคม โดยใช้กระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ การให้คำปรึกษาฉันเพื่อน การทำ Group สนับสนุน การนำเสนอคนพิการต้นแบบ (Role Model) ฯลฯ เพื่อให้คนพิการหลุดพ้นจากความหดหู่สิ้นหวัง หลุดพ้นจากการไม่ยอมรับตนเอง ความรู้สึกอายเวลาถูกมองจากคนไม่พิการทั่วไป ฯลฯ
การก้าวข้ามความพิการ ไม่ได้หมายถึงเพียงการฟื้นฟูเฉพาะในความพิการเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการที่คนพิการยอมรับในความพิการของตนเอง การรู้สึกเข้มแข็งเวลามีคนไม่พิการมองมา การรู้สึกเป็นอิสระและเลือกทำในส่งที่ตนเองต้องการอย่างเหมาะสม การเลือกประกอบอาชีพตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งมีคนพิการจำนวนไม่น้อยที่ก้าวข้ามความพิการ ออกมาใช้ชีวิต เป็นนักกีฬา เป็นเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จสายงานของต้น แต่คนพิการเหล่านี้ ล้วนได้รับกำลังใจไม่ว่าจากภายในหรือภายนอกและก้าวพ้นจากความพิการออกใช้ชีวิตอย่างอิสระได้ นั่นเอง
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
คนพิการนั่งรถเข็น / เดือนทางลำบาก ที่ท้อแท้สิ้นหวัง ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน ๒๐๐ คน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
- ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ประสานจัดทำโครงการ
- หาช่องทางเพื่อหาทรัพยากรมาสนับสนุนกิจกรรม
- ประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนพิการที่ท้อแท้และยากลำบาก เข้าร่วมผ่านสมาคมคนพิการต่างๆ เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พมจ.จังหวัดต่างๆ
- คัดเลือกคนพิการร่วมกิจกรรม ๒๐๐ คน
- จัดเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม อาทิ ทีมวิทยากรคนพิการ คนพิการต้นแบบ ที่พัก อาหาร รถตู้มีลิฟท์สำหรับคนพิการนั่งวีลแชร์ ร่วมถึงผู้ช่วยเหลือคนพิการ ด้วย
- จัดทำข้อมูลเพื่อเก็บรายละเอียดในการจัดทำรายงาน
- จัดทำรายส่งผู้สนับสนุน
รูปแบบกิจกรรม
- กิจกรรมละลายพฤติกรรม
- กิจกรรมแม่น้ำแห่งชีวิต
- กลุ่มสนับสนุน (Group Support)
- พูดคุยกับคนพิการต้นแบบ (Role Model)
- ท่องเที่ยวสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวก
- ดูงานอาชีพและศักยภาพกีฬาคนพิการ
- ถอดบทเรียน
กิจกรรม 3 วัน 2 คืน
วันที่ 1
7.00 - 12.00 น. เดินทางถึงพัทยา / เข้าที่พัก / รับประทานอาหารกลางวัน
14.00 - 15.30 น. กิจกรรมละลายพฤติกรรม / กิจกรรมแม่น้ำแห่งชีวิต
15.30 - 17.30 น. กลุ่มสนับสนุน (Group Support) การให้คำปรึกษาฉันเพื่อนคนพิการ / พูดคุยกับคนพิการต้นแบบ (Role Model)
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
วันที่ 2
7.00 - 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า
8.30 - 16.30 น. สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกท่องเที่ยวเมืองพัทยา,สวนนงนุช, แหลมบาลีฮาย, จุดชมวิวเขา สทร. ฯลฯ รับประธานอาหารกลางวันระหว่างท่องเที่ยว
18.00 น. รับประทานอาหารเย็น
วันที่ 3
7.00 - 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า
8.30 - 10.00 น. ดูงานอาชีพและศักยภาพกีฬาคนพิการ สถานศึกษาภายใต้มูลนิธิพระมหาไถ่ฯ
10.00 - 11.00 น. ถอดบทเรียน ทบทวนประสบการณ์
11.00 - 17.00 น. เดินทางกลับ / รับประทานอาหารกลางวันระหว่างเดินทาง
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาระดมทุน : มกราคม – ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินกิจกรรมเดินตาเปิดใจคนพิการ : เมษายน – ตุลาคม 2565 รวม 10 เดือน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเมธ พลคะชา
เป็นคนพิการ นั่งวีลแชร์ไฟฟ้า ทำงานเป็น ผอ.รร. และมาสนับสนุนงานที่ศูนย์ประชุมมหาไถ่ พัทยา
เคยทำงานเกี่ยวกับการเสริมพลังคนพิการและครอบครัวในชุมชน IL CBR และศูนย์การเรียนรู้ อาสาสมัครช่วยพิการและอื่นๆ
เคยดูแลการส่งเสริมอาชีพคนพิการในชุมชน
ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการ รร เด็กพิเศษคุณพ่อเรย์จัดการศึกษาสู่อาชีพเด็กพิเศษ
เข้าใจคนพิการยากลำบาก ท้อแท้ และมมองไม่เห็นโอกาส เพราะเราก็เคยตกในสสถานการณ์อย่างเดียวกัน จนมาได้รับโอกาสจากมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ
จึงได้มาฝึกอาชีพ web design เริ่มจาก web designer และมาเป็นครูผู้สอน ทำงานคนพิการในชุมชน ส่งเสริมอาชีพคนพิการในชุมชน จนมาดูแลการฝึกอาชีพเด็กพิเศษ เช่นในปัจจุบัน

Facebook: redemptoristpattaya
Website: www.mahatai.org
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าเดินทางเฉลี่ย ไป – กลับ คนละ 1200 บาท | 200 | 240,000.00 |
2 | ค่าที่พัก 2 คืนๆ ละ 500 บาท รวมอาหารเช้า | 200 | 200,000.00 |
3 | ค่าอาหารกลางวันและเย็น 3 วัน รวม 5 มื้อ (ต่อท่าน) มื้อละ 60 บาท | 200 | 60,000.00 |
4 | ค่าผู้ช่วยเหลือระหว่างกิจกรรม วันละ 400 บาท 3 วัน | 5 | 6,000.00 |