project เด็กและเยาวชน

เครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก

สร้างเครื่องรับขวดอัตโนมัติ 5 เครื่องเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน โดยรายได้จากค่าขายขวด 70% จะมอบให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณ ที่เป็นบ้านสำหรับเด็กกำพร้าและยากไร้ จังหวัด เชียงใหม่  

ระยะเวลาโครงการ 12 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

2,590 บาท

เป้าหมาย

2,590 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 10

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ปิดโครงการเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก

19 กันยายน 2016
ตามที่ท่านได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณ โครงการ ” เครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก ” ได้ปิดรับบริจากแล้วซึ่งมียอดบริจากอยู่ 2,590 บาท จากที่ของบประมาณไป 60,000 บาท ซึ่งทางเราไม่สามารถสร้างเครื่อง ขอ.ขวดได้ เพราะงบประมาณไม่พอ ทางเราจึงได้ตกลงว่าจะนำเงินที่ได้รับไปมอบให้กับ มูลนิธิแสงไทยดรุณ ที่เป็นบ้านสำหรับเด็กกำพร้าและยากไร้ จังหวัด เชียงใหม่
 
ทางเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ไม่สามารถทำเครื่อง ขอ.ขวดตามที่เราได้แจ้งไว้ ซึ่งเราพยายามหางบประมาณมาหลายที่แต่ก็ยังไม่พอที่จะสร้างเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก
 
ทั้งนี้ โครงการฯ ขอขอบพระคุณในเงินสมทบทุนที่ร่วมสนับสนุนมา ณ โอกาสนี้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ ตลอดจนพระบารมีแห่งพระสยามเทวาธิราชเจ้า  และเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดดลบันดาลให้ท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
 
 
นายจิระสินธ์  เดชชะ (บอล) 
ทีมงานโครงการเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

มูลนิธิแสงไทยดรุณ หรือบ้านแสงไทยดรุณ เป็นบ้านสำหรับเด็กกำพร้า และยากไร้ดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไร จังหวัดเชียงใหม่ ภาระกิจของมูลนิธิฯ คือจัดหาโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กกำพร้าและยากไร้ ตลอดถึงค่าเลี้ยงดูในทุกๆวัน ซึ่งจำนวนเด็กในมูลนิธิฯ มีจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละคนกำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน และทางมูลนิธิมีค่าใช้จ่ายในทุกๆเดือนจำวนเงินที่สูงมากในการเลี้ยงดูเด็กกำพร้า และยากไร้ ซึ่งค่าบริจากจากหน่วยงานต่างๆที่สนับสนุนก็ไม่เพียงพอกับภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

จากปัญหาที่กล่าวมา กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ชั้นปีที่4 กลุ่มของเราได้คิดค้นแนวทางในการแก้ไข โดยคิดค้นนวัตกรรมที่จะสามารถช่วยทางมูลนิธิฯอีกยังยังช่วยโลก และผู้ใช้ต่างได้รับผลประโยชน์อีกด้วย ซึ่งทางเราได้คิดค้นนวัตกรรม”เครื่อง ขอ.ขวด” ซึ่งทำงานควบคู่กับ” Web application” และได้ร่วมแข่งกันในโครงการ “ACTIVE CITIZEN : GEEK SO GOOD พัฒนาไอเดีย...สู่นวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสร้างสรรค์”

ทำให้หลักการทำงานคือโดยผู้ใช้นำขวดพลาสติกมาหยอดใน”เครื่อง ขอ.ขวด” (มีเสียงบอกชั้นตอนการทำงาน และสามารถหยอดได้หลายๆ ขวดตามใจผู้ใช้เคยครับ)เมื่อหยอดเสร็จจะแสดง”รหัสลับ”บนจอเครื่อง แล้วให้ผู้ใช้เปิด” Web application”แล้วกรอก ”รหัสลับ”ลงในช่อง ”ให้แต้ม”(เว็บแอพพลิเคชั่น ของเราไม่ธรรมดาน่ะครับ แต้มที่ได้จะมีการจัดลำดับ Level จากแต้มที่หยอดขวดพลาสติก แล้วมีการแข่งขันกับเพื่อนๆของเรา โดยเพื่อนมาจาก แชร์บนFacebookและการเพิ่มเพื่อนจาก IDในแต่ละเดือนจะมีการจัดของรางวัลให้ผู้ใช้ได้แลกจากแต้มที่ตัวเองมี และมีกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้คนมาหยอดขวดพลาสติกเยอะๆ)

ประโยชน์ของโครงการ

ด้านความช่วยเหลือ

เงินที่ได้จากการขายขวด 70% จะมอบให้กับมูลนิธิแสงไทยดรุณ หรือบ้านแสงไทยดรุณ เป็นบ้านสำหรับเด็กกำพร้าและยากไร้ จังหวัดเชียงใหม่

ด้านรักโลก

  1. ปลูกจิตสำนึกให้คนรักการทิ้งขยะประเภทขวดพลาสติก
  2. แบ่งเบาภาระของภาครัฐในจัดสรรงบประมาณในการคัดแยกขยะ และคนเก็บขยะ
  3. สะดวกต่อการนำขยะไปกำจัด เพราะมีการคัดแยกประเภทเรียบร้อยแล้ว
  4. ลดพื้นที่ในการเผ่าขยะ
  5. ลดการเกิดมลพิษทางน้ำ ทางดิน ทางอากาศ และทัศนียภาพ

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

  1. จะเพิ่มฟังชั่นให้”เครื่อง ขอ.ขวด” สามารถรับขวดพลาสติดได้ทุกประเภท(ตอนนี้เครื่องรับได้แค่ขวดน้ำอิทนนิล ม.แม่โจ้ น้ำดื่มคริสตัล และน้ำดื่มน้ำทิพท์ ที่มีขนาด 600 มล.)
  2. สร้าง ”เครื่อง ขอ.ขวด” เพิ่มอีก 5 เครื่องเพื่อให้เพียงพอกับผู้ใช้งาน

งบประมาณ

  1. จำนวนเงิน 40,000 บาท จะนำไปปรับปรุงวงจรของตัวเครื่อง ขอ.ขวด จะเพิ่มฟังชั่นให้”เครื่อง ขอ.ขวด” สามารถรับขวดพลาสติดได้ทุกประเภท(ตอนนี้เครื่องรับได้แค่ขวดน้ำอิทนนิล ม.แม่โจ้ น้ำดื่มคริสตัล และน้ำดื่มน้ำทิพท์ ที่มีขนาด 600 มล.)
  2. จำนวนเงิน 20,000 บาท จำนำไปสร้าง ”เครื่อง ขอ.ขวด” เพิ่มอีก 5 เครื่องเพื่อให้เพียงพอกับผู้ใช้งาน

สถานที่จัดตั้งเครื่อง ขอ.ขวด

  1. เครื่อง ขอ.ขวดจำนวน 3 เครื่อง วางไว้โรงอาหารเทิดไทกสิกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  2. เครื่อง ขอ.ขวดจำนวน 2 เครื่อง วางไว้โรงอาหารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สมาชิกภายในทีม

นายจิระสินธ์ เดชชะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Facebook:JD Zuperball E-mail:jirasin.datsha@gmail.com เบอร์โทร 0908927010

นางสาว ชลธิชา ญานิวงค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Facebook:Jangjuppy E-mail:Chonthicha-jang@hotmail.com เบอร์โทร 0918597176

นางสาวกนกวรรณ สานตา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Facebook:kanokwan Santa E-mail:kanokwan.Santa@gmail.com เบอร์โทร 0875666048

นางสาวกมลวรรณ ดอกแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Facebook:แต้วนะแต้วแต้วตัวเตี้ย E-mail:kamolwantaew@gmail.com เบอร์โทร 0826904768

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

ชลิตดา มัธยมบุรุษ อาจารย์วิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ E-mail: mchalitda@gmail.com เบอร์โทร 0891912030

อาจารย์นิพนท์ เจ้าเจริญพร มูลนิธิแสงไทยดรุณ 122 หมู่ 2 ตำบลหนองหาน, อำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่ 50290 เบอร์โทร 086 921 5651

ภาคี

ปิดโครงการเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก

19 กันยายน 2016

ตามที่ท่านได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณ โครงการ ” เครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก ” ได้ปิดรับบริจากแล้วซึ่งมียอดบริจากอยู่ 2,590 บาท จากที่ของบประมาณไป 60,000 บาท ซึ่งทางเราไม่สามารถสร้างเครื่อง ขอ.ขวดได้ เพราะงบประมาณไม่พอ ทางเราจึงได้ตกลงว่าจะนำเงินที่ได้รับไปมอบให้กับ มูลนิธิแสงไทยดรุณ ที่เป็นบ้านสำหรับเด็กกำพร้าและยากไร้ จังหวัด เชียงใหม่
 
ทางเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ไม่สามารถทำเครื่อง ขอ.ขวดตามที่เราได้แจ้งไว้ ซึ่งเราพยายามหางบประมาณมาหลายที่แต่ก็ยังไม่พอที่จะสร้างเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก
 
ทั้งนี้ โครงการฯ ขอขอบพระคุณในเงินสมทบทุนที่ร่วมสนับสนุนมา ณ โอกาสนี้ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือ ตลอดจนพระบารมีแห่งพระสยามเทวาธิราชเจ้า  และเดชะพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดดลบันดาลให้ท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
 
 
นายจิระสินธ์  เดชชะ (บอล) 
ทีมงานโครงการเครื่องเปลี่ยนขวดเป็นเงินเพื่อเด็ก

แผนการใช้เงิน

รายการราคารวม (บาท)
1.ปรับปรุงวงจรของตัวเครื่อง ขอ.ขวด40,000
2.สร้าง ”เครื่อง ขอ.ขวด” จำนวน 5 เครื่อง

20,000

รวมเป็นเงินทั้งหมด60,000