project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

City Share City - เมืองปันเมือง | ปันสินค้าเกษตรจากเมืองสู่เมือง เพื่อช่วยเหลือชุมชนในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19

‘City Share City’ นำเอาอาหารและสินค้าทางการเกษตรจากชุมเมืองอื่นๆ ตามพื้นถิ่นมาแบ่งปันแบบเมืองสู่เมือง แล้วนำเงินที่ระดมทุนได้ไปจัดซื้อสินค้าเกษตร อาหารทะเลแห้ง ชุด PPE และยารักษาโรค สำหรับการช่วยเหลือชุมชนให้รอดพ้นจากสถานการณ์ภัยคุกคามไวรัสโควิด-19

ระยะเวลาโครงการ 10 ส.ค. 2564 ถึง 31 ส.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ชุมชนนวลจิต ชุมชนแจ่มจันทร์ และชุมชนสุเหร่าบ้านดอน), แขวงสี่พระยา เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ชุมชนซอยหลังวัดหัวลำโพง), แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ชุมชนโชฎึกและชุมชนโปลิศสภา), แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ชุมชนช่างนาคสะพานยาวและชุมชนสวนสมเด็จย่า)

ยอดบริจาคขณะนี้

198,440 บาท

เป้าหมาย

198,440 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 24

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

รายงานการดำเนินงานโครงการ City Share City

21 ธันวาคม 2021

ทางโครงการ City Share City โดย we!park ได้มีการดำเนินโครงการไปเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายงานสรุปผลการดำเนินงานดังนี้

1. ช่วงระดมทุน

ทำการรวบรวมข้อมูลของเกษตรกร ชาวสวน กสิกร ที่ได้รับผลกระทบการปล่อยผลผลิตสู่ตลาด และข้อมูลชุมชนต่างๆที่มีผู้ประสบปัญหาจากการกักตัวของ COVID19 โดย ทางwe!park

2. ทำการติดต่อ ทาบทาม เพื่อระบุรายเอียดที่จะทำการสั่งซื้อเพื่อนำไปบริจาคให้แก่ชุมชน

ทาบทามและรวมข้อมูล ของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ที่ผลผลิตค้าง ไม่สามารถถ่ายสู่ตลาดได้ และรวมข้อมูล และพิจารณา เปรียบเทียบ ราคาและความเหมาะสมของผลผลิตในการบริจาค รวมข้อมูล และพิจารณา สรุปการจัดส่ง จุดส่ง จุดรับ และวิธีการตามมาตราการรักษาห่างของวิกฤตการณ์COVID 19

3. ทำการสั่งซื้อ

ทาบทามและรวมข้อมูล ของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ที่ผลผลิตค้าง ไม่สามารถถ่ายสู่ตลาดได้ และรวมข้อมูล และพิจารณา เปรียบเทียบ ราคาและความเหมาะสมของผลผลิตในการบริจาค รวมข้อมูล และพิจารณา สรุปการจัดส่ง จุดส่ง จุดรับ และวิธีการตามมาตราการรักษาห่างของวิกฤตการณ์COVID 19

  • โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน : คุณป้อม โทร 086-875-5646
    ข้าวสารหอมมะลิ จำนวนยอดสุทธิ 1090 กก. ยอดรวม 41,000 บาท(: คิดเป็น 3 กก. 100 บาท)

  • ผู้รับจ้างจัดส่งร่วม โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน: คุณเอก โทร 087-080-7846

  • กลุ่มประมงธรรมชาติ บางประกง นาเขาวัง คุณยุทธ โทร 098-283-9369

  • คนรักษ์เล ของมูลนิธิอันดามัน ชมรมชาวประมงพื้นบ้านตรัง คุณเจีย โทร 089-729-9600

  • บ้านไร่อารมณ์ดี คุณเอื้อมพร โทร 091-878-8995

  • โครงการ city farm market ผ่าน กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์อู่ทอง คุณโอเล่ โทร 086-010-7212

  • Klungyabangkok (คลังยา): โทร 084-4511818

  • บริษัท เอ็น. เอส.กราวิตี้ จำกัด : โทร 084-4511818

  • ค่าขนส่งสำหรับเดินทางไปแจกจ่าย ยาพาราเซตามอล และชุด PPE : คุณกิจปกรณ์ โทร 089-487-6464

  • ค่าจัดทำแผ่นพับ คู่มือ Home Isolation

  • ค่าขนส่งสำหรับเดินทางไปแจกจ่าย แผ่นพับ คู่มือ Home Isolation : คุณกิจปกรณ์ โทร 089-487-6464

4. จัดส่งให้ชุมชน

ภาพบางส่วนจากกิจกรรมส่งมอบความช่วยเหลือในชุมชนต่างๆ

  • ชุมชนนวลจิต

  • ชุมชนแจ่มจันทร์

  • ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน

  • ชุมชนซอยหลังวัดหัวลำโพง

  • ชุมชนโชฎึก


เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

คุณเอื้อมพร: ชาวสวนกล้วย จากบ้านไร่อารมณ์ดี
(คุณเอื้อมพร ได้เพิ่มกล้วยจำนวน 112 กก. ในการร่วมแจกจ่ายผลผลิตทางการเกษตรไปยังชุมชนเป้าหมายทั้ง 8 แห่งเพิ่มเติม)

ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วม we!park กองทุนเทใจ หน่วยงานต่างๆ ที่ทำให้กล้วยของชาวไร่ชาวสวนได้ออกสู่ตลาด และทำให้เกิดสะพานบุญครั้งนี้นะคะ

คุณแสงเทียน : หัวหน้าชุมชนโชฎึก

ขอขอบคุณที่ได้ช่วยเหลือโดยการมอบของบริจาคครั้งนี้ ซึ่งทางชุมชนชอบของที่บริจาคมากๆ เนื่องจากเป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหาทานได้ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณืแบบนี้ อีกทั้งยังมีการขนส่งมาจากเกษตรกร ชาวสวนต้นทาง ทำให้ประทับใจในการรับของต่างๆเหล่านี้

สรุปผู้ได้รับประโยชน์

  • ชุมชน จำนวน 8 ชุมชน ประมาณ 400 คน โดยประเมินจากผลผลิตทั้งหมดที่แจกจ่าย ทุกคนชุมชน ได้รับอาหารในช่วงเวลาที่ไม่สามารถออกจากที่พักพิงได้ โดยสิ่งบริจาคเป็นอาหารสด นอกเหนือจากอาหารแห้ง ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารทะเล อีกทั้งผลผลิตมาจากต้นทางจากไร่ สวน ทำให้ได้รับ อาหารสด และพบเฉพาะแหล่ง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากขึ้น
  • กลุ่มวิสากิจชุมชน 8 ราย (เกษตรชาวไร่) ที่เคยมีผลลผลิตค้างสต๊อกจากการที่ไม่สามารถจำหน่ายออกได้ เนื่องจากไม่สามารถขนส่งออกได้ และทั้งตลาดและห้างสรรพสินค้าที่เป็นคลัสเตอร์ของการระบาดโรค มีช่องทางการระบายผลผลิตทางการเกษตร

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

‘City Share City’ นำเอาอาหารและสินค้าทางการเกษตรจากชุมเมืองอื่นๆ ตามพื้นถิ่นมาแบ่งปันแบบเมืองสู่เมือง แล้วนำเงินที่ระดมทุนได้ไปจัดซื้อสินค้าเกษตร อาหารทะเลแห้ง ชุด PPE และยารักษาโรค สำหรับการช่วยเหลือชุมชนให้รอดพ้นจากสถานการณ์ภัยคุกคามไวรัสโควิด-19

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่บ้านเมืองกำลังเผชิญกับปัญหาจากภัยคุกคามไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน ทำให้ผู้คนในหลายชุมชนต้องพบเจอกับปัญหาในการเข้าถึงอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นตลาดชุมชน หรือตลาดสินค้าที่ถูกปิดตัวลง ร้านอาหารที่สั่งได้แค่เฉพาะในรูปแบบออนไลน์เท่านั้น การกักตุนสินค้าและอาหารจนเกิดความขาดแคลน ไปจนถึงการเข้าถึงสินค้าและอาหารที่ปลอดภัย จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ทาง City Cracker ฉมา และ we!park เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โครงการ ‘City Share City’ หรือ ‘เมืองปันเมือง’ โครงการปันสินค้าเกษตรกรรมจากเมืองสู่เมืองจึงได้ถูกจัดทำขึ้น เพื่อลดปัญหาและช่องว่างในการเข้าถึงอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยเหล่านี้

City Share City จะเป็นแพลตฟอร์มกลางที่เข้าไปช่วยเหลือผู้คนในชุมชนเมืองที่ไม่มีความสามารถในการเข้าถึงอาหารและยารักษาโรคที่ปลอดภัย ผ่านการช่วยเหลือด้วยการนำเอาอาหารและสินค้าทางการเกษตรจากชุมเมืองอื่นๆ ตามพื้นถิ่นมาแบ่งปัน (Share) แบบเมืองสู่เมือง (City to City) โดยชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือเริ่มต้นจะเป็นชุมชนโดยรอบพื้นที่โครงการของ we!park จำนวนทั้งสิ้น 8 ชุมชน ได้แก่

  • ชุมชนนวลจิต จากโครงการสวนป่าเอกมัย
  • ชุมชนแจ่มจันทร์ จากโครงการสวนป่าเอกมัย
  • ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน จากโครงการสวนป่าเอกมัย
  • ชุมชนซอยหลังวัดหัวลำโพง จากพื้นที่โครงการสวนสาธารณะซอยหน้าวัดหัวลำโพง
  • ชุมชนโชฎึก จากโครงการพัฒนาพื้นที่ว่างเลียบคลองผดุงกรุงเกษม
  • ชุมชนโปลิศสภา จากโครงการพัฒนาพื้นที่ว่างเลียบคลองผดุงกรุงเกษม
  • ชุมชนช่างนาคสะพานยาว จากโครงการสวนสานธารณะ
  • ชุมชนสวนสมเด็จย่า จากโครงการสวนสานธารณะ
โครงการนี้นอกจากจะช่วยเหลือชุมชนที่ประสบภัยแล้ว ยังถือได้ว่าช่วยเกษตรกรและผู้ค้ารายย่อยที่ในช่วงนี้ต้องเผชิญกับปัญหายอดขายที่ลดลงและสินค้าที่ล้นตลาด ไปจนถึงปัญหาในการกระจายสินค้าและการขนส่งที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือที่ครอบคลุม ทั้งในมิติทางด้านกายภาพ  มิติทางด้านเศรษฐกิจ และมิติทางด้านสังคม

เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมชุมชนและยังเพิ่มโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือน City Cracker ฉมา และ we!park จึงขอนำเสนอคู่มือชุดให้ความรู้ เรื่องการแยกขยะและการนำขยะที่เหลือใช้ แปรรูปหรือนำมาใช้ใหม่ โดยจะเน้นขยะในรูปแบบที่มากับของบริจาคโควิดในช่วงนี้ เช่น ถุงยังชีพ ขวดน้ำ กล่องข้าว ขยะติดเชื้อ ฯลฯ เพื่อให้ชุมชนหรือผู้ป่วยที่กักตัวอยู่ในบ้านได้จัดการกับขยะในครัวเรือน ก่อนนำทิ้งผ่านเจ้าหน้าที่ตามปกติ ซึ่งในขยะเหล่านั้นบางชนิดยังสามารถเปลี่ยนสภาพ เช่นขยะสดที่สามารถเปลี่ยนเป็นปุ๋ยได้ หรือให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะติดเชื้อ โดยจะมีการแจกสติ๊กเกอร์ขยะติดเชื้อ เพื่อให้สามาถแยกขยะประเภทนี้ได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่ในครัวเรือน ลดการแพร่เชื้อในวงกว้างด้วย นอกจากนี้ ขยะที่เพิ่มขึ้นในครัวเรือน หากมีการแยกอย่างถูกวิธี ขยะบางส่วนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้


จุดประสงค์ของโครงการ

1. มุ่งหวังให้ชุมชนลดรายจ่ายและได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ เพื่อสร้างสุขภาวะที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากไวรัสโควิด-19 บริเวณภายนอกชุมชนในช่วงสถานการณ์โรคระบาด

2. กระจายผลผลิตเกษตรกรรมจากท้องถิ่นสู่ชุมชนเมือง เพื่อแบ่งปันทรัพยากรและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเกษตรกร

3. เพื่อสร้างสังคมแห่งการช่วยเหลือและแบ่งปัน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล

   1.1 รวบรวมข้อมูลและพิจารณาชุมชนเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือถึงความต้องการของสิ่งช่วยเหลือ

   1.2 รวบรวมข้อมูลและพิจารณากำหนดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนในการส่งมอบสิ่งของในช่วยเหลือ

   1.3 รวบรวมข้อมูลและพิจารณาปริมาณของสิ่งที่ส่งมอบ

   1.4 ทาบทามและรวบรวมข้อมูลสินค้าจากเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ที่ผลผลิตไม่สามารถถ่ายสู่ตลาดได้

   1.5 รวบรวมข้อมูลและพิจารณาเปรียบเทียบราคา และความเหมาะสมของผลผลิตในการบริจาค

   1.6 รวบรวมข้อมูลและสรุปการจัดส่ง จุดส่ง จุดรับ และวิธีการตามมาตราการรักษาระยะห่างของวิกฤตการณ์โควิด-19

2. การเปิดระดมทุนจากกองทุนเทใจ โดยแบ่งเป็น 3 หมวด

   2.1 หมวดชุด PPE และค่าดำเนินการ จะมีระยะเวลาที่คาดการณ์ ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อยอดของการระดมทุนใกล้ตามที่กำหนด (ตรวจสอบประมาณ วันที่4-5 จากการเปิดระดมทุน) จะทำการติดต่อ เพื่อทำการรับรองจากผู้ขาย และทำการรับรองของผู้รับ (ทีมแพทย์) เพื่อทำนัดหมายและทำการจัดส่งตามลำดับ

   2.2 หมวดอุปกรณ์เครื่องครัว วัตถุดิบ และเครื่องปรุง แก่ส่วนกลาง จะมีระยะเวลาที่คาดการณ์ ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อยอดของการระดมใกล้ตามที่กำหนด (ตรวจสอบประมาณ วันที่4-5 จากการเปิดระดมทุน) จะทำการติดต่อ เพื่อทำการรับรองจากผู้ขาย และทำการรับรองของจากผู้รับ (ชุมชนที่มีการจัดตั้งครัวกลางของชุมชน) เพื่อทำนัดหมายและทำการจัดส่งตามลำดับ

   2.3 หมวดชุดผลผลิตทางการเกษตร จะมีระยะเวลาที่คาดการณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อยอดของการระดมใกล้ตามที่กำหนด (ตรวจสอบประมาณ วันที่ 10-12 จากการเปิดระดมทุน) จะทำการประเมินยอดเบื้องต้น ถ้ามียอดที่ใกล้เคียงกับจำนวนที่ตั้งไว้จะทำการติดต่อ เพื่อทำการรับรองจากผู้ขาย และทำการรับรองของจากผู้รับ (ชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ) เพื่อทำนัดหมายและทำการจัดส่งตามลำดับ

3. การส่งมอบ

   3.1 หลังจากทำการติดต่อระหว่างกลุ่มเกษตรกร ชาวไร่ และชาวสวน ทางเราจะขอรูปถ่ายหลักฐานการส่งผลผลิตและหลักฐานค่าใช้จ่าย ก่อนทำการเบิกจ่าย เพื่อเป็นการยืนยันการส่งมอบ

   3.2 ขอคำรับรองและการยืนยันในการประสานงานจากกลุ่มชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมข้อมูลเพื่อจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดเก็บผลผลิตที่ถูกส่งมายังชุมชน

   3.3 ส่งมอบสินค้าแก่ชุมชนโดยไม่ผ่านตัวกลาง จะเป็นการส่งมอบจากกลุ่มเกษตรกรสู่ชุมชนเป้าหมายโดยตรง โดยทางทีมจะเป็นผู้ประสานงานและติดตามตลอดการดำเนินการ จนกว่าชุมชนจะได้รับสิ่งของอย่างครบถ้วน

   3.4 ทางเราจะดำเนินการเก็บหลักฐานของที่ส่งมอบจากกลุ่มชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการยืนยันจากทั้ง 2 ฝ่ายว่าได้รับสินค้าที่ครบและปลอดภัย

4. ตรวจสอบจำนวนเงินและสิ่งของที่ส่งมอบ เพื่อจัดทำรายงานบัญชีแก่กองทุนเทใจ

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

1.ผู้จัดทำโครงการและผู้ประสานงาน

     City Cracker เป็นสื่อออนไลน์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านเมือง การออกแบบ และสถาปัตยกรรม ภายใต้นามบริษัท ฉมา จำกัด มีประเด็นมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาทางสังคม การจัดการเมือง กลไกขับเคลื่อนเมือง ไปจนถึงการพัฒนาเมืองและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดียิ่งขึ้นผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ โดย City Cracker มุ่งหวังที่จะให้ผู้คนได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม และหนทางไปสู่คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

     โครงการนี้ City Cracker ร่วมกับทาง we!park แพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ว่างให้กลายมาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียว ภายใต้การสนับสนุนจากสสส. และบริษัท ฉมา จำกัด บริษัทด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ที่เชื่อว่างานออกแบบที่ดีจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเมืองให้ดีขึ้นได้ ได้จัดทำโครงการ ‘City Share City หรือเมืองปันเมือง’ โครงการปันสินค้าเกษตรกรรมจากเมืองสู่เมืองขึ้น เพื่อช่วยเหลือชุมชนในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ผ่านการระดมทุนกับทางเทใจ เพื่อนำเงินระดมทุนไปจัดซื้อสินค้าเกษตรกรรม อาหารทะเลแห้ง ชุด PPE ยารักษาโรค และชุดเครื่องครัวสำหรับการช่วยเหลือชุมชนให้รอดพ้นจากสถานการณ์ภัยคุกคามไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้



2.กลุ่มเกษตรกร

โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน

กลุ่มประมงธรรมชาติ บางประกง นาขาวัง

ชุมชนบ้านเขาวัง (ชุมชนมุสลิมในหุบเขา)

บ้านไร่อารมณ์ดี

โครงการ city farm market ผ่าน กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์อู่ทอง

3. กลุ่มชุมชน

ชุมชนนวลจิต

ชุมชนแจ่มจันทร์

ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน

ชุมชนซอยหลังวัดหัวลำโพง

ชุมชนโชฎึก

ชุมชนโปลิศสภา

ชุมชนช่างนาคสะพานยาว

ชุมชนสวนสมเด็จย่า


รายงานการดำเนินงานโครงการ City Share City

21 ธันวาคม 2021

ทางโครงการ City Share City โดย we!park ได้มีการดำเนินโครงการไปเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายงานสรุปผลการดำเนินงานดังนี้

1. ช่วงระดมทุน

ทำการรวบรวมข้อมูลของเกษตรกร ชาวสวน กสิกร ที่ได้รับผลกระทบการปล่อยผลผลิตสู่ตลาด และข้อมูลชุมชนต่างๆที่มีผู้ประสบปัญหาจากการกักตัวของ COVID19 โดย ทางwe!park

2. ทำการติดต่อ ทาบทาม เพื่อระบุรายเอียดที่จะทำการสั่งซื้อเพื่อนำไปบริจาคให้แก่ชุมชน

ทาบทามและรวมข้อมูล ของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ที่ผลผลิตค้าง ไม่สามารถถ่ายสู่ตลาดได้ และรวมข้อมูล และพิจารณา เปรียบเทียบ ราคาและความเหมาะสมของผลผลิตในการบริจาค รวมข้อมูล และพิจารณา สรุปการจัดส่ง จุดส่ง จุดรับ และวิธีการตามมาตราการรักษาห่างของวิกฤตการณ์COVID 19

3. ทำการสั่งซื้อ

ทาบทามและรวมข้อมูล ของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวน ที่ผลผลิตค้าง ไม่สามารถถ่ายสู่ตลาดได้ และรวมข้อมูล และพิจารณา เปรียบเทียบ ราคาและความเหมาะสมของผลผลิตในการบริจาค รวมข้อมูล และพิจารณา สรุปการจัดส่ง จุดส่ง จุดรับ และวิธีการตามมาตราการรักษาห่างของวิกฤตการณ์COVID 19

  • โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน : คุณป้อม โทร 086-875-5646
    ข้าวสารหอมมะลิ จำนวนยอดสุทธิ 1090 กก. ยอดรวม 41,000 บาท(: คิดเป็น 3 กก. 100 บาท)

  • ผู้รับจ้างจัดส่งร่วม โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน: คุณเอก โทร 087-080-7846

  • กลุ่มประมงธรรมชาติ บางประกง นาเขาวัง คุณยุทธ โทร 098-283-9369

  • คนรักษ์เล ของมูลนิธิอันดามัน ชมรมชาวประมงพื้นบ้านตรัง คุณเจีย โทร 089-729-9600

  • บ้านไร่อารมณ์ดี คุณเอื้อมพร โทร 091-878-8995

  • โครงการ city farm market ผ่าน กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์อู่ทอง คุณโอเล่ โทร 086-010-7212

  • Klungyabangkok (คลังยา): โทร 084-4511818

  • บริษัท เอ็น. เอส.กราวิตี้ จำกัด : โทร 084-4511818

  • ค่าขนส่งสำหรับเดินทางไปแจกจ่าย ยาพาราเซตามอล และชุด PPE : คุณกิจปกรณ์ โทร 089-487-6464

  • ค่าจัดทำแผ่นพับ คู่มือ Home Isolation

  • ค่าขนส่งสำหรับเดินทางไปแจกจ่าย แผ่นพับ คู่มือ Home Isolation : คุณกิจปกรณ์ โทร 089-487-6464

4. จัดส่งให้ชุมชน

ภาพบางส่วนจากกิจกรรมส่งมอบความช่วยเหลือในชุมชนต่างๆ

  • ชุมชนนวลจิต

  • ชุมชนแจ่มจันทร์

  • ชุมชนสุเหร่าบ้านดอน

  • ชุมชนซอยหลังวัดหัวลำโพง

  • ชุมชนโชฎึก


เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์

คุณเอื้อมพร: ชาวสวนกล้วย จากบ้านไร่อารมณ์ดี
(คุณเอื้อมพร ได้เพิ่มกล้วยจำนวน 112 กก. ในการร่วมแจกจ่ายผลผลิตทางการเกษตรไปยังชุมชนเป้าหมายทั้ง 8 แห่งเพิ่มเติม)

ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วม we!park กองทุนเทใจ หน่วยงานต่างๆ ที่ทำให้กล้วยของชาวไร่ชาวสวนได้ออกสู่ตลาด และทำให้เกิดสะพานบุญครั้งนี้นะคะ

คุณแสงเทียน : หัวหน้าชุมชนโชฎึก

ขอขอบคุณที่ได้ช่วยเหลือโดยการมอบของบริจาคครั้งนี้ ซึ่งทางชุมชนชอบของที่บริจาคมากๆ เนื่องจากเป็นผลผลิตที่ไม่สามารถหาทานได้ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณืแบบนี้ อีกทั้งยังมีการขนส่งมาจากเกษตรกร ชาวสวนต้นทาง ทำให้ประทับใจในการรับของต่างๆเหล่านี้

สรุปผู้ได้รับประโยชน์

  • ชุมชน จำนวน 8 ชุมชน ประมาณ 400 คน โดยประเมินจากผลผลิตทั้งหมดที่แจกจ่าย ทุกคนชุมชน ได้รับอาหารในช่วงเวลาที่ไม่สามารถออกจากที่พักพิงได้ โดยสิ่งบริจาคเป็นอาหารสด นอกเหนือจากอาหารแห้ง ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารทะเล อีกทั้งผลผลิตมาจากต้นทางจากไร่ สวน ทำให้ได้รับ อาหารสด และพบเฉพาะแหล่ง ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากขึ้น
  • กลุ่มวิสากิจชุมชน 8 ราย (เกษตรชาวไร่) ที่เคยมีผลลผลิตค้างสต๊อกจากการที่ไม่สามารถจำหน่ายออกได้ เนื่องจากไม่สามารถขนส่งออกได้ และทั้งตลาดและห้างสรรพสินค้าที่เป็นคลัสเตอร์ของการระบาดโรค มีช่องทางการระบายผลผลิตทางการเกษตร

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าผลผลิตสำหรับบริจาคชุดละ 450 บาท แต่ละชุดประกอบด้วย - ข้าวสาร 2 กก. 80 บาท - อาหารทะเลแห้ง 150 บาท - ชุดผักสด 100 บาท - มังคุดจากนครศรีธรรมราช 1 กก. 40 บาท - กล้วย 1 กก. 30 บาท - ยาพาราเซตามอล 2 แผง 20 บาท - ค่าขนส่ง 30 บาท - คู่มือ 1 ชุด 300 ชุด 135,000.00
2 ค่าชุด PPE แบบซักได้ชุดละ 370 บาท 20 ชุด 7,400.00
3 ค่าสนับสนุนครัวส่วนกลาง 3 ชุมชน 30,000.00
4 ค่าดำเนินการ อาทิ ค่าขนส่ง ค่าทำสำเนาคู่มือและเอกสาร ฯลฯ 8 ชุมชน 8,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
180,400.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
18,040.00

ยอดระดมทุน
198,440.00