project สิ่งแวดล้อม

ฟื้นป่าเชียงดาวเพื่อหยุดไฟป่าและลดหมอกควัน

ชวนทุกคนร่วมสนับสนุนการปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ (Forest Fire Break) ระหว่างขอบไร่กับขอบป่าในพื้นที่ในผืนป่าเชียงดาว 20 หมู่บ้าน และหยอดเมล็ดพันธ์ุในผืนป่าเชียงดาว เพื่อให้รากแก้วชอนไชรักษาป่าไปนานถึง 3 ชั่วคน พร้อมทำแผนที่การดูแลป่าร่วมกันยั่งยืน

ระยะเวลาโครงการ 5 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

212,070 บาท

เป้าหมาย

200,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 106%
จำนวนผู้บริจาค 9

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

วางแผนทำแนวป้องกันไฟป่าใน 27 หมู่บ้าน

15 กรกฎาคม 2019

ช่วยกันปลูกต้นไม้ และหว่านเมล็ดพันธุ์

เรายังต้องการอาสาที่มาร่วมปลูกป่ากันเราอีก ใครที่สนใจสมัครได้ที่ ค่ายเยาวชนเชียงดาว 081-9926031 หรือ www.facebook.com/nikom.putta/

ขอบคุณทุกท่านที่ส่งแรงปลูกป่ากับเรา

เข้ากลางฤดูฝนแล้ว แต่ฝนยังไม่มากเท่าที่ควร แล้งหน้าอาจจะแล้งหนักขึ้น ซึ่งทำให้เราต้องเร่งมือกันปลูกต้นไม้ในป่าให้ได้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบหมอกควันและความแห้งแล้งที่จะมาเยือน


นิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิง สำหรับเงินที่ได้รับการสนับสนุนได้นำไปชื้อหน่อกล้วย จ้างชาวบ้านเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า ค่าแรงงานเพาะชำเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงานสร้าง ขยายเรือนเพาะชำ ขนย้ายกล้า จากศูนย์เพาะ มาเก็บไว้ที่ค่าย และขนย้ายไปในพื้นที่ปลูกป่า ซื้ออุปกรณ์ จอบ เสียม และช่วยค่าอาหาร ให้อาสาสมัคร ที่มาร่วมปลูกป่า

รายชื่อหมู่บ้านของการปลูกครั้งนี้มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน ที่จะเข้าไปทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า และปลูกป่า ในพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย

ต.เชียงดาว ประกอบด้วย 1.บ้านทุ่งหลุก 2.บ้านปางแดงนอก 3.บ้านปางแดงใน 4.บ้านท่าขี้เหล็ก 5.บ้านปางจร 6.บ้านถ้ำ 7.บ้านป่าโหล 8.บ้านยางปู่โต๊ะ

ต.แม่นะ ประกอบด้วย 9.บ้านสันป่าเกียะ 10.บ้านปางฮ่าง 11.บ้านจอมคีรี 12.บ้านแม่นะ 13.บ้านยางทุ่งโป่ง

ต.ปิงโค้ง ประกอบด้วย 14.บ้านก๊อดป่าบง 15.บ้านห้วยน้ำริน 16.บ้านปางโม่ 17.บ้านห้วยทรายขาว

ต.เมืองงาย ประกอบด้วย 18.บ้านแม่ข้อน 19.บ้านม่วงง้ม 20.บ้านสหกรณ์

ต.เมืองนะ ประกอบด้วย 21.บ้านโป่งอาง 22.บ้านน้ำรู 23.บ้านเจียจันทร์ 24.บ้านเมืองนะเหนือ 25.บ้านเมืองนะใต้ 26.บ้านหนองวัวแดง 27.บ้านแม่ก่อน


แนวทางที่ดำเนินการ คือ

  1. การปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ (Forest Fire Break) ระหว่างขอบไร่กับขอบป่า ซึ่งการปลูกกล้วยรอบนี้จำนวนต้นไม้ยังจะทำให้เรามีหน่อกล้วยในปีหน้าถึง 2,800 ต้น พื้นที่ป่ากันชน รอบดอยหลวงเชียงดาว
  2. จัดหาคนในชุมชนช่วยกันเก็บเมล็ดพันธ์ุไม้จากป่าเพื่อเตรียมการเพาะปลูกในพื้นที่ 27 หมู่บ้าน อาทิ สัก มะขามป้อม มะค่า สมอพิเภก มะกอกป่า มะม่วงป่า หว้า
  3. รับต้นกล้าจากศูนย์เพาะ มาเก็บไว้ที่ค่าย และขนย้ายไปในพื้นที่ปลูกป่า
  4. จัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อฝนตกน้อยทำให้พื้นที่การปลูกที่จะมีประสิทธิภาพลดลง วันที่วางแผนในการเก็บเมล็ดพันธุ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ น้อยลง 

สมัครร่วมปลูกได้ ที่นี่

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ไฟที่โหมลุกกระหน่ำในช่วงกลางคืน ท้องฟ้าเชียงดาวที่หลายคนมีโอกาสไปนอนนับดาว กลับมองเห็นแต่ทะเลเพลิง

หลายคนตั้งคำถามว่าไฟป่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ธรรมชาติ...
หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์...

นิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิงบอกว่า ต้องยอมรับว่า คนก็เป็นสาเหตุหลัก เพราะวันนี้เรายังอยู่ในโลกอุตสาหกรรมที่เติบโต อาหารการกินและของใช้มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติ ชาวบ้านที่ยากจนต้องผลิตข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารสัตว์ และคนก็บริโภค เมื่อความต้องการมากขึ้น ก็ต้องยิ่งขยายพื้นที่ การถางวัชพืชไม่ทัน ต้องเผา ปัญหานี้ใหญ่มาก แก้ปัญหาได้ยาก

ตรงกับกรมอุทยานแห่งชาติระบุว่า ไฟป่าที่เกิดมากที่สุดมาจากการเผาไร่ติดป่าเพื่อกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมเพาะปลูก การเผาพื้นที่เพื่อส่องสว่างในการเดินป่า การล่าสัตว์ การทำปศุสัตว์เพื่อทำให้พื้นที่เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และความประมาท แต่ไม่ใช่เราหยุดไฟป่าไม่ได้ สิ่งที่พวกเราสามารถเริ่มและทำได้เลย คือ

สิ่งแรก : การปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ (Forest Fire Break) ระหว่างขอบไร่กับขอบป่า

ซึ่งกล้วยการปลูกกล้วย 4 ชั้นจะทำให้เกิดการป้องกันที่ดี และยังเป็นอาหารของสัตว์ป่า และคนอีกด้วย โดยใช้ทั้งกล้วยป่า และกล้วยผลตามความเหมาะสมของพื้นที่ ต้นกล้วยหนึ่งต้นสามารถกักเก็บน้ำไว้ในตัวหลายลิตร จึงสามารถให้ความชื้นกับพื้นที่รอบๆ กลายเป็นป่าเปียก และเมื่อไฟมาก็จะสามารถช่วยกันไฟได้ดีกว่าต้นไม้อื่นเพราะมีน้ำเยอะ

สิ่งที่สอง : ฟื้นฟูป่า ด้วยการการปลูกต้นไม้แซมในพื้นที่ซึ่งโดนไหม้ไปหรือพื้นที่ว่างในป่า โดยใช้เมล็ดพันธ์ุไม้ยืนต้น อาทิ ต้นสมอพิเภก ต้นพยุง ต้นสัก ต้นมะค่า เป็น เราเลือกใช้การปลูกโดยเมล็ดพันธ์ุไม้ยืนต้น

ประโยชน์จากการปลูกด้วยเมล็ด

  • การปลูกด้วยเมล็ดจะทำให้รากแก้วหยั่งรากลึกได้ดีและแข็งแรงกว่าการเอาต้นกล้าที่เพาะในถุงไปปลูกเพราะความแข็งแรงของรากแก้วต่างกัน
  • โอกาสการปลูกด้วยเมล็ด ทำให้แม้ต้นจะโดนไฟไหม้ หากรากแข็งก็สามารถกลับมาแตกหน่อใหม่ได้

ประโยชน์จากการปลูกไม้ยืนต้น

  • ไม้ยืนต้นที่เลือกปลูกมีชีวิตยืนยาวเมื่อเทียบกับมนุษย์อาจบอกได้ว่าราว 3 ชั่วคน
  • ไม้ยืนต้นบางชนิดเป็นยา เช่น เปลือกและใบของสมอพิเภก ชนเผ่าปกากะญอสามารถย้อมผ้าได้ เป็นยาแก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ
สำหรับการเลือกพื้นที่ปลูกจะป่าเชิงเขา และปลูกช่วงฤดูฝน โดยขุดฝั่งเมล็ดเพื่อเติมตามช่องว่างของต้นไม้ เพื่อเม็ดฝนเข้าถึงเมล็ด แดดส่องถึงและสามารถเติบโต ผลิใบได้

อย่างไรก็ตาม ทางเราก็ยังปลูกป่าด้วยต้นกล้าด้วย โดยการปลูกด้วยต้นกล้าจะปลูกระหว่างพื้นที่แนวกันไฟและป่าชั้นใน เพราะการปลูกป่าด้วยต้นกล้า จำเป็นที่ต้องมีชาวบ้านช่วยดูแล 

สิ่งที่สาม : รักษาป่าดั้งเดิม ไม่ให้สูญเสียไปมากกว่านี้ด้วยการเรียกความเชื่อมั่นของชาวบ้าน เข้าพูดคุย และกำหนดกติกาการใช้พื้นที่และการดูแลรักษาป่าร่วมกัน ทำแผนที่กำหนดเขตอนุรักษ์ป่าที่จะดูแลไม่ให้เกิดการบุกรุกเพิ่มเติมในหมู่บ้านหรือพื้นที่ป่าใกล้เคียง ร่วมทำแผนการดูแลพื้นที่และการใช้พื้นที่ทำกินของตนเองร่วมกับทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิง ให้ชาวบ้านอยู่ได้จริงจากพื้นที่ที่มีอยู่ มีอาหารและรายได้พื้นฐาน ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ยั่งยืน เราเชื่อว่า 3 สิ่งนี้จะหยุดไฟป่า และหมอกควันที่ อ.เชียงดาว และส่งผลกระทบในอำเภอใกล้เคียงและตัวเมืองเชียงใหม่ได้ด้วย

วิธีการทำของเรา

  1. จัดหาคนในชุมชนช่วยกันเก็บเมล็ดพันธ์ุไม้จากป่าจำนวน 200 กระสอบเพื่อเตรียมการเพาะปลูกในพื้นที่ 20 หมู่บ้านอาณาเขตหมู่บ้านละ 10-20 ไร่
  2. จัดหาคนในชุมชนช่วยกันช่วยขุดหน่อกล้วย 32,000 หน่อ เพื่อปลูกเป็นแนวกันไฟครอบคลุม 20 หมู่บ้าน ราว 40 กิโลเมตร โดยแต่ละต้นปลูกห่างกัน 5-6 เมตร ปลูกทั้งหมด 4 ชั้น หรือคิดเป็นระยะทางเมื่อต่อกันราว 160,000 เมตร
  3. รับอาสาสมัครทุกสุดสัปดาห์ (เสาร์-อาทิตย์) ตั้งแต่มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2562 เป็นเวลา 14 สัปดาห์ เพื่อชวนกันปลูกเมล็ดพันธุ์และหน่อกล้วย สัปดาห์ละ 20-30 คน โดยสมัครได้ที่ เข้าพูดคุยหารือกับชาวบ้าน
  4. จัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. คนในพื้นที่และนอกพื้นที่รวมกันแก้ปัญหาไฟไหม้ป่า
  2. ฟื้นฟูป่า 200-400 ไร่ในพื้นที่อำเภอเชียงดาวให้มีป่าเบญพรรณที่สมบูรณ์
  3. ให้ 20 อำเภอเชียงดาวมีแนวกันไฟ ซึ่งจะลดปัญหาหมอกควันในตัวเมืองเชียงใหม่ได้ด้วย
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องการปลูกป่าและมีความเข้าใจในปัญหาของเศรษฐกิจของขาวบ้าน พร้อมปัญหาหมอกควันมากขึ้น เกิดแผนการดูแลพื้นที่ร่วมกัน กติกาชุมชน และแผนที่กำหนดพื้นที่ป่าร่วมกันดูแล

เจ้าของโครงการ

นิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิง
www.facebook.com/nikom.putta/

วางแผนทำแนวป้องกันไฟป่าใน 27 หมู่บ้าน

15 กรกฎาคม 2019

ช่วยกันปลูกต้นไม้ และหว่านเมล็ดพันธุ์

เรายังต้องการอาสาที่มาร่วมปลูกป่ากันเราอีก ใครที่สนใจสมัครได้ที่ ค่ายเยาวชนเชียงดาว 081-9926031 หรือ www.facebook.com/nikom.putta/

ขอบคุณทุกท่านที่ส่งแรงปลูกป่ากับเรา

เข้ากลางฤดูฝนแล้ว แต่ฝนยังไม่มากเท่าที่ควร แล้งหน้าอาจจะแล้งหนักขึ้น ซึ่งทำให้เราต้องเร่งมือกันปลูกต้นไม้ในป่าให้ได้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบหมอกควันและความแห้งแล้งที่จะมาเยือน


นิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่ปิง สำหรับเงินที่ได้รับการสนับสนุนได้นำไปชื้อหน่อกล้วย จ้างชาวบ้านเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า ค่าแรงงานเพาะชำเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงานสร้าง ขยายเรือนเพาะชำ ขนย้ายกล้า จากศูนย์เพาะ มาเก็บไว้ที่ค่าย และขนย้ายไปในพื้นที่ปลูกป่า ซื้ออุปกรณ์ จอบ เสียม และช่วยค่าอาหาร ให้อาสาสมัคร ที่มาร่วมปลูกป่า

รายชื่อหมู่บ้านของการปลูกครั้งนี้มีทั้งหมด 27 หมู่บ้าน ที่จะเข้าไปทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า และปลูกป่า ในพื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ปิง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย

ต.เชียงดาว ประกอบด้วย 1.บ้านทุ่งหลุก 2.บ้านปางแดงนอก 3.บ้านปางแดงใน 4.บ้านท่าขี้เหล็ก 5.บ้านปางจร 6.บ้านถ้ำ 7.บ้านป่าโหล 8.บ้านยางปู่โต๊ะ

ต.แม่นะ ประกอบด้วย 9.บ้านสันป่าเกียะ 10.บ้านปางฮ่าง 11.บ้านจอมคีรี 12.บ้านแม่นะ 13.บ้านยางทุ่งโป่ง

ต.ปิงโค้ง ประกอบด้วย 14.บ้านก๊อดป่าบง 15.บ้านห้วยน้ำริน 16.บ้านปางโม่ 17.บ้านห้วยทรายขาว

ต.เมืองงาย ประกอบด้วย 18.บ้านแม่ข้อน 19.บ้านม่วงง้ม 20.บ้านสหกรณ์

ต.เมืองนะ ประกอบด้วย 21.บ้านโป่งอาง 22.บ้านน้ำรู 23.บ้านเจียจันทร์ 24.บ้านเมืองนะเหนือ 25.บ้านเมืองนะใต้ 26.บ้านหนองวัวแดง 27.บ้านแม่ก่อน


แนวทางที่ดำเนินการ คือ

  1. การปลูกกล้วยเป็นแนวหยุดไฟ (Forest Fire Break) ระหว่างขอบไร่กับขอบป่า ซึ่งการปลูกกล้วยรอบนี้จำนวนต้นไม้ยังจะทำให้เรามีหน่อกล้วยในปีหน้าถึง 2,800 ต้น พื้นที่ป่ากันชน รอบดอยหลวงเชียงดาว
  2. จัดหาคนในชุมชนช่วยกันเก็บเมล็ดพันธ์ุไม้จากป่าเพื่อเตรียมการเพาะปลูกในพื้นที่ 27 หมู่บ้าน อาทิ สัก มะขามป้อม มะค่า สมอพิเภก มะกอกป่า มะม่วงป่า หว้า
  3. รับต้นกล้าจากศูนย์เพาะ มาเก็บไว้ที่ค่าย และขนย้ายไปในพื้นที่ปลูกป่า
  4. จัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อฝนตกน้อยทำให้พื้นที่การปลูกที่จะมีประสิทธิภาพลดลง วันที่วางแผนในการเก็บเมล็ดพันธุ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ น้อยลง 

สมัครร่วมปลูกได้ ที่นี่

แผนการใช้เงิน

เนื่องจากฤดูฝนนี้ ฝนตกน้อย เจ้าของโครงการจึงลดพื้นที่การปลูกลง จึงขอปรับลดยอดอยู่ที่ 200,000 บาท

รายการหน่วยราคาค่อหน่วย/บาท รวม
1.สนับสนุนค่าเก็บเม็ดพันธุ์ 200 กระสอบ ระยะเวลา 30 วัน10 คน30090,000
2.สนับสนุนขุดหน่อกล้วยเพื่อทำแนวกันไฟ ระยะเวลา 30 วัน10 คน30090,000
3.สนับสนุนค่าอาหารและน้ำสำหรับอาสาสมัครทุกสุดสัปดาห์ (เสาร์อาทิตย์) ตั้งแต่มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2562 เป็นเวลา 14 สัปดาห์30 คน300126,000
4.สนับสนุนค่าเดินทางเพื่อจัดกระบวนการสร้างความมีส่วนร่วมในการทำแผนการดูแลพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ทางการ และกลุ่มอนุรักษ์ ให้เกิดกติกาและแผนที่การดูแลพื้นที่ร่วมกัน 20 หมู่บ้าน4,05081,000
5.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจโดยประมาณ

38,700
รวมงบประมาณทั้งหมด

425,700