project ผู้พิการและผู้ป่วย

สอนว่ายน้ำคนตาบอด

ฝึกคนตาบอดหรือเด็กตาบอดให้มีทักษะในการว่ายน้ำเบื้องต้นและเอาตัวรอดจากการจมน้ำ ตลอดจนการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน

ยอดบริจาคขณะนี้

40,240 บาท

เป้าหมาย

33,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 122%
จำนวนผู้บริจาค 33

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สอนว่ายน้ำคนตาบอด

8 ตุลาคม 2018

จากการสอนทักษะว่ายน้ำสำหรับคนตาบอด ในโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด วันที่ 1 กันยายน 2561  เป็นต้นมา ทำให้คนตาบอดที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่กล้าที่จะทำกิจกรรมทางน้ำและว่ายน้ำได้ จากเดิมที่ไม่มีความมั่นใจในการ ทำกจกรรมทางน้ำ

การสอนของโครงการมีขั้นตอนการสอนจากขั้นพื้นฐานในการว่ายน้ำโดยมีครูผู้สอนและอาสาสมัครช่วยดูแลในการฝึกปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น กับคนตาบอดที่ฝึกหัดว่ายน้ำ และนำไปสู้ขั้นตอนการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยคนตาบอดจะว่ายตาม เสียงของครูผู้ฝึกสอน มีท่าว่ายน้ำแบบบังคับในการฝึกคือ ว่ายท่าฟรีสไตร์ ว่ายท่ากบ ว่ายท่ากรรเชียง ซึ่งทุกคนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำได้


นอกจากนี้ยังมีการ ฝึกนอนหงายลอยตัวในท่าปลาดาว จับเวลา 30 นาที เพื่อให้คนตาบอดมีทักษะเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำ และรอความช่วยเหลือ ซึ่งบางคนทำได้ตามเวลาที่กำหนดและบางคนทำได้ใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนด 

สำหรับการการสอนเราได้เริ่มทำงานตั้งแต่เดือนกันยายน ตุลาคม 2561 จะมีการฝึกและสอน การใช้ อุปการช่วยชีพในน้ำ การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยทางน้ำ การเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนสติ ( CPR ) ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม จะมีการประเมินผลของผู้เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด ใน 3 ทักษะ คือ

1.ทักษะการว่ายน้ำ

2.ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และการขอความช่วยเหลือด้วยวิธีต่างๆ

3.ทักษะการให้ความช่วยเหลือคนตกน้ำเบื้องต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด ทุกคนต้องผ่านการประเมิน ทักษะทั้ง 3 ทักษะ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความคาดหวังเมื่อจบโครงการ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับ คนตาบอด จะต้องว่ายน้ำเป็น และเอาตัวลอดจากการประสบเหตุและประสบภัยทาง น้ำ ตลอดจนสามารถรวมกลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง


สำหรับงบประมาณ

1.จัดซื้อ ชุดว่ายน้ำจำนวน 8 ชุด

2.หมวกว่ายน้ำแบบผ้า จำนวน 10 ใบ

3.จัดซื้อคลิกบอด จำนวน 10 ชิ้น

4.จัดทำป้ายโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับ ค

5.ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำ ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วม โครงการว่ายน้ำ เพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด จำนวน 23 คน ทุกวันเสาร์

นอกจากนี้ได้รับการสนับสนุนชุดว่ายน้ำจากสมาคนกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย จำนวน 14 ชุด และคลิกบอดจำนวน 11 ชิ้น ได้รับการสนับสนุน แว่นตาว่ายน้ำจาก คุณ Noppa Srisue และบริษัท Speedo จำนวน 30 ชิ้น ได้รับการสนับสนุนหมวกว่ายน้ำแบบซีลีโคลน จำนวน 12ใบ จากคุณ Maprang Nawatchara และคณะ ได้รับการสนับสนุนเสื้อชูชีพ จำนวน 10 ตัว จากร้านสนามเดินป่า เพื่อให้คนตาบอด ได้เรียนรู้การใช้เสื้อชูชีพอย่างถูกวิธีและเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนในน้ำเมื่อใส่เสื้อ ชูชีพได้รับการสนับสนุนการให้บริการสระว่ายน้ำ จาก คุณ Phawinwat Thammakitmongkol โดยลดอัตราค่าใช้บริการ สระว่ายน้ำ จาก 50 บาท/คน เหลือ 40 บาท/คน


 การใช้คลิกบอร์ดในการฝึกว่ายน้ำ

ปลาดาว ทักษะสำคัญในการรอคอยความช่วยเหลือ

ทักษะการว่ายท่ากรรเชียง

การใช้ชูชีพที่ถูกวิธี

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
ทำไมจึงต้องสอนว่ายน้ำแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็น ?

เพราะ ปัจจุบันอุบัติเหตุจากการจมน้ำยังเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทย

เพราะ 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 1,325 คน/ปี หรือเกือบวันละ 4 คน

แม้วันนี้การดำเนินงานรณรงค์ป้องกันเด็กจมจมน้ำของ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการจะมีนโยบายให้เด็กไทยต้องว่ายน้ำเป็นทุกคน กิจกรรมว่ายน้ำเป็น แต่เราก็พบเด็กว่ายน้ำไม่เป็นอีกจำนวนมาก

โดยเฉพาะกลุ่มเด็กตาบอด เป็นกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในการเรียนและการฝึกว่ายน้ำ ส่งผลให้คนตาบอดส่วนใหญ่ว่ายน้ำไม่เป็น เราจึงอยากสร้างโอกาสให้คนตาบอดได้เรียนและฝึกว่ายน้ำ กลุ่มชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น

นายคันธง ดำรงศาสตร์ ผู้ฝึกสอนกีฬาสำหรับคนตาบอด  จึงวางแผนและจัดโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด ในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง ขึ้นเพื่อให้คนตาบอด ว่ายน้ำเป็นและช่วยเหลือตนเองได้เมื่อประสบอุบัติเหตุและประสบอุบัติภัยทางน้ำ พร้อมวิธีการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยทางน้ำ ตลอดจนพัฒนาไปสู่กีฬาทางน้ำสำหรับคนตาบอดในอนาคต


ที่ผ่านมาเราได้ทำโครงการว่ายน้ำเพื่อเอาตัวรอดจากการจมน้ำ จัดขึ้น ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 มีนักเรียนคนตาบอดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน โดยใช้เวลาช่วงกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ ในช่วง เวลา 13.00 น. ถึงเวลา 15.30 น. ของทุกวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ โดยแบ่งเป็นช่วงชั้นคือ ป1 – ป2 วันจันทร์/ ป.3 วันอังคาร / ป.4 วันพุธ /ป.5 วันพฤหัสบดี/ ป.6 วันศุกร์ และมีนักเรียนที่ผ่านการทดสอบก่อนปิดโครงการ จำนวน 15 คน ทั้งระดับชั้นประถมต้น และระดับชั้นประถมปลาย ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กตาบอดให้ลดน้อยลง นอกจากการฝึกทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นแล้ว ยังมีการฝึกการขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุอุบัติภัยทางน้ำ  


วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้คนตาบอดมีทักษะว่ายน้ำเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

2. เพื่อให้คนตาบอดช่วยเหลือตนเองได้เมื่อประสบอุบัติเหตุและอุบัติภัยทางน้ำ

3. เพื่อให้คนตาบอดรู้จักวิธีการขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นได้เมื่อประสบอุบัติเหตุและอุบัติภัยทางน้ำ

4. เพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำให้มีความรู้ในการสอนว่ายน้ำสำหรับคนตาบอด

5. เพื่อลดอัตราความเสี่ยงต่อการจมน้ำของคนตาบอดในประเทศไทย

6. เพื่อพัฒนาสู่การเรียนรู้กีฬาทางน้ำสำหรับคนตาบอด


กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

1. คนตาบอดทั่วไป หรือเด็กนักเรียนคนตาบอด อายุ 6 ปีขึ้นไป ชายและหญิง จำนวน 20 คน

2. ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ จำนวน 5 คน

3. อาสาสมัครหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน จำนวน 5 คน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

- วันที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2561 ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่าน Facebook: ชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น และ Facebook: คันธง ดำรงศาสตร์ ผู้ฝึกสอนกีฬาเพื่อคนตาบอด

- วันที่ 1 เดือนสิงหาคม 2561 รับสมัครคนตาบอดเข้าร่วมโครงการ

- วันที่ 10 เดือนสิงหาคม 2561 ติดต่อประสานงาน สระว่ายน้ำจังหวัดขอนแก่น เพื่อเข้าใช้ดำเนินโครงการ

- วันที่ 15 เดือนสิงหาคม 2561 จัดหาชุดว่ายน้ำ/แว่นตา/หมวก/กระดานฝึกรอยตัว ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

- วันที่ 20 เดือนสิงหาคม 2561 ถึง วันที่ 30 เดือน กันยายน 2561 ดำเนินโครงการฝึกสอนว่ายน้ำเพื่อชีวิต สำหรับคนตาบอด ณ สระว่ายน้ำจังหวัดขอนแก่น

- วันที่ 1 เดือนตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2561 เริมประเมินผล และปรับปรุงข้อบกพร่อง

- วันที่ 16 เดือนตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561 ประเมินผลในสถานที่จริง และสรุปผลโครงการ หมายเหตุ ต้องมีการอัพเดทความคืบหน้าของการดำเนินการโครงการ ภายใน 1 เดือนหลังจากระดมทุนสำเร็จ

ประโยชน์ของโครงการ

1. คนตาบอด จำนวน 20 คน ว่ายน้ำเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง

2. คนตาบอด จำนวน 20 คน ช่วยเหลือตนเองได้เมื่อประสบอุบัติเหตุและอุบัติภัยทางน้ำ

3. คนตาบอด จำนวน 20 คน รู้จักวิธีการขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นได้เมื่อประสบอุบัติเหตุและอุบัติภัยทางน้ำ

4. ผู้ฝึกสอนและอาสาสมัคร ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ จำนวน 10 คน มีความรู้ในการสอน ว่ายน้ำสำหรับคนตาบอด

5. คนตาบอด จำนวน 20 คน ได้เรียนรู้กีฬาทางน้ำสำหรับคนตาบอด

สมาชิกภายในทีม

1.นายคันธง ดำรงศาสตร์ ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ทีมชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น

2.นายศุภศักดิ์ บุญถูก ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ทีมชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น

3. นางสาวเบญจมาศ ใจตรง ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ทีมชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น

4. นายวายุ ปราบบำรุง ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำ ทีมชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น และเป็นนักกีฬาว่ายน้ำคนตาบอด

5. นางสาวศศิพิมพ์ ศรีพัฒนกุล ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำคนตาบอด ทีมชมรมกีฬาคนตาบอด ขอนแก่น

ภาคี


สอนว่ายน้ำคนตาบอด

8 ตุลาคม 2018

จากการสอนทักษะว่ายน้ำสำหรับคนตาบอด ในโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด วันที่ 1 กันยายน 2561  เป็นต้นมา ทำให้คนตาบอดที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่กล้าที่จะทำกิจกรรมทางน้ำและว่ายน้ำได้ จากเดิมที่ไม่มีความมั่นใจในการ ทำกจกรรมทางน้ำ

การสอนของโครงการมีขั้นตอนการสอนจากขั้นพื้นฐานในการว่ายน้ำโดยมีครูผู้สอนและอาสาสมัครช่วยดูแลในการฝึกปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น กับคนตาบอดที่ฝึกหัดว่ายน้ำ และนำไปสู้ขั้นตอนการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยคนตาบอดจะว่ายตาม เสียงของครูผู้ฝึกสอน มีท่าว่ายน้ำแบบบังคับในการฝึกคือ ว่ายท่าฟรีสไตร์ ว่ายท่ากบ ว่ายท่ากรรเชียง ซึ่งทุกคนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำได้


นอกจากนี้ยังมีการ ฝึกนอนหงายลอยตัวในท่าปลาดาว จับเวลา 30 นาที เพื่อให้คนตาบอดมีทักษะเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำ และรอความช่วยเหลือ ซึ่งบางคนทำได้ตามเวลาที่กำหนดและบางคนทำได้ใกล้เคียงกับเวลาที่กำหนด 

สำหรับการการสอนเราได้เริ่มทำงานตั้งแต่เดือนกันยายน ตุลาคม 2561 จะมีการฝึกและสอน การใช้ อุปการช่วยชีพในน้ำ การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยทางน้ำ การเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนสติ ( CPR ) ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม จะมีการประเมินผลของผู้เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด ใน 3 ทักษะ คือ

1.ทักษะการว่ายน้ำ

2.ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และการขอความช่วยเหลือด้วยวิธีต่างๆ

3.ทักษะการให้ความช่วยเหลือคนตกน้ำเบื้องต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด ทุกคนต้องผ่านการประเมิน ทักษะทั้ง 3 ทักษะ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความคาดหวังเมื่อจบโครงการ ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับ คนตาบอด จะต้องว่ายน้ำเป็น และเอาตัวลอดจากการประสบเหตุและประสบภัยทาง น้ำ ตลอดจนสามารถรวมกลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง


สำหรับงบประมาณ

1.จัดซื้อ ชุดว่ายน้ำจำนวน 8 ชุด

2.หมวกว่ายน้ำแบบผ้า จำนวน 10 ใบ

3.จัดซื้อคลิกบอด จำนวน 10 ชิ้น

4.จัดทำป้ายโครงการว่ายน้ำเพื่อชีวิตสำหรับ ค

5.ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำ ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วม โครงการว่ายน้ำ เพื่อชีวิตสำหรับคนตาบอด จำนวน 23 คน ทุกวันเสาร์

นอกจากนี้ได้รับการสนับสนุนชุดว่ายน้ำจากสมาคนกีฬาคนตาบอดแห่งประเทศไทย จำนวน 14 ชุด และคลิกบอดจำนวน 11 ชิ้น ได้รับการสนับสนุน แว่นตาว่ายน้ำจาก คุณ Noppa Srisue และบริษัท Speedo จำนวน 30 ชิ้น ได้รับการสนับสนุนหมวกว่ายน้ำแบบซีลีโคลน จำนวน 12ใบ จากคุณ Maprang Nawatchara และคณะ ได้รับการสนับสนุนเสื้อชูชีพ จำนวน 10 ตัว จากร้านสนามเดินป่า เพื่อให้คนตาบอด ได้เรียนรู้การใช้เสื้อชูชีพอย่างถูกวิธีและเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนในน้ำเมื่อใส่เสื้อ ชูชีพได้รับการสนับสนุนการให้บริการสระว่ายน้ำ จาก คุณ Phawinwat Thammakitmongkol โดยลดอัตราค่าใช้บริการ สระว่ายน้ำ จาก 50 บาท/คน เหลือ 40 บาท/คน


 การใช้คลิกบอร์ดในการฝึกว่ายน้ำ

ปลาดาว ทักษะสำคัญในการรอคอยความช่วยเหลือ

ทักษะการว่ายท่ากรรเชียง

การใช้ชูชีพที่ถูกวิธี

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวน บาท
1.จัดซื้อชุดว่ายน้ำ หมวก 25 17,500
2.จัดซื้อแผ่นโฟมฝึกรอยตัว253,000
3.ค่าเดินทางของผู้เข้าร่วมโครงการ2512,500
รวม
33,000

แว่นตาได้รับการบริจาค