project ผู้พิการและผู้ป่วย

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ

บริจาคเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ และอบรมเจ้าหน้าที่ในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน โดยหากเราระดมทุนได้เพิ่ม ทางโครงการจะจัดซื้อเครื่องตามจำนวนเงินที่ได้

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพฯ

ยอดบริจาคขณะนี้

493,300 บาท

เป้าหมาย

127,600 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 387%
จำนวนผู้บริจาค 61

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ

2 กุมภาพันธ์ 2024

ตั้งแต่โครงการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ ระดมทุนสำเร็จ นำโดย ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร และทีมงาน ได้จัดซื้อเครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED) จำนวน 8 เครื่อง พร้อมแนะนำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่งมอบให้แก่ 5 สวนสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อไปนี้

ตัวอย่างเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า

1. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนหลวง ร.9 จำนวน 3 เครื่อง 

2. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนรถไฟ จำนวน 2 เครื่อง 

3. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางแคภิรมย์ จำนวน 1 เครื่อง 

4. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางบอน จำนวน 1 เครื่อง 

5. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนเบญจกิติ จำนวน 1 เครื่อง 


และจากการดำเนินการมีเงินคงเหลืออีก 27,830 บาท ทางโครงการฯ จะนำไปส่งเสริมกิจกรรมการช่วยเหลือการฟื้นคืนชีพ (CPR) ในโครงการวิ่ง 1669 CPR run และกิจกรรมฝึกสอน CPR ร่วมกับ Park run Thailand ต่อไป


 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
คนที่มาออกกำลังกายในสวนสาธารณะบางคนมีปัญหาโรคหัวใจที่ไม่รู้ตัว
และหัวใจหยุดเต้นระหว่างที่ออกกำลังกาย เขาต้องการการกู้ชีพ
ด้วยเครื่องกระตุกไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจกลับมาทำงาน

เราอยากจะบริจาคเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (เครื่อง AED) ที่จะช่วยเขาได้ ให้สวนสาธารณะพร้อมกับฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในสวนให้กู้ชีพขั้นต้นกับใช้เครื่องเป็น


เราอยากจะซื้อเครื่อง AED และจัดตั้งเครื่องในสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ เพื่อใช้ในกรณีที่มีคนหัวใจหยุดเต้นระหว่างการออกกำลังกาย เราจะฝึกสอนรปภ.และเจ้าหน้าที่ในสวนให้กู้ชีพขั้นต้นและใช้เครื่องเป็น ตัวเครื่องที่จะบริจาคเป็นเครื่องอัตโนมัติและใช้ได้ง่าย ความสำคัญในการกู้ชีพอยู่ที่ระยะเวลาที่หัวใจหยุดเต้นกับการกลับมาจากการกระตุกด้วยด้วยไฟฟ้า ระยะเวลานี้ยิ่งนานยิ่งโอกาสรอดน้อยลง หรือมีปัญหาทางสมองจากการขาดเลือดมากขึ้น ดังนั้นการมีเครื่องในสวนสาธารณะจะช่วยลดระยะเวลานี้น้อยลงและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของคนกลุ่มนี้สูงขึ้น

เครื่อง AED ที่เราขอรับบริจาคจะไปอยู่ที่ไหน...


เราจะตั้งในสวนสาธารณะที่ยินดีให้ตั้ง ซึ่ง ณ บัดนี้ได้รับความร่วมมือที่สวนเบญจกิติแล้ว และตกลงจะทำเป็นสถานที่แรก ส่วนสวนอื่นๆ ทางเราจะติดต่อไปตามที่มีงบ/เครื่องบริจาค

ใครจะช่วยเราติดตั้ง เครื่อง AED บ้าง

หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม (อาจารย์ นพ. ธนดล โรจนศานติกุล) มีประสบการณ์ตั้งเครื่องในหลายสถานที่ ส่วนใหญ่เป็นในตึกหรือในห้าง และมีสมาชิกหลายคนเคยสอนประชาชนเรื่องการกู้ชีพขั้นต้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการเป็นอย่างไร

  1. รวบรวมเงิน
  2. ซื้อเครื่อง AED
  3. นัดมอบและติดตั้งเครื่อง AED ให้กับสวนสาธารณะ และอบรมเจ้าหน้าที่ของสวนสาธารณะ
  4. ติดตามรูปที่ www.taejai.com

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ลดการเสียชีวิตของคนที่หัวใจหยุดเต้นในสวนสาธารณะ
  2. ลดการสมองเสื่อมของคนที่หัวใจหยุดเต้น จากที่ต้องปั้มหัวใจนานและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ

สมาชิกภายในทีม

  1. ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร
    (อาจารย์แพทย์ภาคอายุรศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล)
  2. นพ.อิสระ อริยะชัยพานิชย์
    (นายแพทย์ชำนาญการ รพ.สุรินทรื ช่วยราชการที่ราชวิยาลัยจุฬาภรณ์)
  3. นพ. เทวเดช อัศดามงคล
    (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รพ.บางมด)
  4. ผศ.นพ.กำพล สุวรรณพิมลกุล
    (อาจารย์แพทย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย)
  5. พญ.ธิดานันท์ วณิชอนันตกุล
    (อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด)
  6. นพ. เขตต์ ศรีประทักษ์
    (อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประธานองค์กรแพทย์สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์)
  7. อาจารย์ นพ. ธนดล โรจนศานติกุล
    (กรรมการองค์กรแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หัวหน้าศูนย์กู้ชีพรพ.จุฬาลงกรณ์)
  8. พญ.ปิยะกานต์ ต้องประสิทธิ์
    (แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน)
  9. นพ. เอกราช อริยะชัยพานิชย์
    (อาจารย์แพทย์ หน่วยหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  10. นพ. สมิทธิ์ อารยะสกุล
    (แพทย์ประจำ life centre ศูนย์สุขภาพผิวพรรณ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท)
  11. พันเอก ธนกฤต นพคุณวิจัย
    (หัวหน้าแผนกทันตกรรม รพ.ค่ายธนะรัชต์ รองผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ทหารบกจังหวัดชายแดนภาคใต้ กอ.รมน.ภาค 4 สน.)
  12. นพ.วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา
    (ผอ.รพ.บางมูลนาก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร) 

ฝึกการทำ CPR และการใช้เครื่อง AED

5 มีนาคม 2018

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางโครงการ “เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ” ได้อาสาสมัคร อาทิอาจารย์พญ.ปิยะกานต์ ต้องประสิทธิ์ กับ อ. อาจารย์ นพ. ธนดล โรจนศานติกุล แพทย์ specialist ด้านฉุกเฉิน และทีมหมอที่มาช่วยสนับสนุนด้วยครับ ผศ.นพ.กำพล สุวรรณพิมลกุล คุณหมอโอ๋ ณัฐฐาภณิตา รพีพงษ์พัฒนา ไปอบรมการทำ CPR กับการใช้เครื่องAED ให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สวนเบญจกิตติ

ทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้ความสนใจดีทีเดียว มีจดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติเมื่อเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน ฝึกปั้มหัวใจและใช้เครื่องกระตุกหัวใจกับหุ่น ตอนนี้เรียกได้ว่าเจ้าหน้าที่มีความรู้แล้ว ส่วนเรื่องการติดตั้งเครื่องอยู่ระหว่างการรอขออนุมัติการติดตั้งเครื่องจากสำนักงานกรุงเทพมหานคร ดังนั้นถ้าได้วันที่แน่นอนในการมอบเครื่อง เราจะทำการอบรมกันอีกสักรอบและนำภาพมาฝากกัน หรือ ท่านใดสนใจจะร่วมอบรมกับเราก็ได้ 


ซ้อม CPR กับหุ่น ถ้าปั้มถูกต้องจะมีไฟที่หัวไหล่หุ่นขึ้น



แต่ละคนมีความตั้งใจฟังและยังจดกันลืมอีกด้วย



เครื่อง AED สีเหลือง 



เหล่าอาสาสมัคร ถึงร้อนแต่ก็สู้ทุกคน

จากที่อาจารย์ Piyakarn Tongprasit Tanadol Na Rojanasarntikul สอนวันนี้

  1. ถ้าคนล้มแล้วหยุดหายใจ ... พยายามปลุกโดยการเขย่าไหล่และตะโกนเรียก
  2. ถ้าไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือไม่แน่ใจว่าหายใจไหม ให้เรียกขอความช่วยเหลือกับโทร.1669 เรียกรถพยาบาล 
  3. และให้เริ่มกดหน้าอกปั้มหัวใจได้เลย
  4. ปั้มหัวใจโดยการกดที่กลางกรดูกกลางหน้าอก ระดับราวนม ด้วย2 มือทับกันสอกตรง (ตามรูปในคลิป)
  5. ความเร็ว ประมาณ 100-120 ครั้งต่อนาที
  6. ปั้มไป 2 นาที ไม่ต้องหยุด พอสองนาทีแล้วหยุดประเมินว่าหายใจไหมสัก 10 วิ
  7. ถ้ายังไม่หายใจ ก็ปั้มต่อไป ทำอย่างนี้ไปจนมีรถพยาบาลหรือเครื่องกระตุกหัวใจมา ..ระยะหลังนี้ ไม่ต้องผายปอด ไม่ต้องตรวจชีพจร สำหรับการกู้ชีพขั้นต้น
  8. ถ้าได้เครื่องกระตุกหัวใจมา ก็มี 5 ขั้นตอนเพิ่มเติม.. (1. เปิดเครื่อง 2. ติด pad กับเครื่อง/กับตัวคนตามรูป, 3. หยุดปั้มหัวใจเมื่อเครื่องบอก,4. หลบออกไม่แตะร่างกาย และกดปุ่มช๊อตหัวใจเมื่อเครื่องบอก,5. CPR ต่อหลังช๊อตเสร็จ)

ขอบคุณภาพจาก ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร และทีมงานทุกท่าน

มอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ

2 กุมภาพันธ์ 2024

ตั้งแต่โครงการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ให้สวนสาธารณะ ระดมทุนสำเร็จ นำโดย ผศ. นพ. มล. ทยา กิติยากร และทีมงาน ได้จัดซื้อเครื่องกระตุกไฟฟ้า (AED) จำนวน 8 เครื่อง พร้อมแนะนำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่งมอบให้แก่ 5 สวนสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อไปนี้

ตัวอย่างเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า

1. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนหลวง ร.9 จำนวน 3 เครื่อง 

2. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนรถไฟ จำนวน 2 เครื่อง 

3. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางแคภิรมย์ จำนวน 1 เครื่อง 

4. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนบางบอน จำนวน 1 เครื่อง 

5. ส่งมอบเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าให้สวนเบญจกิติ จำนวน 1 เครื่อง 


และจากการดำเนินการมีเงินคงเหลืออีก 27,830 บาท ทางโครงการฯ จะนำไปส่งเสริมกิจกรรมการช่วยเหลือการฟื้นคืนชีพ (CPR) ในโครงการวิ่ง 1669 CPR run และกิจกรรมฝึกสอน CPR ร่วมกับ Park run Thailand ต่อไป


 

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า/ AED รวมกล่องติดตั้ง2116,000
ค่าดำเนินการของเทใจ 10%111,600
รวม
127,600

หมายเหตุ :

*10% ค่าดำเนินการของเทใจดอทคอม ประกอบด้วย  transaction cost, ค่าใช้จ่ายในการส่งใบเสร็จสำหรับผู้บริจาค*

**หากเราระดมทุนได้เพิ่ม ทางโครงการจะจัดซื้อเครื่องตามจำนวนเงินที่ได้**