เป้าหมายสำคัญสูงสุดของโครงการคือ การช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมที่เน้นไปที่ การสร้างมิติใหม่ของสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการลดภาระเรื่องของผู้สูงอายุ ลดภาระคนเลี้ยงดู ทำการพัฒนาคุณภาพการอยู่ร่วมกันทั้งในระหว่างสังคมผู้สูงอายุและสังคมต่างวัย ทำให้มีชีวิตชีวา มีความสุขร่วมกัน สามารถสร้างเป็น “ต้นแบบ” หรือตัวอย่างชุมชนของผู้สูงอายุต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวของประเทศเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหามีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ต้องเผชิญหน้าเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านจำนวนที่มีมากและการจัดการเรื่องความเป็นอยู่ การดูแลรักษา การเลี้ยงดู เผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ซึ่งกลายเป็นภาระของครอบครัว ภาระของสังคม และกลายเป็นวาระของชาติ เพราะผู้สูงอายุจะละทิ้งก็ไม่ได้ สร้างรายได้ก็ทำได้ยาก แต่จะดูแลอย่างมีคุณภาพชีวิต มีคุณค่าต่อสังคมและจะควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมดุลได้อย่างไร คนแก่กลายเป็นภาระของครอบครัว คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ความรู้ของคนแก่กลายเป็นสิ่งที่คนสมัยใหม่ไม่ต้องการ คนแก่กลับกลายเป็นคนที่อยู่อย่างไร้ค่าและว้าเหว่ เป็นคนที่เหงาไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้ ไม่มีรายได้ไม่มีทรัพย์สินอีกต่อไป ผู้สูงอายุเป็นภาระในการเลี้ยงดู ไม่มีใครดูแล ไม่มีใครเอาใจใส่ ปล่อยให้คนแก่อยู่ตามยถากรรม รอวันที่จะจากโลกนี้ไปเท่านั้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมผู้สูงวัยที่กำลังจะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มูลนิธิฯ เชื่อเสมอว่า “ผู้สูงวัยเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ” และ “การร้องเพลงและการเล่นดนตรีของผู้สูงอายุ เป็นอีกมิติหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของสังคมผู้สูงอายุได้” มูลนิธิฯ จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสังคมผู้สูงวัย และเตรียมความพร้อมให้กับสังคมไทยเผื่อเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ดนตรีที่เป็นความเชี่ยวชาญของมูลนิธิมาใช้เป็นเครื่องมือดังที่กล่าวมา และถึงแม้จะเป็นเพียงกลุ่มต้นแบบเล็กๆที่มูลนิธิฯจะทำได้ แต่มูลนิธิฯเชื่อมั่นว่า “การสร้างต้นแบบที่ดี”
มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ได้ดำเนินโครงการดนตรีพลังบวก “วงปล่อยแก่” “วงเด็กภูมิดี” มาเป็นเวลาเกือบ 6 ปี ทำให้สามารถยืนยันได้ว่า เราสามารถสร้าง “ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย โดยการร้องเพลงประสานเสียงของ การเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมดนตรี หรือ ตัวอย่างชุมชนของผู้สูงวัยต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทยได้” โครงการเชิงการวิจัยทางด้านสังคมของมูลนิธิฯ ได้แสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนว่า “โครงการสามารถทำให้ผู้สูงวัย และโรงเรียนต่าง ๆ เหล่านั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสร้างคุณค่าให้กับสังคมได้” โดยผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า “ดนตรี” ซึ่งเป็นความชำนาญพิเศษของมูลนิธิฯมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ และสั่งสมประสบการณ์มาจนถึงปัจจุบัน
170/19 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา จ.กรุงเทพมหานคร 10170