project เด็กและเยาวชน

Rice Bucket จากชาวนาถึงน้องท้องอิ่ม

ให้เด็กไทยได้อิ่มท้องด้วยข้าวอินทรีย์ พร้อมทั้งเป็นกำลังใจให้ชาวนาปรับเปลี่ยนวิถีสู่การปลูกข้าวคุณภาพ เพื่อสังคมอยู่ดีกินดี

ระยะเวลาโครงการ 12 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ทุกจังหวัด

ยอดบริจาคขณะนี้

224,522 บาท

เป้าหมาย

210,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 107%
จำนวนผู้บริจาค 83

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าและคำขอบคุณจากทีมงานโครงการ Rice Bucket

19 มิถุนายน 2015

หลังจากที่ทีมงานได้ส่งมอบข้าวครั้งแรกในระหว่างเดือนมกราคม จำนวน600กิโลกรัมแล้วนั้น เมื่อวันที่ 26เมษายน ที่ผ่านมา ทีมงานโครงการฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากFood4GoodและFoodpanda.comได้ร่วมส่งมอบข้าวครั้งที่2อีกจำนวน850 กิโลกรัม เป็นข้าวอินทรีย์ขาว จำนวน 450กิโลกรัม และข้าวกล้องอินทรีย์ จำนวน400กิโลกรัม


ทีมงานโครงการ Rice Bucketจากชาวนาถึงน้องท้องอิ่มขอขอบพระคุณเพื่อนใจบุญผู้ใจดีทุกๆ ท่าน รวมทั้งFood4GoodและFoodpanda.comที่ร่วมบริจาคจนทำให้โครงการมียอดสนับสนุนสูงถึง 225,302บาท เงินจำนวนนี้สามารถแปรเป็นข้าวอินทรีย์กว่า 2,300กิโลกรัม สำหรับน้องๆ ในความดูแลโดยสหทัยมูลนิธิถึงกว่า100คน ได้บริโภคตลอดปี 2558นี้

พวกเราขอขอบคุณเว็บเทใจดอทคอมที่ช่วยทำให้เราได้มีโอกาสแนะนำโครงการฯ และได้รับน้ำใจจากเพื่อนๆ ที่เห็นความสำคัญของการช่วยให้ชาวนาไทยได้มีวิถีชีวิตการทำงานอย่างยั่งยืน และช่วยให้น้องๆ ที่อยู่ในการอุปถัมภ์ได้มีโอกาสทานข้าวดีๆ มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยค่ะ 

 

ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ทีมงานกลุ่มคนกินข้าวช่วยคนปลูกข้าว

และโครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน

 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

“เราอยากให้คนไทยได้กินข้าวดี ๆ ข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพ และเราอยากให้ชาวนาไทยได้มีวิถีการทำนาที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน”

ที่มาง่าย ๆ ของจิตอาสากลุ่ม “คนกินข้าวช่วยคนปลูกข้าว” ซึ่งอาสามาเป็น “ตัวกลาง” เชื่อมโยงและสนับสนุนให้ "คนกินข้าว" และ "คนปลูกข้าว"ได้มีโอกาสที่จะคบหาสมาคมกันฉันท์เพื่อน จากสังคมที่ “ใครก็ไม่รู้ปลูก ให้ใครก็ไม่รู้กิน” มาเป็น “เพื่อนปลูก ให้ เพื่อนกิน”

ถึงเวลาที่เราจะสนับสนุนให้ชาวนาได้ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในการปลูกข้าว หันมาสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ เพราะนอกจากชาวนาจะลดต้นทุนการผลิต ยังช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอีกด้วย  และคนกินข้าวอย่างพวกเราจะได้กินข้าวอินทรีย์ดี ๆ สะอาด ปลอดภัย ได้คุณภาพ 

แต่หากข้าวที่มีคุณภาพส่งต่อถึงเด็กไทยๆ ที่เป็นอนาคตของชาติ มันคงจะดีมากๆ 

ดังนั้นเราจึงได้จับมือกับโครงการ Food4Good ซึ่งมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนสารอาหารในเด็กและเยาวชนของเด็กไทย ด้วยการเปิดระดมทุนเพื่อจัดหาข้าวอินทรีย์จากชาวนาเพื่อนปลูกที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิถีการทำนา เพื่อมอบให้กับน้อง ๆ เด็กและเยาวชนในความดูแลของสหทัยมูลนิธิ ซึ่งทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมากว่า 30 ปี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการแบ่งปันอาหารคุณภาพไปสู่เด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนอาหาร และเราหวังว่าจะสามารถกระจายไปยังองค์กรอื่น ๆ อีกหลายแห่ง ทั่วประเทศไทยในอนาคต

 

ข้าวของเรา มาจากไหน เป็นข้าวอะไร และดูแลโดยใคร?

ข้าวของเราจะมาจาก “เพื่อนปลูก” จากจังหวัดยโสธรที่ตั้งใจหันหลังให้กับการทำนาเคมีมาสู่การทำนาอินทรีย์ โดยมีมูลนิธิสายใยแผ่นดินซึ่งมีประสบการณ์ในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งมากว่า 20 ปี คอยเป็นพี่เลี้ยงในการสอนทำนาอินทรีย์ที่มีมาตรฐานและคุณภาพ ตามหลักของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)

ข้าวที่ปลูกสำหรับโครงการนี้จะเป็นข้าวหอมมะลิแท้ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทั้งหมด ดำเนินการสีข้าวโดยโรงสีชุมชน 3 แห่งที่จังหวัดยโสธร คือ 1) โรงสีข้าวชมรมรักษ์ธรรมชาติ ต.นาโส่ อ.กุดชุม 2) โรงสีข้าวกลุ่มเกษตรกรทำนาบากเรือ ต.บากเรือ อ.มหาชนะชัยและ3) โรงสีข้าวสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา ซึ่งรวมตัวกันเป็น สหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ จำกัด โดยมีมูลนิธิสายใยแผ่นดินเป็นผู้ร่วมถือหุ้น และ ช่วยบริหารจัดการ

เราเชื่อว่าพลังของผู้บริโภคร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมได้ 

 

 

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสจำนวน 100 คนได้บริโภคข้าวที่ดีมีคุณภาพตลอดปี 2558

2. ชาวนากว่า 100 ครัวเรือน มีกำลังใจในการปรับเปลี่ยนวิถีมาทำเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยมากขึ้นและให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

3. เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยให้มากขึ้น

4. ผู้บริจาคได้ร่วมเป็นผู้ให้โอกาสชาวนาและน้อง ๆ ผู้ด้อยโอกาสได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้ร่วมกันเป็นฟันเฟืองในการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่การผลิตและบริโภคอาหารสะอาด และการมีสุขภาพที่ดีร่วมกัน

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

สนับสนุนเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตข้าว “เพื่อนปลูก เพื่อนกิน” ในจังหวัดยโสธรในการปรับเปลี่ยนวิถีการทำนา และประสานงานเพื่อการส่งมอบข้าวอินทรีย์ให้กับสหทัยมูลนิธิระหว่างเดือนมกราคม – ธันวาคม 2558

 

หมายเหตุ หากได้รับการสนับสนุนเกินเป้าหมาย จะสนับสนุนข้าวอินทรีย์ให้กับมูลนิธิอื่น ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Rice Bucket จากชาวนาถึงน้องท้องอิ่มกันเถอะค่ะ

สมาชิกภายในทีม :

www.facebook.com/khonkinkhao

กลุ่มคนกินข้าวช่วยคนปลูกข้าว  https://www.facebook.com/khonkinkhao

farmerandfriend

โครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน http://www.farmerandfriend.org

Food4good

โครงการFood4Good https://www.facebook.com/food4goodth

 

ภาคี :

Sahathai สหทัยมูลนิธิ http://www.sahathai.org

Update 1: Rice ice Bucket จากชาวนาถึงน้องท้องอิ่ม (6 ต.ค. 57)

14 ตุลาคม 2014

ต้นข้าวที่ชาวนาปักดำเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เริ่มโตขึ้น เขียวขึ้น และพร้อมที่จะออกรวงในเร็ว ๆ นี้แล้วค่ะ
 
เพื่อน ๆ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ผู้ซึ่งเป็นบุคคลเบื้องหลังที่คอยให้ความรู้กับชาวนาหน้าใหม่ และเป็นพี่เลี้ยงผู้ดูแลคุณภาพการปลูกข้าวให้โครงการของเรา ส่งภาพมาให้ชมว่านาข้าวที่พวกเราเพื่อนกินได้ไปช่วยปักดำมาเมื่อเดือนกรกฎาคม เขียวขจีขนาดไหน
 
 
 
นาแบบอินทรีย์ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิถีชีวิตแบบอินทรีย์ๆ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” บางที “ในนาเองก็มีปลา” เหมือนกัน!
 
พอย่างเข้าเดือนกันยายน - ตุลาคม เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของเราก็ง่วงกับการลงตรวจแปลงนา เพื่อควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตและตรวจสอบมาตรฐานกระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์  
 
“สมาชิกเกษตรกรมาสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อประโยชน์ในการขายผลผลิต ถ้าเกษตรกรรายไหนไม่ต้องการขายผลิต เช่น มีที่นาเพียงเล็กน้อย ปลูกข้าวไว้กินเอง หรือ ทำเกษตรกรอินทรีย์ได้เพียงบางแปลง ส่วนแปลงนาที่เหลือยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ได้ 2 กรณีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องขอรับรองและรับการตรวจจากโครงการฯ แต่เราเปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ร่วมกัน ส่วนสมาชิกที่ขอรับรองต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของโครงการฯ และรับการตรวจประเมินความเสี่ยงโดยการสัมภาษณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ และการตรวจเยี่ยมแปลงนา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเสี่ยงทางน้ำ ทางอากาศ ทางอุปกรณ์การเกษตร และความเสี่ยงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น  
 
 
การตรวจของโครงการเริ่มจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯ ที่เป็นผู้ดูแลระบบควบคุมภายในตรวจเยี่ยมฟาร์มของสมาชิกทุกคน ทุกแปลงนา ในช่วงที่เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกแล้วและมีความเสี่ยงที่จะกระทำการผิดมาตรฐาน หลังจากการตรวจเสร็จเจ้าหน้าที่ก็จะช่วยกันอ่านรายงานการตรวจเพื่อพิจารณารับรองและแจ้งผลการตรวจให้เกษตรกรทราบทุกราย ซึ่งผลการรับรองก็จะมีได้ในทุกกรณี คือ 1) ไม่ผ่านการรับรอง 2) รับรองโดยไม่มีเงื่อนไข 3) รับรองโดยมีเงื่อนไข เช่น ให้เสริมแนวกันชนหรือคันนาให้สูงขี้นตามมาตรฐาน 4) เลื่อนการรับรอง และ  5) รับรองแต่มีข้อเสนอแนะ ซึ่งผลการรับรองทุกกรณีนี้ถ้าเกษตรกรไม่เห็นด้วยกับการตรวจและการรับรองของเจ้าหน้าที่ฯ ก็สามารถยืนอุธรณ์ ให้เปลี่ยนแปลงผลการรับรองได้ 
 
 
การประเมินมาตรฐาน ทางโครงการจะดูจากการเจตนาจากการกระทำผิด หรือการปกปิดข้อมูลเป็นหลักเบื้องต้น การตรวจประเมินทั้งหมดนี้เป็นการแก้ปัญหาหรือดูแลสมาชิกที่ปลายเหตุ แต่กระบวนการงานส่งเสริมฯ ที่ได้จัดกิจกรรมกับสมาชิกตลอดปีนั้น จะเป็นการดูแลและช่วยป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่า แต่เพื่อการจำหน่ายที่ต้องสร้างการยอมรับ และความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคแล้วจึงต้องการมีการตรวจสอบในช่วงนี้ขึ้น 
 
  
บรรยากาศการตรวจเป็นไปอย่างอบอุ่น ไม่ได้เป็นการจ้องจับผิด มีการเสนอแนะ และสนับสนุนเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในทางที่ทำให้ระบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรที่ปลูกข้าวอินทรีย์มีความเข้มเแข้ง ซึ่งก็เห็นรูปแบบการตรวจได้จากรูปที่นำเสนอไป” - จากคำบอกเล่าของหนึ่งในทีมจนท. ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของเรา
 
อีกไม่นานข้าวจะแตกรวง รอวันเก็บเกี่ยว และน้อง ๆ ในความดูแลของสหทัยมูลนิธิก็จะได้บริโภคข้าวดี ๆ กันแล้ว
 
ทีมงานโครงการฯ ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุก ๆ ท่านที่ได้ให้การสนับสนุนจนโครงการเราสามารถระดมเงินทุนได้กว่า 44% หรือคิดเป็นปริมาณข้าวที่น้อง ๆ จะบริโภคได้ประมาณ 5 เดือนแล้ว เรายังรอผู้ใหญ่ใจดีอีกจำนวนมากที่จะช่วยทำให้น้อง ๆ ได้ทานข้าวดี ๆ กันตลอดปีนะคะ 
 
สนใจสมทบทุนได้ที่นี้

“SCB ชวนกันทำดี” กับโครงการ Rice bucket จากชาวนาถึงน้องท้องอิ่ม

29 ตุลาคม 2014

“SCB ชวนกันทำดี”   โครงการดี ๆ เพื่อสังคมภายใต้แนวคิดของธนาคารไทยพาณิชย์เชิญชวนพนักงาน SCB ทั่วประเทศร่วมกันทำดีด้วยการบริจาคข้าวอินทรีย์จากชาวนาในโครงการ “เพื่อนปลูก เพื่อนกิน” ให้กับน้อง ๆ ผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพภายใต้การดูแลของ “สหทัยมูลนิธิ” 

ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีชาว SCB ทุกคนที่สนับสนุนโครงการและช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้นด้วยวิถีเกื้อกูล

สามารถสนับสนุนได้ที่นี

 

ส่งมอบข้าวอินทรีย์รอบแรก 600 กิโลกรัมที่สหทัยมูลนิธิ

8 มกราคม 2015

เมื่อวานนี้ (7 มกราคม 2558) ทางโครงการ RIce bucket จากชาวนาถึงน้องท้องอิ่ม นำทีมโดย คนกินข้าว ช่วย คนปลูกข้าว และ Food4Good Thailand ได้จัดส่งให้ข้าวรอบแรกให้กับสหทัยมูลนิธิ จำนวน 600 กก. เป็นข้าวกล้องหอมมะลิอินทรีย์ 300 กก. และข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 300 กก. ขอขอบคุณทุกการสนับสนุนที่ทำให้น้องๆมีข้าวกินฮะ 
หากท่านสนใจร่วมสมทบทุนให้น้องมีข้าวดีจากชาวนากินทั้งปี สามารถบริจาคเพิ่มเติมได้ที่
 
เกษตรกรจาก จ.ยโสธร ตั้งใจแพ็คข้าวส่งให้น้องๆ ในที่สหมูลนิธิ
ลำเลียงข้าวขึ้นรถ คนละไม้คนละมือ
และแล้วช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคม 58 ข้าว 600 กิโลกรัมก็ส่งถึงมือสหทัยมูลนิธิแล้ว
อย่าลืมนะฮะ ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งที่เราเปิดระดมทุนอยู่ มาช่วยกันที่นี่

ความคืบหน้าและคำขอบคุณจากทีมงานโครงการ Rice Bucket

19 มิถุนายน 2015

หลังจากที่ทีมงานได้ส่งมอบข้าวครั้งแรกในระหว่างเดือนมกราคม จำนวน600กิโลกรัมแล้วนั้น เมื่อวันที่ 26เมษายน ที่ผ่านมา ทีมงานโครงการฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากFood4GoodและFoodpanda.comได้ร่วมส่งมอบข้าวครั้งที่2อีกจำนวน850 กิโลกรัม เป็นข้าวอินทรีย์ขาว จำนวน 450กิโลกรัม และข้าวกล้องอินทรีย์ จำนวน400กิโลกรัม


ทีมงานโครงการ Rice Bucketจากชาวนาถึงน้องท้องอิ่มขอขอบพระคุณเพื่อนใจบุญผู้ใจดีทุกๆ ท่าน รวมทั้งFood4GoodและFoodpanda.comที่ร่วมบริจาคจนทำให้โครงการมียอดสนับสนุนสูงถึง 225,302บาท เงินจำนวนนี้สามารถแปรเป็นข้าวอินทรีย์กว่า 2,300กิโลกรัม สำหรับน้องๆ ในความดูแลโดยสหทัยมูลนิธิถึงกว่า100คน ได้บริโภคตลอดปี 2558นี้

พวกเราขอขอบคุณเว็บเทใจดอทคอมที่ช่วยทำให้เราได้มีโอกาสแนะนำโครงการฯ และได้รับน้ำใจจากเพื่อนๆ ที่เห็นความสำคัญของการช่วยให้ชาวนาไทยได้มีวิถีชีวิตการทำงานอย่างยั่งยืน และช่วยให้น้องๆ ที่อยู่ในการอุปถัมภ์ได้มีโอกาสทานข้าวดีๆ มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยค่ะ 

 

ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ทีมงานกลุ่มคนกินข้าวช่วยคนปลูกข้าว

และโครงการเพื่อนปลูกเพื่อนกิน

 

แผนการใช้เงิน

รายการราคา/หน่วยจำนวนราคารวม (บาท)
ข้าวอินทรีย์ 75

2200

165,000
ค่าขนส่ง  24,000
ค่าดำเนินการ  21,000
รวมทั้งสิ้น   210,000