project อื่นๆ

โครงการแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อชาวบ้านอีสาน

มากกว่าขายข้าวอินทรีย์เป็นโจทย์ที่เกษตรกรต้องคิดเพื่อปากท้อง ดังนั้นพวกเขาจึงร่วมกันตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อแปรรูปข้าวอินทรีย์ให้ได้ราคามากยิ่งขึ้น

ระยะเวลาโครงการ ุ60 วัน พื้นที่ดำเนินโครงการ บุรีรัมย์

ยอดบริจาคขณะนี้

20,296 บาท

เป้าหมาย

20,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 24

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

การดำเนินการโครงการแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อชาวบ้านอีสาน

26 ตุลาคม 2015
แนวคิดและแผนการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
แนวคิด : “แปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ด้วยวัตถุดิบจากชุมชน คนทำไม่ยากไม่จน คนกินคนใช้สุขภาพดี” 
เดิมผลิตภัณฑ์หลักของ “วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้” คือ น้ำข้าวกล้อง ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามักจะเป็นข้าราชการ หรือพนักงานบริษัท ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ จึงเน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อและส่งตรงไปยังสำนักงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานศาล, ศาลากลางจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอ, โรงพยาบาล, สำนักงานเทศบาล, โรงงาน ฯลฯ ในเขต อ.เมือง และ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
ส่วนมากแล้วลูกค้าที่มีการตกลงซื้อผลผลิตทางการเกษตรจาก บจก.นวัตกรรมชาวบ้าน มักต้องการสินค้าที่มีลักษณะทางกายภาพที่สวยงาม เช่น ข้าวกล้องที่มีสีดำสนิทไม่มีข้าวกล้องสีน้ำตาลเจือปน ซึ่งผลผลิตลักษณะนี้มักจะผลิตขึ้นจากเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ จนมีทักษะความชำนาญที่จะทำการผลิตให้มีคุณภาพที่สูง ในขณะที่ผลผลิตที่มีลักษณะทางกายภาพด้อยลงมา แต่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องคุณประโยชน์ มักจะไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และผลผลิตในลักษณะนี้มักจะได้มาจากเกษตรกรที่เพิ่งจะเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ได้ไม่นาน  วิสาหกิจชุมชนฯได้นำผลผลิตในส่วนนี้มาแปรรูปเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่า และในขณะเดียวกันยังมองเห็นโอกาสที่ประชาชนทั่วไปในต่างจังหวัดจะได้มีโอกาสบริโภคผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี
น้ำมะนาวอินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะมีการแปรรูปเพื่อวางจำหน่ายเพิ่มเติม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาถึงกรรมวิธีการผลิต การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ไปจนถึงวิธีการทางการตลาดที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายไปยังผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร 
 
 
คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ ร่วมประชุมเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดและแผนการดำเนินงาน
 
วัตถุประสงค์
1.แปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้วัตถุดิบจากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน
2.เน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน
3. เปิดโอกาสให้สมาชิกโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในชนบทได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ 
4. พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้ คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ด้อยคุณภาพ
5.มุ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้กับชุมชนท้องถิ่นภายในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง
 
แผนการดำเนินงาน
 
กระบวนการผลิตน้ำข้าวกล้อง วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
เริ่มจากการตวงข้าวกล้องมะลินิลสุรินทร์  มะลิโกเมน และ มะลิ 105 จำนวน 8 ถ้วยตวง แช่น้ำสะอาด 2 ชั่วโมง  จากนั้นทำการนำข้าวกล้องที่แช่น้ำมาปั่นให้ละเอียดและกรองเอาส่วนเฉพาะน้ำ  โดยจะใช้น้ำจำนวน 8 ลิตร  เมื่อได้น้ำข้าวกล้องแล้วก็นำไปตั้งไฟ  ใช้เวลาตั้งไฟประมาณ 5-10 นาที  แล้วก็เติมส่วนผสมทั้งหมดลงไป  เมื่อได้น้ำข้าวกล้อง ก็จะทิ้งไว้ให้เย็นและก็นำมากรอกบรรจุภัณฑ์ นำไปแช่ไว้ในตู้แช่เพื่อรอจำหน่ายต่อไป
 
สูตรน้ำข้าวกล้อง วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
    ข้าวกล้องผสม 3 ชนิด  8  ถ้วยตวง
    น้ำสะอาด                   8  ลิตร
    น้ำตาล                      2  ถ้วยตวง
    เกลือ                      1/4  ช้อน
นำข้าวกล้องข้าวกล้องมะลินิลสุรินทร์  มะลิโกเมน และ มะลิ ที่แช่น้ำมาปั่นให้ละเอียด
 
กรองเอาส่วนเฉพาะน้ำ 
 
นำไปตั้งไฟ  ใช้เวลาตั้งไฟประมาณ 5-10 นาที และเติมน้ำตาลและเกลือ
 
ทิ้งไว้สักครู่และนำมาบรรจุขวด
 
โอกาสทางการตลาด
วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ มีจุดมุ่งหมายที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อสุขภาพสำหรับชุมชนในต่างจังหวัดอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องระยะทางการขนส่งสินค้า อีกทั้งกลุ่มลูกค้ามักจะใช้วิธีการโทรสั่งสินค้าโดยตรงกับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนฯ จึงสามารถที่จะวางแผนการผลิตได้ไม่ยาก ในอนาคตทางกลุ่มเริ่มเห็นโอกาสในการนำสินค้าไปวางขายในร้านค้าสหกรณ์หมู่บ้านหรือร้านขายของชำในชุมชน ซึ่งได้เริ่มทดลองนำสินค้าไปวางจำหน่ายบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้
- กลุ่มเป้าหมาย : เพศหญิงที่อยู่ในวัยทำงาน ( ลูกค้ากลุ่มหลักที่ซื้อสินค้ามากที่สุดจากการสำรวจของสมาชิกวิสาหากิจ ฯ )
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า : จัดบูธแสดงสินค้าในงานของหน่วยงานราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โฆษณาผ่านวิทยุชุมชม, ป้ายโฆษณาขนาดเล็ก
- การกระจายสินค้า : ส่งตรงถึงที่บ้านและที่ทำงานของลูกค้าในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ โดยจะเน้นส่งไม่น้อยกว่า 1 โหล ( 12 ขวด ) ต่อสถานที่จัดส่งหนึ่งแห่ง
- เทคนิคการเพิ่มยอดขาย : จัดโปรโมชันเป็นระยะทุก 3 เดือน โดยจะเน้นการแถมสินค้าหากซื้อตั้งแต่ 12 ขวดขึ้นไป เช่น ซื้อ 12 ขวดแถมน้ำข้าวกล้อง 1 ขวดหรือซื้อครบ 12 ขวดแถมข้าวกล้องอินทรีย์ 1 กก. 
 
ช่องทางการจัดจำหน่ายของวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
-  งานเกษตรอำเภอเคลื่อนที่ ที่บ้านเมืองแก  ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
-  งานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์  ที่จังหวัดบุรีรัมย์
-  ขายในตลาดไนท์บาซ่าอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
-  เปิดขายหน้าร้านทุกวัน ที่ครัวคุณเก๋ ( บ้านหนองเชือก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ )  
 
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนโครงการ
วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ จ.บุรีรัมย์ ได้เปลี่ยนแนวคิดเกษตรเคมี มาทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตเพิ่มพูนกำไรที่สำคัญการเลิกใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมีทำให้เป็นผลดีต่อสุขภาพ สมาชิกในกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ทำเองทุกกระบวนการเริ่มตั้งแต่ปลูกข้าวเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมาสีเป็นข้าวกล้อง และแปรรูป เช่น ข้าวฮางอินทรีย์ ข้าวกล้องอินทรีย์ น้ำข้าวกล้องอินทรีย์ เป็นต้น

การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิค แต่เป็นวิถีชีวิตกระบวนการทางสังคมที่ทำร่วมกัน เดิมเกษตรกรใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากทำให้เพิ่มต้นทุนในการผลิต เป็นหนี้สินขายข้าวไม่พอใช้หนี้ชาวนาบางคนปลูกข้าวนำไปขายให้กับโรงสีหมดสุดท้ายก็ได้ซื้อข้าวกิน การทำนาทุกฤดูกาลจะหมุนอยู่แบบนี้ 

ปัจจุบันกลุ่มได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ โดยมีเกษตรกร อ.สตึกเข้าร่วมกว่า 36 ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการและได้ทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการได้เปลี่ยนแนวคิดจากเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำ และยังได้มีสุขภาพดีเพราะข้าวปลอดจากสารเคมี สมาชิกได้รวมกลุ่มกันปลูกข้าว และนำไปสีเป็นข้าวกล้องไปจนถึงกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ข้าวกล้องอินทรีย์ ข้าวฮางอินทรีย์ และน้ำข้าวกล้องอินทรีย์ ผลิตและจำหน่ายในชุมชนท้องถิ่น ส่วนใหญ่สมาชิกปลูกข้าวที่มากไปด้วยคุณค่าทางอาหารมีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน มะเร็งลำใส้ บำรุงสายตา 

  

 การตากข้าวหลังแช่น้ำนาน 24 ชม. ผึ่งแห้งนำไปสีเป็นข้าวฮางที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหาร

 

 

ข้าวกล้องอินทรีย์พร้อมบรรจุและจำหน่าย และภาพสมาชิกหัวใจเกษตรอิทรีย์

ประโยชน์ของโครงการ :

- เพื่อเพิ่มมูลค่าและผลกำไรคืนสู่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ 

- สร้างกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ ทำอย่างไรให้พออยู่พอกิน มีความมั่นคงทางอาหาร และสามารถพึ่งพาตนเองได้

- คนในชุมชนมีสุขภาพดี เพราะสามารถชื้อสินค้า อาทิ น้ำข้าวกล้องอินทรีย์ ข้าวฮางอินทรีย์ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร

- สมาชิกเกิดการสร้างเครือข่ายในชุมชน ระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล และต่างจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะในการศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จเพื่อสร้างแรงจูงใจ

- เพื่อเปลี่ยนแนวคิดจากเกษตรเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคเอง

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

- ส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ แลกเปลี่ยนเมล็ดกันภายในกลุ่ม โดยผู้มีเข้าร่วมโครงการกว่า 36 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตร 56 ไร่

- จัดตั้งกลุ่มเพื่อแปรรูปข้าวอินทรีย์ ให้สามารถผลิตข้าวฮาง น้ำข้าวกล้อง

- ทางกลุ่มรวมตัวกันเพื่อขยายหาตลาดในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงเพื่อนำสินค้าไปวางจำหน่าย พร้อมประสานงานกับหน่วยงานในชุมชน เช่น อบต. รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล เกษตรอำเภอเพื่อร่วมจัดงานแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายผลิตอินทรีย์ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้

สมาชิกภายในทีม :

 1.นายเชฐพงษ์  กันหา เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อดีตเคยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มีความสามารถในการประชาสัมพันธุ์ การทำอาหาร และประสานงานในชุมชน

 2. นายน้อย  ศรีวงษ์ เป็นรองประธาน เป็นเกษตรกรที่รักการทำเกษตรอินทรีย์ยังทำนาแบบพื้นบ้านโดยใช้ ควายไถนา และมีการลงแขกดำนา

 3. นายบรรเลง  จวงพลงาม เลขานุการ อดีตเคยเป็นพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเรียนรู้และพัฒนาในงานเกษตรอินทรีย์

 4. นางธัญญารัตน์  บุญวงศ์  เหรัญญิก เคยทำงานที่กรุงเทพกลับมาอยู่บ้านและผันตัวเองมาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์

ภาคี :

 บริษัทนวัตกรรมชาวบ้านจำกัด

ความประทับใจจากเจ้าของโครงการแปรรูปข้าวเพื่อชาวบ้านอีสาน

19 มกราคม 2015

ปิดโครงการไปแล้วเมื่อเดือนธันวาคม โครงการแปรรูปข้าวเพื่อชาวบ้านอีสาน มีผู้บริจาคสมทุนได้ทั้งหมด 20,296 บาท โดย เจ้าของโครงการ คุณปิยะดา สิงห์นันท์ เป็นตัวแทนจากสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ บอกว่า "ทางโครงการแปรรูปข้าวเพื่อชาวบ้านอีสาน  ขอขอบคุณที่ทางโครงการเทใจเป็นผู้ประสานงานระดุมทุนเพื่อให้กลุ่มชาวนาได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน และขอขอบพระคุณผู้ให้การบริจาคสนับสนุนโครงการทุกท่าน  ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุนที่ทุกท่านได้บริจาคให้มาจะนำไปต่อยอดเพื่อการผลิต และการแปรรูปให้มีประสิทธิภาพสูงสุด"
 
การดำเนินโครงการ
1.สมาชิกได้เริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวมะลินิลสุรินทร์ ข้าวหอมนิล ข้าวไรช์เบอรี่ และข้าวมะลิโกเมนที่ปลูกในระบบอินทรีย์ 
2.ข้าวมาแปรรูปสีเป็นข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ จำหน่ายในชุมชน 
3.วิสาหกิจชุมชนกำลังดำเนินการขออนุญาตองค์การอาหารและยา(อย.) เพื่อมาตรฐานรองรับถึงคุณภาพของอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายในเบื้องต้น 
4. รายงานความคืบหน้าของโครงการให้แก่ผู้บริจาค

การดำเนินการโครงการแปรรูปข้าวอินทรีย์เพื่อชาวบ้านอีสาน

26 ตุลาคม 2015

แนวคิดและแผนการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
แนวคิด : “แปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ด้วยวัตถุดิบจากชุมชน คนทำไม่ยากไม่จน คนกินคนใช้สุขภาพดี” 
เดิมผลิตภัณฑ์หลักของ “วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้” คือ น้ำข้าวกล้อง ซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามักจะเป็นข้าราชการ หรือพนักงานบริษัท ทางกลุ่มวิสาหกิจฯ จึงเน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อและส่งตรงไปยังสำนักงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานศาล, ศาลากลางจังหวัด, ที่ว่าการอำเภอ, โรงพยาบาล, สำนักงานเทศบาล, โรงงาน ฯลฯ ในเขต อ.เมือง และ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
ส่วนมากแล้วลูกค้าที่มีการตกลงซื้อผลผลิตทางการเกษตรจาก บจก.นวัตกรรมชาวบ้าน มักต้องการสินค้าที่มีลักษณะทางกายภาพที่สวยงาม เช่น ข้าวกล้องที่มีสีดำสนิทไม่มีข้าวกล้องสีน้ำตาลเจือปน ซึ่งผลผลิตลักษณะนี้มักจะผลิตขึ้นจากเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ จนมีทักษะความชำนาญที่จะทำการผลิตให้มีคุณภาพที่สูง ในขณะที่ผลผลิตที่มีลักษณะทางกายภาพด้อยลงมา แต่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องคุณประโยชน์ มักจะไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และผลผลิตในลักษณะนี้มักจะได้มาจากเกษตรกรที่เพิ่งจะเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ได้ไม่นาน  วิสาหกิจชุมชนฯได้นำผลผลิตในส่วนนี้มาแปรรูปเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่า และในขณะเดียวกันยังมองเห็นโอกาสที่ประชาชนทั่วไปในต่างจังหวัดจะได้มีโอกาสบริโภคผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี
น้ำมะนาวอินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะมีการแปรรูปเพื่อวางจำหน่ายเพิ่มเติม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาถึงกรรมวิธีการผลิต การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ไปจนถึงวิธีการทางการตลาดที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายไปยังผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร 
 
 
คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ ร่วมประชุมเพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดและแผนการดำเนินงาน
 
วัตถุประสงค์
1.แปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้วัตถุดิบจากผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกเครือข่ายนวัตกรรมชาวบ้าน
2.เน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภคในชีวิตประจำวัน
3. เปิดโอกาสให้สมาชิกโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยในชนบทได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ 
4. พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการผลิตที่เชื่อถือได้ คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ด้อยคุณภาพ
5.มุ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้กับชุมชนท้องถิ่นภายในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง
 
แผนการดำเนินงาน
 
กระบวนการผลิตน้ำข้าวกล้อง วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
เริ่มจากการตวงข้าวกล้องมะลินิลสุรินทร์  มะลิโกเมน และ มะลิ 105 จำนวน 8 ถ้วยตวง แช่น้ำสะอาด 2 ชั่วโมง  จากนั้นทำการนำข้าวกล้องที่แช่น้ำมาปั่นให้ละเอียดและกรองเอาส่วนเฉพาะน้ำ  โดยจะใช้น้ำจำนวน 8 ลิตร  เมื่อได้น้ำข้าวกล้องแล้วก็นำไปตั้งไฟ  ใช้เวลาตั้งไฟประมาณ 5-10 นาที  แล้วก็เติมส่วนผสมทั้งหมดลงไป  เมื่อได้น้ำข้าวกล้อง ก็จะทิ้งไว้ให้เย็นและก็นำมากรอกบรรจุภัณฑ์ นำไปแช่ไว้ในตู้แช่เพื่อรอจำหน่ายต่อไป
 
สูตรน้ำข้าวกล้อง วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
    ข้าวกล้องผสม 3 ชนิด  8  ถ้วยตวง
    น้ำสะอาด                   8  ลิตร
    น้ำตาล                      2  ถ้วยตวง
    เกลือ                      1/4  ช้อน
นำข้าวกล้องข้าวกล้องมะลินิลสุรินทร์  มะลิโกเมน และ มะลิ ที่แช่น้ำมาปั่นให้ละเอียด
 
กรองเอาส่วนเฉพาะน้ำ 
 
นำไปตั้งไฟ  ใช้เวลาตั้งไฟประมาณ 5-10 นาที และเติมน้ำตาลและเกลือ
 
ทิ้งไว้สักครู่และนำมาบรรจุขวด
 
โอกาสทางการตลาด
วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้ มีจุดมุ่งหมายที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพื่อสุขภาพสำหรับชุมชนในต่างจังหวัดอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องระยะทางการขนส่งสินค้า อีกทั้งกลุ่มลูกค้ามักจะใช้วิธีการโทรสั่งสินค้าโดยตรงกับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนฯ จึงสามารถที่จะวางแผนการผลิตได้ไม่ยาก ในอนาคตทางกลุ่มเริ่มเห็นโอกาสในการนำสินค้าไปวางขายในร้านค้าสหกรณ์หมู่บ้านหรือร้านขายของชำในชุมชน ซึ่งได้เริ่มทดลองนำสินค้าไปวางจำหน่ายบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่สำคัญดังนี้
- กลุ่มเป้าหมาย : เพศหญิงที่อยู่ในวัยทำงาน ( ลูกค้ากลุ่มหลักที่ซื้อสินค้ามากที่สุดจากการสำรวจของสมาชิกวิสาหากิจ ฯ )
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า : จัดบูธแสดงสินค้าในงานของหน่วยงานราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โฆษณาผ่านวิทยุชุมชม, ป้ายโฆษณาขนาดเล็ก
- การกระจายสินค้า : ส่งตรงถึงที่บ้านและที่ทำงานของลูกค้าในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ โดยจะเน้นส่งไม่น้อยกว่า 1 โหล ( 12 ขวด ) ต่อสถานที่จัดส่งหนึ่งแห่ง
- เทคนิคการเพิ่มยอดขาย : จัดโปรโมชันเป็นระยะทุก 3 เดือน โดยจะเน้นการแถมสินค้าหากซื้อตั้งแต่ 12 ขวดขึ้นไป เช่น ซื้อ 12 ขวดแถมน้ำข้าวกล้อง 1 ขวดหรือซื้อครบ 12 ขวดแถมข้าวกล้องอินทรีย์ 1 กก. 
 
ช่องทางการจัดจำหน่ายของวิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้
-  งานเกษตรอำเภอเคลื่อนที่ ที่บ้านเมืองแก  ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
-  งานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์  ที่จังหวัดบุรีรัมย์
-  ขายในตลาดไนท์บาซ่าอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
-  เปิดขายหน้าร้านทุกวัน ที่ครัวคุณเก๋ ( บ้านหนองเชือก ตำบลเมืองแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ )  
 
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนโครงการ
วิสาหกิจชุมชนมีกินมีใช้

แผนการใช้เงิน

รายการราคา / หน่วยจำนวนราคารวม (บาท)
1. เครื่องปั่นแยกกาก8,000

1

8,000
2. ตู้เย็นเพื่อแช่น้ำข้าวกล้อง15,000115,000
3.ค่าดำเนินการ  2,300
รวมทั้งหมด  

25,300
 

ระดมทุนผ่านเทใจเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท