project ผู้สูงอายุ

แปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า

ส่งเสริมเด็กชาวเขาให้เป็นพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุยากไร้ที่ไม่มีคนดูแลในเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 219 คน 

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

130,015 บาท

เป้าหมาย

71,800 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 181%
จำนวนผู้บริจาค 133

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า

4 พฤศจิกายน 2015
กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า ส่งเสริมเด็กชาวเขาให้เป็นพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุยากไร้ที่ไม่มีคนดูแลในเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
พื้นที่ในเขตทศบาลนครเชียงใหม่ 4 แขวง ได้แก่ แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งรายและแขวงศรีวิชัย 
 
สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมของผู้สูงอายุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและครอบครัวทำให้จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มอย่างขึ้นรวดเร็ว ผู้สูงอายุในสังคมไทยส่วนหนึ่งมีฐานะยากจนและต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นเนื่องจากแหล่งที่ให้การดูแลผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมดั้งเดิมลดน้อยลง สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปของประเทศเพิ่มเป็น 13 % ปัจจุบันผู้สูงอายุ 4ใน5 คนต้องพึ่งพารายได้ที่มาจากลูก แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ผู้สูงอายุจะมีลูกอยู่ใกล้ ๆ คอยให้ช่วยเหลือในเรื่องรายได้และให้การดูแลน้อยลงกว่าในอดีต ดังนั้นมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้คนชุมชนได้ดูแล ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน อันจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมในสังคม สร้างความตระหนักให้ทุกคนมีจิตสาธารณะและร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีงาม 
 
กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า
ส่งเสริมเด็กชาวเขาให้เป็นพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุยากไร้ที่ไม่มีคนดูแลเป็นการสร้างทีมอาสาสมัครเด็กดอยที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ให้เข้าไปทำงานร่วมกับชมรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขตเมือง เชียงใหม่ (ช.อ.บ) และ อาสาสมัครชำนาญการจากหลายๆแขนงวิชาชีพ โดยทำหน้าที่ออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุยากไร้ในรูปแบบเป็นการรเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยากไร้ และ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป้าหมายเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและหาภาวะเสี่ยงของโรคร้ายในระยะเริ่มแรก ด้วยความเชื่อมั่นว่าการตรวจและการให้คำแนะนำต่อผู้สูงอายุตั้งแต่ยังไม่มีอาการนั้นจะช่วยให้ผู้สูงอายุลดภาวะเสี่ยงการเกิดโรคร้าย เป็นการลดภาวะความเจ็บป่วยและช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล
 
กิจกรรมตรวจสุขภาพ ลงพื้นที่ 4 แห่ง
- การสัมภาษณ์ประวัติ ประกอบด้วย ประวัติทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติ ลักษณะการทำงาน อาชีพ การซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค 
- วัดความดัน
- ชั่งน้ำหนัก
- การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
- เจาะเลือดปลายนิ้วตรวจเบาหวานโดยพยาบาลวิชาชีพจิตอาสา 
 
1.พื้นที่ ชุมชนบ้านใหม่ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันที่ 17 มิ.ย. 58  มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 57 คน
ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนบ้านใหม่
 
 
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
2. พื้นที่ชุมชนหนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันที่ 23 มิ.ย. 58 มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 37 คน
ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนหนองหอย
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
3. พื้นที่ชุมชนอุ่นอารีย์ มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 21 คน  
วันที่ 29 มิ.ย. 58 ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนหนองหอย
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
4. พื้นที่ บ้านแพะ ต้นขาม มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 7 คน
วันที่ 5 ก.ค. 58 09.00 – 16.00 น..
ออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุตามบ้านร่วมกับจิตอาสาวิชาชาชีพ ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธพัฒนางานผู้สูงอายุ
 
 
 
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

***สำหรับเงินบริจาคที่เกินเป้าหมายเดิม ทางทีมงานโจะขอใช้งบประมาณดังกล่าวในการพัฒนาบุคคลกรเพื่อจัดทำแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลในการต่อยอดงานในอนาคต รวมไปถึงซื้ออุปกรณ์ของใช้สิ้นเปลืองที่จำเป็น เช่น แพมเพิส แผ่นรองซับ สายดูดเสมหะ ทิชชู่ อุปกรณ์ทำแผล ยา เวชภัณอุปกรณ์ทำแผล และอุปกรณ์อื่นๆที่ผู้สูงอายุต้องใช้เป็นเฉพาะรายบุคคลต่อไป***
 
Buddy HomeCare กิจการเพื่อสังคมภายใต้มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ  ได้ทำโครงการ“แปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า” หรือผู้สูงอายุยากไร้ไม่มีคนดูแลในเขตพื้นที่ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ จำนวน 219 คน  โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 
 
1. ต้องการให้ผู้สูงอายุยากไร้ ได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ดี พร้อมกับการเชื่อมสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุหันมาใส่ใจและดูแลตัวเองมากขึ้น
2. ต้องการให้เด็กดอยมีอาชีพและทางเลือกในชีวิตมากขึ้น นั่นคือการเป็น “ผู้ช่วยพยาบาล หรือ พยาบาล” เพราะน้องๆเหล่านี้ส่วนใหญ่เมื่อจบ ม.ต้น หรือ ม.ปลายมักจะไม่ได้ศึกษาต่อ ต้องออกมามีอาชีพรับจ้าง ดังนั้น Buddy HomeCare จึงอยากให้ทุนการศึกษาเพื่อเป็นอีกหนทางในชีวิต และอาชีพนี้ ยังสร้างความภูมิใจให้พวกเขามีโอกาสทำเพื่อผู้อื่น 
 

โครงการของเราจะให้อาสาสมัครที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงระยะยาวจำนวน 20 คน ใช้เวลาช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ หรือวันว่างจากการทำงาน เพื่อลงชุมชนเยี่ยมผู้สูงอายุยากไร้เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยแบ่งเป็นกลุ่มเข้าไปตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป็นการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อที่จะได้แนะนำการดูแลสุขภาพ และเฝ้าระวังโอกาสโรคต่างๆ อีกทั้งยังจะมีโอกาสได้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ญาติ/ผู้ดูแล อีกด้วย

ประโยชน์ของโครงการ :

  • ผู้สูงอายุ จำนวน 219 คน ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และมอบสิ่งของจำเป็น เพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้น
  • ญาติ/ผู้ดูแล ได้รับคำปรึกษา และความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ
  • กลุ่มเด็กชนเผ่าที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้รับทุนการศึกษาจากบั้ดดี้โฮมแคร์ และมีโอกาสเป็นผู้ให้คืนสู่สังคม

 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

อาสาสมัคร จำนวน 20 คนจะลงพื้นที่ 3 เดือน คือ
 
1.ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุยากไร้ เช่น ชั่งน้ำหนัก,วัดความดัน,ส่วนสูง,ชีพจร และคำนวณค่า BMI, ตรวจระดับไขมันในเลือด 
2.การเยี่ยมผู้สูงอายุเพื่อเฝ้าระวังโรคในอนาคต เพราะการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น ตัวอย่าง เช่น ดูคอ คอพอก หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง หลอดคอเอียงอาจจะมีภาวะเสียงโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือ ดูแก้วตา(Lens) ขุ่นขาว  ต้อกระจก, เบาหวาน  เยื่อตาขาวเป็นสีเหลือง ภาวะดีซ่าน จะเป็นวิธีการที่ใช้ในการดูแลสุขภาพซึ่งเกิดผลคุ้มค่ามากที่สุด ดีกว่ารอให้เจ็บป่วยแล้วไปพบแพทย์ เพื่อเตรียมเฝ้าระวังโรคและแนะนำในการดูแลตัวเอง
 
 
*มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุมีประสบการณ์ดำเนินงานอบรมอาสาสมัครเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยากไร้ในเขตเทศบาลเมือง เชียงใหม่ มากว่า 10 ปี ลักษณะการเยี่ยมจะเข้าไปพบผู้สูงอายุยากไร้ รวมทั้งช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆน้อยๆ แต่เราพบว่า การดูแลโดยอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมแบบเบื้องต้น ยังไม่เพียงพอต่อปัญหาที่พบ ดังนั้นเราจึงต้องยกระดับอาสาสมัครให้มีความชำนาญการด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการเยี่ยมบ้านเป็นกลวิธีของการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ทราบปัญหาและนำข้อมูลมาวางแผนเพื่อให้ลงเยี่ยมครั้งต่อไป

สมาชิกภายในทีม :

1. นางสาวนราธิป เทพมงคล (Ms.Narathip Thepmongkol)

ผันชีวิตจากการเป็นลูกจ้างในภาคธุรกิจ มาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม ด้วยสองมือเล็กๆ กับความคิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้
Tel: +66 82 381 1901

E-mail: n_thepmongkol@hotmail.com

2. นางสาวอรรพรรณ มงคลพนาสถิตย์ (Ms.Oraphan Mongkolpanasatit)

ชนเผ่าปกาเกอะญอผู้บุกเบิกทางเพื่อสร้างโอกาสให้น้องๆ บนดอย ได้มีโอกาสมาศึกษาต่อ และเป็นกำลังสำคัญ เป็นล่าม รวมทั้งเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุเองอีกด้วย
Tel: +66 85 653 5482

E-mail: oraphan.t@hotmail.com

3. นายเจนวิทย์ วิโสจสงคราม (Mr.Janevit Wisojsongkram)
หลงทำงานมีเดียในห้องสี่เหลี่ยมมาสิบกว่าปี เมื่อออกสู่โลกกว้างจึงรู้ว่า พลังกาย พลังความคิดของตน สามารถแก้ปัญหา และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้
Tel: +66 80 495 0192

E-mail: janevitfrog@gmail.com

 

ติดตามความเคลื่อนไหวโครงการได้ที่ Facebook : บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน Buddy homecare
โทร 053 - 215 671 

ภาคี :

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ (Foundation for Older Persons' Development) 

http://fopdev.or.th/th/ 

 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Faculty of Nurse) 

http://www.nurse.cmu.ac.th/aspnet/nsccmu/Main/Default.aspx 

 

ร้านคุณตาคุณยาย (for Oldy) 

http://www.foroldy.com/

 

รองเท้าโฮปแวร์ Hopewear 

https://www.facebook.com/hopewear.product

 

องค์กรพัฒนาอาชีพนานาเผ่าลุ่มน้ำฝาง (Capacity Improvement of Community in Nam-Fang Basin) 

https://www.facebook.com/citcf

จากใจเจ้าของโครงการแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า

25 พฤษภาคม 2015

"ทีมงานขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้กรุณาบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เราซาบซึ้งและประทับใจในความปรารถนาดีของทุกท่านที่มีต่อเยาวชนยากไร้ และ ผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาส  พวกเราขอสัญญาว่าจะยึดมั่นทำงานด้วยความจริงใจและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ เพื่อจะสร้างสังคมให้น่าอยู่ขึ้นค่ะ"                                                                                                                                                                                                    
นางสาวนราธิป เทพมงคล
ตัวแทนโครงการแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า
 

กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า

4 พฤศจิกายน 2015

กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า ส่งเสริมเด็กชาวเขาให้เป็นพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุยากไร้ที่ไม่มีคนดูแลในเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ
พื้นที่ในเขตทศบาลนครเชียงใหม่ 4 แขวง ได้แก่ แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งรายและแขวงศรีวิชัย 
 
สังคมไทยปัจจุบันเป็นสังคมของผู้สูงอายุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและครอบครัวทำให้จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มอย่างขึ้นรวดเร็ว ผู้สูงอายุในสังคมไทยส่วนหนึ่งมีฐานะยากจนและต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นเนื่องจากแหล่งที่ให้การดูแลผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมดั้งเดิมลดน้อยลง สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปของประเทศเพิ่มเป็น 13 % ปัจจุบันผู้สูงอายุ 4ใน5 คนต้องพึ่งพารายได้ที่มาจากลูก แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ผู้สูงอายุจะมีลูกอยู่ใกล้ ๆ คอยให้ช่วยเหลือในเรื่องรายได้และให้การดูแลน้อยลงกว่าในอดีต ดังนั้นมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้คนชุมชนได้ดูแล ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน อันจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมในสังคม สร้างความตระหนักให้ทุกคนมีจิตสาธารณะและร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีงาม 
 
กิจกรรมแปลงร่างละอ่อนดอยให้เป็นพยาบาลรักษาผู้เฒ่า
ส่งเสริมเด็กชาวเขาให้เป็นพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุยากไร้ที่ไม่มีคนดูแลเป็นการสร้างทีมอาสาสมัครเด็กดอยที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ให้เข้าไปทำงานร่วมกับชมรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขตเมือง เชียงใหม่ (ช.อ.บ) และ อาสาสมัครชำนาญการจากหลายๆแขนงวิชาชีพ โดยทำหน้าที่ออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุยากไร้ในรูปแบบเป็นการรเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุยากไร้ และ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เป้าหมายเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและหาภาวะเสี่ยงของโรคร้ายในระยะเริ่มแรก ด้วยความเชื่อมั่นว่าการตรวจและการให้คำแนะนำต่อผู้สูงอายุตั้งแต่ยังไม่มีอาการนั้นจะช่วยให้ผู้สูงอายุลดภาวะเสี่ยงการเกิดโรคร้าย เป็นการลดภาวะความเจ็บป่วยและช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล
 
กิจกรรมตรวจสุขภาพ ลงพื้นที่ 4 แห่ง
- การสัมภาษณ์ประวัติ ประกอบด้วย ประวัติทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ เชื้อชาติ ลักษณะการทำงาน อาชีพ การซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค 
- วัดความดัน
- ชั่งน้ำหนัก
- การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
- เจาะเลือดปลายนิ้วตรวจเบาหวานโดยพยาบาลวิชาชีพจิตอาสา 
 
1.พื้นที่ ชุมชนบ้านใหม่ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันที่ 17 มิ.ย. 58  มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 57 คน
ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนบ้านใหม่
 
 
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
2. พื้นที่ชุมชนหนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วันที่ 23 มิ.ย. 58 มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 37 คน
ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนหนองหอย
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
3. พื้นที่ชุมชนอุ่นอารีย์ มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 21 คน  
วันที่ 29 มิ.ย. 58 ช่วงเช้า 08.00 – 12.00 น. 
- ผู้สูงอายที่ยังสามารถเดินได้ มาขอรับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ ณ ที่ทำการชุมชนหนองหอย
ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 น.
-น้อง ๆ ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จากคณะพยาบาลศาสตร์ มช. เดินตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุยากไร้ตามบ้าน
 
 
4. พื้นที่ บ้านแพะ ต้นขาม มีผู้สูงอายุที่เข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 7 คน
วันที่ 5 ก.ค. 58 09.00 – 16.00 น..
ออกตรวจสุขภาพผู้สูงอายุตามบ้านร่วมกับจิตอาสาวิชาชาชีพ ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธพัฒนางานผู้สูงอายุ
 
 
 

แผนการใช้เงิน

 
รายการจำนวนคนราคา/ครั้งราคาทั้งหมดจำนวนครั้งราคารวม (บาท)
1. ค่าเดินทาง นักเรียนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ไปลงชุมชน20

200

2,00048,000
2.ค่าอุปกรณ์ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น เครื่องตรวจน้ำตาล แผ่นตรวจน้ำตาล เข็มเจาะน้ำตาล ถุงมืออนามัย เครื่องวัดความดัน21920043,800143,800
3. ค่าอบรม/เอกสาร/แบบบันทึกการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ญาติของผู้สูงอายุ หรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ยังขาดความรู้202505,000420,000
รวมทั้งหมด    71,800