project เด็กและเยาวชน

เปลี่ยนนักเลงเป็นนักเรียน

ยายแอ๊วNDR อโชก้า เฟลโล 2008 ชวนระดมทุนจัดกิจกรรมร่วมกับเยาวชนกว่า10 แก็งค์ใน จ.เชียงใหม่ เพื่อใช้กิจกรรมผูกไมตรีในการเปลี่ยนนักเลงเป็นนักเรียน

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

20,000 บาท

เป้าหมาย

18,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 111%
จำนวนผู้บริจาค 13

สำเร็จแล้ว

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

นักเรียนนักเลงเป็นปัญหาของสังคมไทยที่ไม่เคยจบสิ้น และผู้ตกเป็นเหยื่อไม่ได้มีแต่คู่อริเท่านั้น 
 
เพราะหลายครั้ง “คนทั่วไป” มักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเหล่านี้
 
จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีปัญหายกพวกตีกัน แต่ในช่วงเวลาหลายปีปัญหานี้เริ่มเบาบางลง เพราะมีการรวมตัวของ "กลุ่ม NDR" อดีตนักเลงที่พยายามชักจูงใจรุ่นน้องให้เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นคนดี นำโดย “ยายแอ๊ว” ลัดดาวัลย์ ชัยนิลพันธ์ ที่่อาสาเข้ามาแก้ปัญหานี้ ผ่านกฎที่พูดง่ายแต่วิธีการดำเนินการต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง นั่นคือ กฎเหล็ก 8 ข้อของ NDR 
1.ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด (กฎเด็ดขาด)
2.หลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทกับกลุ่มอื่น
3.ให้มีความสามัคคีภายในกลุ่ม
4.ผู้ที่เข้ามาทีหลังหรือมีอายุน้อยกว่าต้องให้ความเคารพรุ่นพี่หรือผู้ที่เข้ามาก่อน
5.อย่าส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน
6.ห้ามพกอาวุธ
7.ห้ามมีเรื่องชู้สาวภายในกลุ่มโดยเด็ดขาด
8.ห้ามดึงคนนอกเข้ามาเกี่ยวเมื่อมีเรื่องความขัดแย้งกันภายในกลุ่ม
กลุ่มเยาวชน NDR ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มย่อยจำนวน 32 กลุ่ม มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 4,217 คน ที่แกนนำพามาลงทะเบียน บางกลุ่มแกนนำได้มีครอบครัวไปแล้ว บางคนก็เรียนจบ บางคนก็ไปทำงานต่างจังหวัด และบางคนก็ทำงานในเมืองเชียงใหม่ บางคนทำงานเป็นทหาร เป็นตำรวจแต่ก็ยังคงแวะมาเยี่ยมสำนักงานอยู่เสมอและบางกลุ่มสลายไปในที่สุด เช่น กลุ่มหญ้าคา, กลุ่มเศษเดน, กลุ่มเหล็กกล้า, กลุ่มวังตาล และกลุ่มพระราม 9 เป็นต้น
 
 
กลุ่ม NDR เป็นที่ยอมรับอย่างมากจากหน่วยงานราชการ เช่น ปี 2544 ได้รับทุนจาก สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย) เพื่อทำงานกับกลุ่มเยาวชน NDR มีการจัดค่ายละลายพฤติกรรมของแกนนำกลุ่ม รู้จักแนวคิด ทัศนคติ ความต้องการของตนเองและกลุ่มเพื่อนๆ โดยใช้ธรรมชาติเป็นสื่อ ต่อมาการทำงานก็มุ่งเน้นที่จะสร้างการพัฒนาศักยภาพของแกนนำเพื่อสร้างพฤติกรรมทางบวกให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและสังคม กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้กระทำต่อมานั้นเป็นค่ายเยาวชนและการจัดการแข่งขันฟุตบอลซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกลุ่มต่างๆ ได้และสามารถลดพฤติกรรมความรุนแรงได้เหมือนกันเป็นบางส่วน
ปี 2555 สำนักงานปราบปรามยาเสพติดภาคเหนือตอนบนที่ให้ทุนและเข้าร่วมเป็นวิทยากรให้คำแนะนำ พูดคุย กับเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมจัดค่ายเยาวชน เทศบาล จ. เชียงใหม่ก็ยังร่วมทำกิจกรรมฟุตบอลกระชับมิตรภาพ
 
อย่างไรก็ตามงบประมาณที่ได้มาเป็นการจัดกิจกรรมครั้งคราวเมื่อนานมาแล้ว จึงทำให้การทำงานของกลุ่ม NDR ไม่ต่อเนื่อง หรือแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะเราไม่งบประมาณที่จะไปจัดกิจกรรมเช่นนี้กับเด็กใหม่เพื่อละลายพฤติกรรมที่สามารถเสริมสร้างทักษะชีวิตและพัฒนาศักยภาพของตัวเอง สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้โดยปกติ ทำการแก้ปัญหาความขัดแย้งทะเลาะวิวาทโดยมุ่งเน้นหาแนวทางสันติวิธีในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
 
 
 
 

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เยาวชนแกนนำกลุ่มเอ็นดีอาร์เข้าร่วมโครงการสม่ำเสมอ 30-40 คน รวมทั้งเยาวชน
2. ได้ข้อตกลงในการลดความรุนแรง/ความขัดแย้งทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่ม NDR รวมทั้งกลุ่มอื่นๆ ด้วย
3. การรวมตัวกันระหว่างเยาวชนกลุ่มได้ทำประโยชน์ร่วมกัน4. แกนนำทั้งสองฝ่ายสามารถถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติงานให้กับกลุ่มสมาชิกและสามารถปฏิบัติจริงได้
5.พฤติกรรมความรุนแรงลดลงโดยจากการประเมินผลตามแบบฟอร์มของ สสส.และการบันทึกลงสมุด (กรณีใช้ความรุนแรง)
 
 
การประเมินผล
1. ประเมินโดยการจดบันทึกลงสมุด กรณีใช้ความรุนแรงทุกครั้ง จากการบันทึกจะเห็นได้ว่ามีการใช้ความรุนแรงลดลง และการประเมินผลจากแบบฟอร์ม สสส.ที่กำหนดไว้
2. ประเมินจากการสรุปบทเรียนร่วมกันของเยาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อตกลงร่วมกันถึงการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อลดความรุนแรง ดังนี้
    2.1  มีการเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทอย่างสันติวิธี โดยแกนนำกลุ่ม
    2.2 ให้แกนนำพาวัยรุ่นที่มีปัญหาต่อกันมาตกลงแก้ไขปัญหากันในสำนักงาน โดยมีแกนนำและที่ปรึกษา (คุณยาย) คอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา
    2.3 หลังการเจรจาไกล่เกลี่ยแล้วให้จับมือเป็นเพื่อนกันแบบลูกผู้ชาย ถ้าการเจรจาไกล่เกลี่ยไม่ลงตัว แกนนำต้องหาวิธีอื่นโดยยึดหลักสันติวิธี 
   2.4 กรณีมีเรื่องกับวัยรุ่นกลุ่มอื่นนอกเครือข่าย NDR ให้ปรึกษาแกนนำและปรึกษายาย เผื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ โดยจะพิจารณาเป็นกรณีกรณีไป เช่น มีเรื่องกับกลุ่มวัยรุ่นอื่นที่ยายอาจรู้จักหัวหน้าแก๊งค์ อาจเรียกเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยให้ได้ หรือถ้าเป็นวัยรุ่นในสถานศึกษาแห่งใดที่มีเรื่องอาจเชิญอาจารย์ของกลุ่มวัยรุ่นนั้นมารับฟังปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ เป็นต้น

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

ดังนั้นยายแอ๊วจึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพการแก้ปัญหานี้ด้วยการจัดค่ายเพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ผ่านกิจกรรมค่ายนี้ รวมถึงกิจกรรมอื่นในปี 2558 ด้วย
1. จัดประชุมแกนนำกลุ่ม NDR เพื่อทำความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในการทำโครงการต่อไป
2. จัดค่ายอบรมทักษะชีวิตและพัฒนาศักยภาพแกนนำให้ตระหนักต่อความรุนแรงในเยาวชนกลุ่ม NDR  (3วัน2คืน)
3. จัดเวทีเพื่อร่วมกันระดมความคิดค้นหากิจกรรมในการสร้างภาพตระหนักต่ออันตรายของความรุนแรงและระดมหาวิธีการหาทางออกของความขัดแย้งแทนการใช้ความรุนแรง เก็บข้อมูลไว้ 2 ครั้ง
4.สรุปบทเรียนร่วมกันโดยมุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ที่ดีและเน้นย้ำถึงความตระหนักต่ออันตรายของความรุนแรงทั้งเหตุและผลโดยเยาวชนกลุ่ม NDR (สร้างขอตกลงร่วมกันถึงการดำเนินงานร่วมกันเพื่อลดความรุนแรงในเมืองเชียงใหม่)
 
กลุ่มเป้าหมาย
แกนนำและสมาชิกกลุ่มต่างๆ จำนวน 150 คน
 

สมาชิกภายในทีม :

ลัดดาวัลย์ ชัยนิลพันธ์ (ยายแอ๊ว)

Facebook : NDR CHIANGMAI

***หมายเหตุ****
ความเป็นมาของกลุ่ม NDR
กลุ่มเยาวชน NDR หรือ กลุ่มหน้าดารา หรือ No Drug Rulers เริ่มรวมตัวกันประมาณปี 2539-2540 โดยเริ่มแรกมีสมาชิกวัยรุ่นชายที่เป็นเพื่อนรวมตัวกันตามธรรมชาติราว 15-20 คน ปีต่อมาสมาชิกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 70-100 กว่าคน เนื่องจากสังคมวัยุร่นเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น กลุ่มหน้าดาราได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือในการต่อสู้และใจถึง จึงทำให้วัยรุ่นคนอื่น ๆ ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม เรื่องราวของกลุ่มหน้าดาราขณะนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรงและการทะเลาะวิวาท ซึ่งในมุมมองของสังคมเชียงใหม่ขณะนั้นจะเห็นว่าเป็น

 

ปัญหาร้ายแรง เยาวชนกลุ่มนี้จีงได้ถูกสังคมเบียดขับออกจากสังคมโดยปริยาย พวกเขาได้ไปรวมตัวด้วยความเชื่อว่า ภาพที่พวกเราเห็นนั้นคือภาพความเป็นลูกผู้ชาย ความเป็นหนึ่งเดียวกัน กฎ 8 ข้อที่พวกเขาร่วมกันสร้างขึ้นมานั้นถูกยอมรับด้วยความเต็มใจและปฏิบัติตามโดยเฉพาะกฎเหล็กข้อที่ 1 ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด 
ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

 
รายการ

จำนวน

(ครั้ง)

ราคารวม (บาท)

1.จัดประชุมแกนนำกลุ่ม NDR และแกนนำกลุ่มต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานและตระหนักต่อความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน และสรุปบทเรียนร่วมกันโดยมุ่งเน้นหาความสัมพันธ์ที่ดีและเน้นย้ำถึงความตระหนักต่ออันตรายของความรุนแรงทั้งเหตุและผลโดยเยาวชนกลุ่ม NDR สร้างข้อตกลงร่วมกันถึงการดำเนินงานร่วมกันเพื่อลดความรุนแรงในเมืองเชียงใหม่  

- ค่าอาหาร อาหารว่าง และสถานที่ 280 บาท x 40 คน = 11,200 บาท
- วิทยากร 2 คน = 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์/สื่อสาร = 1,500 บาท
-อื่น ๆ 1,700 บาท
118,000
สรุป 18,000