project เด็กและเยาวชน

อุปกรณ์ฝึกทักษะสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (Activities of Daily Living for Cerebral Palsy Kids)

ชักชวนอาสาสมัครช่วยกันประกอบอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของเด็กพิการ และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 1 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ภาคกลาง

ยอดบริจาคขณะนี้

23,403 บาท

เป้าหมาย

20,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 117%
จำนวนผู้บริจาค 31

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สร้างอุปกรณ์ ช่วยเด็กสมองพิการใช้ชีวิต

19 พฤษภาคม 2017

โครงการทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (Tools for C.P.) ได้จัดกิจกรรมเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมีอาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 45 คน ได้จัดทำอุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการทั้งหมด 2,078 ชิ้น มีผู้ใจบุญร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม จำนวน 23,403 บาทถ้วน และทางโครงการได้เดินทางไปมอบอุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กพิการทางสมอง 2,078 ชิ้น ให้กับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเครือข่ายทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งโดยภาพรวมของโครงการประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 


สรุปผลการดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3T  ดังนี้

Time:     1. อาสาสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 101 คน

               2. อาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 45 คน (รับจำนวนจำกัด)

Talent:     Designer อาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 คน

Treasure: ผู้ใจบุญร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม จำนวน 23,403 บาท


ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เด็กสมองพิการมีอุปกรณ์ในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกให้น้องๆ เด็กสมองพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

2. ทั้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องและผู้ปกครองมีอุปกรณ์ที่จะช่วยฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กสมองพิการในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยอำนวยความสะดวก และแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในการดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาเด็กสมองพิการได้อย่างเหมาะสม 

3. ภาคประชาสังคมได้เรียนรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเป็นจิตอาสาที่มีส่วนร่วมในการทำอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ  


ปัญหาและความท้าทาย

1. ขั้นตอนการออกแบบอุปกรณ์ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมองพิการ และต้องมีการทดลองการใช้งานจริงกับเด็กสมองพิการ ซึ่งต้องมีระยะเวลาในการทดลองและพัฒนาต้นแบบเพื่อให้ได้อุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

2. เด็กสมองพิการมีอาการความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งในความหลากหลายนั้น ล้วนมีปัญหาความผิดปกติทางด้านร่างกายในควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันไปของเด็กแต่ละคน ตลอดจนระดับความผิดปกติและความที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความท้าทายในการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กสมองพิการในแต่ละประเภท 


แนวทางการดำเนินงานในอนาคต

1. จากการทำ research ความต้องการของเด็กสมองพิการเบื้องต้น พบว่ายังมีอุปกรณ์สำหรับใช้ใน ชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. อื่นๆที่ยังขาดแคลน และต้องการการออกแบบโดยเฉพาะสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. ซึ่งจากการทำกิจกรรมครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดทำอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับเด็กสมองพิการได้ในอนาคต  

2. จากการทดลองการใช้งานอุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการ C.P. พบว่าเด็กสมองพิการมีความถนัดการใช้งานอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท ซึ่งจากการทำกิจกรรมนี้ทำให้ทีมงานทราบถึงแนวทางการพัฒนาอุปกรณ์ให้ครอบคลุมและเหมาะกับเด็กสมองพิการ C.P. มากขึ้น 


ภาพประกอบการดำเนินการโครงการ

1. การศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของเด็กสมองพิการ C.P. ที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ



2. การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. โดย Designer อาสาสมัคร จาก TAM:DA Studio 

 

 

 



3. การทดลองการ และพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. เพื่อให้ได้อุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 



4. กิจกรรมทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (Tools for C.P.)



5. ตัวแทน Creative Citizen และอาสาสมัครเดินทางไปมอบอุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กสมองพิการ จำนวน 2,078 ชิ้น ให้กับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเครือข่ายทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย    

    1.มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

    2.ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ (ศูนย์เรียนรู้ครอบครัวเด็กพิการ 10 ศูนย์)

    3.โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการโดยชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

    4.มูลนิธิพิทักษ์ดวงตา จังหวัดลำปาง

    5.โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น



ความประทับใจจากโครงการทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P.

1. ความคิดเห็นจากภาคี (มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ)

ในนามของ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) ขอขอบพระคุณโครงการ Tools for C.P. ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากๆ เนื่องจากกลุ่มเด็กซีพี (เป็นเด็กพิการประเภทความพิการทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว) มีข้อจำกัดมากมายในการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน อีกทั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เหล้านี้ หาได้ยากมากๆ และเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมากๆ สำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเด็กที่มีระดับความพิการที่รุนแรงมากๆ ค่ะ ดังนั้น โครงการฯนี้นับว่าเป็นการสนับสนุนอุปกรณ์ที่มีความต้องการจำเป็นสำหรับการช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การทานอาหาร เป็นต้น ทำให้เด็กสามารถส่งเสริมการฝึกฝนทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน จนสามารถให้เด็กช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาผลิตอุปกรณ์อื่นๆ เช่น   
1. อุปกรณ์เครื่องช่วย เพิ่มเติม เช่น ถาดสำหรับใส่รถเข็นวีลแชร์ (ในการทำกิจกรรมต่างๆ)
2. อุปกรณ์ อาบน้ำ สำหรับเด็กซีพี
3. ช่วยปรับปรุงหรือพัฒนาห้องฝึกของเด็กๆ ให้มีสีสันดึงดูดความสนใจของเด็ก เช่น ภาพวาดการ์ตูนผนังห้องฝึกเด็ก เป็นต้น


2. ความคิดเห็นจากนักออกแบบอาสาสมัคร (TAM:DA Studio)

เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้ได้เห็นถึงพลังของการมีจิตอาสาช่วยเหลือต่อผู้อื่นหรือสังคม ถ้าจะเจาะลึกหน่อย ดีตรงที่การให้มันไม่ใช่แค่บริจาคเงิน/สิ่งของ แต่การให้ด้วยการลงแรงทำสิ่งๆหนึ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยทำ ไม่ถนัด แต่อยากทำสิ่งๆนั้นให้กลุ่มคนอีกกลุ่มที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้คุณภาพชีวิตเค้าดีขึ้น แม้จะไม่มากเท่าไร แต่ความรู้สึกรับรู้ได้แน่นอน แถมส่งต่อให้กับสังคมที่ได้เห็นได้รับรู้ แล้วรู้สึกตาม โครงการนี้สามารถต่อยอดโครงการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์หรือจำนวน แต่การต่อยอดตามความคิดผมกับมองไปที่การต่อยอด จำนวนคนให้มีจิตอาสา มีความคิดเรื่องนี้ต่อสังคมให้มากๆ เพิ่มยกระดับความน่ารักของสังคม


3. ความคิดเห็นจากอาสาสมัคร

โครงการที่ดีมากๆ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กๆ และได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม สิ่งที่ได้รับวันนี้ คือประสบการณ์ใหม่ ที่ได้ทำเพื่อคนอื่น เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความดี รู้สึกตัวว่าตัวเองมีประโยชน์ ที่สำคัญได้รู้จักกับกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อสังคมซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดีต่อไป และอยากให้มีโครงการดีๆแบบนี้ อยากให้เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปในรูปแบบโครงการอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือสังคม ซึ่งจากโครงการที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า มีเพื่อนๆอาสาสมัครหลายท่านให้ความสนใจโครงการเพื่อสังคม แต่ไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอาสาสมัคร รวมถึงโครงการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นใช้ระยะเวลาในการร่วมกิจกรรม จึงเป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมโครงการ
อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ

เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) เป็นกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ซึ่งพบได้ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 7 ปี ซึ่งความผิดปกติส่งผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ ความพิการที่เกิดขึ้นหากได้รับการดูแล ฟื้นฟู และกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างถูกวิธี อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยให้เด็กเหล่านั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป ตลอดจนความคาดหวังสูงสุดคือ เด็กเหล่านี้สามารถเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน และทำงานได้เช่นคนทั่วไป 

โดยเด็กสมองพิการจะมีปัญหาทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว กล่าวคือเนื้อสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ มีความบกพร่อง/ผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาความผิดปกติทางด้านร่างกายในควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งเด็กสมองพิการแต่ละคนจะมีลักษณะความผิดปกติที่แตกต่างกันไป เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง เคลื่อนไหวช้า และทรงตัวได้ไม่ดี จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้เด็กสมองพิการมีปัญหาด้านการดูด-กลืนอาหาร ปัญหาด้านการใช้มือ ปัญหาด้านการสื่อสาร ปัญหาด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งเด็กเหล่านี้ส่วนมากจำเป็นต้องรับการรักษาทางการแพทย์ ควบคู่กับการฟื้นฟูและพัฒนาทางด้านร่างกายเป็นสำคัญ เช่นการฝึกกายภาพบำบัด (ฝึกพัฒนาการด้านใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็ก) การกระตุ้นพัฒนาการผ่านกิจกรรมบำบัด และการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Living : ADL) ผ่านการใช้อุปกรณ์ฝึกเพื่อช่วยส่งเสริมในการฝึกของเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   

ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเด็กสมองพิการยังขาดแคลนอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน ซึ่งอุปกรณ์นั้นต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับเด็กเหล่านี้ และเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานบนข้อจำกัดของเด็กสมองพิการเองที่มีความความผิดปกติทางด้านร่างกายในการควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น ช้อน-ส้อม แปรงสีฟัน แก้วน้ำ และจาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างมากสำหรับเด็กสมองพิการในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันเบื้องต้น

ดังนั้นผู้จัดโครงการจึงอยากเชิญชวนผู้ที่มีจิตใจดีที่อยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อาสามาช่วยกันประกอบอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กพิการทางสมอง C.P. หรือร่วมบริจาคทุนทรัพย์สมทบทุนโครงการสำหรับผลิตอุปกรณ์ เพื่อให้น้องๆได้มีอุปกรณ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย และอำนวยความสะดวกให้เด็กสมองพิการสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด ตลอดจนส่งเสริมให้น้องๆ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เด็กสมองพิการมีอุปกรณ์ในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกให้น้องๆ เด็กสมองพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ทั้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องและผู้ปกครองมีอุปกรณ์ที่จะช่วยฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน  สำหรับเด็กสมองพิการในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยอำนวยความสะดวก และแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในการดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาเด็กสมองพิการได้อย่างเหมาะสม
  3. ภาคประชาสังคมได้เรียนรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเป็นจิตอาสาที่มีส่วนร่วมในการทำอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ

  • 07/10/59 เริ่มประชาสัมพันธ์ Campaign อุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. พร้อมเปิดรับบริจาคเงินสมสบทุนโครงการ
  • 12/10/59 เปิดตัววีดีโอสอนทำอุปกรณ์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P.
  • 21/10/59 ปิดรับบริจาคของ
  • 23/10/59 เริ่มกิจกรรมทำอุปกรณ์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P.  ที่ Ma:D Club for Change เอกมัย ซ.4 เวลา 9.00 - 16.00 น.
  • 26/10/59 ส่งมอบอุปกรณ์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P.
  • 31/10/59 สรุปส่ง Report Campaign 

งบประมาณและสิ่งที่ต้องการ

Time

ทำอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (วันที่ 23 ตุลาคม 2559 / ที่ Ma:D Club for Change เอกมัย ซ.4 ) (จำนวน 30 คน)

Talent

  1. TAM:DA
  2. นักออกแบบอาสาสมัคร

Treasure

งบประมาณสนับสนุนโครงการ จำนวน 20,000 บาท

สมาชิกภายในทีม

ผู้ประสานงานโครงการ : วันวิสาข์ ศรีพินิจ
เบอร์โทรศัพท์ 061-994-1426
E-mail: wanwisa@creativemove.com

ภาคี

สร้างอุปกรณ์ ช่วยเด็กสมองพิการใช้ชีวิต

19 พฤษภาคม 2017

โครงการทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (Tools for C.P.) ได้จัดกิจกรรมเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมีอาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 45 คน ได้จัดทำอุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการทั้งหมด 2,078 ชิ้น มีผู้ใจบุญร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม จำนวน 23,403 บาทถ้วน และทางโครงการได้เดินทางไปมอบอุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กพิการทางสมอง 2,078 ชิ้น ให้กับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเครือข่ายทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งโดยภาพรวมของโครงการประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 


สรุปผลการดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3T  ดังนี้

Time:     1. อาสาสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 101 คน

               2. อาสาสมัครมาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 45 คน (รับจำนวนจำกัด)

Talent:     Designer อาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1 คน

Treasure: ผู้ใจบุญร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม จำนวน 23,403 บาท


ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เด็กสมองพิการมีอุปกรณ์ในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านต่างๆ และอำนวยความสะดวกให้น้องๆ เด็กสมองพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

2. ทั้งมูลนิธิที่เกี่ยวข้องและผู้ปกครองมีอุปกรณ์ที่จะช่วยฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กสมองพิการในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยอำนวยความสะดวก และแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในการดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาเด็กสมองพิการได้อย่างเหมาะสม 

3. ภาคประชาสังคมได้เรียนรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการเป็นจิตอาสาที่มีส่วนร่วมในการทำอุปกรณ์ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ  


ปัญหาและความท้าทาย

1. ขั้นตอนการออกแบบอุปกรณ์ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมองพิการ และต้องมีการทดลองการใช้งานจริงกับเด็กสมองพิการ ซึ่งต้องมีระยะเวลาในการทดลองและพัฒนาต้นแบบเพื่อให้ได้อุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

2. เด็กสมองพิการมีอาการความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งในความหลากหลายนั้น ล้วนมีปัญหาความผิดปกติทางด้านร่างกายในควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกันไปของเด็กแต่ละคน ตลอดจนระดับความผิดปกติและความที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความท้าทายในการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็กสมองพิการในแต่ละประเภท 


แนวทางการดำเนินงานในอนาคต

1. จากการทำ research ความต้องการของเด็กสมองพิการเบื้องต้น พบว่ายังมีอุปกรณ์สำหรับใช้ใน ชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. อื่นๆที่ยังขาดแคลน และต้องการการออกแบบโดยเฉพาะสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. ซึ่งจากการทำกิจกรรมครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดทำอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับเด็กสมองพิการได้ในอนาคต  

2. จากการทดลองการใช้งานอุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการ C.P. พบว่าเด็กสมองพิการมีความถนัดการใช้งานอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท ซึ่งจากการทำกิจกรรมนี้ทำให้ทีมงานทราบถึงแนวทางการพัฒนาอุปกรณ์ให้ครอบคลุมและเหมาะกับเด็กสมองพิการ C.P. มากขึ้น 


ภาพประกอบการดำเนินการโครงการ

1. การศึกษา วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของเด็กสมองพิการ C.P. ที่มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ



2. การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. โดย Designer อาสาสมัคร จาก TAM:DA Studio 

 

 

 



3. การทดลองการ และพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. เพื่อให้ได้อุปกรณ์สำหรับเด็กสมองพิการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 



4. กิจกรรมทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P. (Tools for C.P.)



5. ตัวแทน Creative Citizen และอาสาสมัครเดินทางไปมอบอุปกรณ์ของใช้สำหรับเด็กสมองพิการ จำนวน 2,078 ชิ้น ให้กับมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเครือข่ายทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย    

    1.มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

    2.ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ (ศูนย์เรียนรู้ครอบครัวเด็กพิการ 10 ศูนย์)

    3.โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กพิการโดยชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

    4.มูลนิธิพิทักษ์ดวงตา จังหวัดลำปาง

    5.โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น



ความประทับใจจากโครงการทำอุปกรณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กสมองพิการ C.P.

1. ความคิดเห็นจากภาคี (มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ)

ในนามของ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (มพก.) ขอขอบพระคุณโครงการ Tools for C.P. ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากๆ เนื่องจากกลุ่มเด็กซีพี (เป็นเด็กพิการประเภทความพิการทางด้านร่างกายหรือการเคลื่อนไหว) มีข้อจำกัดมากมายในการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน อีกทั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เหล้านี้ หาได้ยากมากๆ และเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมากๆ สำหรับเด็กกลุ่มนี้ โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มเด็กที่มีระดับความพิการที่รุนแรงมากๆ ค่ะ ดังนั้น โครงการฯนี้นับว่าเป็นการสนับสนุนอุปกรณ์ที่มีความต้องการจำเป็นสำหรับการช่วยส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการในการฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การทานอาหาร เป็นต้น ทำให้เด็กสามารถส่งเสริมการฝึกฝนทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน จนสามารถให้เด็กช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนาผลิตอุปกรณ์อื่นๆ เช่น   
1. อุปกรณ์เครื่องช่วย เพิ่มเติม เช่น ถาดสำหรับใส่รถเข็นวีลแชร์ (ในการทำกิจกรรมต่างๆ)
2. อุปกรณ์ อาบน้ำ สำหรับเด็กซีพี
3. ช่วยปรับปรุงหรือพัฒนาห้องฝึกของเด็กๆ ให้มีสีสันดึงดูดความสนใจของเด็ก เช่น ภาพวาดการ์ตูนผนังห้องฝึกเด็ก เป็นต้น


2. ความคิดเห็นจากนักออกแบบอาสาสมัคร (TAM:DA Studio)

เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้ได้เห็นถึงพลังของการมีจิตอาสาช่วยเหลือต่อผู้อื่นหรือสังคม ถ้าจะเจาะลึกหน่อย ดีตรงที่การให้มันไม่ใช่แค่บริจาคเงิน/สิ่งของ แต่การให้ด้วยการลงแรงทำสิ่งๆหนึ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยทำ ไม่ถนัด แต่อยากทำสิ่งๆนั้นให้กลุ่มคนอีกกลุ่มที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้คุณภาพชีวิตเค้าดีขึ้น แม้จะไม่มากเท่าไร แต่ความรู้สึกรับรู้ได้แน่นอน แถมส่งต่อให้กับสังคมที่ได้เห็นได้รับรู้ แล้วรู้สึกตาม โครงการนี้สามารถต่อยอดโครงการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์หรือจำนวน แต่การต่อยอดตามความคิดผมกับมองไปที่การต่อยอด จำนวนคนให้มีจิตอาสา มีความคิดเรื่องนี้ต่อสังคมให้มากๆ เพิ่มยกระดับความน่ารักของสังคม


3. ความคิดเห็นจากอาสาสมัคร

โครงการที่ดีมากๆ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กๆ และได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม สิ่งที่ได้รับวันนี้ คือประสบการณ์ใหม่ ที่ได้ทำเพื่อคนอื่น เป็นจุดเริ่มต้นของการทำความดี รู้สึกตัวว่าตัวเองมีประโยชน์ ที่สำคัญได้รู้จักกับกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อสังคมซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดีต่อไป และอยากให้มีโครงการดีๆแบบนี้ อยากให้เกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปในรูปแบบโครงการอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ช่วยเหลือสังคม ซึ่งจากโครงการที่ผ่านมาทำให้เห็นว่า มีเพื่อนๆอาสาสมัครหลายท่านให้ความสนใจโครงการเพื่อสังคม แต่ไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอาสาสมัคร รวมถึงโครงการส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นใช้ระยะเวลาในการร่วมกิจกรรม จึงเป็นข้อจำกัดในการเข้าร่วมโครงการ

ไม่มีข้อมูล