project ผู้พิการและผู้ป่วย

ยาเพื่อชาวบ้านชายแดน อ.อุ้มผาง

สมทบทุนซื้อยารักษาโรคให้กับโรงพยาบาลอุ้มผางที่ดูแลประชาชนชาวไทย ชายขอบ ไร้สัญชาติกว่า 70,000 คนเพื่อให้เข้าถึงยาอย่างเท่าเทียมกัน

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ตาก

ยอดบริจาคขณะนี้

126,328 บาท

เป้าหมาย

100,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 126%
จำนวนผู้บริจาค 114

สำเร็จแล้ว

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

โรงพยาบาลต้องใช้มาตรฐานการรักษากับผู้ป่วยอย่างเท่าเทียม นั่นคือ คำมั่นที่โรงพยาบาลอุ้มผางที่ปฏิบัติต่อประชากร 67,687 คน  

ทุกวันนี้โรงพยาบาลอุ้มผาง รักษาคน 5 กลุ่มคือ  1.สิทธิบัตรทอง 25,099 คน 2.ประกันสังคม 1,542 คน 3.ข้าราชการ 1,312 คน 4.บุคคลที่มีปัญหาสถานะฯ 5,352 คน  และ 5.ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 34,382 คน ตกค่าใช้จ่าย 10-12 ล้านบาท 

ต่ทราบหรือไม่ว่า... บุคคลที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพสามหมื่นกว่าคน ทางโรงพยาบาลไม่สามารถเบิกค่ารักษากับกองทุนใดๆ  ด้วยเหตุที่ว่า พวกเขาเป็น ชาวเขาที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์  บ้างเป็นประชาชนในหมู่บ้านชายขอบ   หรือบางคนจากประเทศพม่าที่เป็นแรงงานทั้งถูกและไม่ถูกกฎหมาย  

วันนี้โรงพยาบาลอุ้มผางจึงมีสภาวะขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงต้นปีเป็นช่วงที่สภาวะอากาศหนาวเย็นมาก คนไข้ที่เข้ารับการรักษาตัวส่วนมากมาด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคประจำตัวพวกโรคหอบหืด จำเป็นต้องใช้ยาพ่นเพื่อรักษาตัวเป็นจำนวนมาก  มูลนิธิโรงพยาบาลอุ้มผางจึงร่วมมือกับเทใจดอทคอมเพื่อระดมทุนในการซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการรักษาเฉพาะหน้าก่อน

เรื่องเล่าเรื่องยา เป็นเหมือนนิยายที่ไม่รู้จับ (Never Ending Story) ตราบเท่าที่ความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนชายแดนยังคงมีอยู่ และการกระจายงบประมาณยังคงใช้หลักความเป็นธรรมเชิงคณิตศาสตร์ตามรายหัวประชากรซึ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับความเป็นจริงในพื้นที่อุ้มผางที่ยังมีประชากรเกินครึ่งเป็นผู้ไร้สถานะและไม่อาจได้รับสิทธิในหลักประกันสุขภาพใด ๆ 

ทั้งนี้เราหวังว่า สิ่งที่เราจะทำได้ในอนาคตนอกจากเรื่องการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คนเหล่านี้ได้รับความเท่าเทียมกันแล้ว เราจะพยายามหาแนวร่วมใจดี เช่น บริษัทที่ขายยาในการปันน้ำใจให้แก่ปู้เจ็บป่วยที่ไม่อาจเข้าถึงยาต่อไป

ชาวบ้านมารอคิวในการักษาพยาบาล

แพทย์ออกหน่วยลงพื้นที่ตรวจรักษาชาวบ้านที่ห่างไกล

 

ตัวอย่างเคสผู้ป่วยที่ไม่มีกองทุนใดๆ ช่วยเหลือ

นางชิชะพอ ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) อายุ 48 ปี เป็นบุคคลอยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อจัดทำเบียนบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เกิดที่บ้านกะลิคี ประเทศพม่า เข้ามาประเทศไทยทางด่านเปิ่งเคลิ่ง ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง ตอนอายุ 17 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านสามัคคี ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง

ชิชะพอเริ่มเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอุ้มผางเมื่อปี 2552 ด้วยอาการซีด เข้ารับการเจาะเลือด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค anemia จึงรับยาและเจาะเลือดซ้ำเรื่อยมา ต่อมาปี 2553 แพทย์ได้วินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเป็นโรคไตระยะสุดท้าย อายุรแพทย์ประจำโรงพยาบาลอุ้มผาง ให้ความเห็นว่าควรได้รับการฟอกล้างไตเพื่อขับของเสียออก แต่นางชิชะพอไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาลจากกองทุนใด ๆ แพทย์จึงทำได้เพียงให้การรักษาทางยาเท่านั้น แต่อากาารไม่ทุเลา แพทย์ตัดสินใจส่งตัวไปรักษาต่อกับแพทย์เฉพาะทางประจำหน่วยไตเทียมของโรงพยาบาลแม่สอด และได้ทำการเจาะหน้าท้องเพื่อทำการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้ “ชิชะพอ” ถูกเจาะเส้นเลือดบริเวณต้นคอเพื่อฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis-HD) ซึ่งต้องเดินทางมารับ บริการฟอกเลือดที่หน่วยบริการที่มีเครื่องไตเทียมและแพทย์โรคไต สัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 4-5 ชั่วโมง

สถานะทางการเงิน : โรงพยาบาลอุ้มผางต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเอง

ยาที่ได้รับบริจาคมาแต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

จันทราภา จินดาทอง บันทึกเพื่อเผยแพร่ในเวปไซด์เทใจดอทคอม เมื่อวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2557

ประโยชน์ของโครงการ :

1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสำหรับผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลอุ้งผาง 

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

จัดซื้อยาที่จำเป็นในการรักษาชีวิตมนุษย์

สมาชิกภายในทีม :

รายชื่อกรรมการมูลนิธิ 

1.นพ.ศิริวัฒน์  ทิพย์ธราดล         สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ   ประธานอุปถัมภ์

2.นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์      โรงพยาบาลอุ้มผาง  ประธานกรรมการ

3.ผศ.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กรรมการ

4.น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล        มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   กรรมการ

5.ทญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์      ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ     กรรมการ

6.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์                คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล   กรรมการ

 7.นางนุตนาต  วงษ์เจริญ           โรงพยาบาลอุ้มผาง     กรรมการ           

 8.นางวัลลีย์  คุณยศยิ่ง              โรงพยาบาลอุ้มผาง    กรรมการ

 9.น.ส.ฐิตินบ โกมลนิมิ               ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้    กรรมการ

10.นายดำรง  ศรีเวียง                 โรงพยาบาลอุ้มผาง       กรรมการ/เหรัญญิก

 11.นางจันทราภา  จินดาทอง     โรงพยาบาลอุ้มผาง     กรรมการ/เลขานุการ

ภาคี :

มูลนิธิโรงพยาบาลอุ้มผางเพื่อมนุษยธรรม

https://www.facebook.com/umh.foudation

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล