project สัตว์

ปล่อยหอยชักตีนลงแปลงอนุรักษ์ เกาะศรีบอยา จ.กระบี่

1 บาทเพาะพันธ์หอยชักตีนได้ 1 ตัวร่วมอนุรักษ์หอยชักตีน สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองกระบี่ให้ขยายพันธ์ุได้

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ กระบี่

ยอดบริจาคขณะนี้

10,107 บาท

เป้าหมาย

10,107 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 21

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ปล่อยลูกพันธุ์หอยชักตีนลงแปลงอนุรักษ์

21 สิงหาคม 2018

มูลนิธิเอ็นไลฟ นำเงินจากการระดมทุนผ่านเว็บไซต์เทใจ เป็นจำนวนเงิน 10,107 บาท และได้มีการระดมทุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สาขาจังหวัดกระบี่ และดำเนินการเพาะพันธุ์ลูกหอยชักตีน จำนวน 70,000 ตัว และได้ทะยอยนำไปปล่อยในแปลงอนุรักษ์หอยชักตีนของตำบลเกาะศรีบอยา กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนบ้านหลังเกาะ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งการอนุรักษ์หอยชักตีนมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ปล่อยพันธุ์ลูกหอยชักตีน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 

ภาพประกอบ


ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันปล่อยพันธุ์ลูกหอยชักตีน 

 
ปล่อยลูกหอยในพื้นที่แปลงอนุรักษ์ 

 
ลูกหอยชักตีนขนาด 1-2 เซนติเมตร ร่างกายแข็งแรงพร้อมใช้ชีวิตในธรรมชาติ

มูลนิธิเอ็นไลฟ มีจุดประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้

  1. รณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็ก (ขนาดต่ำกว่า 6 เซนติเมตร) ขึ้นมาบริโภค เนื่องจากหอยชักตีนจะเริ่มวางไข่แพ่รพันธุ์เมื่อมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตร
  2. จัดทำสื่อในการรณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็กขึ้นมาบริโภค ชุมชนไม่เก็บ พ่อค้าคนกลางไม่ซื้อ ในตลาดไม่มีขาย ภัตตาคารร้านอาหารไม่เอามาจำหน่าย ผู้บริโภคปฏิเสธการบริโภค
  3. เพาะพันธุ์ลูกหอยชักตีนไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติ เพื่อเพิ่มผลผลิตหอยชักตีนให้เพียงพอต่อการบริโภค และสร้างสมดุลให้กับพื้นที่
  4. ได้กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ที่มา/ความสำคัญโครงการ :

ใครที่เดินทางไปจังหวัดกระบี่  เมนูอาหารจานนิยมจะต้องมีโอกาสลิ้มรส คือ หอยชักตีนลวกจิ้มกับน้ำจิ้มรสเด็ด  
ทำให้หอยชักตีนมีจำนวนน้อย และที่สำคัญหอยชักตีนขนาดโตไม่พอก็จัดเสริ์ฟอยู่ในจานอาหารแล้ว 
มูลนิธิเอ็นไลฟร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ กรมประมงร่วมกันรณรงค์การบริโภคหอยชักตีนในขนาดที่ไม่ต่ำกว่า 6 ซม. เนื่องจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่มีการวิจัยและพบว่า แม่พันธ์หอยชักตีนที่มีขนาดต่ำกว่า 6 เซนติเมตร จะมีโอกาสวางไข่ได้ 3-4 ครั้ง และในแต่ละครั้งก็สามารถวางไข่ได้หลายร้อยตัว ซึ่งในระยะของหอยชักตีนระยะนี้จึงเป็นระยะสำคัญต่อการเจริญเติบโต และสามารถขยายพันธุ์ได้
ดังนั้นจึงร่วมกันรณรงค์ในกลุ่มชาวประมง ที่เก็บหอยชักตีนมาขาย ไม่ให้เก็บตัวเล็ก และจัดการเพิ่มประชากรหอยชักตีนโดยการเพาะเลี้ยงและนำไปปล่อยในธรรมชาติ โดยกำหนดเขตในเขตอนุรักษ์ห้ามเก็บ เพื่อให้แม่พันธ์ได้เติบโต และขยายแพร่พันธุ์ออกไป

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ได้ทำการเพาะพันธุ์ และนำไปปล่อยในแปลงอนุรักษ์ที่เกาะศรีบอยา จังหวัดกระบี่ มาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน สามารถเพาะพันธุ์หอยชักตีน ได้ถึงจำนวน 800,000 ตัว โดยในปี 2559 ตั้งเป้าหมายในการทำการเพาะพันธุ์ หอยชักตีนให้ได้จำนวน 1 ล้านตัว ในแปลงอนุรักษ์ที่มีระบบนิเวศที่สมบรูณ์ ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่มีลักษณะเป็นโคลนปนทราย มีหญ้าทะเลอยู่ในธรรมชาติ จำนวน 2 แปลง แปลงละขนาด 100X100 เมตร ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของเกาะศรีบอยา
การบริจาค 1 บาทจะเพาะพันธ์หอยชักตีนได้ 1 ตัว
มูลนิธิเอ็นไลฟ.....เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ มีภารกิจหลักคือ การส่งเสริม สนับสนุน และปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและสร้างองค์ความรู้ระบบนิเวศอย่างเป็นวิชาการเพื่อนำไปสู่การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการโดยการสร้างการมีส่วนร่วม ทั้งใน ภาครัฐและท้องถิ่นการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายโดยการร่วมเป็นภาคี
มูลนิธิเอ็นไลฟ เชื่อว่า....ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามถือเป็นสมบัติของประชากร ทุกคนในโลก เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์และประสบการณ์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของโลก หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจะส่งผลเกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศและมีผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลก ดังนั้น ทุกๆ คน ก็สามารถมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ตาม โดยเลือกในสิ่งที่ตนเองรู้สึกรักและหวงแหน และสามารถกระทำได้ในสิ่งที่ตนเองถนัด

ประโยชน์ของโครงการ :

  1. เกิดการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรหอยชักตีนให้สอดคล้องกับกำลังผลิตในธรรมชาติ
  2. เพื่อเพิ่มปริมาณของหอยชักตีนซึ่งเป็นเมนูยอดนิยมให้มีผลผลิตรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างพอเพียง
  3. สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ หวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยกันเฝ้าระวังให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :

  1. รณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็ก(ขนาดต่ำกว่า 6 ซ.ม.)ขึ้นมาบริโภค เนื่องจากหอยชักตีนจะเริ่มวางไข่แพ่รพันธุ์เมื่อมีขนาดตั้งแต่ 5 ซ.ม
  2. จัดทำสื่อในการรณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็กขึ้นมาบริโภค ชุมชนไม่เก็บ พ่อค้าคนกลางไม่ซื้อ ในตลาดไม่มีขาย ภัตตาคารร้านอาหารไม่เอามาจำหน่าย ผู้บริโภคปฏิเสธการบริโภค
  3. เพาะพันธุ์ลูกหอยชักตีนไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติ เพื่อเพิ่มผลผลิตหอยชักตีนให้เพียงพอต่อการบริโภค
  4. กำหนดพื้นที่อนุรักษ์กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เป็นแปลงพ่อแม่พันธุ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง

สมาชิกภายในทีม :

ภาคี :

โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการร่วมด้านทรัพยากรชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมทะเลอันดามัน 
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ กรมประมง

ปล่อยลูกพันธุ์หอยชักตีนลงแปลงอนุรักษ์

21 สิงหาคม 2018

มูลนิธิเอ็นไลฟ นำเงินจากการระดมทุนผ่านเว็บไซต์เทใจ เป็นจำนวนเงิน 10,107 บาท และได้มีการระดมทุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สาขาจังหวัดกระบี่ และดำเนินการเพาะพันธุ์ลูกหอยชักตีน จำนวน 70,000 ตัว และได้ทะยอยนำไปปล่อยในแปลงอนุรักษ์หอยชักตีนของตำบลเกาะศรีบอยา กิจกรรมนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนบ้านหลังเกาะ ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งการอนุรักษ์หอยชักตีนมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ปล่อยพันธุ์ลูกหอยชักตีน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 

ภาพประกอบ


ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันปล่อยพันธุ์ลูกหอยชักตีน 

 
ปล่อยลูกหอยในพื้นที่แปลงอนุรักษ์ 

 
ลูกหอยชักตีนขนาด 1-2 เซนติเมตร ร่างกายแข็งแรงพร้อมใช้ชีวิตในธรรมชาติ

มูลนิธิเอ็นไลฟ มีจุดประสงค์ในการดำเนินงาน ดังนี้

  1. รณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็ก (ขนาดต่ำกว่า 6 เซนติเมตร) ขึ้นมาบริโภค เนื่องจากหอยชักตีนจะเริ่มวางไข่แพ่รพันธุ์เมื่อมีขนาดตั้งแต่ 5 เซนติเมตร
  2. จัดทำสื่อในการรณรงค์ไม่ให้มีการเก็บหอยชักตีนตัวเล็กขึ้นมาบริโภค ชุมชนไม่เก็บ พ่อค้าคนกลางไม่ซื้อ ในตลาดไม่มีขาย ภัตตาคารร้านอาหารไม่เอามาจำหน่าย ผู้บริโภคปฏิเสธการบริโภค
  3. เพาะพันธุ์ลูกหอยชักตีนไปปล่อยในแหล่งธรรมชาติ เพื่อเพิ่มผลผลิตหอยชักตีนให้เพียงพอต่อการบริโภค และสร้างสมดุลให้กับพื้นที่
  4. ได้กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง



แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนราคารวม (บาท)
1.ค่าอนุรักษ์หอย

50,000 ตัว

50,000
รวมเป็นเงินทั้งหมด 50,000