Resource

รูป icon
รูป icon

บทความนี้จะครอบคลุมเนื้อหา ดังนี้

  1. 3 เหตุผลที่ทุกโครงการควรมีรูปสวยๆ 
  2. วิธีการถ่ายรูป ตั้งเเต่เริ่มก่อนยกกล้อง การจัดองค์ประกอบรูป จนถึงการเลือกรูปลงโซเชียลมีเดีย
  3. เทคนิคการแต่งภาพพื้นฐาน  
  4. ตัวอย่างของโครงการที่ถ่ายรูปดีๆ 

เทใจมั่นใจว่ามีเจ้าของโครงการหลายๆ คนคงปวดหัวกับการถ่ายรูปและเลือกรูปเวลาทำโครงการ บทความนี้จะช่วยให้เจ้าของโครงการทุกคนมองว่าการเล่าเรื่องผ่านภาพไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่เคยกังวล เเละ มีรูปสวยๆ ไว้ใช้ในโครงการนะคะ โดยที่เนื้อหาบทความนี้สามารถดาว์นโหลดเป็น PDF ได้เลย คลิก

ความเข้าใจผิดของตากล้องมือใหม่

  • ต้องใช้กล้องดีๆ เท่านั้น สมัยนี้กล้องมือถือดีขึ้นเรื่อยๆ ใช้มือถือถ่ายได้เลย 
  • การถ่ายภาพมันยาก ฝึกไม่ได้หรอก ไม่จริงเลย เทใจจะมาช่วยให้ตากล้องมือใหม่ทุกคนสามารถถ่ายรูปสวยๆ ได้ค่ะ


3 เหตุผลหลักๆ ทุกโครงการควรมีรูปสวยๆ ไว้ใช้และเเชร์

  • รูปสวยๆ จะดึงดูดสายตาคนดู และเพิ่มโอกาสที่เขาจะจำโครงการได้
  • โซเชียลมีเดียเกือบทุกช่องทางจะกระจายโพสต์ที่มีรูปสวยๆ ไปไกลกว่า
  • เพิ่มคอนเท้นต์ให้โครงการ 
  • และ ทางเทใจก็อยากได้รูปสวยๆ มาช่วยโปรโมตโครงการ เช่น ทำอัลบั้มเล่าเรื่องเเบบอัพเดต โครงการหมวกป้องกันเชื้อ 


HOW TO ถ่ายรูป

ขั้นที่ 1 การเตรียมตัวก่อนยกกล้องขึ้นถ่ายรูป

  • ควรวางเเผนคร่าวๆ ถามตัวเองว่าเราต้องการเล่าเรื่องอะไรของโครงการบ้าง เทใจชวนให้ลองตอบคำถามในลิสต์ คำตอบของคุณคือสิ่งที่คุณควรถ่ายรูปไว้!
    • โครงการช่วยเหลือใคร เช่น เด็กในโรงเรียนที่ห่างไกล
    • ทำโครงการที่ไหน เช่น หมู่บ้านของเด็ก และ โรงเรียนบนดอย
    • โครงการทำอะไร เช่น โครงการมอบจักรยานให้นักเรียนใช้เดินทางไปเรียน
    • ใครเป็นคนทำงาน ทำอะไร เช่น อาสาสมัครนำจักรยานไปให้น้องๆ
    • โครงการส่งมอบสิ่งของอะไรไปไหม เช่น จักรยาน อุปกรณ์ซ่อมจักรยาน
  • เช็กอุปกรณ์ให้พร้อม ชาร์ตเเบตให้พร้อม เช็กว่ามีเม็มในกล้องเหลือไหม 


ขั้นที่ 2 สิ่งที่ควรทำขณะถ่ายรูป

เทใจจะมาบอกเทคนิคการถ่ายรูปง่ายๆ 5 ข้อ ที่ใช้กับกล้องมือถือหรือกล้องใหญ่ก็ได้ 

  1. จัดภาพสวย ด้วยเทคนิคการจัดองค์ประกอบรูปพื้นฐาน
    • สมมาตร เทคนิคที่ง่ายที่สุดเลย ถ่ายภาพสมมาตรกัน และให้สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ตรงกลางภาพ

    • กฎสามส่วน และ จุดตัดเก้าช่อง ให้คุณวางองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้บริเวณจุดตัด เช่น หน้าคน (ถ้าสนใจอยากเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
  2. แสงเป็นเรื่องสำคัญ 
    • ให้ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงเพียงพอ 
    • ถ้าถ่ายในห้อง เช็กดูว่าห้องเปิดไฟหรือยัง หรือ เปิดหน้าต่างให้เเสงเข้ามากขึ้น 
    • ไม่ถ่ายภาพย้อนแสง เพราะจะทำให้พื้นหลังสว่างและเด่นเกินไป
    • หากถ่ายภาพกิจกรรมกลางเเจ้ง ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพตอนเที่ยงหรือบ่ายๆ เพราะเเสงจะสว่างจ้าเกินไป 

  3. ไม่ต้องรีบถ่าย ใจเย็นๆ มือนิ่งๆ ภาพจะได้ไม่เบลอ ถ้าไม่มั่นใจว่าภาพชัดไหมก็กดถ่ายซ้ำได้
  4. ถ่ายเเนวนอน เพราะนำไปใช้ง่ายกว่า 
  5. อย่าลืมถ่ายรูปให้เยอะที่สุด!! ยิ่งมีรูปภาพให้เลือกเยอะ ยิ่งโอกาสที่จะมีรูปภาพดีๆ 


ขั้นที่ 3 หลังถ่ายรูปต้องทำอะไรบ้าง

  • คัดรูปที่ไม่ชัด เบลอ มืดเกินออก 
  • การลงรูปลงโซเชียลมีเดีย เทใจขอแบ่งเป็นสองประเภท 
    •  รูปเดี่ยว - เลือกรูปที่เล่าเรื่องโครงการของคุณชัดเจน ดูปุ๊บรู้ปั๊บว่าโครงการของคุณช่วยใคร ทำอะไร ที่ไหน รูปเเบบนี้เหมาะกับการโปรโมตลง
    • ลงหลายๆ รูป - รวบรวมรูปจากโครงการ ว่าทำอะไรไปบ้างเเล้ว ช่วยใครบ้าง เพื่อรายงานความคืบหน้าของโครงการ
  • รูปที่ลงบนเทใจควรเป็นยังไง  
    • รูปหน้าปก: ขนาด 1200x713px เป็นภาพเเรกที่ผู้บริจาคจะเห็น ดังนั้นภาพปกควรสื่อให้ชัดเจนว่าโครงการคุณทำอะไร 
    • Gallery รูปโครงการ : ลงได้ 5-7 รูป คัดรูปที่สวยที่สุดมาใช้ และ ถ้ายังมีรูปสวยๆ มากกว่านั้น เอาไปโพสต์เป็นอัลบั้มในเฟซบุ๊กได้เลย ผู้บริจาคและทีมงานเทใจจะได้ติดตามการความคืบหน้าของโครงการได้ง่ายๆ  

เทคนิคการแต่งภาพแบบเบสิก 

  • แต่งในมือถือได้ ครอปรูป ปรับความสว่างนิดๆหน่อยๆ  
    • หลายๆ รูปที่ยังไม่ว้าว ครอปรูปให้เป็นไปตามหลักการจัดองค์ประกอบภาพ อย่าง จุดตัดเก้าช่อง ก็จะทำให้ภาพสื่อสารได้ชัดเจนมากขึ้น
  • ถ้าเเอดวานซ์ขึ้นหน่อย ลองใช้ Canva เเต่งรูปได้นะ 


ตัวอย่างของโครงการที่ถ่ายรูปดีๆ 



ขอขอบคุณรูปภาพจากพาร์ทเนอร์และเจ้าของโครงการทุกคนนะคะ


ดาวน์โหลดคู่มือเป็น PDF