การดำเนินงานโครงการต่างๆ ของ Ashoka

Ashoka’s Giving Circle

เมื่อวันที่ 13 March 2023
นับตั้งแต่ก่อตั้ง ภารกิจหลักของมูลนิธิ คือการค้นหา สนับสนุน และสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบสังคม ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ความคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาสังคมที่เร่งด่วน

ตั้งแต่ปี 2532 ถึงปี 2561 มูลนิธิได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินและด้านการพัฒนาวิชาชีพแก่ Ashoka Fellows ในประเทศไทย ที่ทำงานด้านต่างๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม การศึกษา สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจ และสุขภาวะจำนวน 107 คน ผู้นำเหล่านี้เป็นสมาชิกตลอดชีพของเครือข่ายอโชก้า จนถึงปัจจุบัน

Ashoka Fellows ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นผลักดันการแก้ไขปัญหาสังคมดังกล่าวให้ถึงรากที่สำคัญพวกเขาเป็นผู้พัฒนานวัตกรรมสังคม (Social Innovation) ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับประเทศและภูมิภาค และยังคงทำงานร่วมกับมูลนิธิและ Global Ashoka Network เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อไป

ปลายปี 2562 เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา Ashoka ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาวะของทีมงานและ Ashoka Fellows ทั่วโลก ด้วยการจัดตั้ง COVID 19 Task Force เพื่อติดตามสถานะของสำนักงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งจัดทำ Global Fellowship Survey ในปี 2563 เพื่อสำรวจปัญหาและรับฟังความคิดเห็นรวมทั้งข้อเสนอจาก Ashoka Fellows ทั่วโลกเกี่ยวกับความท้าทาย โอกาส และความคิดใหม่ ในภาวะวิกฤต Ashoka ได้เผยแพร่ข้อมูลจากการสำรวจดังกล่าวทาง www.ashoka.org ในปีต่อมา

นอกเหนือจากการส่งเสริมให้ Ashoka Fellows ในประเทศไทยได้ร่วมกิจกรรมของเครือข่าย Ashoka ทั่วโลกในภาวะวิกฤต มูลนิธิยังร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทย ทำโครงการที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
  • เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563 มูลนิธิได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรที่ประกอบด้วยคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และองค์กรภาคประชาสังคมอีกหลายองค์กร จัดทําโครงการวิจัยนวัตกรรมสังคมในวิกฤตการณ์ ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา 2019 โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

    

  • เดือนตุลาคม 2563 มูลนิธิได้ร่วมมือกับ Co-Fact Thailand เครือข่ายภาคประชาสังคมในการจัดงานโครงการ Digital Thinkers Forum เรื่อง Mind the Gap between Digital Natives and Digital Immigrants เพื่อเผยแพร่ ความรู้เรื่องการสื่อสารสาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมระหว่างคนต่างวัย รวมทั้งการรับมือกับข่าวลวงและข่าวเท็จเพื่อสุข ภาวะของคนในสังคมไทย
  • กองทุนมรดก Brenton Parlor Legacy Fund มูลนิธิได้ร่วมมือกับ Mr. Brenton Parlor ผู้ก่อตั้งกองทุนมรดก พิจารณาคัดเลือก Ashoka Fellows ในประเทศไทยที่ทำงานด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับความวัตถุประสงค์ของกองทุน เป็นผู้รับมรดกเมื่อผู้ก่อตั้งถึงแก่กรรม มี Ashoka Fellows ในประเทศไทย ได้รับการพิจารณาให้มีสิทธิรับประโยชน์จากกองทุน 6 คน
  • ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน มูลนิธิได้ร่วมมือกับ Ashoka Indonesia, Ashoka Singapore & Malaysia และ Ashoka Philippines จัด Deepening Impact of Women Activators Workshop (DIWA) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ Advancing Impact of Women Social Entrepreneurs ที่ได้รับการสนับสนุนจาก S&P Global Foundation ตั้งแต่ปี 2562

  

  • เดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2564 มูลนิธิได้จัดโครงการ Advancing Women Social Entrepreneur with Deutsche Bank and S&P Global Foundation ขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยในปีนี้โครงการได้ Deutsche Bank เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรอีกหนึ่งภาคี ซึ่งโครงการประกอบไปด้วย

    - โครงการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้ประกอบการหญิงในอาเซียน หรือ DIWA ที่มีผู้เข้าร่วมจาก 7 ประเทศอาเซียนจำนวน 46 คน

    - การจัด Roundtable Discussion ในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการสร้างผลกระทบทางสังคมของผู้ประกอบการหญิงและการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการทำงานของพวกเธอ

    - Virtual Summit ในหัวข้อ “ReThink : Catalyzing System Change Through Women Leadership”

    - Stories of Impact วิดีโอสั้นๆที่กล่าวถึงความท้าทาย โอกาส และการสร้างพันธมิตรในการทำงานของผู้ประกอบการสังคมหญิง

  • เดือนตุลาคม 2564 มีการจัดประชุม online สำหรับ Ashoka Fellows ทั่วประเทศ เพื่อแนะนำ Ms. Nani Zulminarni ซึ่งเป็น Ashoka Fellow จากประเทศ Indonesia ที่มาดำรงตำแหน่ง Ashoka Southeast Asia Leader การประชุมครั้งนี้ โดย Ms. Nani จะเป็นผู้นำและผลักดันให้ Ashoka ในภูมิภาคเอเชียเข้าสู่กระบวนการสร้างโลกที่ “ทุกคนเป็นนักสร้างการเปลี่ยนแปลง” (Everyone A Changemaker movement) อันเป็นวิสัยทัศน์ของ Ashoka ในปัจจุบัน

 

  • เดือนพฤศจิกายน 2564 เกิดความร่วมมือระหว่าง บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย) และ โครงการร้อยพลังการศึกษา โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ เพื่อพัฒนา โครงการ “ห้องสมุดยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและในโรงเรียนและชุมชนที่ด้อยโอกาส ได้เข้าถึงการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านการศึกษา และการพัฒนาทักษะชีวิตรอบด้าน เพื่อเติบโตเป็นประชาชนที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป ทั้งนี้ บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัดให้ ให้ทุนสนับสนุนโครงการนี้เป็นเวลา 3 ปี (2565-2568)

 

    ปี 2566 นอกเหนือจากการทำงานกับ Ashoka Fellows ในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชีย และทั่วโลก มูลนิธิจะร่วมงานกับ Ashoka Southeast Asia อย่างแข็งขัน ด้วยการริเริ่มโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมเยาวชนนักสร้างการเปลี่ยนแปลง (Young Changemakers) และสร้างโลกที่ทุกคนเป็นนักสร้างการเปลี่ยนแปลง (Everyone A Changemaker movement) ตามวิสัยทัศน์ของ Ashoka สากลต่อไป

    ขอขอบคุณทีมงานเทใจดอทคอม ที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิ และขอขอบพระคุณผู้บริจาคเงินแก่มูลนิธิทางเทใจดอทคอม การสนับสนุนของทุกท่านเป็นกำลังใจและเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่า ที่หนุนเสริมให้มูลนิธิและ Ashoka สากลยืนหยัดทำงานต่อไป เราจะใช้เงินบริจาคเพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าวข้างต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ที่จะร่วมกันพัฒนาสังคมไทยให้ก้าวหน้าและประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริงต่อไป