สรุปกิจกรรมเทใจให้ทะเล

เทใจให้ทะเล | taejai4ocean

เมื่อวันที่ 15 July 2022

เดิมโครงการนี้ มีแผนงานที่จะจัดกิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้และปลูกป่าชายเลน จำนวน 20,000 ต้น ให้เสร็จภายในระยะเวลาช่วงสั้นๆ และจัดกิจกรรมร่วมกับทีมงานเทใจและพันธมิตรในจังหวัดภูเก็ต พังงา แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังขยายตัวในจังหวัดภูเก็ตและพังงา จึงจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบ ให้สอดคล้องกับตามมาตรการและนโยบายของจังหวัดภูเก็ต และพังงาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โครงการจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยลง และขยายช่วงเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้ทอดยาวขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนครั้งของกิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมประมาณ 12 เดือน ตั้งแต่ 28 ก.ค 2564 – 17 มิถุนายน 2565 มีการดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรมปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เสื่อมโทรม 5 ครั้ง จำนวน 9,250 ต้น 2.กิจกรรมจัดทำแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 13,391 ต้น 3.กิจกรรมการติดตามและการสำรวจ ได้ต้นไม้ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้นจำนวน 22,641 ต้น มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 22,000 ต้น

สถานที่ในการดำเนินกิจกรรมได้แก่ บริเวณพื้นที่หัวเกาะแก้ว และบริเวณกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง ในแปลงป่าเฉลิมพระเกียรติฯของชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านหน้าเพจของชุมชน “รักษ์อ่าวกุ้งรักษ์ปะการัง ป่าชายเลน” ประกอบด้วยกลุ่มจิตอาสา ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม รวมทั้งหมด 394 คน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ ชาวบ้านบ้านอ่าวกุ้งและประชาชนในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 1,374 คน

สิ่งที่ได้รับผล/เกิดการเปลี่ยนแปลง

  1. มีป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 22,641 ต้น ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาวในฐานะแหล่งอาหารและการดำเนินชีวิต /เพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ
  2. เกิดความภาคภูมิใจ ตระหนักเรื่องป่าชายเลนเพิ่มขึ้น เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนต่างวัยในชุมชนเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง ตลอดจนแนวทางความร่วมมือของชุมชนกับพันธมิตรเพื่อรักษาและปกป้องป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง

ปัญหาที่พบ  

  1. ฝูงลิงแสมมาถอน กินฝักอ่อนกล้าไม้ป่าชายเลน
  2. ฝักไม่ยึดจมดิน ฝักลอยน้ำ ต้นกล้าค่อนข้างบอบช้ำ เริ่มเน่าเปื่อย
  3. ต้นไม้ค่อนข้างเติบโตช้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริเวณแปลงเพาะพันธุ์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่ง เตียน และมีลักษณะดินทรายปนโคลน 

ความประทับใจจากผู้รับประโยชน์จากโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขั้นจากโครงการ

ภาพประกอบ

กิจกรรมปลูกป่าชายเลน - วันที่ 5และ 6 มิถุนายน 2565
ปลูกต้น ถั่วทะเล 2,900 ต้น แสม 1,850 ต้นและโกงกาง 1,100 ต้น ปลูกด้วยฝักรวม 5,850 ต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 55 คน บริเวณที่ปลูก แปลงป่าเฉลิมพระเกียรติบริเวณหลังกุโบร์บ้านอ่าวกุ้ง โดยปลูกเสริมในพื้นที่ว่างและพื้นที่ที่เสื่อมโทรม




กิจกรรมติดตาม สำรวจ -วันที่ 6 มิถุนายน 2565
สำรวจติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่กลุ่มอนุรักษ์ได้นำไปปลูกบริเวณหัวเกาะแก้ว และแปลงเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ประธาน กรรมการ อนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง และสมาคมความมั่นคงด้านอาหาร ผู้นำศาสนา รวม 17 คน 



กิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้ วันที่ 17และ 19 มิถุนายน 2565 

  • เพาะชำกล้าไม้ด้วยฝักถั่วทะเลจำนวน 2,950 ต้น
  • สถานที่ ณ ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง หมู่ที่ 9 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนชุมชนบ้านอ่าวกุ้ง ผู้นำศาสนา กลุ่มเยาวชน สมาชิกชุมชนและสมาคมความมั่นคงด้านอาหารอันดามัน รวม 43 คน



ป้ายแสดงพื้นที่แปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนเพื่อทุกคน,กฏ กติกา การใช้ทรัพยากรชายฝั่ง