ความเคลื่อนไหว

  • Taejai in the news

    บทสัมภาษณ์ ชุมชนการให้เพื่อคนไทย จาก Mix Magazine

    28 February 2019
    ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ผู้คนนิยมทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้นในหลาย ๆ ด้าน วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับการทำบุญออนไลน์ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กว่าเทใจดอทคอมจะเป็นที่รู้จัก และครองความเป็นเว็บไซต์ระดมทุนออนไลน์อันดับ 1 ของประเทศ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริจาค ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

    Read more
  • Taejai in the news

    เมื่อ"เจ เจตริน"คิดถึงป่า“

    17 June 2016
    ผมมีลูก ผมไม่อยากให้วันข้างหน้าลูกผมเห็น “ป่า”จากภาพถ่าย หรือภาพวาด”ถ้ายังพอจำได้ วิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 แร๊ปเปอร์ตัวพ่อ  เคยรวมก๊วนเพื่อนๆ ขับเจ็ทสกีอพยพผู้ติดค้างออกจากพื้นที่น้ำท่วมหนัก ทำให้เขาเชื่อว่าต้นตอหนึ่งของปัญหาน้ำท่วมน่าจะเกิดจากต้นไม้ในป่าถูกตัดโค่นลงเรื่อยๆวันนี้… วันที่ปัญหาป่าไม้กลับมาเป็นกระแสสังคมอีกครั้ง ด้านหนึ่งคือการเปิดให้เห็นวิกฤตของผืนป่าหลายจุดทั่วประเทศ รวมไปถึง “ป่าภูฝอยลม” ป่าต้นน้ำแห่งเดียวของจังหวัดอุดรธานีที่กลายสภาพจากผืนป่าอันอุดม 2 แสนไร่ในอดีต ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าไม่ถึง 2 หมื่นไร่ นับแล้วไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์แม้เจ เจตริน จะเป็นคนนอกพื้นที่ แต่เพราะรู้สึกถึงความรับผิดชอบที่ต้องกระทำร่วมกัน จึงหารือกับเพื่อนสนิทซึ่งเป็นคนในพื้นที่และผู้ประสานงาน “คิดถึงป่า” โครงการคืนผืนป่าภูฝอยลม จากนั้นลงชื่อเป็นอาสาสมัครคนแรกโดยหวังเพียงปลูกต้นไม้ในจิตใจของผู้ที่คิดถึงป่าอย่างแท้จริงคุณต้าร์ ผู้ประสานงานโครงการ “คิดถึงป่า” เล่าถึงที่มาที่ไปและแนวทางการปลูกป่าอย่างยั่งยืนสีเขียวที่เห็นไม่ใช่ “ป่า” แต่คือ “เชื้อเพลิง”คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากลุ่มต้นไม้สีเขียวครึ้มที่เห็นเวลาไปเที่ยวคือ “ป่า” และความอุดมสมบูรณ์ โดยหารู้ไม่ว่าในบางพื้นที่นั่นไม่ใช่ “ป่า” เพราะเมื่อถึงหน้าแล้งต้นไม้เหล่านั้นจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเชื้อเพลิงพร้อมให้ไฟป่าเผามอดในเวลาอันรวดเร็ว สร้างความเสียหายมหาศาล“ป่าภูฝอยลมตอนนี้ไม่มีไม้ยืนต้นประเภทป่าเบญจพรรณเหลือแล้ว ผลกระทบระยะยาวคือในอนาคตคนจังหวัดอุดรธานีจะไม่มีน้ำใช้ ตอนนี้ยังไม่ค่อยเห็นความเดือดร้อน แต่จริงๆ คือต้นน้ำมันเริ่มไม่มีแล้ว บางคนไปเที่ยวภูฝอยลมเห็นต้นไม้สีเขียวๆ แต่นั่นเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีคนดูแล มีลำน้ำล้อม มีจุดกันไฟ แต่คนไม่เคยข้ามจากจุดนั้นไป ถ้าข้ามไปจะเห็นว่ามีตอไม้ดำๆ เต็มไปหมด”“ปลูกป่า” ง่ายกว่า “รักษาป่า”โครงการรณรงค์ปลูกป่าในบ้านเราที่ผ่านมามีเป็นพันโครงการ แต่ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ปลูกแล้วปล่อยให้ต้นไม้เติบโตตามธรรมชาติ ซึ่งไม่เป็นผลและไม่ทำให้เกิดป่าแบบยั่งยืน สำหรับโครงการคิดถึงป่ามุ่งหวังให้เป็นต้นแบบของการปลูกป่าอย่างยั่งยืนภายในระยะเวลา 1 ปีบนพื้นที่ 10 ไร่ของป่าภูฝอยลม“ปลูกป่าใครๆ ก็ทำได้ แต่การดูแลป่าให้รอด ไม่ตาย ยากกว่า อย่างที่เราเห็นป่าส่วนใหญ่เขาไปขุดหลุมปลูก แล้วปล่อยทิ้งมันก็ตาย แต่จริงๆ เรื่องการดูแลสำคัญ ใช้งบประมาณ และมันไม่มีใครคอยติดตามผล แต่ที่เราจะปลูกต้นไม้คราวนี้ เรามีโมเดลปลูกป่าที่ได้จากวัดในพื้นที่ๆ สร้างป่าได้สำเร็จ แล้วเราอยากส่งต่อโมเดลนี้ให้กับทุกพื้นที่ๆ ต้องการสร้างป่าอย่างยั่งยืน”2 โมเดลปลูกป่าจากแรงศรัทธา                    ความล้มเหลวของการปลูกป่าคือการปลูกป่าโดยขาดการติดตามผล โครงการคิดถึงป่าไม่ต้องการซ้ำรอยเดิม คิดนำโมเดลปลูกป่าจากไอเดียพระสงฆ์และชาวบ้านในพื้นที่มาดำเนินการ หากได้ผลยังมองการณ์ไกลหวังให้ผู้สนใจนำไปเป็นโมเดลต้นแบบสร้างป่าทั่วประเทศ“โมเดลปลูกป่าของโครงการนี้มี 2 แบบ แบบแรกคือเพียอินทร์โมเดล ชื่อโมเดลเอามาจากชื่อวัดถ้ำเพียอินทร์ เป็นการปลูกป่าแซมป่าเดิม แล้วขยายพื้นที่ป่าจากแนวกันไฟไปเรื่อยๆ ป่าเก่าจะบริบาลป่าใหม่ เช่นปลูกป่าใหม่ไป 40 เมตรแล้วทำแนวกันไฟเส้นหนึ่งไปเรื่อยๆ ยิ่งปลูกช่วงหน้าฝนแบบนี้ยิ่งดูแลง่าย แต่ถ้าฝนไม่ตกก็เอารถน้ำไปรด 2 อาทิตย์ครั้งอีกโมเดลเป็นของวัดดอยน้ำจั้น ต้องเคลียร์พื้นที่ให้โล่ง แล้วไถกลบ วางระบบน้ำเหมือนทำไร่ วางแผนการปลูกต้นไม้ ใช้ต้นกล้วยหอมเข้ามาดูแลต้นไม้ให้โตแข่งกัน โมเดลนี้ลงทุนเยอะ เหมาะสำหรับป่าที่พื้นที่เดิมเป็นหญ้าคาล้วนๆ”ปลูกป่าในใจ แม้ไม่ใช่คนในพื้นที่การปลูกและดูแลรักษาป่าไม่ใช่ภาระสำหรับใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคนต้องร่วมกันดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นคนกรุงเทพฯ หรือคนนอกพื้นที่ เจ้าพ่อเพลงแร๊พคนนี้ก็รู้สึกว่าเราควร “เกรงใจ” ที่ต้องให้บางพื้นที่ดูแลผืนป่าเหล่านั้นเพียงลำพัง“จริงๆ ผมคิดมาตลอดไม่ว่าน้ำท่วม น้ำแล้ง ปัญหาเหล่านี้มาจากป่าทั้งนั้น ตัวผมมีจิตสำนึกพอ เราได้รับการเตือนเรื่องน้ำท่วม น้ำป่า ตอนน้ำท่วมใหญ่ คนทั่วไปพยายามกันไม่ให้น้ำเข้ากรุงเทพฯ เราก็เกรงใจชาวบ้าน คนต่างจังหวัด เขาก็เดือดร้อน ตอนนี้น้ำแล้ง เขาก็เตือนให้ประหยัดน้ำ แต่ผมเห็นเปิดใช้กันเต็มที่ ไม่แคร์กัน ผมแค่รู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับพวกเขา”“แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ผมมั่นใจในพาร์ทเนอร์ของผม เราเป็นแค่จุดเล็กๆ แต่เราคาดหวังความยิ่งใหญ่ของโมเดล ถ้าเราทำสำเร็จภายใน 1 ปี เราจะรีบเอาโมเดลนี้ไปให้ทีมอื่นดู ตอนนี้มีหลายทีมประกาศทำ ใครทำตรงไหนได้ทำเลย มันไม่ใช่เรื่องการแข่งขัน ไม่มีรางวัลการปลูกป่า และเราหวังว่าคนที่ร่วมโครงการคิดถึงป่าจะเรียนรู้โมเดลนี้แล้วไปบอกต่อ”“ผมฝากทุกคนที่มีจิตสำนึกอยากปลูกป่า ให้มาร่วมด้วยช่วยกันปลูกป่าอย่างจริงจังและเรียนรู้กลับไป เราจะเป็นเหมือนปิรามิด ผมจะเป็นก้อนดินในปิรามิดนั้นด้วย ผมปลูกต้นไม้ไม่เป็น แต่เราจะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ทุกคนที่มาร่วม “โครงการคิดถึงป่า” เราจะเริ่มต้นเท่าๆ กัน เรามาเป็นก้อนดินที่จะต่อเป็นปิรามิดไปพร้อมๆ กัน” ในวันที่ 6-8 กรกฎาคม ที่อุดรฯช่วยกันปลูกต้นไม้คนละต้น ด้วยการสมทบทุนผ่านเว็บไซต์ https://taejai.com/projects/คิดถึงป่า ได้จนถึงวันที่เราจะเดินทางคือ 6 กรกฎาคมนี้ข้อมูลจาก http://men.sanook.com/13833/ 

    Read more
  • Taejai in the news

    ม.เม้าท์คึกคัก โดดเด่น เด้ง ดัง SCOOP เทใจ ม.เม้าท์

    3 March 2016
    รายการม.เม้าท์คึกคัก โดดเด่น เด้ง ดัง ตอน เทใจ ม.เม้าท์ โดยคุณสิรินาท ต่อวิริยะเลิศชัย ที่ปรึกษาโครงการเทใจดอทคอม มาร่วมให้สัมภาษณ์

    Read more
  • Taejai in the news

    พุทธวิธีแห่งบุญโลกไซเบอร์

    23 February 2016
    โดย...วันพรรษา อภิรัฐนานนท์ ภาพ เกตน์สิรี วงศ์วาร inspiring.org มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เสกสรร โรจนเมธากร การเปลี่ยนแปลงคือสัจธรรมของโลกไม่พ้นเรื่องของบุญและการทำบุญ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน บุญในโลกไซเบอร์กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมไม่น้อย วันมาฆบูชาวันนี้ ปุจฉาวิสัชชนาถึงการทำบุญของคนรุ่นใหม่ ที่เน้นความหลากหลายและการตอบโจทย์ผู้บริจาค สะดวกรวดเร็ว อีกครบวัฏจักรของการตรวจสอบ โปร่งใส เรียลไทม์...พฤติการณ์แห่งทาน ที่เชื่อว่า(น่า)จะยั่งยืนไปการบริจาคผ่านหน้าเว็บไซต์ที่สะดวกรวดเร็วและมีความหลากหลาย ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ของการทำบุญในรูปแบบใหม่ เปรียบเทียบกับต่างประเทศที่การระดมทุนวิธีนี้ได้รับความนิยม หลายเว็บไซต์เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เช่น www.peta.org หน่วยงานระดับนานาชาติผู้ทำหน้าที่ดูแลพิทักษ์สัตว์และต่อต้านการกระทำรุนแรงต่อสัตว์ทั่วโลก www.globalgiving.org องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ระดมทุน เพื่อโครงการที่ต้องการจากทั่วโลก และ www.crowdfunding.com เป็นต้นสำหรับไทยมีเว็บไซต์เพื่อการระดมทุนที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ใกล้ตัวและสร้างพลังแห่งการให้ได้อย่างน่าทึ่ง เช่น โครงการเทใจดอทคอม www.taejai.com โครงการปันกัน www.pankansociety.com และโครงการโซเชียลกีฟเวอร์ www.socialgiver.com เว็บไซต์ดีๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ระดมทุนเพื่อสังคม เทรนด์ใหม่แห่งการคลิกและการบริจาคที่ปลายนิ้ว สิรินาท ต่อวิริยะเลิศชัย ที่ปรึกษาโครงการเทใจดอทคอม เว็บไซต์แหล่งรวมโครงการเพื่อสังคม เล่าว่า โครงการดีๆ มากมายในสังคมถูกมองผ่านเลยไป เนื่องจากไม่มีคนเห็น ไม่มีคนรู้จัก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะโครงการมีขนาดเล็กมีกำลังน้อย เทใจดอทคอมจึงสร้างพื้นที่แห่งการให้ ที่มีระบบเครือข่ายโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูล เชื่อมโยงระหว่างผู้ให้กับผู้ให้เข้าด้วยกัน หมายถึงเชื่อมโยงระหว่างผู้มีแนวคิดไอเดียช่วยสังคมในประการต่างๆ กับผู้ต้องการสนับสนุนเงินทุน สื่อกลางต่อยอดสู่การให้และรับความช่วยเหลือ"คนในสังคมของเรามีไอเดียในการทำความดีมากมาย รวมทั้งคนที่อยากสนับสนุนก็มีมากมายเช่นกัน เทใจคือเวทีที่ทำให้ทุกคนมาเจอกัน ให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูล" สิรินาท เล่าที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่เดินทางไปทำบุญที่วัด แต่ก็มีอีกมากที่ไม่ได้ทำอย่างนั้นเพราะไม่มีเวลา หรือเพราะไม่มีโอกาส นอกจากนี้คือความสนใจและความต้องการของคนที่แตกต่างกัน คนบางคนอาจสนใจสนับสนุนเรื่องการศึกษา ขณะที่อีกคนอยากสนับสนุนเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาแบบนี้กลายเป็นเรื่องง่าย เพราะเว็บไซต์ให้ทางเลือกที่หลากหลาย"หน้าเว็บไซต์ของเทใจ แสดงรายละเอียดของ 100 โครงการที่ขอระดมทุนใน 6 หมวดหมู่ ประกอบด้วย 1.การศึกษา 2.สิ่งแวดล้อม 3.ศิลปวัฒนธรรม 4.สุขภาพ 5.เทคโนโลยี และ 6.อื่นๆ" สำคัญที่สุดคือการให้ที่สมบูรณ์แบบ หลังจาก "ให้" ไปแล้ว สามารถติดตามได้ถึงผลของการให้ว่าเป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่ เป็นวัฏจักรของการให้ที่ครบวงจรเพราะรวมถึงการตรวจสอบ ผู้บริจาคเช็คได้ถึงความก้าวหน้าของโครงงานที่ทำ โดยระบบออกแบบให้มีการรายงานผลกลับมายังผู้บริจาคเป็นระยะๆ รวมทั้งการแสดงชื่อเบอร์โทรศัพท์เจ้าของโครงการ ซึ่งผู้บริจาคสามารถโทรไปสอบถามเป็นการช่วยกันตรวจสอบอีกทางหนึ่ง3 ปีที่ก่อตั้ง เราระดมทุนเงินสำหรับ 100 กว่าโครงการ คิดเป็นเงิน 8-9 ล้านบาท เงินไม่เยอะแต่ตอบโจทย์ที่โครงการเล็กๆ ได้ถูกกระจายออกไป มีคนเห็นประโยชน์ และช่วยกันทำให้สำเร็จขึ้นได้  ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า โลกปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดน มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ นอกจากจะเป็นช่องทางการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นช่องทางการทำบุญของคนรุ่นใหม่ที่สะดวกรวดเร็ว ทำบุญผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีการจัดระบบหมวดหมู่ไว้เบ็ดเสร็จ เช่น ทำบุญคนชรา ผู้ยากไร้ สัตว์ เด็กอนาถา การศึกษา รักษาสงฆ์อาพาธ เป็นต้น  การทำบุญในรูปแบบออนไลน์ ทำให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงด้วยวิธีง่ายๆ แค่คลิกโอนเงินผ่านระบบบัญชีธนาคาร ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำบุญที่วัด บางคนตั้งข้อสงสัยถึงการทำบุญที่เปลี่ยนแปลงไป ในเรื่องนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในหลายพระสูตร ยกตัวอย่างพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า บุญนั้นเป็นชื่อของความสุข นั่นหมายความว่าการทำบุญเป็นหนทางนำไปสู่ความสุข  ในบุญกิริยาวัตถุ 3 ทานถูกยกไว้เป็นหลักในการทำบุญข้อแรก คือ1.ทาน คือ การทำบุญด้วยการให้ เป็นการแบ่งปันสิ่งของแก่คนอื่น การเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานยังรวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในบุญด้วยการทำความดีหรือแสดงความยินดีก็ได้เช่นกัน 2.ศีล คือ การประพฤติสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความสัมพันธภาพที่ดี เกื้อกูลต่อผู้อื่น การทำบุญด้วยการรักษาศีล การมีความประพฤติอ่อนน้อม การช่วยเหลือ ขวนขวายในการบำเพ็ญประโยชน์อีกด้วย3.ภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจตนเอง พัฒนาจิตให้เกิดปัญญา การทำบุญด้วยการฟังธรรมและนำความรู้แก่ผู้อื่นจะเห็นว่าการให้ทานเป็นการฝึกฝนขัดเกลาพฤติกรรมของบุคคลเบื้องต้น ดร.กมลาส กล่าวว่า ทานเป็นเครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ในระดับหนึ่ง ลดความเป็นทาสของวัตถุ ลดการยึดติดถือมั่นให้เบาบาง เป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมฝึกฝนคุณความดีและการทำบุญที่สูงขึ้นไป ทำทานด้วยวิธีไหนก็ได้บุญเช่นเดียวกัน สำคัญว่าได้ขัดเกลาพฤติกรรมของตน หรือไม่พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต กล่าวว่า การบริจาคเงินหรือการให้ทานนั้นเป็นบุญอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา แม้จะอาศัยโซเชียลมีเดียหรือผ่านเครือข่ายออนไลน์ก็ยังถือว่าเป็นการทำบุญ ส่วนการไปวัดและได้ฟังธรรม เป็นการทำบุญอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ธัมมสวนมัย เป็นบุญคนละประเภทกับการให้ทานซึ่งเรียกว่าทานมัย ดร.กมลาส ต่อคำถามที่ว่า ในสมัยวัตถุนิยมทุกวันนี้ คนทำบุญเพื่อตอบสนองต่อความโลภในจิตใจ จะมีแนวทางหรือวิธีคิดอย่างไร ที่บุญจะไม่สนองตอบวัตถุนิยมได้ ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า การทำบุญนั้นเป็นการฝึกฝนตนให้ลดละโลภ โกรธ หลง มีศีล สมาธิ และปัญญา เช่น การให้ทานมีเป้าหมายเพื่อลดความตระหนี่ หากทำบุญเพราะหวังร่ำรวยมีโชคลาภ เท่ากับเป็นการเพิ่มกิเลสตัณหา จะได้บุญน้อย ขณะเดียวกันก็ควรตระหนักว่าบุญนั้นทำได้หลายวิธี ไม่ต้องใช้เงินก็ได้ เช่น การเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ก็ได้บุญเช่นกันพระสารีบุตร เคยกล่าวว่าบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเห็นแก่อุปธิสุข (โลกียสุข) ย่อมไม่ให้ทานเพื่อภพใหม่แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อกำจัดกิเลส เพื่อไม่ก่อภพต่อไป การทำบุญที่ถูกต้องในพุทธศาสนามุ่งที่การลดละกิเลสตัณหา ซึ่งมิใช่อุดมคติที่เป็นไปไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ คนสมัยก่อนเมื่อทำบุญก็ไม่ได้หวังร่ำรวย แต่มุ่งที่พระนิพพานเลย ดังมีคำอธิษฐาน (หรือความตั้งใจมั่น) ว่า นิพพาน ปัจจโย โหตุ แปลว่า ขอให้เป็นปัจจัยไปสู่พระนิพพานยุคนี้บุญสำเร็จได้ที่ปลายนิ้ว คลิกแล้วอย่าลืมอธิษฐานให้ถูกด้วย!ทำบุญวันมาฆบูชาดร.กมลาส เล่าว่า การทำบุญที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะทำบุญด้วยวิธีการใด ขึ้นอยู่ที่ใจเป็นสำคัญ มีความเข้าใจจุดหมายสำคัญของการทำบุญ คือ การวางใจให้ลดละ ทำบุญแล้วจิตผ่องใส จึงจะถือว่าขัดเกลาผู้ให้อย่างแท้จริง ในทางพระพุทธศาสนามีหลักปฏิบัติในการทำบุญที่จะส่งผลมากให้อานิสงส์มาก ดังนี้1.วัตถุสัมปทา ความพร้อมแห่งวัตถุ หมายถึง ผู้รับเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมสูง หากผู้รับมีคุณธรรมสูงมาก ผู้ให้ทานก็ย่อมได้รับผลมาก2.ปัจจัยสัมปทา สิ่งที่ให้เป็นสิ่งของที่บริสุทธิ์ แสวงหามาด้วยความสุจริต3.เจตนาสัมปทา ความพร้อมแห่งเจตนา คือ ก่อนให้ทานมีความยินดี เกิดจากความศรัทธา เห็นคุณค่าการให้ ขณะให้ทานมีจิตเลื่อมใส ไม่เสียดายหรือเศร้าหมอง และหลังให้ทาน มีจิตเบิกบาน4.คุณาติเรกสัมปทา ความพร้อมแห่งคุณพิเศษของปฏิคาหก (ผู้รับมีคุณพิเศษ) เช่น ทักขิไณยบุคคลเป็นพระอรหันต์ ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ

    Read more
  • Taejai in the news

    Tae Jai

    15 December 2015
         

    Read more
  • Taejai in the news

    ปลูกผักอิ่มท้อง สร้างรายได้ 7 โรงเรียนและ1 มูลนิธิต้นแบบเพื่ออาหารเด็กไทย

    17 November 2015
    ปลูกผักอิ่มท้อง สร้างรายได้ 7 โรงเรียน + 1 มูลนิธิต้นแบบ เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหารของเด็กไทยที่ยั่งยืน พร้อมสร้างรายได้ให้กับนักเรียน โครงการ ปลูกผักอิ่มท้อง สร้างรายได้ เกิดจากปัญหาที่ว่า เด็กระดับชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหารกลางวันกว่า 5 ล้านคน แม้วันนี้รัฐจะพยายามแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มอาหารกลางวันเป็นมื้อละ 20 บาท แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับเด็กบางคนที่อยู่ในความดูแลของโรงเรียนและมูลนิธิที่ต้องการอาหารครบ 3 มื้อทุกวัน  ทางโครงการอันประกอบด้วย inspiring.org ,taejai.com.,มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก,มูลนิธิบ้านนกขมิ้น และ teach for Thailand มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยจุดมุ่งหมายที่อยากแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างต้นแบบการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ในโรงเรียน โดยแบ่่งสัดส่วนผลผลิตมารับประทาน และอีกส่วนขายในชุมชนเพื่อนำเงินดังกล่าวมาซื้อเมล็ดพันธุ์หรือสิ่งที่จำเป็น ทางโครงการเชื่อว่า การขยายโมเดลดังกล่าวจะเป็นสิ่งได้ประโยชน์ต่อเด็กไทยอย่างยั่งยืน  เพราะแม้แต่เด็กเมืองก็สามารถทำได้ เพราะกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการทำให้เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ วันนี้โรงเรียนประกอบด้วย 7 โรงเรียน + 1 มูลนิธิต้นแบบ ประกอบด้วย มูลนิธิบ้านนกขมิ้น,โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์,โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ,โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์,โรงเรียนบ้านห้วยม่วง,โรงเรียนบ้านห้วยกุ้ง,โรงเรียนบ้านทะโลงเหนือ และ โรงเรียนบ้านป่าโปง สาขากองแปเหนือ  โดยเราได้ผู้บริจาคทั้งแรงกาย แรงสมอง ทรัพยาการต่าง ๆ รวมถึง foodpanda.co.th ที่มาร่วมสนับสนุนโครงการเนื่องในวัน World Food Day 2015 จำนวน 65,000 บาทอีกด้วย สนใจร่วมเป็นอาสาสมัคร และบริจาคทรัพยากรได้ที่  inspiring.org

    Read more
  • Taejai in the news

    ช่องทรูปลูกปัญญา เปิดพื้นที่สื่อแก่หน่วยงานกิจกรรมเพื่อสังคม

    10 November 2015
         ช่องทรูปลูกปัญญา เปิดพื้นที่สื่อแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมใช้ประชาสัมพันธ์ฟรี พร้อมผนึกกำลังพันธมิตรหวังสร้างสังคมที่ดีร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยคุณเนตรชนก วิภาตะศิลปิน ผู้อำนวยการ หัวหน้าสายงานทรูปลูกปัญญา มีเดีย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือเผยแพร่คอนเทนต์และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในรูปแบบต่างๆ กับคณะสถาปัตยกรรม ม.ศิลปากร ,ธนาคารจิตอาสา, Change.org และ Taejai.comที่มา:นิตยสาร Plook ,November 2015

    Read more
  • Taejai in the news

    เทใจดอทคอม ชุมชนแห่งการให้แค่ปลายนิ้วมือ

    2 October 2015
    ‘การให้’เป็นวัตถุดิบชั้นดีที่คน สังคม และโลกสามารถหยิบมาใช้ได้แบบไม่มีวันหมดสิ้น การให้มีอยู่อย่างเหลือเฟือและมากพอที่จะต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นได้เสมอ      การเดินทางตลอด2 ปีที่ผ่านมาของ ‘เทใจดอทคอม’ ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบ ‘การให้’ ที่เชื่อมโยงหลากเครือข่ายในการช่วยเหลือและส่งเสริมสังคมด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นดำเนินการโดยเครือข่ายร่วมก่อตั้ง อันได้แก่ มูลนิธิเพื่อ “คนไทย”, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ,Ashoka Thailand, Thai Young Philautropists Network (TYPN), Opendream และสถาบันChange Fusion ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (บชท.) ว่าด้วยเรื่อง 2 ผู้ให้กับกุญแจสำคัญของ ‘Crowd Funding’      สิรินาถ ต่อวิริยะเลิศชัย หรือ ‘พี่เจี๊ยบ’ ที่ปรึกษาโครงการเทใจดอทคอมบอกเล่าถึงจุดประสงค์และที่มาที่ไปของโครงการนี้ว่า “เราอยากสร้างพื้นที่ดีๆ ให้กลุ่มคนที่อยากทำเรื่องดีๆเพื่อสังคม สามารถทำสิ่งที่พวกเขาตั้งใจไว้ให้สามารถเกิดขึ้นได้จริงและขยายผลต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน”โดยเทใจดอทคอมจะทำหน้าที่เป็น platform ในการช่วยสร้างเครือข่ายสังคมคุณภาพ ผ่านรูปแบบCrowd Funding หรือการระดมทุนสาธารณะ เมื่อมีการระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวเว็บไซต์ซึ่งทำงานเป็น‘ตัวกลาง’ ที่ซื่อสัตย์และโปร่งใส จะถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย ‘2 ผู้ให้’ ที่เข้ามามีบทบาทในการผลักดันให้เกิดชุมชนคุณภาพขึ้น      ผู้ให้ฝ่ายแรกคือ‘กลุ่มนักคิด’ ที่มีไอเดีย โดยพวกเขาจะแพคคู่มาพร้อมความตั้งใจที่อยากจะพัฒนาและปรับเปลี่ยนสังคมด้วยการนำเสนอโครงการหรือกิจกรรมต่างๆแต่กว่าที่แต่ละโครงการจะมาถึงจุดที่สามารถขอระดมทุนได้นั้น ทั้งทีมงานเทใจดอทคอมและกลุ่มนักคิดจะต้องผ่านกระบวนการ‘ระดมสมอง’ กันอย่างหนักหน่วง ตั้งแต่การหาวิธีเยียวยาปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม การแสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของโครงการตลอดจนหาแสวงหาวิธีการสื่อสารให้คนหมู่มากเข้าใจถึงจุดประสงค์และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นได้โดยแต่ละโครงการจะต้องผ่าน 4 มาตรฐานของเทใจดอทคอมกันเสียก่อน ได้แก่      สร้างสรรค์กับการนำเสนอหนทางแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมความคิดที่สามารถดำเนินไปอย่างยั่งยืน     สร้างประโยชน์ทั้งต่อผู้คนและสังคมอย่างชัดเจน     สร้างได้จริงตัวโครงการต้องมีศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด      ทุกโครงการจะต้องสามารถระบุตัวตนผู้คิดและวัดผลได้จริง เพื่อให้ผู้บริจาคเชื่อมั่นได้ว่าทุกการสนับสนุนของพวกเขาจะถึงมือผู้รับและเกิดประโยชน์นำไปสู่การ ‘สร้างวัฒนธรรมการให้ที่สามารถตรวจสอบได้’ ในที่สุด      ส่วนผู้ให้ฝ่ายที่สองคือ‘ภาคประชาชนทั่วไป’ ที่สนใจและอยากสนับสนุนกลุ่มคนทำงาน โดยพวกเขาสามารถแบ่งปันการให้ในรูปแบบของเงินทุนและทักษะหรือความถนัดในบทบาทของอาสาสมัคร และเมื่อการระดมทุนถึงเป้าหมาย โครงการนั้นๆ ก็สามารถดำเนินต่อไปได้ จาก ‘การให้’ สู่ ‘แรงบันดาลใจ’      กว่า900 วัน ของการแบ่งปันน้ำใจ กับจำนวนสมาชิก 9,682 คน และผู้บริจาค 2,423 คน เทใจดอทคอมสามารถระดมทุนได้กว่า7 ล้านบาท ซึ่งนั่นมีผลโดยตรงต่อการผลักดัน 81 โครงการให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ว่าจะเป็น โครงการหมวกกัน (หัวหนู) น็อค, ช่วยชีวิตช้างไทย ซารางเฮโย, เหลียวหลังแลหน้า เพื่อดวงตาสดใสของผู้สูงวัย, เล่นเส้น อุปกรณ์สอนน้องตาบอดให้วาดรูปได้, เก้าอี้๑4๑ ประคองรัก สำหรับเด็กน้อยพิการซ้ำซ้อน, วีลแชร์เพื่อสุนัขพิการ, แผนที่รถเมล์เพื่อคนพิการ,สาระดีชุมนุม บันทึกประวัติศาสตร์สังคม, กองทุนผู้พิทักษ์ป่า (มูลนิธิสืบนาคะเสถียร)เพื่อคนข้างหลัง ฯลฯ และอีกหลายการแบ่งปันดีๆ ที่รอการสนับสนุนอยู่ ณ ขณะนี้      ใครหลายคนอาจวัดค่าความสำเร็จจากตัวเลขชื่อเสียง หรือการยอมรับจากสังคม แต่สำหรับพื้นที่แห่งนี้แล้ว ความสำเร็จของพวกเขาไม่ใช่แค่เพียงสร้างโอกาสกำลังใจ และปลุกแรงบันดาลใจ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้คนให้ดีกว่าที่เคยเป็นเท่านั้นแต่คือการได้เห็นพัฒนาการและการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของสังคมแบบองค์รวมผ่านกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นขณะเดียวกัน ทุกนาทีที่ผ่านไปกับเรื่องราวการทำงานและประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา ได้เปลี่ยนมุมมองและความคิดของทั้งกลุ่มนักคิดผู้สนับสนุน รวมถึงทีมงานเทใจดอทคอมให้เข้าใจคำว่า ‘ให้’ ต่างไปจากเดิม พวกเขาทำให้เราเห็นถึงสายใยแห่งการให้ที่ต่อเนื่องและไร้ข้อแม้ซึ่งก่อตัวกลายเป็นกระแสแห่งความดีที่จะนำไปสู่เป็นต้นทางแห่งความสุข      พี่เจี๊ยบทิ้งท้ายบทสนทนาในเช้าวันนั้นไว้ว่า“บางอย่างเราอย่าพยายามมองว่ามันเป็นปัญหาที่คนอื่นต้องเข้ามาแก้ไขอย่างเดียว เราอาจจะคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเราไม่ใช่ความรับผิดชอบของเรา แต่จริงๆ แล้วพวกเราเองนี่แหละที่สามารถลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างได้เช่นกันพี่อยากจะบอกว่าสังคมไทยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ เราอยู่ร่วมกันทุกอย่างจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ต้องอาศัยทุกแรงกำลังในการแก้ไขและผลักดัน เราบ่นได้ไม่ผิด พี่ก็บ่น ใครๆ ก็บ่น เพียงแต่ว่าถ้าเราบ่นเสร็จแล้ว ลองมาช่วยกันลงมือทำด้วยมันอาจจะเสียทั้งเหงื่อ เปลืองทั้งน้ำลาย  แต่ชีวิตจะสดใสขึ้นมาก และแม้ในท้ายที่สุดผลลัพธ์จะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวังไว้แต่อย่างน้อยเราก็ได้ลองทำ และทำมันอย่างเต็มที่ที่สุดแล้ว”

    Read more