project สัตว์

ฟื้นฟูแหล่งน้ำสำหรับช้างป่าและสัตว์ป่า

ฟื้นฟูแหล่งน้ำส้าหรับช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา เพื่อลดความขัดแย้งคนกับช้างป่า เนื่องจากช้างป่าออกมาหากินนอกป่า เกิดการเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างในพื้นที่ติดป่า

Duration 1 เดือน Area อุทยานแห่งชาติตาพระยา

Current donation amount

66,667 THB

Target

66,667 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 3

สำเร็จแล้ว

Project updates

ซ่อมป่าตาพระยา

6 May 2019

เมื่อวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2562 ชมรมฅนรักษ์สัตว์-ป่า , ฅ.ฅนทำทาง , กลุ่มอาสาด้วยสองมือ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติตาพระยา พาจิตอาสาช่วยกันซ่อมแซมแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้สัตว์ป่าชายแดนไทย-กัมพูชา รอยต่อผืนป่า อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว กับ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

ด้วยเนื่องฤดูร้อนป่าพื้นที่ตาพระยาจึงแห้งแล้งขาดแหล่งอาหารให้กระทิง, วัวแดง, ช้างป่า และสัตว์น้อยใหญ่ ได้ดื่มกินประทังชีวิต

ชมรมฅนรักษ์สัตว์ป่าจึงรวบรวมกำลังพลมาช่วยกันลงแรงใต้จุดสกัดผาแดง 70 คน เพราะกำลังพลผู้พิทักษ์ป่ามีไม่เพียงพอ ติดภารกิจหลักต้องไปลาดตะเวนป้องกันรักษาผืนป่าสมบัติของชาติ 

ในครั้งนี้ตัวแทนทำการมอบเครื่องกรองน้ำ ให้กับอุทยานแห่งชาติตาพระยา จำนวน 10 เครื่อง ส่วนอีก10 เครื่อง มอบให้อุทยานแห่งชาติทับลานต่อไป 

ขอขอบคุณพี่น้องจิตอาสาทุกท่านที่ช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจในครั้งนี้

บรรยาภาพ  :  กิจกรรมจัดปรับปรุงฝ่ายเดิม  ขนาด 5x20 เมตร 

บรรยาภาพ : กิจกรรมจัดปรับปรุงฝ่ายเดิม ขนาด 5x20 เมตร 

บรรยาภาพ : ขนน้ำไปเติมที่ฝาย

บรรยาภาพ : ขนน้ำขึ้นเขา

Read more »
See all project updates

ช้างบุกบ้านคน...

หรือคนบุกบ้านช้าง...

ปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตรเกิดขึ้นมาพร้อมกับการจัดสรรที่ทำกินของราษฎร ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ กระทั่งทุกวันนี้เริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถึงขั้นทำร้ายชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิต เนื่องจากพื้นที่หากินของช้างแคบลง ทำให้ช้างป่าแต่ละฝูงออกมาหากินนอกป่า เกิดการเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างที่มีที่ทำกินติดป่า ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งคนกับช้าง


โดยเฉพาะหน้าแล้งปีนี้อากาศร้อนรุนแรงมาก เมื่อแหล่งน้ำเดิมไม่เพียงพอกับสัตว์ป่า สัตว์ป่าทั้งหลายก็จะลงมาหาแหล่งน้ำที่ใช้อาบและดื่มกินเพื่อประทังชีวิต

ชมรมคนรักษ์สัตว์ป่า จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำสำหรับช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา โดยมีขั้นตอนและกระบวนการดังนี้

กิจกรรม จัดทำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โดยการปรับปรุงฝ่ายเดิม ขนาด 5x20 เมตร ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 3-4 พฤษภาคมนี้ ที่บริเวณทิศตะวันตกบ้านหนองเสม็ด ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเขตอุทยานแห่งชาติตาพระยา 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. มีแหล่งน้ำแหล่งอาหารสำหรับช้างป่า และสัตว์ป่าอื่นๆ
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วม
  3. พื้นที่สามารถรองรับช้างได้เหมาะสม
  4. สามารถถ่ายเทช้างระหว่างรอยต่ออุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ช้างไม่ออกมาจากป่ามากินพืชไร่และทำร้ายคน
  2. พฤติกรรมช้างไม่ได้รับผลกระทบจากการจุดระเบิดลูกบอลเพื่อไล่ช้างต่อไป
  3. เจ้าหน้าที่และชุมชนได้มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมปลูกพืชอาหารสัตว์ ทำโป่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเสริมรายได้แก่ชุมชน ในการเที่ยวตลาดอินโดจีนนั่งชมวิวชมช้างกินพืช อย่าง
  4. ยั่งยืน

ซ่อมป่าตาพระยา

6 May 2019

เมื่อวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2562 ชมรมฅนรักษ์สัตว์-ป่า , ฅ.ฅนทำทาง , กลุ่มอาสาด้วยสองมือ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติตาพระยา พาจิตอาสาช่วยกันซ่อมแซมแหล่งน้ำแหล่งอาหารให้สัตว์ป่าชายแดนไทย-กัมพูชา รอยต่อผืนป่า อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว กับ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

ด้วยเนื่องฤดูร้อนป่าพื้นที่ตาพระยาจึงแห้งแล้งขาดแหล่งอาหารให้กระทิง, วัวแดง, ช้างป่า และสัตว์น้อยใหญ่ ได้ดื่มกินประทังชีวิต

ชมรมฅนรักษ์สัตว์ป่าจึงรวบรวมกำลังพลมาช่วยกันลงแรงใต้จุดสกัดผาแดง 70 คน เพราะกำลังพลผู้พิทักษ์ป่ามีไม่เพียงพอ ติดภารกิจหลักต้องไปลาดตะเวนป้องกันรักษาผืนป่าสมบัติของชาติ 

ในครั้งนี้ตัวแทนทำการมอบเครื่องกรองน้ำ ให้กับอุทยานแห่งชาติตาพระยา จำนวน 10 เครื่อง ส่วนอีก10 เครื่อง มอบให้อุทยานแห่งชาติทับลานต่อไป 

ขอขอบคุณพี่น้องจิตอาสาทุกท่านที่ช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจในครั้งนี้

บรรยาภาพ  :  กิจกรรมจัดปรับปรุงฝ่ายเดิม  ขนาด 5x20 เมตร 

บรรยาภาพ : กิจกรรมจัดปรับปรุงฝ่ายเดิม ขนาด 5x20 เมตร 

บรรยาภาพ : ขนน้ำไปเติมที่ฝาย

บรรยาภาพ : ขนน้ำขึ้นเขา

Budget plan


รายการบาท

1.วัสดุอุปกรณ์ และเตรียมงาน 

- ปูนแดง 30 ถุง 

- หิน 3/4คิว

- ทรายหยาบ 10 คิว

- เหล็กเส้น 3 หุน จ านวน 40 เส้น 

- ลวดดำมัดเหล็ก 2 ขด

- จอบขุด 4 อัน 

- ถังปูนPCV จ านวน 48 ใบ 

- กะบะผสมปูน 1 ใบ 

- ไม้อัด 2 mm. 10 แผ่น 

- ค่าเชื้อเพลิงรถยนต์

35,000
2.ค่าอาหารและค่าเข้าอุทยานฯ 
3.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจโดยประมาณ6,667

66,667