project Covid-19 เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

ฝึกอาชีพให้คนตกงานจากโควิดเป็นแพทย์แผนไทย จังหวัดสงขลา

ส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ตกงาน เน้นการนวดไทย แบบราชสำนักและนวดไทยแบบเฉลยศักดิ์ พร้อมการใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วย เมื่อเรียนจบสามารถนำความรู้ไปดูแลตนเอง ญาติพีน้อง คนในชุมชน และนำไปประกอบอาชีพ การนวดรักษาอาการโรคต่างๆ ได้

Duration 01 ส.ค. 2564 ถึง 30 ก.ย. 2564 Area ระบุพื้นที่: ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (โรงเรียนหาดใหญ่เวชกรรมไทย(วัดปลักคล้า))

Current donation amount

45,558 THB

Target

344,850 THB
ดำเนินการไปแล้ว 13%
จำนวนผู้บริจาค 118

สำเร็จแล้ว

Project updates

อบรมแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง ระยะ 2

24 January 2022

อัพเดทกิจกรรมการอบรมแพทย์แผนไทยระยะที่ 2 ตามโครงการฝึกอาชีพให้คนตกงานจากโควิดเป็นแพทย์แผนไทย จังหวัดสงขลา


Read more »
See all project updates

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมาก ทางมูลนิธิจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะดังกล่าว เน้นการนวดไทย แบบราชสำนักและนวดไทยแบบเฉลยศักดิ์ พร้อมการใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วย เมื่อผู้เข้าฝึกอบรมจบหลักสูตร สามารถนำความรู้ไปดูแลตนเอง ญาติพีน้อง และคนในชุมชน ที่สำคัญยังสามารถนำไป ประกอบอาชีพ การนวดรักษาอาการโรคต่างๆ ตามร้านหมู่บ้านหรือ โรงพยาบาล จังหวัด , รพ.ชุมชน และ รพ.สต.ในตำบลของตนเองต่อไป

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

           การแพร่ระบาดของโควิดในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ได้กระทบภาคเศรษฐกิจในวงกว้าง การตกงานที่เพิ่มขึ้นทำให้คนในกลุ่มเปราะบางเสี่ยงเป็นคนยากจนมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาพร้อมกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำถดถอย การปิดตัวของกิจการ การตกงานของแรงงานจำนวนมาก ผลกระทบจากวิกฤตนี้ยังทำให้ “คนจน” โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำมาก และเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงจะเผชิญกับความยากจนมากยิ่งขึ้นไปอีกและสถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะมี “คนจน”เพิ่มขึ้นอีกมากเช่นกัน ในปัจจุบันแม้เราจะควบคุมโควิด-19 ได้ดีขึ้นแต่การที่เศรษฐกิจไทยติดลบ 8 - 10% ก็ทำให้ความมั่งคั่งที่สั่งสมอยู่ในระบบเศรษฐกิจถดถอยไปหลายปีเช่นกัน ข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2562 ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาโดยเป็นข้อมูลที่ทำการสำรวจสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยระหว่างปี 2561 - 2562 ซึ่งแม้ในปี 2562 สัดส่วนคนจนจะลดลงจาก9.85% ในปี 2561 มาอยู่ที่6.24 % ในปี 2562 หรือมีคนจนจำนวน 4.3 ล้านคน ลดลงจาก6.7 ล้านคนในปี 2561 

            อีกทั้งประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งตอนนั้นมีผู้สูงอายุ 10.4% และปีนี้ 2564 จะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสูงสุด” โดยองค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า ช่วงปี 2001-2100 ( พ.ศ.2544-2643 ) จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ละประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อม เช่น การพัฒนาด้านการแพทย์ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และโภชนาการทางด้านอาหาร ฯลฯ และรัฐบาลได้กำหนดเรื่องนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” จัดทำแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ (พ.ศ.2545-2565)ไว้รองรับในอนาคต

            ทางมูลนิธิฯจึงตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงสถานการณ์ดังกล่าว และเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามแผนแม่บทพัฒนาชาติ 20ปี การสร้างอาชีพให้กลุ่มคนดังกล่าวจึงสำคัญ โดยผ่านความร่วมมือจากส่วนงานต่างๆและโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งสืบเนื่องจากในพื้นที่จังหวังสงขลามีความขาดแคลนบุคคลด้านผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอย่างมาก มูลนิธิฯจึงเห็นช่องทางการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในทำงานได้หลุดพ้นจากการว่างงาน ความยากจนและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้มาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ในชุมชนได้อีกทาง และมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ศึกษาเรียนรู้มีดังนี้

หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชม

  1. ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
  2. หลักพื้นฐานการนวด
  3. เภสัชกรรมไทยเบื้องต้น 
  4. ร่างกายของเรา (Anatomy พื้นฐาน)
  5. เส้นประธานสิบ
  6. การนวดไทยบำบัดโรค13โรค
  7. การนวดไทยเพื่อสุขภาพ 

หมายเหตุ :

  1. ทฤษฎี จำนวน 230  ชม. 
  2. ภาคปฏิบัติ 100  ชม (บันทึกรายงานผู้ป่วย 40 ราย)

 ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด

  1. ผู้เข้าฝึกอบรม ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง จำนวน 20 คน เป็นบุคคลทั่วไปที่สนใจและเป็นผู้มีรายได้น้อย จากพื้นที่ จ. สงขลา 30 คน ให้มีความรู้ด้านอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย มีโอกาสเข้าถึงงานที่เหมาะสม ได้รับใบ ประกาศนิยบัตร “หลักสูตผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง” เป็นหลักสูตรได้รับการรับอนุมัติจาก สภาการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข
  2. ผู้ฝึกอบรม จบหลักสูตร สามารถนำความรู้ ประสบการณ์และประกาศนิยบัตร ไปประกอบอาชีพและดูแลสุขภาพตนเองและคนในชุมชนได้ เช่น เปิดร้านนวดเพื่อสุขภาพ หรือทำงานในโรงพยาบาลจังหวัด. รพ.อำเภอและ รพ.สต.ในตำบล
  3. ผู้ฝึกอบรบรมสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง คนในครอบครัวและพี่น้องในชุมชนได้
  4.  ผู้ฝึกอบรม สนใจจะเรียนต่อ หลักสูตรแพทย์แผนไทย ก (เภสัชกรรมไทย 800 หรือ เวชกรรมไทย 1200 ชั่วโมง) สามารถนำ วิชา เรียนมาเทียบปรับหน่วยกิจและชั่วโมงเรียนได้

การขยายผลและความยั่งยืน

  1. ผู้เข้าฝึกอบรม หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ ไปดูแลตนเอง ญาติพี่น้อง และคนในชุมชน ทีสำคัญกว่านั้นคือนำไป ประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัวต่อไป
  2. สามารถนำความรู้เผยแพร่ รณรงค์ให้คนในชุมชม มีความรู้และเข้าใจหลักการแพทย์แผนไทยเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่ง องค์ความรู้การแพทย์แผนไทย เหมาะและสอดคล้องกับการ ป้องกัน ฟื้นฟูและรักษาอาการเจ็บป่วยเบื่องต้น ของญาติพี่น้อง และคนในชุมชน
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ ผ่านการสนับสนุนของมูลนิธิ ในการจัดให้มีการสอนกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพื่อให้เกิดการประกอบอาชีพในชุมชน และการจ้างงานในสถานประกอบการอื่นๆต่อไป รวมทั้งสามารถต่อยอดสอนงานหรือเพิ่มการจ้างงานให้กับคนอื่นๆต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจและคัดเลือกคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการศึกษาต่อเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เช่น ความยากจน ความตั้งใจ ความพยายาม และความรับผิดชอบ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา
  2. ประสานความร่วมมือร่วมกับศูนย์สถาบันแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สมานคุณคลินิกการแพทย์แผนไทย เพื่อออกแบบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ที่เหมาะสม ระยะเวลา 5 เดือน
  3. เข้าเรียนหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ณ จังหวัดสงขลา
  4. ฝึกงาน ณ สถาบันการแพทย์แผนไทย, ศูนย์บริการสุขภาพ, คลินิกหรือสปา ร้านนวดแผนไทยในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยประเมินผลโดยผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วมกับอาจารย์สอนจากศูนย์สถาบันแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สมานคุณคลินิกการแพทย์แผนไทย และ ปลักคล้าคลินิกการแพทย์แผนไทย ระยะเวลา 1 เดือน
  5. การติดตามสนับสนุน ส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดโครงการ และทุก 3 เดือนหลังจบโครงการ
  6. เมื่อผู้เรียนผ่านสอบใบประกอบวิชาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทยได้แล้ว มูลนิธิฯจะสนับสนุนให้ทุกคนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ เช่นไปทำงานที่คลินิก หรือสถานประกอบการในพื้นที่หรือเดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย หรือเปิดร้านนวด หรือพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อให้บริการการนวดแผนไทย
  7. ถอดบทเรียนผู้เรียนเพื่อประเมินความต้องการ สนับสนุน ส่งเสริมให้มีความมั่นคงในระยะยาว

หมายเหตุ ขั้นตอนที่ 1-2 ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน 2 เดือน

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

  • เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
  • วิทยาลัยชุมชนสงขลา
  • สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
  • ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • มูลนิธิแพทย์แผนไทยศรีวิชัยพัฒนา
  • คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • สมาคมแพทย์แผนโบราณ - อายุรเวช สงขลา
  • สมาคมเด็กเยาวชนและสตรี ชายแดนใต้

ดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้ามาฝึกอบรมอาชีพ

23 November 2021

    เนื่องจากช่วงระยะเวลา 3 – 4 เดือนที่ผ่านมา มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างหนักอยู่ในระดับสีแดงเข้ม ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการรวมกลุ่มใดๆได้ ซึ่งทางมูลนิธิฯในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการประเมินสถานการณ์นี้มาโดยตลอด และได้ดำเนินงานในส่วนที่สามารถกระทำได้ในระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจะมีความคืบหน้าดังนี้

    1.คณะทำงานได้ลงพื้นที่ จัดหาบุคคลตามคุณสมบัติที่โครงการตั้งเป้าหมายไว้ จำนวน 17 คน ซึ่งมีรายชื่อดังนี้


    2.เนื่องจากจังหวัดสงขลายังคงอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม และมีคำสั่งผู้ว่าเรื่องการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมได้ไม่เกิน 50 คน แต่ทั้งนี้ต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรค ทางมูลนิธิฯจึดได้จัดทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดขลา(ประธานคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด) ซึ่งมีหนังสือตอบกลับให้ชะลอการจัดกิจกรรมได้ก่อนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นหรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงต่อไป

    ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯได้ประชุมและประเมินสถานการณ์ดังกล่าวได้ข้างต้นแล้ว และได้มีมัติกำหนดวันจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง ไว้ในวันที่ 10 มกราคม 2565 ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และสามารถจัดโครงการส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


อบรมแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง ระยะ 2

24 January 2022

อัพเดทกิจกรรมการอบรมแพทย์แผนไทยระยะที่ 2 ตามโครงการฝึกอาชีพให้คนตกงานจากโควิดเป็นแพทย์แผนไทย จังหวัดสงขลา


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าวิทยากรภาคทฤษฎีการแพทย์แผนไทยวิทยากรจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย 1.วิทยากรด้านเวชกรรมไทย 1 ท่าน จำนวน 15 ชั่วโมง 2.วิทยากรด้านการนวดไทยแบบราชสำนักและเชลยศักด์ 2 ท่านๆละ 100 ชั่วโมง 3.วิทยากรด้านเภสัชกรรมไทย 1 ท่าน จำนวน 15 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 230 ชั่วโมง ค่าตอบแทนชั่วโมงละ450 บาท 230 ชม. 103,500.00
2 ค่าที่ปรึกษาในการฝึกภาคปฎิบัติ 100 ชั่วโมง จำนวน 1 ท่าน ณ ปลักคล้าคลินิกการแพทย์แผนไทย ชั่วโมงละ 100 บาท 100 ชม. 10,000.00
3 งบประมาณตั้งต้นสำหรับการประกอบอาชีพในชุมชนเพื่อสุขภาพ 3 พื้นที่ อ.สะเดา , อ.รัตภูมิ, อ.สิงหนคร จ.สงขลา พื้นที่ละ 30,000 บาท เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์บริการสุขภาพชุมชนและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เช่น เตียง ตู้อบ 3ศูนย์ 90,000.00
4 ค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการฯ เดือนละ 15,000 บาท 6เดือน 90,000.00
5 เอกสารประกอบการอบรม ตลอดหลักสูตร 30ชุด 20,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
313,500.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
31,350.00

ยอดระดมทุน
344,850.00