project สิ่งแวดล้อม

นาแลกป่า - ทางออกที่ยั่งยืนในการฟื้นฟูป่า

ปัญหาป่าน่าน ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน เราเชื่อว่าทางออกที่จะฟื้นคืนป่าได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องทำให้เกษตรกรมั่นใจ และทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่เท่าเทียม

Duration 1 ปี (23 มิถุนายน 2560 - 22 มิถุนายน 2561) Area ต.เมืองจัง อ.เพียง จังหวัดน่าน

Current donation amount

121,871 THB

Target

121,871 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 83

สำเร็จแล้ว

Project updates

ได้ป่าคืนแล้ว 12 ไร่

20 April 2018

นาแลกป่า สามารถนำป่ากลับมาได้อย่างไร

โครงการนาแลกป่าจึงสามารถแก้ปัญหาการลดจำนวนของป่าน่านอย่างเป็นระบบ โดยมีกลยุทธ์ในการคืนผืนป่า 3 กลยุทธ์ ตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย ได้แก่

1.ขุดนาแลกป่า 

    เพื่อเกษตรกรสามารถปลูกข้าวและทำเกษตรปราณีต โดยมีการสนับสนุนต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ กลไกการตลาดและองค์ความรู้ต่างๆด้วย

2.สร้างแหล่งน้ำแลกป่า 

    เพื่อให้ชาวบ้านสามารถปลูกไม้ผลและทำเกษตร ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

3.อาชีพทางเลือกแลกป่า 

    เช่น การปลูกถั่วลิสง โดยมีการฝึกทักษะ ให้คำปรึกษาและประสานงานกับบริษัทที่สามารถรับซื้อผลผลิตแน่นอน

เมื่อต้นปีทางเทใจได้โอนเงินงวดแรกเพื่อให้โครงการได้เริ่มดำเนินการ กระบวนการขุดสระแลกป่า ในพื้นที่ตำบลเมืองจัง โดยเรามีนาย

เสนียร อภัยรุณ เกษตรกรที่คืนพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำสำหรับการเกษตร โดยแต่เดิมนายเสนียร อภัยรุณ ครอบครองอยู่ ทั้งสิ้น จำนวน 22 ไร่ และทำการเกษตรซึ่งเป็นพืชเชิงเดียวหรือข้าวโพดนั้น ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้มีรายได้ที่สามารถประครองชีพวิชิตตนและครอบครัวได้

นายเสนียร อภัยรุณ จึงได้เข้าร่วมโครงการนาแลกป่า โดยเลือกดำเนินการในส่วนที่เป็น “กระบวนการขุดสระแลกป่า” โดยเสนอให้คณะทำงานไปลงสำหรับพื้นที่ในการขุดสระ บริเวณใกล้ที่อยู่อาศัย และคืนพื้นที่ทำกินที่เป็นบริเวณป่า จำนวน 12 ไร่ และที่เหลือยังขอเก็บไว้ทำการเกษตรต่อเนื่องจากตนเองมีเพียงแปลงเดียวเท่านั้น

คณะทำงานจึงสำรวจและรางวัดพื้นที่ที่พร้อมจะคืนให้เป็นพื้นที่ป่า จำนวน 12 ไร่ และสำรวจพื้นที่ในการขุดสระ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 3 งาน โดยได้มีการขุดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

ระยะแรกหลังจากการขุดสระแล้ว ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพได้ ทำการปลูกพืชผักสวนครัวเองได้ ลดรายจ่าย สามารถประกอบการเกษตรได้เป็นระยะเวลาจำนวนเดือนที่นานขึ้น อาทิเช่น เคยทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือน/ปี แต่ปัจจุบันสามารถทำการเกษตรได้ 6-7 เดือน/ปี เพิ่มรายได้มากขึ้น มีวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในสระก็ยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่ายได้

ส่วนของปี 2561 ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาระดับน้ำในบ่อลดลงเป็นอย่างมาก ตัวเกษตรก็มีความวิตกกังวัลว่าสระที่ดำเนินการขุดมาจะปีนี้จะไม่สามารถกักกับน้ำได้เท่าที่ควร งบประมาณที่ใช้ ค่าจ้างเหมาะในการปรับหน้าดิน และขุดสระน้ำ พร้อมทั้งข่นดินออกจากพื้นที่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิน 60,000 บาทถ้วน 

ขุดสระแลกป่า

12 ไร่บริเวณนี้เพื่อคนไทยทุกคน

เสนียร อภัยรุณ เกษตรกรที่คืนพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำสำหรับการเกษตร 

ปลูกพืชผสมผสานจะทำให้มีรายได้มากขึ้น


Read more »
See all project updates
ปัจจุบันมีเกษตรกรอีกกว่าร้อยครัวเรือนที่เห็นความสำเร็จ ยื่นความจำนงค์ต้องการคืนผืนป่าและเข้าร่วมกระบวนการอีกจำนวนหลายพันไร่


ปัญหาป่าน่าน พยายามแก้ แต่ไม่สำเร็จ?!

ที่ผ่านมา ยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถแก้ปัญหาการลดจำนวนลงของป่าน่านได้อย่างแท้จริง ตั้งแต่การเข้าไปไล่ชาวบ้านหรือเข้าไปปลูกป่าในพื้นที่ทำกิน เรียกร้องให้เกษตรกรเลิกปลูกข้าวโพดและไปปลูกอย่างอื่นแต่ชาวบ้านไม่มีความรู้และไม่มีตลาดรองรับผลผลิต เรียกร้องให้บริษัทเลิกรับซื้อผลผลิตที่รุกล้ำเข้าไปปลูกในพื้นที่ป่า ทำให้ชาวบ้านยิ่งขาดรายได้ ยิ่งเป็นหนี้สิน แม้ว่าในปัจจุบัน มีเกษตรกรจำนวนมากต้องการเลิกปลูกข้าวโพด แต่เมื่อไม่มีกลไกส่งเสริมอาชีพทางเลือกอื่น ๆ ที่ทำให้ชาวบ้านมั่นใจได้ว่าจะสามารถขายผลผลิตและมีรายได้แน่นอน การฟื้นฟูป่าน่านจึงยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม


โครงการนาแลกป่า สามารถนำป่ากลับมาได้อย่างไร

ทำให้ชาวบ้านมั่นใจได้ว่าจะสามารถขายผลผลิตและมีรายได้แน่นอน

  1. นาแลกป่า
  2. น้ำแลกป่า
  3. อาชีพทางเลือก

โครงการนาแลกป่า ได้อาศัยหลักการผลต่างตอบแทน (Reciprocity) ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ เมื่อเกษตรกรได้มีอาชีพทางเลือกที่มีตลาดรองรับ ภาครัฐและภาคเอกชนก็จะได้ได้ผืนป่าคืนอย่างยั่งยืน อีกทั้งเกษตรกรยังได้รวมกลุ่มกันช่วยดูแลรักษาผืนป่า เช่น การปลูกป่า ดูแลต้นไม้ ทำแนวกันไฟ และทำข้อตกลงว่าจะไม่เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า อีกด้วย

นอกจากนั้นเกษตรกรยังมีรายได้เพิ่มเติม เช่น

การปลูกพืชหลังนาหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว เช่น การปลูกถั่วลิสง


การเลี้ยงหมูทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง


โครงการนาแลกป่าจึงสามารถแก้ปัญหาการลดจำนวนของป่าน่านอย่างเป็นระบบ โดยมีกลยุทธ์ในการคืนผืนป่า 3 กลยุทธ์ ตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย ได้แก่

ขุดนาแลกป่า
เพื่อเกษตรกรสามารถปลูกข้าวและทำเกษตรปราณีต โดยมีการสนับสนุนต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ กลไกการตลาดและองค์ความรู้ต่างๆด้วย
สร้างแหล่งน้ำแลกป่า
เพื่อให้ชาวบ้านสามารถปลูกไม้ผลและทำเกษตร ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี
อาชีพทางเลือกแลกป่า
เช่น การปลูกถั่วลิสง โดยมีการฝึกทักษะ ให้คำปรึกษาและประสานงานกับบริษัทที่สามารถรับซื้อผลผลิตแน่นอน

การสนับสนุนที่ต้องการ

แลกป่าคืน 100 ไร่
ใช้งบไร่ละ 14,000 บาท

รวม 1,400,000 บาท

ในปีการทำโครงการต่อของปี 2560 - 2561 ทางโครงการต้องการเงินสนับสนุน เพื่อจะนำผืนป่าคืนมาจำนวน 300 ไร่ โดยจะแบ่งเป็น 3 ระยะ

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  • เมื่อเกษตรกรคืนพื้นป่าอย่างน้อย 4 ไร่
  • โครงการจะขุดนาให้ 1 ไร่ โดยขุดร่องน้ำ ปรับหน้าดิน เตรียมต้นกล้าและจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวและการทำเกษตรแบบปราณีต
  • สร้างแหล่งน้ำและตั้งคณะกรรมการจัดการน้ำ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกพืชของแต่ละชุมชน ทำให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรมีผลผลิตและรายได้ตลอดทั้งปี
  • ฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ได้คืนมา โดยขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละพื้นที่ว่าสามารถฟื้นตัวได้เองหรือต้องปลูกป่าทดแทนขึ้นใหม่ โดยชาวบ้านจะทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่รุกล้ำพื้นที่ป่าเข้าไปอีก

ผลกระทบต่อสังคม

ตั้งแต่ปี 2558 โครงการได้พื้นที่ป่าคืนมาอย่างยั่งยืนแล้ว จำนวน 445 ไร่ เกษตรกร 40 ครัวเรือน เลิกปลูกข้าวโพด ได้รับการส่งเสริมอาชีพ ทุกคนมีข้อตกลงร่วมกันในการฟื้นฟู ช่วยกันดูแลป่าและจะไม่รุกล้ำพื้นที่ป่าอีก

ปัจจุบันมีอีก 1,429 ไร่ จาก 100 ครัวเรือน ที่อยากคืนผืนป่า

สมาชิกภายในทีม

  1. คุณสำรวย ผัดผล ประธานกรรมการมูลนิธิฮักเมืองน่านและผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
  2. คุณกฤตยรัฐ ปารมี

ภาคี

  • กองทุนคนไทยใจดี บลจ. บัวหลวง สนับสนุนทุนฟื้นฟูป่าในปี 2559-60
  • มูลนิธิกสิกรรมไทยของธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนบุคคลากรและเคร่ืองมือระบบภูมิสนเทศ (GIS)
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบท่อการขนส่งลาเลียงน้ำในพื้นที่
  • โครงการปิดทองหลังพระสนับสนุนด้านองค์ความรู้และบุคลากรในการพัฒนาและวางระบบขนส่งลำเลียงน้ำ เป็นต้น

ได้ป่าคืนแล้ว 12 ไร่

20 April 2018

นาแลกป่า สามารถนำป่ากลับมาได้อย่างไร

โครงการนาแลกป่าจึงสามารถแก้ปัญหาการลดจำนวนของป่าน่านอย่างเป็นระบบ โดยมีกลยุทธ์ในการคืนผืนป่า 3 กลยุทธ์ ตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย ได้แก่

1.ขุดนาแลกป่า 

    เพื่อเกษตรกรสามารถปลูกข้าวและทำเกษตรปราณีต โดยมีการสนับสนุนต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ กลไกการตลาดและองค์ความรู้ต่างๆด้วย

2.สร้างแหล่งน้ำแลกป่า 

    เพื่อให้ชาวบ้านสามารถปลูกไม้ผลและทำเกษตร ให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

3.อาชีพทางเลือกแลกป่า 

    เช่น การปลูกถั่วลิสง โดยมีการฝึกทักษะ ให้คำปรึกษาและประสานงานกับบริษัทที่สามารถรับซื้อผลผลิตแน่นอน

เมื่อต้นปีทางเทใจได้โอนเงินงวดแรกเพื่อให้โครงการได้เริ่มดำเนินการ กระบวนการขุดสระแลกป่า ในพื้นที่ตำบลเมืองจัง โดยเรามีนาย

เสนียร อภัยรุณ เกษตรกรที่คืนพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำสำหรับการเกษตร โดยแต่เดิมนายเสนียร อภัยรุณ ครอบครองอยู่ ทั้งสิ้น จำนวน 22 ไร่ และทำการเกษตรซึ่งเป็นพืชเชิงเดียวหรือข้าวโพดนั้น ที่ผ่านมาไม่สามารถทำให้มีรายได้ที่สามารถประครองชีพวิชิตตนและครอบครัวได้

นายเสนียร อภัยรุณ จึงได้เข้าร่วมโครงการนาแลกป่า โดยเลือกดำเนินการในส่วนที่เป็น “กระบวนการขุดสระแลกป่า” โดยเสนอให้คณะทำงานไปลงสำหรับพื้นที่ในการขุดสระ บริเวณใกล้ที่อยู่อาศัย และคืนพื้นที่ทำกินที่เป็นบริเวณป่า จำนวน 12 ไร่ และที่เหลือยังขอเก็บไว้ทำการเกษตรต่อเนื่องจากตนเองมีเพียงแปลงเดียวเท่านั้น

คณะทำงานจึงสำรวจและรางวัดพื้นที่ที่พร้อมจะคืนให้เป็นพื้นที่ป่า จำนวน 12 ไร่ และสำรวจพื้นที่ในการขุดสระ มีเนื้อที่โดยรวมประมาณ 3 งาน โดยได้มีการขุดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

ระยะแรกหลังจากการขุดสระแล้ว ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยนอาชีพได้ ทำการปลูกพืชผักสวนครัวเองได้ ลดรายจ่าย สามารถประกอบการเกษตรได้เป็นระยะเวลาจำนวนเดือนที่นานขึ้น อาทิเช่น เคยทำการเกษตรได้เพียง 4 เดือน/ปี แต่ปัจจุบันสามารถทำการเกษตรได้ 6-7 เดือน/ปี เพิ่มรายได้มากขึ้น มีวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในสระก็ยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อจำหน่ายได้

ส่วนของปี 2561 ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาระดับน้ำในบ่อลดลงเป็นอย่างมาก ตัวเกษตรก็มีความวิตกกังวัลว่าสระที่ดำเนินการขุดมาจะปีนี้จะไม่สามารถกักกับน้ำได้เท่าที่ควร งบประมาณที่ใช้ ค่าจ้างเหมาะในการปรับหน้าดิน และขุดสระน้ำ พร้อมทั้งข่นดินออกจากพื้นที่ เป็นจำนวนเงินทั้งสิน 60,000 บาทถ้วน 

ขุดสระแลกป่า

12 ไร่บริเวณนี้เพื่อคนไทยทุกคน

เสนียร อภัยรุณ เกษตรกรที่คืนพื้นที่จำนวน 12 ไร่ เพื่อดำเนินการขุดสระน้ำสำหรับการเกษตร 

ปลูกพืชผสมผสานจะทำให้มีรายได้มากขึ้น


Budget plan

ในปี 2560 โครงการมีเป้าหมายขอคืนพื้นที่ป่าอีก 300 ไร่ จะแบ่งการระดมทุนเป็น 3 ระยะ

รายละเอียดจำนวนเงิน (บาท)
ระยะที่ 1: ฟื้นฟูป่า 100 ไร่ โดยมีต้นทุนในการฟื้นฟูป่า ไร่ละ ขุดนาและสร้างแหล่งน้ำ ไร่ละ 14,000 บาท 1,400,000
รวมเป็นเงิน1,400,000

เทใจร่วมระดมทุนส่วนหนึ่งของโครงการนาแลกป่า