project เด็กและเยาวชน

เด็กถูกล่วงละเมิดต้องแจ้ง (มูลนิธิสายเด็ก)

รณรงค์เพื่อยุติการล่วงละเมิดทางเพศและสร้างขวัญกำลังใจให้เด็กกล้าดำเนินคดีกับคนผิด

Duration 17 เม.ย. 2565 ถึง 17 ก.ค. 2565 Area ทั่วประเทศ

Current donation amount

26,234 THB

Target

110,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 24%
จำนวนผู้บริจาค 71

สำเร็จแล้ว

Project updates

เด็กนักเรียน ป.3 - ม.3 จำนวน 150 คน ได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา

23 August 2022

กิจกรรมอบรมนักเรียนใน อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วันที่ 16 สิงหาคม 2565

มูลนิธิสายเด็ก 1387 จัดกิจกรรมการอบรมหัวข้ออบรมตามนโยบายความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยทีมสื่อสารของมูลนิธิ เป็นวิทยากร จำนวน 2 ท่าน

  1. คุณอติญา กุลกอบเกียรติ
  2. คุณฑิตยา สามสี

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม: นักเรียนระดับชั้น ป.3 - ม.3 จำนวนทั้งหมด 150 คน 

  1. โรงเรียนโพนสว่าง
  2. รงเรียนโพนขาว
  3. โรงเรียนประชาสนธิ์นุสรณ์
  4. โรงเรียนบ้านนาโพธิ์ 

สถานที่จัดกิจกรรม: โรงเรียนบ้านนาโพธิ์

โดยเราได้อบรมให้ความรู้สิทธิเด็กเบื้องต้น การให้และขอความยินยอม(consent) ตั้งขอบเขต การตระหนักรู้ถึงภัยจากการล่อลวงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศทั้งแบบต่อหน้าและออนไลน์ การรับมือและขั้นตอนการแจ้งเหตุ และการเยียวยาจิตใจเบื้องต้น ผ่านสื่อเนื้อหา เกมส์และการแสดงจำลองสถานการณ์ เด็กนักเรียนให้ความสนใจดีและให้ความร่วมมือ นักเรียนได้เรียนรู้ถึงข้อมูลที่ไม่เคยทราบมาก่อน และเข้าใจกับหัวข้อเนื้อหามากขึ้น แบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้

  • สิทธิเด็ก
  • grooming การล่อลวงเพื่อการล่วงละเมิด
  • การรับมือสถานการณ์
  • consent การยินยอม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ความประทับใจจากนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม



ภาพประกอบ

ภาพให้อาสาสมัครเด็กนักเรียนร่วมเล่นเกมส์ประกอบการอบรม

กิจกรรมช่วงถาม-ตอบ และมอบของรางวัล

ภาพกิจกรรมการอบรม

ภาพกลุ่มวิทยากร เด็กนักเรียน และครูที่เข้าร่วมการอบรม

Read more »
See all project updates

ปัญหา

ปัญหาเรื่องการคุกคามทางเพศและล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการถูกแสวงประโยชน์และล่วงมะเมิดทางเพศออนไลน์ยังมีอย่างต่อเนื่องไม่ลดน้อยลง และยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนอ้างอิงจากองค์กรอนามัยโลก ซึ่งช่วงอายุ 5-20ปีมีสถิติปัญหาความรุนแรงทางเพศถึง60% ซึ่งยังไม่นับรวมที่ไม่ได้แจ้งรายงาน ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนที่รู้จักคุ้นเคยหรือคนในครอบครัว และคนแปลกหน้าที่รู้จักผ่านโซเชียล อะไรกันที่ทำให้เด็กไม่กล้ารายงานเหตุการณ์ พบว่าเด็กไม่รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน รวมถึงถูกข่มขู่ กลัวอันตรายภายหลังเปิดเผยเหตุการณ์ รู้สึกอับอาย กลัวถูกตำหนิ และยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดเอง ที่สังคมมองว่า เพราะการแต่งตัว การพูดคุยกับคนแปลกหน้าเป็นสาเหตุของเหตุการณ์นี้ อะไรอีกที่เป็นสาเหตุที่คนมองข้าม นั่นคือมุมมอง และวัฒนธรรม สังคมไทยถูกปลูกฝังว่าให้เด็กเชื่อฟังและเคารพผู้ใหญ่ ให้รู้บุญคุณ ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เด็กอึดอัด รู้สึกตัวเองจะทำผิดประเพณีหรือไม่ สังคมจะตอกย้ำหรือไม่ อีกทั้งมุมมองที่ผู้หญิงไม่สมควรจะพูดเรื่องเพศ เหยื่อเด็กผู้หญิงจึงไม่กล้าเปิดปากพูด เลือกที่เก็บไว้ กล้ำกลืน ฝืนทนกับความเจ็บปวด ความกลัวคนเดียว เป็นเหยื่อทำไมต้องทนเจ็บปวด ในขณะที่ผู้กระทำนั้นยังลอยนวล สังคมควรที่จะตระหนักเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่เฉพาะทางกฏหมาย แต่เรื่องการปลูกฝังและเปลี่ยนแปลงความคิด 

วิธีการแก้ไขปัญหา

เราเห็นปัญหาที่ผู้ถูกกระทำไม่แจ้งรายงานเหตุการณ์การถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาสำคัญ เราจึงเริ่มโครงการ #พูดมาเหอะ ขึ้นมาเพื่อรณรงค์ให้ผู้ที่ถูกกระทำออกมาเปิดปากพูด ให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษและไม่ก่อเหตุการณ์ซ้ำ เราอยากให้สังคมช่วยกันเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกมีกำลังใจ ไม่ได้โดดเดี่ยวและต่อสู้ให้ผ่านช่วงเวลายากลำบากไปได้ เรารณรงค์เพื่อปกป้องและดึงความยุติธรรมให้กับผู้ถูกกระทำ รวมถึงยุติการล่วงละเมิดทางเพศเพราะความเจ็บปวดของเหยื่อนั้นไม่ได้ใช้แค่ยาทานแล้วจะหาย แต่มันจะติดฝังอยู่กับเขาไปตลอด กลุ่มเป้าหมายของเราจะเน้นที่เด็กและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เราอยากให้เด็กได้รู้ว่ามีมูลนิธิเราอยู่ ที่สามารถมาพูดคุยปัญหาได้ เรามีช่องทางในการติดต่อมากมายให้เด็กได้มาพูดถึงเหตุการณ์และร่วมหาวิธีแก้ไข กล้าดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่เราได้รณรงค์มาโดยตลอด และอยากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็ก ทำให้เราอยากระดมทุนเพื่อผลักดันโครงการ โดยการผลิตของเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงตระหนักถึงสถานการณ์การล่วงละเมิดทางเพศ หลังจากทำการระดมทุนแล้วเราจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผลิตของอุปโภคโดยแบ่งเป็นสองประเภท
    1. ของใช้ทั่วไปที่เกี่ยวกับมูลนิธิ เช่น เสื้อยืดสกรีนลายโครงการ , กระเป๋าผ้า
    2. ของที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น power bank(เปรียบเสมือนมูลนิธิที่เราเป็นแหล่งเติมพลังงานให้น้องๆ) , ลำโพง (เปรียบเสมือนมูลนิธิและผู้มีส่วนร่วมในโครงการเป็นดั่งกระบอกเสียง เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ )
  2. หลังจากที่ได้ของอุปโภค เราจะจัดกิจกรรม ออนไลน์โดย จัดผ่านแพลตฟอร์มที่เรามีอยู่แล้ว เกี่ยวกับโครงการ
    • การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ
    • การรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ การเอาตัวรอดและ แจ้งรายงาน
    • การรับมือหลังจากเหตุการณ์ ทางร่างกายและจิตใจ
  3. ทำกิจกรรมตอบคำถามหรือแลกเปลี่ยนความคิด แจกของอุปโภคส่วนหนึ่งเป็นรางวัล จัดส่งไปยังบ้านผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  4. ของอีกส่วนจะถูกนำไปแจกตามโรงเรียนที่เราได้วางแผนเพื่อเข้าไปให้ความรู้ และจัดกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิสายเด็ก 1387

มูลนิธิสายเด็ก เราช่วยเหลือเด็กทุกเรื่อง โดยระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ช่วยเหลือเด็กมากกว่า 1,100,000 ครั้ง

เด็กนักเรียน ป.3 - ม.3 จำนวน 150 คน ได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา

23 August 2022

กิจกรรมอบรมนักเรียนใน อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม วันที่ 16 สิงหาคม 2565

มูลนิธิสายเด็ก 1387 จัดกิจกรรมการอบรมหัวข้ออบรมตามนโยบายความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยทีมสื่อสารของมูลนิธิ เป็นวิทยากร จำนวน 2 ท่าน

  1. คุณอติญา กุลกอบเกียรติ
  2. คุณฑิตยา สามสี

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม: นักเรียนระดับชั้น ป.3 - ม.3 จำนวนทั้งหมด 150 คน 

  1. โรงเรียนโพนสว่าง
  2. รงเรียนโพนขาว
  3. โรงเรียนประชาสนธิ์นุสรณ์
  4. โรงเรียนบ้านนาโพธิ์ 

สถานที่จัดกิจกรรม: โรงเรียนบ้านนาโพธิ์

โดยเราได้อบรมให้ความรู้สิทธิเด็กเบื้องต้น การให้และขอความยินยอม(consent) ตั้งขอบเขต การตระหนักรู้ถึงภัยจากการล่อลวงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศทั้งแบบต่อหน้าและออนไลน์ การรับมือและขั้นตอนการแจ้งเหตุ และการเยียวยาจิตใจเบื้องต้น ผ่านสื่อเนื้อหา เกมส์และการแสดงจำลองสถานการณ์ เด็กนักเรียนให้ความสนใจดีและให้ความร่วมมือ นักเรียนได้เรียนรู้ถึงข้อมูลที่ไม่เคยทราบมาก่อน และเข้าใจกับหัวข้อเนื้อหามากขึ้น แบ่งเป็นหัวข้อย่อยดังนี้

  • สิทธิเด็ก
  • grooming การล่อลวงเพื่อการล่วงละเมิด
  • การรับมือสถานการณ์
  • consent การยินยอม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ความประทับใจจากนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม



ภาพประกอบ

ภาพให้อาสาสมัครเด็กนักเรียนร่วมเล่นเกมส์ประกอบการอบรม

กิจกรรมช่วงถาม-ตอบ และมอบของรางวัล

ภาพกิจกรรมการอบรม

ภาพกลุ่มวิทยากร เด็กนักเรียน และครูที่เข้าร่วมการอบรม

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ผลิตเครื่องอุปโภคสำหรับเด็กเพื่อตระหนักรู้ถึงภัยล่วงละเมืดทางเพศ 600 บาทต่อชิ้น 100 60,000.00
2 ค่าใช้จ่ายการขนส่งเครื่องอุปโภค 50 บาทต่อชิ้น 100 5,000.00
3 การจัดการอบรมให้ความรู้ตามโรงเรียน 11,666บาทต่อโรงเรียน 3 35,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
100,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
10,000.00

ยอดระดมทุน
110,000.00