project Covid-19 เด็กและเยาวชน กลุ่มคนเปราะบาง

ช่วยเหลือเด็กในพื้นที่สังขละบุรีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

พื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีกำลังวิกฤต เด็กจำนวนมากต้องแยกจากครอบครัวและขาดคนดูแล อยู่ในสภาวะเครียด ซึมเศร้าจากการต้องอยู่เพียงลำพังและมีความกังวลต่อสถานการณ์ไม่ปกตินี้ ทั้งเด็กที่เป็นผู้ป่วยต้องแยกจากพ่อแม่เพื่อกักตัวอยู่ในศูนย์พักคอยและรักษาตัวในโรงพยาบาล เด็กที่พ่อแม่เป็นผู้ป่วยแล้วต้องอยู่บ้านเพียงลำพังเนื่องจากพ่อแม่ต้องเข้ารับการรักษา เด็กที่พ่อแม่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ ไร้คนดูแลอีกต่อไป การเยียวยาจิตใจและจัดหาผู้ดูแลให้กับเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำโครงการนี้จึงจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตให้กับเด็กที่ต้องอยู่เพียงลำพัง ทำความเข้าใจและเยียวยาจิตใจเด็กในสถานการณ์ยากลำบากนี้ รวมถึงช่วยเหลือแพทย์พยาบาลในการสื่อสารกับเด็กกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถพูดไทยได้

Duration 15 ส.ค. 2564 ถึง 15 ธ.ค. 2564 Area อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี , ตำบลหนองลู ตำบลไล่โว่ ตำบลปรังเผล

Current donation amount

86,573 THB

Target

63,800 THB
ดำเนินการไปแล้ว 136%
จำนวนผู้บริจาค 116

สำเร็จแล้ว

Project updates

ความคืบหน้าการดำเนินงานดูแลเด็กๆ ในศูนย์พักคอย พื้นที่สังขละบุรี

6 December 2021

    ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรีมีการจัดตั้งศูนย์พักคอยจำนวน 6 แห่ง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่จากชุมชนต่างๆ ได้แก่ ศูนย์พักคอยบ้านพระเจดีย์สามองค์, ศูนย์พักคอยบ้านซองกาเรีย, ศูนย์พักคอยบ้านเวียคะดี้, ศูนย์พักคอยบ้านใหม่พัฒนา, ศูนย์พักคอยโรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี, และ โรงพยาบาลสนาม (คริสเตียน) โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อภายในศูนย์เฉลี่ย 20-30 คน และยังพบปัญหาขาดบุคลากรในการดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอย เนื่องจากในพื้นที่สังขละบุรีมีจำนวนสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างน้อย ไม่เคยประสบกับสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้มาก่อน ทำให้การรับมือกับจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากเป็นไปอย่างยากลำบาก ทางโครงการจึงได้สนับสนุนให้มีอาสาสมัคร เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ติดเชื้อ ตลอดจนทำกิจกรรมกับเด็กในศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและเด็ก โดยมีกิจกรรมภายใต้โครงการ ดังนี้

  • ในช่วงเดือนกันยายนที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โครงการได้จัดจ้างอาสาสมัคร จำนวน 8 คน เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลเด็กในศูนย์พักคอย 5 แห่ง และโรงพยาบาลสนาม 1 แห่ง โดยมูลนิธิวันสกายได้ดำเนินการอบรมอาสาสมัครในการดูแลและทำกิจกรรมกับเด็กเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 และเมื่อทางภาครัฐประกาศให้มีการปิดศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามทั้ง 6 แห่ง โครงการจึงได้ปรับกิจกรรมให้อาสาสมัครเหล่านี้ประสานงานกับภาครัฐเกี่ยวกับข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่และลงไปตามชุมชนเพื่อสำรวจครอบครัวที่มีเด็กและส่งมอบถุงยังชีพเด็กให้กับครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน
  • ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 ทางโครงการได้ดำเนินการส่งมอบขนม นม หนังสือนิทาน สีและของเล่นให้กับศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามทั้ง 6 แห่ง โดยเฉลี่ยตามจำนวนเด็กและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ จนกระทั่งมีคำสั่งให้ปิดศูนย์พักคอยทุกแห่งในวันที่ 31 ตุลาคม 2564

  • เจ้าหน้าที่อาสาสมัครของโครงการทำกิจกรรมสันทนาการให้กับเด็กผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอย ในช่วงวันที่ 11-15 ตุลาคม 2564 ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด – 19 และการดูแลตัวเอง รวมถึงกิจกรรมให้ความสนุกสนานเพื่อคลายความเครียดให้กับเด็กที่ต้องแยกจากครอบครัว คลายความกังวลจากสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ลดความคิดถึงที่มีต่อครอบครัวและสามารถอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นได้ในศูนย์พักคอย

  • เจ้าหน้าที่มูลนิธิและอาสาสมัครโครงการลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับครอบครัวที่มีเด็ก โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อและเด็กจำเป็นต้องกักตัวภายในบ้านเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง รวมถึงมีการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กเป็นระยะและพาเด็กไปตรวจหาเชื้อเมื่อกักตัวครบกำหนด โดยประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลของผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงและเริ่มมอบถุงยังชีพให้กับครอบครัวเป้าหมายโดยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 จนถึงปัจจุบัน

    ตามนโยบายของส่วนกลางในการคลายมาตรการต่างๆ ในพื้นที่และสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มดีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ศูนย์พักคอยทั้ง 6 แห่ง ถูกปิดตัวลงในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 โดยให้มีการรักษาภายในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามกรณีผู้ป่วยหนัก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ให้ทำการรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) และมีกำหนดให้โรงเรียนในพื้นที่เปิดภาคเรียนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ทางโครงการจึงปรับแผนไปตามมาตรการของภาครัฐ โดยมีกิจกรรม ดังนี้

  • สนับสนุนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในการดูแลเด็กนักเรียนเมื่อมีการเปิดภาคเรียนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยส่งมอบให้กับโรงเรียน 13 แห่ง ในระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2564

  • อาสาสมัครโครงการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องทำ Home Isolation ที่บ้าน เพื่อมอบถุงยังชีพ ขนมและนมให้กับครอบครัวที่มีเด็ก ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการมาตลอดตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงปัจจุบันก็ยังดำเนินการอยู่เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงทุกวัน

  • อาสาสมัครโครงการลงพื้นที่ชุมชนให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด – 19 กับครอบครัวที่ยังไม่ติดเชื้อ โดยมี 3 หัวข้อหลักในการให้ความรู้กับชุมชน คือ
    1. การป้องกันไม่ให้เด็กติดเชื้อเมื่ออยู่ที่บ้าน การใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องไปโรงเรียน
    2. ข้อควรปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ เมื่อมีเด็กหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ป่วยและแนวทางในการทำ Home Isolation
    3. ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด – 19 และแนวทางการปฏิบัติตัว
    ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้กับชุมชนนี้มีแผนจะเริ่มดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม 2564 ทั้งนี้ อยู่ในระหว่างการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผ่อนปรนให้โครงการสามารถเข้าทำกิจกรรมภายในชุมชนได้

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยโรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยบ้านพระเจดีย์สามองค์

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยเวียคะดี้

 สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยบ้านใหม่พัฒนา

 กิจกรรมอบรมอาสาสมัครของโครงการที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในศูนย์พักคอยและการติดตามช่วยเหลือผู้กักตัวและผู้ทำ Home Isolations


มอบขนม นมและถุงยังชีพสำหรับเด็กให้กับครอบครัวที่มีเด็กติดเชื้อและทำ Home Isolation ที่บ้าน โดยอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อแต่ต้องกักตัวในบ้านเดียวกัน

อาสาสมัครโครงการนำเด็กที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนามคริสเตียน ทำกิจกรรมให้ความรู้ในการ ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19

อาสาสมัครโครงการให้เด็กที่พักรักษาตัวในศูนย์พักคอยอนุบาลสังขละบุรีทำกิจกรรมวาดภาพ ระบายสี โดยใช้สีที่ทางโครงการไปมอบให้ พร้อมทั้งจัดมุมของเล่นให้เด็กๆ ได้เล่นและพักผ่อนเพื่อคลายความเครียด

เสียงจากผู้รับประโยชน์

เด็กชายเวคิน อายุ 11 ปี 
สถานการณ์
เด็กเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ทำ Home Isolation ที่บ้าน โดยอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัวที่ต้องกักตัว เนื่องจากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ไม่มีรายได้เนื่องจากไม่สามารถออกไปทำงานได้
ความช่วยเหลือที่ได้รับ ถุงยังชีพสำหรับผู้ใหญ่และถุงยังชีพสำหรับเด็ก
ความรู้สึกเมื่อได้รับความช่วยเหลือ รู้สึกดีใจมาก เนื่องจาก อาหารที่มีอยู่กำลังจะหมดและไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ

เด็กหญิงรัศมี เด็กหญิงสุวิมล เด็กชายสุเมธ
สถานการณ์ พ่อและแม่เป็นผู้ติดเชื้อและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม แต่เด็กยังตรวจไม่พบเชื้อ จึงทำให้ต้องกักตัวในบ้านในฐานะผู้มีความเสี่ยงสูง

ความช่วยเหลือที่ได้รับจากโครงการ
1. ถุงยังชีพสำหรับเด็ก รวมถึงข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมัน
2. เด็กชายสุเมธ อายุ 6 ปี ทางมูลนิธิวันสกายรับมาดูแลที่สำนักงาน เนื่องจาก พี่สาวตรวจพบเชื้อและเข้ารักษาตัวที่ศูนย์พักคอย ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิวันสกายดูแล แต่ก็กักตัวอยู่ภายในห้อง เนื่องจากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง
3. อำนวยความสะดวกพาเด็กไปตรวจหาเชื้อรอบสองในระหว่างกักตัว

ความรู้สึกเมื่อได้รับความช่วยเหลือ ดีใจที่ได้รับความช่วยเหลือ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือ ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือ ก็จะลำบากมากเนื่องจาก เด็กยังเล็ก พ่อ แม่และพี่สาวที่เป็นเสาหลักให้ครอบครัวติดเชื้อหมด

Read more »
See all project updates

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรีกำลังวิกฤต ทำให้เด็กจำนวนมากต้องแยกจากครอบครัวและขาดคนดูแล อยู่ในสภาวะเครียด ซึมเศร้าจากการต้องอยู่เพียงลำพังและมีความกังวลต่อสถานการณ์ไม่ปกตินี้ ทั้งเด็กที่เป็นผู้ป่วยต้องแยกจากพ่อแม่เพื่อกักตัวอยู่ในศูนย์พักคอยและรักษาตัวในโรงพยาบาล เด็กที่พ่อแม่เป็นผู้ป่วยแล้วต้องอยู่บ้านเพียงลำพังเนื่องจากพ่อแม่ต้องเข้ารับการรักษา เด็กที่พ่อแม่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ ไร้คนดูแลอีกต่อไป การเยียวยาจิตใจและจัดหาผู้ดูแลให้กับเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำโครงการนี้จึงจัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตให้กับเด็กที่ต้องอยู่เพียงลำพัง ทำความเข้าใจและเยียวยาจิตใจเด็กในสถานการณ์ยากลำบากนี้ รวมถึงช่วยเหลือแพทย์พยาบาลในการสื่อสารกับเด็กกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถพูดไทยได้

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ สังขละบุรีถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม เนื่องจาก มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 1001 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของจำนวนประชากรในสังขละบุรีที่มีอยู่ประมาณ 40000 คน สูงเป็นลำดับ 2 ของจ.กาญจนบุรี มีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ย 50-80 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 คน ตัวเลขทั้งหมดเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ทำให้เกิดมาตรการควบคุมสูงสุดในพื้นที่ ปิดชุมชนที่การแพร่ระบาดอย่างหนัก เช่น ชุมชนมอญ จัดให้มีจุดตรวจคัดกรองเชิงรุกกระจายอยู่ในชุมชนและจัดตั้งศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วย เนื่องจาก สถานพยาบาลในสังขละบุรีมีไม่เพียงพอและแต่ละแห่งมีข้อจำกัดในการรับผู้ป่วย ถึงขณะนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดก็ยังไม่สามารถควบคุมได้

จากที่เป็นพื้นที่สีขาวไม่พบผู้ติดเชื้อก้าวกระโดดมาเป็นพื้นที่สีแดงเข้มที่มีการแพร่ระบาดในระดับวิกฤต ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะเด็กในชุมชนที่ไม่คุ้นเคยกับสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ โดยจำแนกเด็กที่ได้รับผลกระทบตามผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

1. เด็กต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง เมื่อพ่อแม่ต้องเข้ารับการรักษาตัว

2. เด็กถูกกักตัวในศูนย์พักคอยเนื่องจากตรวจพบเชื้อและรอทำการตรวจซ้ำ

3. เด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่จากการติดเชื้อโควิด-19

ซึ่งเด็กในแต่ละกลุ่มมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างกัน

กลุ่มที่ 1 เด็กที่ต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง เมื่อพ่อแม่เข้ารับการรักษาตัว มักมีปัญหาในการดำรงชีวิต เนื่องจากไม่มีผู้ดูแล นอกจากอาหารที่เด็กจะได้รับจากภาครัฐแล้ว มูลนิธิฯ ยังจัดหานม ขนมและสิ่งของจำเป็นให้กับเด็ก รวมถึงลงพื้นที่เยี่ยมบ้านสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้เด็กคลายความกังวล จัดให้มีเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้เมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ กรณีที่เป็นเด็กเล็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางมูลนิธิฯ จัดให้มีครอบครัวอุปถัมภ์เพื่อช่วยดูแลเด็กในระยะสั้น

กลุ่มที่ 2 เด็กที่แยกจากครอบครัวและถูกกักตัวในศูนย์พักคอย พบว่าเด็กมีความเครียดที่ต้องพลัดพรากจากครอบครัว ไม่เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเปราะบาง ไร้สถานะที่ไม่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ ทำให้เด็กเกิดความโดดเดี่ยวและแปลกแยก มูลนิธิฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐจัดให้มีอาสาสมัครภายใต้ชื่อ “จิตอาสา...ฟ้าเดียวกัน” เพื่อคัดเลือกผู้มีจิตอาสาในชุมชนเข้าไปช่วยดูแลเด็กในศูนย์พักคอย เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างเด็กกับบุคลากรทางการแพทย์และอำนวยความสะดวกให้ทุกฝ่าย รวมถึงจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและมุมของเล่นภายในศูนย์พักคอยเพื่อช่วยลดความเครียดให้กับเด็ก 

กลุ่มที่ 3 เด็กที่สูญเสียพ่อแม่จากการติดเชื้อโควิด มูลนิธิฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.กาญจนบุรี ดำเนินการจัดหา “ครอบครัวอุปถัมภ์” ทั้งที่เป็นครอบครัวเครือญาติและครอบครัวผู้มีจิตเมตตา เพื่อช่วยดูแลเด็กแทนการนำเด็กเข้าสู่สถานสงเคราะห์ เนื่องจาก เราเชื่อว่าการเติบโตขึ้นมาภายใต้การดูแลในรูปแบบครอบครัวจะทำให้เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจและความคิด มีทักษะในการใช้ชีวิตที่ดีและเหมาะสมตามช่วงวัยกว่าการอยู่ในสถานสงเคราะห์ โดยนอกจากจะจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์แล้ว ยังให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการดูแลเด็ก รวมถึงด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

ซึ่งแนวทางในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโควิดเป็นแนวทางที่ มูลนิธิฯ ใช้ในการช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบางในชุมชนมาเกือบ 10 ปี การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดให้เด็กกลุ่มเปราะบางเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อลดความเครียดให้กับเด็กและครอบครัวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา และการนำแนวคิดของ “โครงการครอบครัวอุปถัมภ์” มาใช้ในการช่วยเหลือเด็กที่สูญเสียพ่อแม่และไร้ที่พึ่ง ที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือเด็กที่ประสบปัญหาไม่สามารถอยู่กับครอบครัวโดยกำเนิดได้มากกว่า 30 คน ทั้งเด็กกำพร้า เด็กที่พ่อแม่เจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตเภทจนไม่สามารถดูแลเด็กได้หรือเด็กถูกทอดทิ้งจากครอบครัวโดยกำเนิดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ โดยร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.กาญจนบุรีจัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ให้กับเด็กเหล่านี้ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องทุกเดือน พบว่าเด็กสามารถเข้ากับครอบครัวอุปถัมภ์ได้และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิตใจและความคิด ที่สำคัญการเติบโตมาในสภาพแวดล้อมแบบครอบครัว เด็กจะได้รับการเอาใจใส่และเรียนรู้การดำเนินชีวิตจากผู้ดูแลไม่ต่างจากที่ลูกได้รับการอบรมจากพ่อแม่ ซึ่งต่างกับการนำเด็กเข้าสู่สถานสงเคราะห์ที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากร เราพบว่าในบางสถานสงเคราะห์ผู้ดูแลหนึ่งคนต้องดูแลเด็กถึง 25 คน เนื่องจากจำนวนเด็กที่มากขึ้นทุกปี ทำให้การดูแลเอาใจใส่ไม่ทั่วถึงและผู้ดูแลไม่สามารถเข้าถึงปัญหาของเด็กได้ทุกคน

การนำเด็กที่ครอบครัวไม่สามารถดูแลได้หรือไม่มีครอบครัวโดยกำเนิดเข้าสู่ความดูแลของสถานสงเคราะห์ก็ยังเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ใช้การมานานและยังคงใช้อยู่ทั้งในสังขละบุรีส่งผลให้มีสถานสงเคราะห์กว่า 17 แห่งในพื้นที่ แต่นั่นเป็นการแก้ปัญหาเพียงมิติเดียว ยังขาดมิติด้านจิตใจ พัฒนาการและทักษะชีวิตที่เด็กควรได้รับเช่นกัน จึงทำให้งานของมูลนิธิวันสกายในการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่สังขละบุรีแตกต่างจากหลายหน่วยงาน


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ขั้นตอนการเก็บข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ช่องทางขอรับความช่วยเหลือ:

ทางมูลนิธิฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในจุดตรวจคัดกรองเพื่อสัมภาษณ์ผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวกถึงผลกระทบกับเด็กในครอบครัวเมื่อพวกเขาต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล เพื่อให้ทราบปัญหาและหาแนวทางช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม รวมถึงประชาสัมพันธ์ช่องทางในการขอรับการช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ภายในศูนย์พักคอย กรณีที่เป็นผู้ป่วยจากช่องทางการตรวจอื่นๆ หรือผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือภายหลังจากที่เข้าไปกักตัวในศูนย์พักคอยหรือโรงพยาบาลสนามแล้ว

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือเด็กในแต่ละกลุ่ม:

กลุ่มเด็กที่ต้องอยู่ลำพังที่บ้าน

นำข้อมูลที่ได้รับมาแยกกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบ โดยพิจารณาจาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก ช่วงวัยและความสามารถในการดูแลตัวเองของเด็ก รายได้ของครอบครัว ความสัมพันธ์กับญาติและชุมชน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการช่วยเหลือและจัดทีมเจ้าหน้าที่เข้าให้ความช่วยเหลือ

เด็กโตที่สามารถดูแลตัวเองได้: จัดหานม ขนมและสิ่งของจำเป็นให้กับเด็ก ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กอาทิตย์ละ 2 สัปดาห์ พร้อมแจ้งช่องทางการติดต่อในกรณีฉุกเฉิน หากเด็กต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

เด็กเล็กที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้: จัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ทั้งที่เป็นเครือญาติและบุคคลอื่นที่มีความพร้อมในการดูแลเด็กระยะสั้นหรือจัดหาสถานที่และอาสาสมัครเพื่อดูแลเด็กในระหว่างที่พ่อแม่เข้ารับการรักษาตัว


กลุ่มเด็กที่เข้ารักษาตัวในศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม

1. ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการประชาสัมพันธ์รับสมัครอาสาสมัคร "จิตอาสา...ฟ้าเดียวกัน"  พิจารณาคัดเลือกอาสาสมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและจัดการอบรมให้กับอาสาสมัครในการดูแลผู้ป่วยเด็กและการบริหารจัดการในศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม

2. จัดกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น เล่นดนตรี งานฝีมือ งานศิลปะ โดยจัดหาอุปกรณ์และชักชวนให้ทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์และมุมของเล่นสำหรับเด็กเล็กภายในศูนย์พักคอยเพื่อช่วยลดความเครียดให้กับเด็กและรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อต้องแยกจากครอบครัวและอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ

3. สนับสนุนอุปกรณ์สื่อสารและจัดกิจกรรมสื่อสารระหว่างครอบครัวเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพูดคุยกับพ่อแม่ที่ต้องแยกจากกัน เพื่อบรรเทาความคิดถึงและคลายความกังวลให้เด็ก

ทั้งนี้ อาสาสมัคร "จิตอาสา...ฟ้าเดียวกัน" จะเป็นหลักในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กภายในศูนย์พักคอย โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ในการติดต่อกับครอบครัวของเด็ก


กลุ่มเด็กที่สูญเสียพ่อแม่จากการแพร่ระบาดของโควิด-19

1. ประสานงานครอบครัวเครือญาติของเด็กที่มีความพร้อมในการดูแลเพื่อรับอุปการะเด็กต่อไป

2. กรณีที่เด็กไม่มีครอบครัวเครือญาติที่พร้อมดูแล มูลนิธิฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.กาญจนบุรี จัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ที่มีความพร้อมในการดูแลเด็ก โดยนำข้อมูลของเด็กและครอบครัวมาพิจารณาร่วมกัน 

      ข้อมูลในส่วนของเด็ก ได้แก่ อายุ เพศ สัญชาติและวัฒนธรรม ข้อจำกัดของเด็กที่ส่งผลต่อการดูแล

      ข้อมูลในส่วนของครอบครัว ได้แก่ อายุ เพศของผู้ดูแล ความเห็นชอบของสมาชิกในครอบครัว ความมั่นคงทางรายได้ ความสมบูรณ์ของครอบครัว สภาพแวดล้อมของที่พัก

      ความสามารถในการดูแลเด็ก เช่น มีเวลาในการดูแลเด็ก เคยดูแลเด็กมาก่อนหรือไม่ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กและครอบครัวอุปถัมภ์สามารถเข้ากันได้ เด็กได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็ก

3. มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเบื้องต้นกับครอบครัวอุปถัมภ์ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเด็ก ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกรณีเด็กเจ็บป่วย เป็นต้น 

4. มูลนิธิฯ จัดอบรมเพื่อเสริมศักยภาพในการดูแลเด็ก รวมถึงให้คำปรึกษาและร่วมแก้ไขกับครอบครัวอุปถัมภ์เมื่อเกิดปัญหาในการดูแลเด็ก

5. มูลนิธิฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมแลความมั่นคงของมนุษย์ในการลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวอุปถัมภ์และเด็ก เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงให้กำลังใจกับครอบครัวอุปถัมภ์ในการช่วยเหลือเด็ก

การประเมินผลการดำเนินงาน 

การประเมินเชิงปริมาณ คือ จำนวนผู้ได้รับผลประโยชน์ในโครงการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การประเมินเชิงคุณภาพ คือ การดำเนินงานสามารถช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดอย่างไร การให้ความช่วยเหลือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการหรือไม่ กระบวนการทำงานทั้งในส่วนของมูลนิธิฯ และทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

รวมถึงจัดทำสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานและจัดทำแผนการรับมือในการช่วยเหลือเด็กในสถานการณ์โรคระบาดในชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในอนาคต


ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายงานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก มูลนิธิวันสกาย

เลขที่ 93/1 หมู่ 3 ถนนสามประสบ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240

โทรศัพท์ 081-007-4888

แจ้งรายละเอียดการใช้เงินส่วนต่างจากการบริจาค

19 October 2021

เนื่องจากทางโครงการได้รับเงินบริจาคมากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ตามรายละเอียดนี้

เป้าบริจาคเดิม 58,000 บาท
ยอดบริจาคทั้งหมด 86,573 บาท
ค่า fee 10% ของเทใจ 8,657.30 บาท
เหลือเป็นยอดที่ต้องโอนให้ทางมูลนิธิ 77,915.70 บาท
คิดเป็นส่วนต่าง 19,915.70 บาท

จึงขออนุญาตแจ้งรายละเอียดการใช้เงินส่วนต่างดังนี้
1. นมกล่องสำหรับเด็ก 3 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน สำหรับเด็กที่ติดเชื้อและต้องทำ Home Isolation เป็นเวลาประมาณ 14-28 วัน ช่วงรักษาตัวและกักตัวหลังตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
รวมเป็นเงิน 15,000 บาท 

2. อุปกรณ์ป้องกันและฆ่าเชื้อสำหรับครอบครัวที่มีเด็กและยากจน สำหรับครอบครัวที่มีเด็กหรือผู้ป่วยที่ต้องทำ Home Isolation ทนการไปอยู่ที่ศูนย์พักคอย ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หน้ากากอนามัยและน้ำยาทำความสะอาด ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละบ้าน จำนวน 25 ครอบครัว ครอบครัวละ 240 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

*หมายเหตุ*
ข้อมูลนี้ปรับไปตามแผนของทางพื้นที่ เนื่องจากจำนวนศูนย์พักคอยลดลงเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนซึ่งต้องเตรียมตัวในการเปิดเรียน จึงมีการปรับให้เป็นการทำ Home Isolation ที่บ้านแทน

ความคืบหน้าการดำเนินงานดูแลเด็กๆ ในศูนย์พักคอย พื้นที่สังขละบุรี

6 December 2021

    ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรีมีการจัดตั้งศูนย์พักคอยจำนวน 6 แห่ง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่จากชุมชนต่างๆ ได้แก่ ศูนย์พักคอยบ้านพระเจดีย์สามองค์, ศูนย์พักคอยบ้านซองกาเรีย, ศูนย์พักคอยบ้านเวียคะดี้, ศูนย์พักคอยบ้านใหม่พัฒนา, ศูนย์พักคอยโรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี, และ โรงพยาบาลสนาม (คริสเตียน) โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อภายในศูนย์เฉลี่ย 20-30 คน และยังพบปัญหาขาดบุคลากรในการดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอย เนื่องจากในพื้นที่สังขละบุรีมีจำนวนสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างน้อย ไม่เคยประสบกับสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้มาก่อน ทำให้การรับมือกับจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากเป็นไปอย่างยากลำบาก ทางโครงการจึงได้สนับสนุนให้มีอาสาสมัคร เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ติดเชื้อ ตลอดจนทำกิจกรรมกับเด็กในศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชนและเด็ก โดยมีกิจกรรมภายใต้โครงการ ดังนี้

  • ในช่วงเดือนกันยายนที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โครงการได้จัดจ้างอาสาสมัคร จำนวน 8 คน เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลเด็กในศูนย์พักคอย 5 แห่ง และโรงพยาบาลสนาม 1 แห่ง โดยมูลนิธิวันสกายได้ดำเนินการอบรมอาสาสมัครในการดูแลและทำกิจกรรมกับเด็กเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 และเมื่อทางภาครัฐประกาศให้มีการปิดศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามทั้ง 6 แห่ง โครงการจึงได้ปรับกิจกรรมให้อาสาสมัครเหล่านี้ประสานงานกับภาครัฐเกี่ยวกับข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงในพื้นที่และลงไปตามชุมชนเพื่อสำรวจครอบครัวที่มีเด็กและส่งมอบถุงยังชีพเด็กให้กับครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนจนถึงปัจจุบัน
  • ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 ทางโครงการได้ดำเนินการส่งมอบขนม นม หนังสือนิทาน สีและของเล่นให้กับศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนามทั้ง 6 แห่ง โดยเฉลี่ยตามจำนวนเด็กและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ จนกระทั่งมีคำสั่งให้ปิดศูนย์พักคอยทุกแห่งในวันที่ 31 ตุลาคม 2564

  • เจ้าหน้าที่อาสาสมัครของโครงการทำกิจกรรมสันทนาการให้กับเด็กผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอย ในช่วงวันที่ 11-15 ตุลาคม 2564 ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด – 19 และการดูแลตัวเอง รวมถึงกิจกรรมให้ความสนุกสนานเพื่อคลายความเครียดให้กับเด็กที่ต้องแยกจากครอบครัว คลายความกังวลจากสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ลดความคิดถึงที่มีต่อครอบครัวและสามารถอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่นได้ในศูนย์พักคอย

  • เจ้าหน้าที่มูลนิธิและอาสาสมัครโครงการลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับครอบครัวที่มีเด็ก โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อและเด็กจำเป็นต้องกักตัวภายในบ้านเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง รวมถึงมีการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กเป็นระยะและพาเด็กไปตรวจหาเชื้อเมื่อกักตัวครบกำหนด โดยประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลของผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงและเริ่มมอบถุงยังชีพให้กับครอบครัวเป้าหมายโดยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564 จนถึงปัจจุบัน

    ตามนโยบายของส่วนกลางในการคลายมาตรการต่างๆ ในพื้นที่และสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มดีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ศูนย์พักคอยทั้ง 6 แห่ง ถูกปิดตัวลงในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 โดยให้มีการรักษาภายในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามกรณีผู้ป่วยหนัก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ให้ทำการรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) และมีกำหนดให้โรงเรียนในพื้นที่เปิดภาคเรียนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ทางโครงการจึงปรับแผนไปตามมาตรการของภาครัฐ โดยมีกิจกรรม ดังนี้

  • สนับสนุนผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในการดูแลเด็กนักเรียนเมื่อมีการเปิดภาคเรียนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยส่งมอบให้กับโรงเรียน 13 แห่ง ในระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2564

  • อาสาสมัครโครงการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องทำ Home Isolation ที่บ้าน เพื่อมอบถุงยังชีพ ขนมและนมให้กับครอบครัวที่มีเด็ก ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการมาตลอดตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงปัจจุบันก็ยังดำเนินการอยู่เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อและผู้มีความเสี่ยงสูงทุกวัน

  • อาสาสมัครโครงการลงพื้นที่ชุมชนให้ความรู้เกี่ยวกับโควิด – 19 กับครอบครัวที่ยังไม่ติดเชื้อ โดยมี 3 หัวข้อหลักในการให้ความรู้กับชุมชน คือ
    1. การป้องกันไม่ให้เด็กติดเชื้อเมื่ออยู่ที่บ้าน การใช้ชีวิตในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องไปโรงเรียน
    2. ข้อควรปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ เมื่อมีเด็กหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ป่วยและแนวทางในการทำ Home Isolation
    3. ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด – 19 และแนวทางการปฏิบัติตัว
    ซึ่งกิจกรรมให้ความรู้กับชุมชนนี้มีแผนจะเริ่มดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม 2564 ทั้งนี้ อยู่ในระหว่างการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผ่อนปรนให้โครงการสามารถเข้าทำกิจกรรมภายในชุมชนได้

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยโรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยบ้านพระเจดีย์สามองค์

สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยเวียคะดี้

 สนับสนุนนมกล่องและขนมให้กับศูนย์พักคอยบ้านใหม่พัฒนา

 กิจกรรมอบรมอาสาสมัครของโครงการที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในศูนย์พักคอยและการติดตามช่วยเหลือผู้กักตัวและผู้ทำ Home Isolations


มอบขนม นมและถุงยังชีพสำหรับเด็กให้กับครอบครัวที่มีเด็กติดเชื้อและทำ Home Isolation ที่บ้าน โดยอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นที่ไม่ติดเชื้อแต่ต้องกักตัวในบ้านเดียวกัน

อาสาสมัครโครงการนำเด็กที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสนามคริสเตียน ทำกิจกรรมให้ความรู้ในการ ป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19

อาสาสมัครโครงการให้เด็กที่พักรักษาตัวในศูนย์พักคอยอนุบาลสังขละบุรีทำกิจกรรมวาดภาพ ระบายสี โดยใช้สีที่ทางโครงการไปมอบให้ พร้อมทั้งจัดมุมของเล่นให้เด็กๆ ได้เล่นและพักผ่อนเพื่อคลายความเครียด

เสียงจากผู้รับประโยชน์

เด็กชายเวคิน อายุ 11 ปี 
สถานการณ์
เด็กเป็นผู้ติดเชื้อ แต่ทำ Home Isolation ที่บ้าน โดยอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัวที่ต้องกักตัว เนื่องจากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ไม่มีรายได้เนื่องจากไม่สามารถออกไปทำงานได้
ความช่วยเหลือที่ได้รับ ถุงยังชีพสำหรับผู้ใหญ่และถุงยังชีพสำหรับเด็ก
ความรู้สึกเมื่อได้รับความช่วยเหลือ รู้สึกดีใจมาก เนื่องจาก อาหารที่มีอยู่กำลังจะหมดและไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ

เด็กหญิงรัศมี เด็กหญิงสุวิมล เด็กชายสุเมธ
สถานการณ์ พ่อและแม่เป็นผู้ติดเชื้อและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม แต่เด็กยังตรวจไม่พบเชื้อ จึงทำให้ต้องกักตัวในบ้านในฐานะผู้มีความเสี่ยงสูง

ความช่วยเหลือที่ได้รับจากโครงการ
1. ถุงยังชีพสำหรับเด็ก รวมถึงข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมัน
2. เด็กชายสุเมธ อายุ 6 ปี ทางมูลนิธิวันสกายรับมาดูแลที่สำนักงาน เนื่องจาก พี่สาวตรวจพบเชื้อและเข้ารักษาตัวที่ศูนย์พักคอย ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิวันสกายดูแล แต่ก็กักตัวอยู่ภายในห้อง เนื่องจากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง
3. อำนวยความสะดวกพาเด็กไปตรวจหาเชื้อรอบสองในระหว่างกักตัว

ความรู้สึกเมื่อได้รับความช่วยเหลือ ดีใจที่ได้รับความช่วยเหลือ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดให้ความช่วยเหลือ ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือ ก็จะลำบากมากเนื่องจาก เด็กยังเล็ก พ่อ แม่และพี่สาวที่เป็นเสาหลักให้ครอบครัวติดเชื้อหมด

Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดทำถุงยังชีพเด็ก ประกอบด้วย นมกล่อง/ขนม สำหรับเด็กที่ต้องอยู่ลำพังที่บ้าน สำหรับ 14 วัน (ระยะเวลาในการรักษาตัวของพ่อแม่) ชุดละ 100 บาท 200 ชุด 20,000.00
2 ค่าจัดทำมุมของเล่นในศูนย์พักคอย ศูนย์ละ 2000 บาท จัดซื้อหนังสือนิทาน หนังสืออ่านเล่น ของเล่น อุปกรณ์กีฬา(ที่เหมาะสมกับเด็กผู้ป่วย) 8 ศูนย์ 16,000.00
3 ค่าอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เช่น สมุดภาพระบายสี ปูนปลาสเตอร์ ของรางวัลให้กับเด็ก เป็นต้น ศูนย์ละ 2000 บาท สำหรับทำกิจกรรมตลอด 3 เดือน 8 ศูนย์ 16,000.00
4 ค่านมผงและของใช้จำเป็น เช่น ผ้าอ้อม ฯลฯ ในการดูแลเด็กเล็กที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เป็นเวลา 14 วัน (ช่วงเวลาที่พ่อแม่เข้ารับการรักษาตัว) 20 คน 6,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
58,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
5,800.00

ยอดระดมทุน
63,800.00