project ผู้พิการและผู้ป่วย

เย็บ ลด กดทับ-ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อผู้ป่วยติดเตียงบนดอย

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400 ผืน

Duration 01 ม.ค. 2566 ถึง 01 มิ.ย. 2566 Area ระบุพื้นที่: จังหวัดเชียงราย

Current donation amount

87,211 THB

Target

396,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 22%
จำนวนผู้บริจาค 159

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียง

3 April 2024

โครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงยากไร้ ได้เข้าถึงและมีที่นอนป้องกันแผลกดทับใช้ ทดแทนที่นอนป้องกันแผลกดทับไฟฟ้าแบบเป่าลมที่มีราคาสูง อีกทั้งยังเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริง

ขณะนี้โครงการได้จัดทำการผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับไปแล้ว เป็นจำนวน 60 ผืน โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาจิตอาสา ปี 2 คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 คน เป็นผู้เย็บที่นอนฯ โดยนักศึกษาฯ ใช้เวลาเย็บในช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา และทั้งนี้นักศึกษาจิตอาสาฯ จะยังคงทำการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับต่อไปให้แล้วเสร็จ

สำหรับที่นอนป้องกันแผลกดทับจำนวน 60 ผืน ที่เย็บเสร็จแล้วนั้น มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ( ป่วยให้ยืม@ติดดอย ) ได้ทำการส่งมอบให้กับ รพ.สต. แม่ยาว จำนวน 50 ผืน และ ผู้ญาติป่วยติดเตียงที่ติดต่อเข้ามาขอรับโดยตรง ทั้งในพื้นที่ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สรวย อีกจำนวน 9 ผืน และอีก 1 ผืน เก็บไว้เป็นตัวอย่างเพื่อการเผยแพร่ความรู้กับกลุ่ม อสม. ในจังหวัดเชียงราย

และจากสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ ยังคงมีผู้ป่วยฯ ที่มีความต้องการใช้ที่อนป้องกันแผลกดทับ อีกจำนวนมาก มูลนิธิฯ จะยังคงทำระดมทุน/ทรัพยากรในการผลิตและทำการเย็บที่นอนฯ เพื่อส่งต่อให้กับ รพ.สต.ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการในครั้งนี้

  • ความสนใจและความร่วมมือจากภาคประชาชน ทำให้เกิดจิตอาสาในพื้นที่เพิ่มขึ้น 
  • ได้รับความสนใจจากหน่วยงานท้องถิ่นนอกพื้นที่เป้าหมาย เข้าขอรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในพื้นที่
  • ผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ มีสภาพแผลฯ ที่ดีขึ้น และไม่เกิดแผลกดทับใหม่ขึ้นอีก ที่นอนมีการระบายอากาศได้ดี ดูแลง่าย ผู้ป่วยหลับสบายพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ยาว อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย40 คนภาวะแผลกดทับที่เกิดขึ้นจากเดิมมีสภาพแผลที่ดีขึ้น มีการระบายอากาศอับชื้นได้ดี ไม่เกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Read more »
See all project updates

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400 ผืน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400ผืน

พื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย มีจำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน 38 บ้านบริวาร ประชากรราว 9,353 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ และในทุกครัวเรือนมีผู้สูงอายุอาศัยร่วมอยู่ด้วย จากการสำรวจของมูลนิธิกระจกเงาเชียงรายพบว่าผู้สูงอายุในหลายครัวเรือนป่วยติดเตียง ซ้ำผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็เป็นผู้สูงอายุที่ขาดความเข้าใจในการบริบาลผู้ป่วย 

นอกจากนี้การพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและการใช้บริการสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ยาก เพราะพื้นที่ตำบลแม่ยาวเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับพื้นที่ราบและตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำกก ทำให้การคมนาคมยากลำบาก บางครอบครัวลูกหลานต้องออกจากงานเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ขาดรายได้ ไม่มีทุนทรัพย์ในการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพราะอุปกรณ์การแพทย์ราคาสูงและบางอย่างไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียง โดยให้ชาวบ้านมาช่วยกันพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับทำให้ผู้จำนวน 400 ผืน เฉลี่ยต้นทุนผืนละ 900 บาท 

ข้อดีของที่นอนแผลกดทับนี้

1.ทำจากผ้า ทำให้ระบายลมได้ดี 

2.ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ด้านในทำจากถุงยางอนามัยใส่น้ำ แทนการเป่าลมที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่กำลังทรัพย์น้อย

3.การซ่อมบำรุงสามารถทำได้เอง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. จัดอบรบและสาธิตวิธีการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับจิตอาสาจำนวน 20คน ที่มีทักษะด้านการเย็บ เพื่อนำผ้าไปเย็บขึ้นรูปที่นอน

2. จัดกิจกรรมอบรมให้องค์ความรู้ในการบริบาลลดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้กับอาสาสมัครชุมชนและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย และร่วมกันทำที่นอนฯ ด้วยถุงยางอนามัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยติดเตียงมีที่นอนป้องกันแผลกดทับที่สามารถใช้งานได้จริงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ลดภาวะการเกิดแผลกดทับ

2. องค์กรท้องถิ่น อาสาสมัครชุมชนและญาติผู้ป่วย มีการรวมกลุ่ม/หนุนเสริมอย่างมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบริบาลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนของตน

3.อาสาสมัครชุมชน/ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีองค์ความรู้ในการดูแลบริบาลผู้ป่วยอย่างถูกวิธิและเข้าใจ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาววิมรรุ่ง บุพศิริ (หัวหน้าฝ่ายงาน ป่วยให้ยืม@ติดดอย)


มอบที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียง

3 April 2024

โครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงยากไร้ ได้เข้าถึงและมีที่นอนป้องกันแผลกดทับใช้ ทดแทนที่นอนป้องกันแผลกดทับไฟฟ้าแบบเป่าลมที่มีราคาสูง อีกทั้งยังเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริง

ขณะนี้โครงการได้จัดทำการผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับไปแล้ว เป็นจำนวน 60 ผืน โดยได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาจิตอาสา ปี 2 คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 คน เป็นผู้เย็บที่นอนฯ โดยนักศึกษาฯ ใช้เวลาเย็บในช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา และทั้งนี้นักศึกษาจิตอาสาฯ จะยังคงทำการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับต่อไปให้แล้วเสร็จ

สำหรับที่นอนป้องกันแผลกดทับจำนวน 60 ผืน ที่เย็บเสร็จแล้วนั้น มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย ( ป่วยให้ยืม@ติดดอย ) ได้ทำการส่งมอบให้กับ รพ.สต. แม่ยาว จำนวน 50 ผืน และ ผู้ญาติป่วยติดเตียงที่ติดต่อเข้ามาขอรับโดยตรง ทั้งในพื้นที่ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สรวย อีกจำนวน 9 ผืน และอีก 1 ผืน เก็บไว้เป็นตัวอย่างเพื่อการเผยแพร่ความรู้กับกลุ่ม อสม. ในจังหวัดเชียงราย

และจากสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ ยังคงมีผู้ป่วยฯ ที่มีความต้องการใช้ที่อนป้องกันแผลกดทับ อีกจำนวนมาก มูลนิธิฯ จะยังคงทำระดมทุน/ทรัพยากรในการผลิตและทำการเย็บที่นอนฯ เพื่อส่งต่อให้กับ รพ.สต.ในพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

สิ่งที่ได้รับจากการทำโครงการในครั้งนี้

  • ความสนใจและความร่วมมือจากภาคประชาชน ทำให้เกิดจิตอาสาในพื้นที่เพิ่มขึ้น 
  • ได้รับความสนใจจากหน่วยงานท้องถิ่นนอกพื้นที่เป้าหมาย เข้าขอรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ และ อสม. ในพื้นที่
  • ผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ มีสภาพแผลฯ ที่ดีขึ้น และไม่เกิดแผลกดทับใหม่ขึ้นอีก ที่นอนมีการระบายอากาศได้ดี ดูแลง่าย ผู้ป่วยหลับสบายพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่ยาว อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย40 คนภาวะแผลกดทับที่เกิดขึ้นจากเดิมมีสภาพแผลที่ดีขึ้น มีการระบายอากาศอับชื้นได้ดี ไม่เกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยติดเตียงรายใหม่
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม






Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับ ต้นทุนการผลิตผืนละ 900 บาท 400ผืน 360,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
360,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
36,000.00

ยอดระดมทุน
396,000.00