project เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย

“อยู่เพื่อยิ้ม” ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์กิจกรรมศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง

การเดิน ใส่รองเท้า ติดกระดุมด้วยสองมือของเราอาจเป็นชีวิตธรรมดา แต่นั่นเป็นเรื่องพิเศษที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ โครงการ อยู่เพื่อยิ้ม Survive to Smile ตั้งใจอยากให้เรื่องธรรมดาแสนพิเศษนี้เกิดขึ้นกับน้องๆ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง จึงเปิดระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์กิจกรรมบำบัดเพื่อนำมาใช้ในการฝึกฝนน้องๆ ที่ต้องการการดูแลพิเศษให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปอย่างปกติ และยิ้มได้กับการได้ทำอะไรด้วยตัวเอง

Duration 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 Area ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

Current donation amount

2,278,843 THB

Target

2,266,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 3,856

สำเร็จแล้ว

Project updates

มูลนิธิโรงพยาบาลเด็กจัดซื้ออุปกรณ์และให้บริการทางกายภาพบำบัด

22 March 2023
หลังจากปิดรับระดมทุน ทางโครงการ“อยู่เพื่อยิ้ม” ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์กิจกรรมศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง ได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์และให้บริการทางกายภาพบำบัด ดังนี้
  1. ซื้อครุภัณฑ์ประเมินและฝึกการทรงตัว 2 รายการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติส่งผลต่อการทรงตัว ทำให้ยืนเองไม่ได้ หรือเดินแล้วล้มง่าย ชื่อรายการ เครื่องฝึกการทรงตัว พร้อมอุปกรณ์ช่วยยกผู้ป่วยจากท่านั่งสู่ท่ายืน พร้อมซอร์ฟแวร์ในการฝึก เพื่อฝึกผู้ป่วยที่ยังยืนเองไม่ได้ (Balo) จำนวน 1 เครื่อง วันที่รับ 31 ส.ค. 2565 จำนวนเงิน 800,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 40 ครั้ง  
  2. ซื้อเครื่องช่วยพยุงเดิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินวิธีการเดิน เพิ่มศักยภาพของ สมองในการสั่งการเดินแบบอัตโนมัติ (reflex walking) เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อในการเดินและทรงตัว ชื่อรายการ lite gait วันที่รับ 28 ส.ค. 2565 จำนวนเงิน 800,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 100 ครั้ง  
  3. ซื้ออุปกรณ์ฝึกยืนสำหรับเด็กเล็กแบบปรับตามสัดส่วนของร่างกาย วันที่รับ 1 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 212,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแรงกดและแรงดึงต่อลำตัว แขนและขา เพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อของเด็กที่ยืนเองไม่ได้เติบโตใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 120 ครั้ง  

คลินิกกิจกรรมบำบัด 

  1. ซื้อโต๊ะปรับระดับไฟฟ้าสำหรับเด็กสมองพิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพิ่มใช้ฝึกเด็กสมองพิการในฝึกการทำกิจกรรมต่างๆ ฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ และกิจวัตรประจำวัน ชื่อรายการ โต๊ะปรับระดับไฟฟ้าสำหรับเด็กสมองพิการจำนวน 2 ตัว วันที่รับ 28 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 118,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 30 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการที่ใช้งานจำนวน 100 คน  
  2. ซื้ออุปกรณ์ตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ เพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อมือ และความคล่องแคล่วของมือ ชื่อรายการ อุปกรณ์ตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ จำนวน 1 ชุด วันที่รับ 15 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 241,800 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 30 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการที่ใช้งานจำนวน 40 คน    
  3. เครื่องประเมินความผิดปกติของฝ่าเท้าและการลงน้ำหนัก (Podoscope) จำนวนเงิน 25,000 บาท รับ 24 ก.ค. 2565 ผลลัพธ์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566 มีผู้มารับบริการ 12 คน  
  4. เครื่องวัดระดับความสมดุลของสะโพก (Pelvic level) จำนวนเงิน 9,600 บาท รับ 11 ก.ค. 2565 ผลลัพธ์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566 มีผู้มารับบริการ 13 คน 


Read more »
See all project updates

ปัญหา

จากการสำรวจเมื่อปี 2560 พบว่าไทยมีผู้พิการมากกว่า 2.8 ล้านคน มากกว่า 24% เริ่มพิการตั้งแต่เด็ก ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตของพวกเขาต้องเผชิญกับความท้าทายและเข้าถึงโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไป ยังไม่ต้องพูดถึงการได้เข้าสู่ระบบการศึกษา หรือการได้มีอาชีพมั่นคง และในกรณีของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและสมองนั้น แค่การได้ใช้ชีวิตปกติอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันก็เป็นเรื่องยากแล้ว ตั้งแต่การยืน เดิน ขึ้นบันได ไปถึงกิจกรรมธรรมดาอย่างการติดกระดุมเสื้อ หรือการใส่รองเท้า

แต่ไม่ได้หมายความว่าเราทำอะไรกับปัญหานี้ไม่ได้ จากรายงานประจำปี 2560 ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับแผนกเวชศาสร์ฟื้นฟูมากกว่า 1 หมื่นคน และกว่า 70% เป็นกลุ่มที่ต้องการการพัฒนาด้านระบบประสาท ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ หากผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะแรกเริ่มในวัยเด็กอย่างถูกต้อง ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสม พวกเขาอาจสามารถพัฒนาและเข้าสู่สภาวะปกติได้ นำไปสู่โอกาสในการใช้ชีวิตปกติในสังคมและการมีคุณภาพชีวิตที่พวกเขาและครอบครัวสมควรได้รับ


วิธีการแก้ไข

โดยการจัดระดมทุนในครั้งนี้ ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตั้งใจเพิ่มเติมอุปกรณ์การรักษาและพัฒนาการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัสด้วยแนวทางกิจกรรมบำบัดให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เน้นเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมให้กับผู้เข้ารับการรักษา และเน้นการส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการรักษาทำกิจกรรมที่มีความหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพและคุณค่าในตนเอง ซึ่งรายการอุปกรณ์ที่ต้องการระดมทุนผ่านเว็บไซต์เทใจมีดังต่อไปนี้

1. Multi-sensory environments ชุดกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เพื่อช่วยกระตุ้นทักษะของเด็กที่มีปัญหาบกพร่องทางพัฒนาการ

2. Interactive carpets ชุดฝึกกระตุ้นการเคลื่อนไหว การคลาน และการเอื้อมแขน ในทิศทางต่างๆ ตามแสงและเสียง เมื่อกดลงบนพรม เปิดโอกาสให้เด็กได้รับรู้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การสื่อสาร สหสัมพันธ์ของตาและมือ ช่วยการลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

3. ชุดอุปกรณ์การตรวจ ประเมินและฝึกทาง กิจกรรมบำบัด สำหรับ การเคลื่อนไหวแขวน และมือ

4. อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน ชนิดมีล้อลาก (Gait trainer) ขนาดกลาง

กรณีตัวอย่างของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวและสมองที่เข้ารับการรักษาและมีพัฒนาการที่ดี


กรณีที่ 1: สรณัฐ บุญโสดากรณ์ (น้องณัฐ) อายุ 7 ปี 8 เดือน

น้องณัฐมีประวัติคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ เป็นแฝดคนที่ 2 น้ำหนักแรกเกิด 1,520 กรัม มีอาการติดเชื้อและขาดอากาศ เริ่มทำกายภาพบำบัดเมื่ออายุ 7 เดือน ในขณะนั้นน้องมีอาการพลิกคว่ำไม่ได้ มีพัฒนาการเท่ากับเด็กอายุ 2 เดือน น้องณัฐผ่านการรักษาด้วยกระบวนการและอุปกรณ์หลากหลาย ตั้งแต่การทำกายภาพบำบัดวอยต้า (Vojta therapy) เคยฉีดยาลดเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง ใส่กายอุปกรณ์พยุงข้อเท้าทั้งสองข้าง ได้รับการผ่าตัดเอ็นกล้ามเนื้อข้อเท้า ต้นขาด้านใน และต้นขาด้านหลังบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง จนปัจจุบันสามารถยืน ทรงตัวได้ เดินได้ 150 ก้าว ไม่ล้ม สามารถเดินเลี้ยวโค้งและหยุดเดินเองได้


กรณีที่ 2: เด็กหญิงอัญชิตา (น้องอัญชัน) อายุ 3 ปี 7 เดือน

น้องอัญชันเป็นบุตรคนที่ 1 ที่คลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิด 2,153 กรัม หลังคลอดมีภาวะหยุดหายใจ 4 นาที เมื่อน้องอายุได้ 2 ปี 2 เดือนได้เริ่มเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด ปัจจุบันมีอาการเกร็งที่ขาทั้งสองข้าง เดินได้ประมาณ 15 ก้าว (ไม่มั่นคง) ยืนทรงตัวนิ่งได้น้อยกว่า 1 นาที

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

อยู่เพื่อยิ้ม Survive to Smile มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างความพร้อมในการให้บริการกับเด็กๆ ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง ให้สามารถเปิดประตูสู่ชีวิตชีวิตปกติได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

1. เชิญชวนประชาชนผู้สนใจให้เป็นผู้บริจาคเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือการแพทย์เพื่อนำไปใช้ดูแลรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง โดยระยะแรกมุ่งเน้นที่อุปกรณ์สำหรับกลุ่มงานกิจกรรมบำบัด แล้วจึงขยายผลเป็นส่วนงานอื่นต่อไป

2. เมื่อระดมทุนสำเร็จแล้ว นำยอดเงินที่ได้รับไปจัดซื้ออุปกรณ์ตามรายการที่ระบุเอาไว้ และนำไปใช้ในขั้นตอนการรักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีต่อไป

ของตอบแทน

พิเศษสำหรับการบริจาค 1,500 บาทขึ้นไป ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 15 กันยายน 2565 มูลนิธิโรงพยาบาลเด็กมีของที่ระลึกเป็นพวงกุญแจและกระเป๋ามอบให้ตอบแทนค่ะ

โดยของที่ระลึกจะเริ่มจัดส่ง 19 กันยายน 2565

**หลังจากที่บริจาคเสร็จแล้ว แจ้งชื่อที่อยู่รับของที่ระลึก ได้ที่หน้าขอบคุณค่ะ

เจ้าของโครงการ


  • งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ

มูลนิธิโรงพยาบาลเด็กจัดซื้ออุปกรณ์และให้บริการทางกายภาพบำบัด

22 March 2023

หลังจากปิดรับระดมทุน ทางโครงการ“อยู่เพื่อยิ้ม” ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์กิจกรรมศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษด้านเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวและสมอง ได้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์และให้บริการทางกายภาพบำบัด ดังนี้
  1. ซื้อครุภัณฑ์ประเมินและฝึกการทรงตัว 2 รายการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติส่งผลต่อการทรงตัว ทำให้ยืนเองไม่ได้ หรือเดินแล้วล้มง่าย ชื่อรายการ เครื่องฝึกการทรงตัว พร้อมอุปกรณ์ช่วยยกผู้ป่วยจากท่านั่งสู่ท่ายืน พร้อมซอร์ฟแวร์ในการฝึก เพื่อฝึกผู้ป่วยที่ยังยืนเองไม่ได้ (Balo) จำนวน 1 เครื่อง วันที่รับ 31 ส.ค. 2565 จำนวนเงิน 800,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 40 ครั้ง  
  2. ซื้อเครื่องช่วยพยุงเดิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินวิธีการเดิน เพิ่มศักยภาพของ สมองในการสั่งการเดินแบบอัตโนมัติ (reflex walking) เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อในการเดินและทรงตัว ชื่อรายการ lite gait วันที่รับ 28 ส.ค. 2565 จำนวนเงิน 800,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 100 ครั้ง  
  3. ซื้ออุปกรณ์ฝึกยืนสำหรับเด็กเล็กแบบปรับตามสัดส่วนของร่างกาย วันที่รับ 1 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 212,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแรงกดและแรงดึงต่อลำตัว แขนและขา เพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อของเด็กที่ยืนเองไม่ได้เติบโตใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 31 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการ 120 ครั้ง  

คลินิกกิจกรรมบำบัด 

  1. ซื้อโต๊ะปรับระดับไฟฟ้าสำหรับเด็กสมองพิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพิ่มใช้ฝึกเด็กสมองพิการในฝึกการทำกิจกรรมต่างๆ ฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ และกิจวัตรประจำวัน ชื่อรายการ โต๊ะปรับระดับไฟฟ้าสำหรับเด็กสมองพิการจำนวน 2 ตัว วันที่รับ 28 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 118,000 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 30 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการที่ใช้งานจำนวน 100 คน  
  2. ซื้ออุปกรณ์ตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ เพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อมือ และความคล่องแคล่วของมือ ชื่อรายการ อุปกรณ์ตรวจประเมินและฝึกทางกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินความสามารถในการใช้นิ้วมือและมืออย่างเป็นระบบ จำนวน 1 ชุด วันที่รับ 15 ก.ย. 2565 จำนวนเงิน 241,800 บาท ซึ่งผลลัพธ์คือ ณ วันที่ 30 ม.ค. 2566 มีผู้มารับบริการที่ใช้งานจำนวน 40 คน    
  3. เครื่องประเมินความผิดปกติของฝ่าเท้าและการลงน้ำหนัก (Podoscope) จำนวนเงิน 25,000 บาท รับ 24 ก.ค. 2565 ผลลัพธ์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566 มีผู้มารับบริการ 12 คน  
  4. เครื่องวัดระดับความสมดุลของสะโพก (Pelvic level) จำนวนเงิน 9,600 บาท รับ 11 ก.ค. 2565 ผลลัพธ์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2566 มีผู้มารับบริการ 13 คน 


Budget plan

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 Multi-sensory environments ชุดกระตุ้นการรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เพื่อช่วยกระตุ้นทักษะของเด็กที่มีปัญหาบกพร่องทางพัฒนาการ 1 เครื่อง 1,000,000
2 Interactive carpets ชุดฝึกกระตุ้นการเคลื่อนไหว การคลาน และการเอื้อมแขน ในทิศทางต่างๆ ตามแสงและเสียง เมื่อกดลงบนพรม เปิดโอกาสให้เด็กได้รับรู้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การสื่อสาร สหสัมพันธ์ของตาและมือ ช่วยการลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 1 เครื่อง 400,000
3 ชุดอุปกรณ์การตรวจ ประเมินและฝึกทาง กิจกรรมบำบัด สำหรับ การเคลื่อนไหวแขวน และมือ 1 เครื่อง 180,000
4 อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน ชนิดมีล้อลาก (Gait trainer) ขนาดกลาง 3 เครื่อง 480,000
รวมเป็นเงินทั้งหมด
2,060,000 บาท
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
206,000 บาท

ยอดระดมทุน
2,266,000 บาท