project สัตว์

เลนส์อนุรักษ์

เปลี่ยนนักล่า ให้มาเป็นนักอนุรักษ์ เปลี่ยนจากการล่อสัตว์ป่าออกมาเพื่อฆ่าหรือขาย ให้มาเป็นดูหรือถ่ายรูปแทน ด้วยการสร้างบังไพรที่มีมาตรฐาน นำช่างภาพจากทั่วโลกมาถ่ายรูปเชิงอนุรักษ์ เพื่อที่ลูกหลานของเรา จะต้องไม่ได้เห็นสัตว์ป่า นก สัตว์น้ำเหล่านี้จากในรูปถ่ายเท่านั้น...

Duration 18 เดือน Area ป่าไม้และท้องทะเลในประเทศไทย 9 แห่ง

Current donation amount

26,489 THB

Target

150,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 18%
จำนวนผู้บริจาค 19

สำเร็จแล้ว

Project updates

สำรวจป่าแก่งกระจาน เตรียมความพร้อมทำที่บังไพรที่มีมาตรฐาน

7 November 2017

หลังจากที่โครงการได้เริ่มเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างนั้นทีมงานเลนส์อนุรักษ์ได้รุดทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การลงพื้นที่เข้าสำรวจป่า หาที่สร้างบัง เพื่อดูว่ามาตรฐานบังไพรของไทยเป็นอย่างไร

รวมทั้งขอความร่วมมือกับทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพื่อทำสื่อสร้างสรรค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นถึงความสำคัญในอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า

อีกด้านเรายังพูดคุยกับโรงเรียนในพื้นที่เพื่อสอนเด็กๆให้เป็นไกด์ท่องเที่ยวที่ไม่รบกวนสัตว์ป่าในอนาคต รวมถึงชวนเด็กๆ ทดลองเป็นนักท่องเที่ยวและถ่ายรูปแบบไม่รบกวนสัตว์ป่า 

เราจึงขอนำภาพมาฝากกันค่ะ


หารือกับหัวหน้ามานะ เพิ่มพูน ที่ให้คำปรึกษาแก่โครงการเลนส์อนุรักษ์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นไปได้จริง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยที่ทุกภาคส่วนมีความสุขในอนาคต

ตลอดจนการสนับสนุนพื้นที่ร่วมกัน ให้เกิดการท่องเที่ยวถ่ายรูปเพื่อร่วมรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า นก ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และสัตว์น้ำ ในอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ในอนาคต

แบกกล้องสำรวจป่าแก่งกระจาน

ประเมินสถานที่ที่โครงการจะสามารถช่วยเหลือให้งบประมาณตามจริง โดยการ “ปรับปรุงพัฒนา” หรือ “สร้างใหม่” ไม่ว่าจะเป็น บ่อ บังไพร หรือในบริเวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกในโครงการ และสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวชุมชนถ่ายรูปสร้างสรรค์บนพื้นฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ช่วยให้เกิดรายได้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม


ทดลองให้เด็กๆได้เป็นนักท่องเที่ยวอนุรักษ์

พูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำงานและชวนเป็นสมาชิกโครงการเลนส์อนุรักษ์

นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมอีกมากมายค่ะ 

ท่านใดที่ต้องการติดตามเราอย่างใกล้ชิด หรือ ร่วมเป็นสมาชิกของเรา ติดต่อเราได้ที่ Facebook : lensanurak

และเราจะนำความคืบหน้ามาฝากอีกค่ะ

Read more »
See all project updates

ช่างภาพจากทั่วโลกมากมาย ยอมจ่ายเงินค่าทริปถ่ายภาพในราคาสูง เพียงเพื่อได้ถ่ายรูปนกที่เป็นสัตว์ป่าหายากในท้องถิ่น เช่น เคนย่าที่ชาวบ้านมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการจัดทริป ซาฟารี ดูแลนักท่องเที่ยวให้อยู่ในโฮมสเตย์ หรือบังกะโล ทานอาหารท้องถิ่น ขึ้นรถกระบะ ไปตามดูยีราฟ เสือ ม้าลาย ที่อยู่ตามธรรมชาติ 

เยลโล่สโตนทำได้ ประเทศไทยก็น่าจะทำได้เช่นกัน หากพวกเราช่วยกัน สร้างรายได้ให้ชาวบ้านจากการปกป้องสัตว์ป่าสัตว์น้ำอย่างถูกวิธี

คุณทราบไหมว่า ประเทศไทยเราก็ไม่น้อยหน้าที่ใดในโลก

เรามีนกหายากอย่างน้อย 12 สายพันธุ์

เรามีทะเลที่อุดมสมบูรณ์ติดอันดับท้อปเท็นของโลก ปะการังของเราสวยมาก จนทำให้นักดำน้ำจากทั่วโลก ต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเพื่อกระโดดน้ำลงไปดูสิมิลันของเรา 

กลุ่มเลนส์อนุรักษ์ จึงเกิดขึ้น เพื่อเปลี่ยนนักล่าให้เป็นนักอนุรักษ์

กลุ่มเลนส์อนุรักษ์ จะเปลี่ยนนักล่าเป็นนักอนุรักษ์ได้อย่างไร

  • ทีมงานที่เป็นนักถ่ายภาพ จะเชิญนักถ่ายภาพจากทั่วโลกให้มาถ่ายภาพสัตว์ที่เมืองไทย
  • ร่วมอนุรักษ์สัตว์หากยาก ด้วยการสร้างบังไพรที่มีการออกแบบร่วมกันระหว่างชาวบ้านและช่างภาพ
  • สนับสนุน และให้ความรู้กับชาวบ้าน จากดักจับสัตว์ เปลี่ยนเป็นดักนักท่องเที่ยว พานักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปแทน

ดร. โชคชัย “บ๊อกซ์” เลี้ยงสุขสันต์และทีมงานที่เป็นนักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น จะทำหน้าที่เชื้อเชิญนักถ่ายภาพจากทั่วโลกให้มาถ่ายภาพสัตว์ที่เมืองไทย พร้อมกับการอนุรักษ์สัตว์หายาก ด้วยการดำเนินกิจกรรมสร้างบังไพรที่มีการออกแบบร่วมกันระหว่างชาวบ้านและช่างภาพ

เพราะชาวบ้านท้องถิ่นเท่านั้นที่รู้จักพฤติกรรมของสัตว์น้ำ รู้จักกิ่งไม้ที่นกจะมาเกาะรังนกที่นกเลี้ยงดูฟูมฟักลูกนก ดงปะการังที่เต็มเป็นด้วยฝูงปลา ลักษณะการว่ายทวนน้ำของฝูงปลาเพื่อรอดักจับ

เราต้องสนับสนุน ส่งเสริม หรือสอน ให้ความรู้ชาวบ้านต่างหาก แทนที่จะไปดักจับ ไปดักถ่ายรูปพานักท่องเที่ยวไปซุ่มดูฝูงปลา น่าจะทำรายได้พอๆกันกับการจับหรือล่าสัตว์เหล่านั้น และยังได้อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ทำลายระบบนิเวศน์อีกด้วย





กลุ่ม “เลนส์อนุรักษ์” ยังมองหาสมาชิกที่มีความรู้ด้านการถ่ายภาพ มีใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก ธรรมชาติ มีความเสียสละ มีทั้งองค์ความรู้ และอยากสอน อยากให้ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละสถานที่ที่เราจะไปช่วยสอน ช่วยไกด์ แนะนำหรือหาแนวทาง หรือประสานงานกับท้องถิ่น สร้างบังไพรให้แก่ท้องถิ่น เพราะเราเชื่อว่า มีผู้คนมากมายอยากจะช่วยงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตรงนี้ไม่ มากก็น้อย เพียงแต่ไม่มีผู้นำหรือคนที่ลงมือทำจริงๆ เราในฐานะนักวิชาการยินดีจะให้ความรู้ พยายามทำความเข้าใจ และช่วยหาหนทางใดทางหนึ่งที่จะให้สิ่งที่เราตั้งใจนั้นมีความเป็นไปได้จริง 

สัตว์ป่า ก็มีชีวิต มีครอบครัว มีระบบนิเวศน์ มีวงจรการล่าที่สมบูรณ์เกื้อกูลกันอยู่ เมื่อสัตว์บางชนิดหายไปไม่อยู่ในพื้นที่ ก็จะทำให้ระบบนิเวศทุกอย่างเสียสูญไปหมด

ดังนั้นเราจะไม่รอให้ทุกอย่างสายเกินไป อยากให้มาช่วยกัน เพื่อลูกหลานของเราจะต้องไม่ได้เห็นสัตว์ป่าสัตว์น้ำเหล่านี้จากรูปถ่ายเท่านั้น...

การดำเนินโครงการ

เราตั้งใจทำโครงการนี้ 18 เดือนใน 9 พื้นที่

  1. สอนชาวบ้าน เพื่อให้รู้วิธีการสร้างบังไพร หรือองค์ความรู้ที่จะมีรายได้อย่างยั่งยืน ชาวบ้านจะได้รับความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติทุกประเภท และเราจะหาทางนำเสนอ วิธีการสร้างรายได้รูปแบบใหม่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เราไป
  2. สร้างหรือปรับปรุงบังไพรพื้นที่ละ 1 แห่ง

เราจะทำการอัพเดตโครงการทุกเดือน ยังไงฝากติดตามความคืบหน้าของโครงการเราได้ตลอด หรือสมัครเข้ามาเป็นวิทยากร หรือช่วยโครงการด้านอื่นๆ หรือแค่ช่วยประชาสัมพันธ์ก็ได้ค่ะ

ฝากติดตามผลงาน หรือรูปอัพเดตของโครงการเลนส์อนุรักษ์ได้ที่ Facebook Fanpage: www.facebook.com/lensanurak

หมายเหตุ เบื้องต้นเราจะเริ่มระดมทุนทำ 4 พื้นที่ก่อน จากนั้นเมื่อระดมได้ครบเราจะเปิดเพิ่มเพื่อดำเนินการให้ครบ 9 พื้นที่

พื้นที่ดูนก

  1. แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 
  2. ปากบารา จ.สตูล
  3. ดอยลาง ดอยสันจุ๊ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

พื้นที่สัตว์น้ำ

  1. ปากบารา จ.สตูล

พื้นที่ดูสัตว์ป่า

  1. กุยบุรี
  2. ฮาราบารา จ.นราธิวาส

สำหรับอีกสองพื้นที่อยู่ระหว่างการคัดเลือก

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เราจะช่วยเผยแพร่รูปสัตว์ป่า นก สัตว์น้ำ ปะการัง ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามในประเทศไทย กระตุ้นให้ชาวต่างชาติสนใจมาถ่ายรูปธรรมชาติในประเทศไทย ชาวบ้านจะได้มีรายได้จากการต้อนรับ หรือดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อยอดให้กับการท่องเที่ยวไทย และควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  2. ศึกษาหาหนทาง ตลอดจนวิธีการที่จะสอนและแนะนำให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยที่ไม่ต้องเบียดเบียนสัตว์ป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติ และหันกลับมาอนุรักษ์ปกป้องผืนดินถิ่นที่อยู่ หวงแหน ชี้ให้เห็นคุณค่าถึงทรัพยากรที่เรามี ประเทศไทยสวยงามมากจริงๆ ถ้าเราช่วยกันอนุรักษ์ ดูแล ด้วยความรักในแผ่นดิน

สมาชิกภายในทีม


ดร. โชคชัย “บ๊อกซ์” เลี้ยงสุขสันต์ Dr. Chokchai Leangsuksun (Box) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง SWEPCO Endowed Professor รองศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัย หลุยเซียร์น่าเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในอดีตที่ผ่านมา ดร. บ๊อกซ์ ได้เริ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกา และแคนนาดา รวมถึงเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่นักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยเพื่อเป็นวิทยาทานใน 6-7 ปี ที่ผ่านมา ดร. บ๊อกซ์ ได้ค้นพบตัวเองมากขึ้นจากการถ่ายภาพธรรมชาติและสัตว์ป่าที่หายากและสวยงาม ทำให้คิดได้ว่าจริงๆ แล้ว สุขหรือทุกข์ นั้นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง

ในปัจจุบันนี้ ดร. บ๊อกซ์ได้ค้นพบแล้วว่าตัวเขาเองสามารถมีความสุขได้ในทุกครั้งที่ได้บันทึกภาพที่งดงามของธรรมชาติหลายปีที่ผ่านมาผลงานของดร. บ๊อกซ์ เผยแพร่ในหลากหลายรูปแบบ มีผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น วารสารและเว็บไซต์ รวมไปถึงรางวัลเกียรติยศระดับสูงจากวารสาร Nature Best และ เป็นหนึ่งในร้อยภาพที่ดีที่สุดในปี 2015 และ 2016 ของการประกวดภาพถ่ายของสมาคม National Audubon จากภาพที่ร่วมประกวดกว่าหนึ่งหมื่นภาพของบรรดานักถ่ายภาพมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ผลงานของ ดร. บ๊อกซ์เองยังได้จัดแสดงที่ Louisiana Tech Art Gallery และ ห้องแสดงภาพส่วนตัวอีกมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ติดตามดร.บ๊อก ได้ที่ Facebook Fanpage “naibox” ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับแบ่งปัน และพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่เขาทำร่วมกับแม่วัย 81 ปี ของเขาในประเทศไทย หรือจาก Instragram “naibox”



CHITRALADA S. (YING) ทำ...ตามคำพ่อสอน

"การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ เป็นของดีมีประโยชน์ ขออย่าได้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนานหรือความสวยงามเท่านั้น จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคมให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง"

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแสดงไว้ ณ the first annual bangkok art & photography event 2007

 www.facebook.com/yingchitralada

สำรวจป่าแก่งกระจาน เตรียมความพร้อมทำที่บังไพรที่มีมาตรฐาน

7 November 2017

หลังจากที่โครงการได้เริ่มเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอม ระหว่างนั้นทีมงานเลนส์อนุรักษ์ได้รุดทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การลงพื้นที่เข้าสำรวจป่า หาที่สร้างบัง เพื่อดูว่ามาตรฐานบังไพรของไทยเป็นอย่างไร

รวมทั้งขอความร่วมมือกับทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพื่อทำสื่อสร้างสรรค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นถึงความสำคัญในอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า

อีกด้านเรายังพูดคุยกับโรงเรียนในพื้นที่เพื่อสอนเด็กๆให้เป็นไกด์ท่องเที่ยวที่ไม่รบกวนสัตว์ป่าในอนาคต รวมถึงชวนเด็กๆ ทดลองเป็นนักท่องเที่ยวและถ่ายรูปแบบไม่รบกวนสัตว์ป่า 

เราจึงขอนำภาพมาฝากกันค่ะ


หารือกับหัวหน้ามานะ เพิ่มพูน ที่ให้คำปรึกษาแก่โครงการเลนส์อนุรักษ์เพื่อการดำเนินงานที่เป็นไปได้จริง ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยที่ทุกภาคส่วนมีความสุขในอนาคต

ตลอดจนการสนับสนุนพื้นที่ร่วมกัน ให้เกิดการท่องเที่ยวถ่ายรูปเพื่อร่วมรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า นก ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และสัตว์น้ำ ในอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ในอนาคต

แบกกล้องสำรวจป่าแก่งกระจาน

ประเมินสถานที่ที่โครงการจะสามารถช่วยเหลือให้งบประมาณตามจริง โดยการ “ปรับปรุงพัฒนา” หรือ “สร้างใหม่” ไม่ว่าจะเป็น บ่อ บังไพร หรือในบริเวณ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกในโครงการ และสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวชุมชนถ่ายรูปสร้างสรรค์บนพื้นฐานการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ช่วยให้เกิดรายได้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม


ทดลองให้เด็กๆได้เป็นนักท่องเที่ยวอนุรักษ์

พูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อสร้างความร่วมมือในการทำงานและชวนเป็นสมาชิกโครงการเลนส์อนุรักษ์

นอกจากนี้เรายังมีกิจกรรมอีกมากมายค่ะ 

ท่านใดที่ต้องการติดตามเราอย่างใกล้ชิด หรือ ร่วมเป็นสมาชิกของเรา ติดต่อเราได้ที่ Facebook : lensanurak

และเราจะนำความคืบหน้ามาฝากอีกค่ะ

Budget plan


รายละเอียดจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1.ค่าสื่อการสอนและค่าวิทยากร รวม 500 บาทต่อชุดต่อการสอนชาวบ้าน 1 คน สอนพื้นที่ละ 50 คน 9 พื้นที่
แบ่งออกเป็น
250 บาท ค่าวิทยากร
100 บาท ค่าสื่อการสอน
150 บาท ค่าอาหาร
และค่าเดินทาง


450 ชุด


225,000

2. ค่าสร้างบังไพร พื้นที่ละ 50,000 บาท9 พื้นที่450,000
รวมเป็นเงิน
675,000 บาท

หมายเหตุ เบื้องต้นเราจะเริ่มระดมทุนทำ 2 พื้นที่ก่อน ประมาณ 150,000 บาท จากนั้นเมื่อระดมได้ครบเราจะเปิดเพิ่มเพื่อดำเนินการให้ครบ 9 พื้นที่