project Covid-19 เด็กและเยาวชน

Give for Child Fight COVID-19 เทใจให้เด็กชายแดนใต้ เพื่อชีวิตที่สดใส หลังโควิดหมดไป

เยียวยาและฟื้นฟู 300 ครอบครัวทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้มีชีวิตที่สดใส ด้วยการมอบอุปกรณ์การเรียน, ทุนการศึกษาให้เด็กยากไร้ ถุงยังชีพและทุนส่งเสริมอาชีพระยะสั้นสำหรับให้ครอบครัวที่ยากไร้ได้มีชีวิตที่สดใส หลังโควิดหมดไป

Duration ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 – 31 สิงหาคม 2563 ระยะเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน Area 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา)

Current donation amount

620,181 THB

Target

1,062,600 THB
ดำเนินการไปแล้ว 58%
จำนวนผู้บริจาค 239

สำเร็จแล้ว

Project updates

มอบถุงยังชีพให้ครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อนจากโควิด19 ใน จ.ยะลา 50 ครอบครัว

22 August 2022

วันที่ 14 -17 สิงหาคม 2595 เวลา 09.00-15.00 น. สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม พมจ.ยะลา ได้ลงพื้นที่ ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และ และเทศบาลตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อมอบถุงยังชีพแก่ครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด19 จำนวนทั้งหมด 50 ชุด/ครอบครัว ซึ่งข้างในถุงบรรจุด้วยของต่อไปนี้

  1. ข้าวสาร จำนวน 5 กิโลกรัม
  2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 10 ห่อ
  3. ปลากระป๋อง จำนวน 10 กระป๋อง
  4. ผงซักฟอก จำนวน 1 ถุง
  5. ไมโล ชนิดผง จำนวน 1 ถุง
  6. ชุดข้าวยำ 1 ชุด (ประกอบด้วย บูดูข้าวยำ ปลาป่น มะพร้าวคั่ว)
  7. ซองเงินจำนวน 500 บาท

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นแก่ครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กกำพร้าแต่ยังมีญาติที่สูงอายุอยู่ด้วยกัน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แม่เลี้ยงเดี่ยว และครอบครัวที่ตกงานยังหางานทำไมได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน บางครอบครัวเพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด หลังจากที่ต้องพักรักษาตัวหลายวันทำให้มีสุขภาพย่ำแย่ต่อเนื่อง และยังไม่สามารถออกไปทำงานได้อย่างปกติ เด็กบางคนจบม.6แล้วไม่ได้เรียนต่อ เนื่องจากต้นทุนชีวิตมีไม่มากพอสำหรับการเรียนหนังสือในห้องเรียน หลายๆคนต้องออกไปรับจ้างเพื่อเลี้ยงปากท้องคนที่บ้าน บางคนมีหนี้สินจากการกู้ยืมเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือและต่อทุนขายของ เพื่อหวังกำไรเลี้ยงครอบครัว ด้วยเศรษฐกิจในปัจจุบันกำไรจากการขายของวันต่อวันจึงไม่เพียงพอสำหรับแลกกับปัจจัยในการเลี้ยงชีพต่างๆ ส่งผลให้หัวหน้าครอบครัวหลายๆครอบครัว เดินทางไปรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย (แต่ร้านอาหารที่ประเทศมาเลเซียก็ยังเปิดได้บางส่วน ทำให้งานมีจำนวนจำกัดสำหรับบคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น) เพื่อส่งเงินให้คนที่บ้านมีกินมีใช้ เด็กๆหลายคนในหมู่บ้านที่ต้องกำพร้าพ่อแม่ ในช่วงที่โควิด 19 กำลังระบาด เด็กๆหลายมีความรู้สึกอยากอยู่คนเดียว ไม่ค่อยอยากไปเจอเพื่อน และมีความรู้สึกเครียดหาทางออกในชีวิตไม่ได้ตลอดเวลา เด็กๆหลายคนหนีหน้าไม่ออกมาเจอพี่ๆ การลงพื้นที่มอบของให้ความช่วยเหลือครั้งนี้พี่ ๆ ได้พบปะพูดคุยทั้งผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ พมจ.ได้ประเมินความช่วยเหลือต่างๆเบื้องต้นเช่น ซ่อมแซมบ้าน สร้างห้องน้ำ เป็นต้น

ท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ เด็กบางคนขาดผู้ดูแลทำให้บางครอบครัวต้องพาเด็กออกไปทำงานด้วย ซึ่งบางครั้งสถานที่ทำงานก็ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เช่น งานเก็บขวดขาย งานเสิร์ฟอาหาร งานก่อสร้าง งานตัดต้นไม้ งานปีนต้นไม้เก็บผลผลิตต่างๆ เป็นต้น นี่เป็นเพียงบางส่วนของความเดือดร้อนที่ได้ยินจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ การเดินทางลงพื้นที่ในวันนี้ทำให้ทีมงานทุกคนรู้สึกประทับใจ ที่สามารถสร้างรอบยิ้มและความประทับจากจากคนในชุมชนได้

สัมภาษณ์ผู้ได้รับถุงยังชีพ


นางสาวนาปีซะห์ สาแม (ชื่อเล่นซะห์) อายุ 28 ปี มีลูก 3 คน คนโตอายุ 5 ขวบ (พิการเดินไม่ได้) คนที่ 2 อายุ 3 ขวบ คนที่ 3 อายุ 7 เดือน อาศัยอยู่กันตามลำพังที่กระท่อมหลังเล็กๆที่ปลูกแยกจากบ้านพ่อแม่ ซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่อยู่กันหลายคน ซะห์บอกว่าตนไม่ได้ทำงาน แต่งงานมาก็มีลูกเลย จนลูก3 คน ก็ยังไม่เคยทำงาน ซ้ำลูกคนโตพิการเดินไม่ได้ ทำให้ต้องอยู่กับลูกตลอด พ่อแม่ตนลำบากมีลูกหลายคน พอลูกๆเริ่มโตเป็นสาวก็ให้แต่งงานเพื่อหวังให้สามีเลี้ยงดูจะได้แบ่งเบาภาระค้าใช้จ่ายในบ้าน ปัจจุบันสามี อายุ 30 ปี เป็นไรเดอร์ส่งอาหารที่ภูเก็ต 3-4 เดือนถึงจะกลับมาเยี่ยมตนและลูกสักครั้ง จากการพูดคุยซะห์เล่าว่าตนเป็นห่วงเรื่องการเรียนของลูกเพราะลูกคนกลางยังไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนแถมยังไม่มีมอเตอร์ไซด์ไว้ขับไปส่งลูกที่โรงเรียน มอเตอร์ไซด์ที่เคยมี สามีก็นำไปขับส่งอาหารที่ภูเก็ต วันนี้ดีใจมากๆที่กลุ่มลูกเหรียงมาเยี่ยมมามอบของและมอบเงิน เป็นบุญของลูกๆที่จะได้กินขนมอร่อยๆในเย็นวันนี้


นางสาวยามีหล๊ะ บือแน (กะละห์) เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวตั้งแต่ลูกคนเล็กอายุ ได้ 7 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับลูกสาว ส่วนลูกชายเป็นทหารเกณฑ์ประจำที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กะละห์เล่าว่าตนและลูกๆลำบากมากๆ ไม่มีบ้านอยู่ อาศัยกระท่อมเล็กๆที่พี่สะใภ้สร้างให้ เมื่อก่อนมีอาชีพรับจ้างกรีดยางพอได้ส่งเสียลูกสาวเรียนจบม.3 ได้ แต่ปัจจุบันนี้ร่างกายไม่แข็งแรงกล้ามเนื้อแขนและมือ ไม่แข็งแรงไม่สามารถทำงานได้ อาศัยเบี้ยเลี้ยงจากลูกชายและเบี้ยผู้พิการไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนลูกสาวเรียนจบม.6 อยากเรียนต่อแต่ยังไม่มีโอกาส ปัจจุบันลูกสาวรับจ้างทั่วไปในหมู่บ้าน เช่นงานทั่วไปในร้านก๋วยเตี๋ยวและปลูกผักสวนครัวไว้ขายในร้านน้ำชาในหมู่บ้าน วันนี้ดีใจมากๆที่กลุ่มลูกเหรียงมาเยี่ยมมามอบของ รู้สึกมีกำลังใจที่ได้เห็นคนนอกพื้นที่มาเยี่ยม ขอบคุณผู้สนับสนุนทุกคนที่ส่งความห่วงใยมาให้ในครั้งนี้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมครั้งนี้

ภาพบรรยากาศการมอบถุงยังชีพ



Read more »
See all project updates

เด็กๆ และผู้ปกครองที่ยากไร้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่าหลัง COVID หมดไป จะมีชีวิตอยู่ต่อได้อย่างไร เด็กๆ จะมีเงินไปโรงเรียนไหม พ่อแม่จะมีข้าวสารหุงให้ลูกทานก่อนไปโรงเรียนหรือเปล่า สุขภาวะของพวกเขาจะเป็นอย่างไร การฟื้นฟูเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและการฟื้นตัวหลังวิกฤตผ่านพ้นไปจะเป็นเช่นไร คงจะดีไม่น้อยถ้ามีมือหยิบยื่นมาช่วยเป็นมือบนแห่งการให้ “ให้หนึ่งน้ำใจของคุณ คือการให้” เพื่อเด็กชายแดนใต้และผู้ปกครองกว่า 300 ครัวเรือน ได้มีชีวิตที่สดใสหลัง COVID หมดไป 

3,000 บาทของคุณจะช่วยสนับสนุน ดังนี้ 1.ทุนการศึกษา 1,000 บาท  2.อุปกรณ์การเรียน 750 บาท 3.ถุงยังชีพ (ข้าวสารอาหารแห้ง) จำนวน 350 บาท และ 4.ทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพระยะสั้น เช่น การเพาะปลูกทางการเกษตร, พันธ์ุสัตว์, การทำขนมขาย จำนวน 900 บาท


สถานการณ์การติดเชื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีการติดเชื้อมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ จนทำให้ภาครัฐต้องประกาศมาตรการปิดจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด ตลอดจนออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส เช่น การห้ามเดินทางข้ามจังหวัด ปิดสถานประกอบการ ตลาด ห้างร้านต่าง ๆ โรงเรียน ตลอดจนสนามเด็กเล่นซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของเด็กและเยาวชน ส่งผลกระทบต่อวิถีความเป็นอยู่ การพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชน การประกอบอาชีพของประชาชนทำให้ขาดรายได้มาใช้จ่ายในครอบครัวเป็นจำนวนมาก เป็นต้น

การช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และพ่อแม่ผู้ปกครองในด้านต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะขณะเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงหลังเกิดวิกฤตดังกล่าว กล่าวคือ การฟื้นฟูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือระยะของการฟื้นตัวทางจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคมอีกด้วย ซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะหากการหมดไปของไวรัส COVID-19 ต้องหมดไปพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนอย่างที่เคยเป็นอยู่แล้ว ก็เท่ากับสังคมนี้ไม่ได้ทิ้งร่องรอยแห่งความช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้ผู้คนได้สร้างชีวิตใหม่เลยแม้แต่น้อย


ด้วยเหตุนี้ พวกเราเครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด หรือ PPS ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวนี้ จึงต้องการเยียวยาและฟื้นฟูภาวะของการมีชีวิตอยู่รอด คุณภาพชีวิตที่ดี ทุนการศึกษา ตลอดจนสุขภาวะที่ดีของเด็กและเยาวชน รวมถึงการสนับสนุนปัจจัยเลี้ยงชีพและส่งเสริมอาชีพระยะสั้นให้กับผู้ปกครอง ภายใต้ชื่อโครงการว่า “Give for Child Fight COVID-19 เทใจให้เด็กชายแดนใต้ เพื่อชีวิตที่สดใส หลังโควิดหมดไป !”

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนี้สามารถเสริมสร้างพลังทางจิตใจ การมีกำลังใจที่ดี ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงการส่งเสริมอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับผู้ปกครอง อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัวในอนาคตต่อไป


อนึ่ง เครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด หรือ PPS นั้น คือองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นองค์กรสร้างสรรค์สังคมสำหรับเด็กและเยาวชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2559 มีเครือข่ายสมาชิกที่เป็นนักกิจกรรมทางสังคมกระจายอยู่ทั่ว 3 จชต. ตลอดจนมีผลงานเชิงประจักษ์แก่สังคมมากมาย โดยยึดสโลแกนในการทำงานที่ว่า “พลังเยาวชน พลังอาสา พัฒนาบ้านเกิด ด้วยฝันสันติภาพชายแดนใต้”

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เด็กยากไร้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียนใหม่ ๆ และทุนการศึกษาสำหรับวันเปิดเทอมใหม่ในปีการศึกษา 2563 เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  2. ผู้ปกครองได้รับปัจจัยดำรงชีพ (ถุงยังชีพ) สำหรับบรรเทาความเดือดร้อน และได้รับทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพระยะสั้นเพื่อเสริมความมั่นคงส าหรับครัวเรือน เช่น การเพาะปลูก, การเลี้ยงสัตว์, การทำขนมพื้นบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมและลดรายจ่ายในครัวเรือน
  3. เกิดการฟื้นฟู เยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตในครัวเรือนของเด็กที่ผู้ปกครองได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้สามารถฟื้นตัวสร้างชีวิตที่ดีขึ้นหลังภาวะวิกฤต

สมาชิกภายในทีม

  • นายอับดุลปาตะ ยูโซะ ประธานเครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด
  • นายศุภมินทร์ สะมะโด รองประธานฝ่ายบริหาร
  • นายอิลฟาน สะอิ รองประธานจังหวัดยะลา
  • นางสาวนูรมาฮีซาน วานิ รองประธานจังหวัดปัตตานี
  • นายมาหามะเฟาซาน ซาจิ รองประธานจังหวัดนราธิวาส

ภาคี

  • สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข 
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) / ผู้นำท้องที่ (กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน)
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ในพื้นที่ 3 จชต.

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่
Facebook fanpage : เครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด – PPS  


เริ่มการสำรวจพื้นที่ ครอบครัวเด็กยากไร้ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

15 December 2020

จากการเปิดระดมทุนจากน้ำใจของคนไทยทั่วประเทศผ่านเทใจดอทคอม เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูครอบครัวเด็กยากไร้จำนวน 300 ครอบครัว ซึ่งครอบคลุมทั้ง 33 อำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา) ได้มีชีวิตที่สดใสหลังโควิด-19 หมดไป โดยแบ่งเป็นจังหวัดละ 100 ครอบครัว ตามโครงการ “Give for Child Fight COVID-19 เทใจให้เด็กชายแดนใต้ เพื่อชีวิตที่สดใส หลังโควิดหมดไป” ซึ่งได้เริ่มเปิดระดมทุนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น

PPS ได้เดินเท้าเข้าไปในชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทั้ง จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ครอบคลุมทั้ง 33 อำเภอ เพื่อค้นหาและสำรวจครอบครัวเด็กยากไร้ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

เป็นระยะเวลา 4 เดือนเต็มๆ ที่คณะทำงานเครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด หรือ PPS ที่พวกเราทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเวลาส่วนตัว เพียงเพื่อต้องการเติมเต็มพลังแห่งการให้ ต้องการที่จะดูแลความรู้สึกทางจิตใจ และยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวเด็กยากไร้ ให้พวกเขาได้เปลี่ยนผ่านจากระยะวิกฤติ สู่ระยะฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งผลพวงจากช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ครอบครัวเด็กเหล่านี้อยู่กันด้วยความยากลำบากมาก

ซึ่งจากการลงพื้นที่ของพวกเรานั้น เราไปพบเจอกับ “ครอบครัวเด็กยากไร้” ที่ ...

  • เป็นเด็กกำพร้า พี่น้องหลายคน พ่อแม่สูญเสียจากสถานการณ์ความไม่สงบ 
  • ไม่มีไฟฟ้าใช้ในบ้าน กลับจากโรงเรียน หากจะทำการบ้าน ต้องรีบทำก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน
  • ครอบครัวตกงาน จากพิษ Covid-19
  • กำพร้าพ่อ แม่ต้องไปทำงานที่มาเลเซีย ลูกอาศัยอยู่ตามลำพัง บางครั้งไข่ต้ม 1 ฟอง แบ่งกินกัน 3 พี่น้อง
  • มีลูกอยู่หลายคน ต้องให้สลับกันไปโรงเรียน เพราะไม่มีเงินพอสำหรับให้ลูกไปโรงเรียน
  • มีบ้านหลังเล็กๆ ผุพัง รอวันพังทลายลง ที่สำคัญไม่มีห้องน้ำใช้

และอีกหลายๆ ครอบครัว ที่เราไปเจอที่สร้างความหดหู่แก่พวกเราเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างพลังให้พวกเราไม่น้อนเลยทีเดียว  

ทั้งนี้การบริจาคที่ได้รับการสนับสนุนจากน้ำใจของคนไทยทั่วประเทศผ่านเทใจดอทคอม ช่วยส่งผลให้เป็นเหมือนพลังและกำลังใจสำคัญ ที่จะทำให้ครอบครัวเด็กๆ ยากไร้เหล่านี้มีสภาพจิตใจ สุขภาวะที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้หมดไปจากสังคมไทย โดยหลังจากนี้ทาง PPS จะได้เริ่มดำเนินการส่งมอบความช่วยเหลือเหล่านี้ สู่มือครอบครัวเด็กยากไร้ดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือนต่อไป

PPS ต้องขอขอบคุณผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่เป็นส่วนหนึ่งในการบริจาคเงินเพื่อส่งต่อความสุขและรอยยิ้มสู่ครอบครัวเด็กยากไร้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ในครั้งนี้ด้วย

ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจ



มอบของใช้จำเป็น และทุนการศึกษาให้ครอบครัวเด็กยากไร้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

22 December 2020

จากการเปิดระดมทุนจากน้ำใจของคนไทยทั่วประเทศผ่านเว็บไซต์เทใจดอทคอม ทำให้เราได้ยอดเงินบริจาคจำนวนทั้งสิ้น 278,546 บาท คิดเป็นเพียง 26% ของยอดเงินที่ตั้งเป้าไว้ พร้อมนี้ เราได้รับบริจาคสนับสนุนโดยตรงผ่านบัญชีธนาคารของเครือข่ายฯ จากสมาคมชาวปัตตานีจำนวน 300,000 บาท และจากบริษัท ฟิลิปเวน (ประเทศไทย) จำกัด อีกจำนวน 60,000 บาท รวมยอดเงินบริจาคที่เราได้รับในโครงการจำนวนทั้งสิ้น 638,546 บาท ทำให้เราไม่สามารถที่จะดำเนินการช่วยเหลือครอบครัวเด็กยากไร้ให้ครบ 300 ครัวเรือนตามจำนวนที่วางไว้ในโครงการได้

ทั้งนี้ เพื่อให้เพียงพอต่องบประมาณ จากการลงพื้นที่สำรวจนั้นเราได้พิจารณาคัดเลือกครอบครัวเด็กยากไร้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนทั้งสิ้นเพียง 188 ครัวเรือน แบ่งเป็น จ.ปัตตานี 88 ครัวเรือน จ.นราธิวาส 50 ครัวเรือน และ จ.ยะลา 50 ครัวเรือน ซึ่งทางเราได้ดำเนินการลงพื้นที่มอบของและทุนไปแล้วบางส่วนตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา

ภาพกิจกรรมลงพื้นที่มอบของ/ทุน



มอบถุงยังชีพให้ครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อนจากโควิด19 ใน จ.ยะลา 50 ครอบครัว

22 August 2022

วันที่ 14 -17 สิงหาคม 2595 เวลา 09.00-15.00 น. สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม พมจ.ยะลา ได้ลงพื้นที่ ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และ และเทศบาลตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อมอบถุงยังชีพแก่ครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ประสบความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด19 จำนวนทั้งหมด 50 ชุด/ครอบครัว ซึ่งข้างในถุงบรรจุด้วยของต่อไปนี้

  1. ข้าวสาร จำนวน 5 กิโลกรัม
  2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 10 ห่อ
  3. ปลากระป๋อง จำนวน 10 กระป๋อง
  4. ผงซักฟอก จำนวน 1 ถุง
  5. ไมโล ชนิดผง จำนวน 1 ถุง
  6. ชุดข้าวยำ 1 ชุด (ประกอบด้วย บูดูข้าวยำ ปลาป่น มะพร้าวคั่ว)
  7. ซองเงินจำนวน 500 บาท

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นแก่ครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น เด็กกำพร้าแต่ยังมีญาติที่สูงอายุอยู่ด้วยกัน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แม่เลี้ยงเดี่ยว และครอบครัวที่ตกงานยังหางานทำไมได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน บางครอบครัวเพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด หลังจากที่ต้องพักรักษาตัวหลายวันทำให้มีสุขภาพย่ำแย่ต่อเนื่อง และยังไม่สามารถออกไปทำงานได้อย่างปกติ เด็กบางคนจบม.6แล้วไม่ได้เรียนต่อ เนื่องจากต้นทุนชีวิตมีไม่มากพอสำหรับการเรียนหนังสือในห้องเรียน หลายๆคนต้องออกไปรับจ้างเพื่อเลี้ยงปากท้องคนที่บ้าน บางคนมีหนี้สินจากการกู้ยืมเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือและต่อทุนขายของ เพื่อหวังกำไรเลี้ยงครอบครัว ด้วยเศรษฐกิจในปัจจุบันกำไรจากการขายของวันต่อวันจึงไม่เพียงพอสำหรับแลกกับปัจจัยในการเลี้ยงชีพต่างๆ ส่งผลให้หัวหน้าครอบครัวหลายๆครอบครัว เดินทางไปรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย (แต่ร้านอาหารที่ประเทศมาเลเซียก็ยังเปิดได้บางส่วน ทำให้งานมีจำนวนจำกัดสำหรับบคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น) เพื่อส่งเงินให้คนที่บ้านมีกินมีใช้ เด็กๆหลายคนในหมู่บ้านที่ต้องกำพร้าพ่อแม่ ในช่วงที่โควิด 19 กำลังระบาด เด็กๆหลายมีความรู้สึกอยากอยู่คนเดียว ไม่ค่อยอยากไปเจอเพื่อน และมีความรู้สึกเครียดหาทางออกในชีวิตไม่ได้ตลอดเวลา เด็กๆหลายคนหนีหน้าไม่ออกมาเจอพี่ๆ การลงพื้นที่มอบของให้ความช่วยเหลือครั้งนี้พี่ ๆ ได้พบปะพูดคุยทั้งผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ พมจ.ได้ประเมินความช่วยเหลือต่างๆเบื้องต้นเช่น ซ่อมแซมบ้าน สร้างห้องน้ำ เป็นต้น

ท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ เด็กบางคนขาดผู้ดูแลทำให้บางครอบครัวต้องพาเด็กออกไปทำงานด้วย ซึ่งบางครั้งสถานที่ทำงานก็ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เช่น งานเก็บขวดขาย งานเสิร์ฟอาหาร งานก่อสร้าง งานตัดต้นไม้ งานปีนต้นไม้เก็บผลผลิตต่างๆ เป็นต้น นี่เป็นเพียงบางส่วนของความเดือดร้อนที่ได้ยินจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ การเดินทางลงพื้นที่ในวันนี้ทำให้ทีมงานทุกคนรู้สึกประทับใจ ที่สามารถสร้างรอบยิ้มและความประทับจากจากคนในชุมชนได้

สัมภาษณ์ผู้ได้รับถุงยังชีพ


นางสาวนาปีซะห์ สาแม (ชื่อเล่นซะห์) อายุ 28 ปี มีลูก 3 คน คนโตอายุ 5 ขวบ (พิการเดินไม่ได้) คนที่ 2 อายุ 3 ขวบ คนที่ 3 อายุ 7 เดือน อาศัยอยู่กันตามลำพังที่กระท่อมหลังเล็กๆที่ปลูกแยกจากบ้านพ่อแม่ ซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่อยู่กันหลายคน ซะห์บอกว่าตนไม่ได้ทำงาน แต่งงานมาก็มีลูกเลย จนลูก3 คน ก็ยังไม่เคยทำงาน ซ้ำลูกคนโตพิการเดินไม่ได้ ทำให้ต้องอยู่กับลูกตลอด พ่อแม่ตนลำบากมีลูกหลายคน พอลูกๆเริ่มโตเป็นสาวก็ให้แต่งงานเพื่อหวังให้สามีเลี้ยงดูจะได้แบ่งเบาภาระค้าใช้จ่ายในบ้าน ปัจจุบันสามี อายุ 30 ปี เป็นไรเดอร์ส่งอาหารที่ภูเก็ต 3-4 เดือนถึงจะกลับมาเยี่ยมตนและลูกสักครั้ง จากการพูดคุยซะห์เล่าว่าตนเป็นห่วงเรื่องการเรียนของลูกเพราะลูกคนกลางยังไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนแถมยังไม่มีมอเตอร์ไซด์ไว้ขับไปส่งลูกที่โรงเรียน มอเตอร์ไซด์ที่เคยมี สามีก็นำไปขับส่งอาหารที่ภูเก็ต วันนี้ดีใจมากๆที่กลุ่มลูกเหรียงมาเยี่ยมมามอบของและมอบเงิน เป็นบุญของลูกๆที่จะได้กินขนมอร่อยๆในเย็นวันนี้


นางสาวยามีหล๊ะ บือแน (กะละห์) เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวตั้งแต่ลูกคนเล็กอายุ ได้ 7 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับลูกสาว ส่วนลูกชายเป็นทหารเกณฑ์ประจำที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กะละห์เล่าว่าตนและลูกๆลำบากมากๆ ไม่มีบ้านอยู่ อาศัยกระท่อมเล็กๆที่พี่สะใภ้สร้างให้ เมื่อก่อนมีอาชีพรับจ้างกรีดยางพอได้ส่งเสียลูกสาวเรียนจบม.3 ได้ แต่ปัจจุบันนี้ร่างกายไม่แข็งแรงกล้ามเนื้อแขนและมือ ไม่แข็งแรงไม่สามารถทำงานได้ อาศัยเบี้ยเลี้ยงจากลูกชายและเบี้ยผู้พิการไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนลูกสาวเรียนจบม.6 อยากเรียนต่อแต่ยังไม่มีโอกาส ปัจจุบันลูกสาวรับจ้างทั่วไปในหมู่บ้าน เช่นงานทั่วไปในร้านก๋วยเตี๋ยวและปลูกผักสวนครัวไว้ขายในร้านน้ำชาในหมู่บ้าน วันนี้ดีใจมากๆที่กลุ่มลูกเหรียงมาเยี่ยมมามอบของ รู้สึกมีกำลังใจที่ได้เห็นคนนอกพื้นที่มาเยี่ยม ขอบคุณผู้สนับสนุนทุกคนที่ส่งความห่วงใยมาให้ในครั้งนี้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมครั้งนี้

ภาพบรรยากาศการมอบถุงยังชีพ



Budget plan




รายการ
จำนวนเงิน
(บาท)
1ค่าปัจจัยทางการศึกษา เช่น อุปกรณ์การเรียน (เด็ก 300 คน คนละ 750 บาท)225,000
2ทุนเพื่อการศึกษา (เด็ก 300 คน คนละ 1,000 บาท)300,000
3ค่าถุงยังชีพ (300 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 350 บาท)105,000
4ค่าปัจจัยส่งเสริมอาชีพระยะสั้น (300 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 900 บาท)270,000
5ค่าบริหารโครงการ เช่น ค่าเดินทางลงพื้นที่สำรวจ (33 อำเภอ พื้นที่ละ 2,000 บาท)66,000
6ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10 %
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
96,600

รวม1,062,600

ความช่วยเหลือแต่ละครอบครัวเฉลี่ย 3,000 บาท