project กลุ่มคนเปราะบาง

Better Me เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เฟส2

ร่วมกันมอบโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะให้ผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา 10 คน ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีโอกาสในอนาคตมากขึ้น

Duration 5 เดือน Area bangkok

Current donation amount

59,567 THB

Target

59,300 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 2

สำเร็จแล้ว

Project updates

Better me ผู้หญิงขาดโอกาส 9 คน เรียนรู้จนจบหลักสูตร

30 October 2020

โครงการ Better Me เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เฟส 2 เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 17 คน แต่เนื่องจากผลกระทบโควิดมูลนิธิฯ หยุดการเรียนการสอนช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนทำให้จำนวนตัวเลขของนักเรียนลดลงเหลือ จำนวน 9 คน สาเหตุของนักเรียนที่หยุดพักการเรียนคือปัญหาการทำงานที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด นักเรียนบางคนต้องเพิ่มชั่วโมงในการทำงานจึงทำให้ไม่สามารถมาเรียนได้ดังเดิม นักเรียนบางส่วนมีรายได้น้อยลงและต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียนจึงทำให้ต้องยกเลิกการเรียนไป เป็นต้น

นักเรียนจำนวน 9 คนที่จบหลักสูตร Better Me 3 เดือนนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ นวดแผนโบราณ ดูแลผู้สูงอายุ แม่บ้าน และช่างทำผม ครึ่งนึงของนักเรียนเรียนจบระดับชั้นประถมศึกษา และบางส่วนที่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้น (การศึกษานอกโรงเรียน -กศน.) สาเหตุที่นักเรียนไม่ได้เรียนต่อเนื่องมาจากครอบครัวไม่สามารถส่งเสียให้เรียนในโรงเรียนได้ ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร นักเรียนเข้ามาหางานทำในกรุงเทพเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในช่วงอายุเฉลี่ย 14-19ปี ชั่วโมงการทำงานของนักเรียนอยู่ระหว่าง 46-65 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นักเรียนเป็นหลักในการทำงานหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ส่วนใหญ่รายงานว่ารายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและสาเหตุของการเข้าร่วมโครงการ Better Me เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าเดิม

โครงการ Better me แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 หลักสูตร ดังนี้

  1. การเรียนภาษาอังกฤษที่ทำการเรียนการสอนโดยอาสาสมัครชาวต่างชาติ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีพื้นฐานการเรียนภาษาอังกฤษมาก่อน บางคนมีทักษะการพูดและการฟังพื้นฐานจากการพูดคุยกับลูกค้า การเรียนการสอนเน้นความมั่นใจในการพูดและใช้ภาษาอังกฤษ มารยาทในการใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นต้น
  2. การอบรมพัฒนาตนเอง เป็นการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีการทำกิจกรรมเชิงกระบวนการเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแชร์ประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น และการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ การอบรมพัฒนาตนเอง แบ่งกิจกรรมออกเป็นหัวข้อดังนี้
    - การประเมินตนเอง
    - การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
    - แผนการในอนาคต
    - การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
    - การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
  3. เพื่อนคู่คิด เป็นกิจกรรมทางเลือกสำหรับนักเรียน คือการขอมีอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่จำนวน 1 คนเพื่อเป็นเพื่อนคู่คิด พูดคุย ปรับทุกข์ เป็นการส่วนตัว กิจกรรมนี้นักเรียนสามารถแจ้งกับทางมูลนิธิได้หากต้องการ

ภาพประกอบ

ตั้งใจเรียน

ผลงานของนักเรียนแต่ละคน

หลังจากนักเรียนเข้าร่วมโครงการครบ 3 เดือน นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • นักเรียนรายงานว่ามีความสุขกับชีวิตมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3 (ปานกลาง) เมื่อเทียบจบโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่ามีความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบันมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 2-4 (น้อยถึงมาก) เมื่อเทียบกับภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-5 (ปานกลางถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่าประสบความสำเร็จมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 1-3 (น้อยที่สุดถึงปานกลาง) ภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-4 (ปานกลางถึงมาก)
  • นักเรียนรายงานว่ารู้สึกว่าอนาคตของตนเองมีความมั่นคงมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 2-4 (น้อยถึงปานกลาง) ภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-5 (ปานกลางถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการมีประโยชน์ต่อนักเรียนด้วยคะแนน 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการมีความสนุกสนาน น่าสนใจ ด้วยคะแนน 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการทำให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง ด้วยคะแนน 4-5 (มากถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่ามีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ Better Me
  • นักเรียน 1 คนรายงานมีรายได้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ Better Me โดยแจ้งว่าพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษและการทำกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาตนเองมีส่วนช่วยทำให้ตนเองพัฒนาขึ้น นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น

จากการเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีความมั่นใจและมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีการพัฒนาทักษะทางด้านสังคม ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การทำกิจกรรมกลุ่ม การแชร์ประสบการณ์และการแสดงความคิดเห็นผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยวทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน ทักษะและความรู้ที่ได้รับเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

ความคิดเห็นของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการ

“กล้าแสดงออกและได้เจอเพื่อน ๆ ที่น่ารัก มีความมั่นใจมากขึ้น ภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้น อ่านออกเขียนได้มากขึ้นและได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น”

“เปลี่ยนเป็นคนมีวินัยมากขึ้น เป็นคนคิดบวกมากขึ้น ได้พบเจอเพื่อนหลาย ๆ คน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและได้รู้ภาษาอังกฤษที่ดีมากขึ้น เข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้นกว่าเดิม”

“ฉันขอขอบคุณมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีที่ทำให้ฉันได้พัฒนาตนเอง จากที่ไม่รู้จักการจัดการตัวเอง จากที่ใช้ภาษาไม่ได้ มูลนิธิทำให้ฉันมั่นใจในการใช้ภาษาและพัฒนาตัวเอง”

“ฉันได้มาเรียนภาษาอังกฤษที่มูลนิธิ ได้เพื่อนใหม่ ได้เจอคุณครู เจอพี่ ๆ น้อง ๆ ที่มูลนิธิ ได้คิดบวกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ได้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ได้ข้อคิดดี ๆ ต่าง ๆ ที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ใช้คำศัพท์ที่อาจารย์สอน มีความสุข สนุก และประทับใจมากค่ะ”

“ดิฉันอยากบอกว่ามาเรียนที่นี่ได้ความรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ในตอนแรกเขียนชื่อตัวเองยังไม่ได้ ในชั้นเรียนอาจารย์ก็สอนได้เข้าใจและสนุกมากไม่เครียด และเวลาทำกิจกรรมก็ได้ข้อคิดมากมายที่มีประโยชน์ รู้สึกเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ขอบอกว่ามูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีคือดีมากค่ะ!”

“ฉันอยากบอกกับทางมูลนิธิว่าขอบคุณมากสำหรับความรู้และประสบการณ์ ก้าวแรกที่ก้าวเข้ามาที่นี่ ฉันได้อะไรหลายอย่างจากที่นี่มาก ได้รู้จักตัวเอง สังคมข้างนอก และประสบการณ์อีกหลาย ๆ อย่าง ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ”

ความคิดเห็นของอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษ

นักเรียนแต่ละคนที่ทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งนักเรียนได้ให้ความสนใจและตั้งใจในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านนี้ของตนเอง นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนที่ดีและเป็นพื้นฐานต่อการเรียนที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต

มูลนิธิฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงตนเองของนักเรียน และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการมีชีวิตที่ดีและมีคุณภาพมากขึ้นในอนาคต

Read more »
See all project updates

 “ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดเก็บเงินไว้ที่ตัวเองเลย มีเท่าไหร่ ส่งให้ที่บ้านหมด ทุกบาททุกสตางค์ พอเราเจ็บป่วยหรือต้องการใช้เงิน เราไม่สามารถขอคืนมาจากที่บ้านได้ เราต้องหยิบยืมคนอื่น ที่มูลนิธิแนะนำให้เราแบ่งเก็บเพื่อที่จะมีใช้ยามฉุกเฉินและเพื่ออนาคตของเรา เรามีเป้าหมายมากขึ้น” นุ อายุ 26 ปี

“เคยคิดว่าถ้ามีลูก ก็จะให้ลูกมาทำอาชีพแม่บ้านเหมือนเรา พอมาเรียนที่มูลนิธิ เราคิดอยากให้ลูกมีการศึกษา มีความรู้และมีอนาคตที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ เรามีทางเลือกและช่องทางในการดำเนินชีวิตมากขึ้น” ดวง อายุ 22 ปี


“พี่ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด พี่ไม่เคยรู้เลยว่าพี่มีสิทธิได้หยุดงานอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ จนกระทั่งพี่มาทำกิจกรรมที่มูลนิธิ ที่นี่ทำให้เราสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่เราควรได้รับ”

เหล่านี้เป็น Feedback ของผู้หญิงที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการ Better Me ของมูลนิธิ

Better Me หลักสูตรพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เนื้อหากิจกรรมคลอบคลุมในการพัฒนาทักษะในหลายๆ ด้าน


ดังนั้นเราต้องการให้ผู้หญิงเหล่านี้มีความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงานได้เรียนรู้สิทธิด้านต่างๆ

สามารถวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น ได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เช่น การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ เป็นต้น มทักษะทางภาษาอังกฤษเพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ที่ดีกว่าเดิมเสริมสร้างความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง และการดำรงชีวิตมีเมนทอร์ที่ปรึกษาเป็นของตนเอง สำหรับพูดคุยเพื่อเสริมสร้างแรงบัลดาลใจ ให้กำลังใจและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น 

ใครได้รับประโยชน์ 

  • กลุ่มผู้หญิง อายุระหว่าง 18-50 ปีที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปออกจากโรงเรียนก่อนเวลาอันสมควร 
  • เป็นหลักในการรับภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัวเพียงลำพัง
  • เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
  • ส่วนใหญ่ทำงานในสายงานบริการเช่น พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน นวดแผนโบราณ พนักงานขาย


วิธีดำเนินกิจกรรม

  • กิจกรรมการเรียนรู้ใช้เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง หรือ 1 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน 
  • การให้คำปรึกษาจะมีระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อเดือนที่ผู้หญิงจะได้ใช้เวลาร่วมกับเมนทอร์หรือโค้ชของตนเอง 
  • กิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นภายในสำนักงานมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี ซอยสุขุมวิท 52 
  • ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. จัดกิจกรรมทันทีที่ครบกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างน้อย 10 คน ทีมงานจะเปิดเป็น 1 ห้องเรียน จนครบกำหนด 3 เดือน เป้าหมายโครงการต้องการสนับสนุนผู้หญิง จำนวน 120 คน ภายในระยะเวลา 1 ปี (2562)
  2. ทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเป้าหมาย


ผู้หญิงเหล่านี้จะได้รับประโยชน์อย่างไร   

  • มีความสุข มีความมั่นใจในตนเองและสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ในโอกาสต่อๆไป
  • มีทักษะทางการศึกษา ทักษะทางภาษา ทักษะทางสังคม เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
  • เป็นที่พึ่งให้กับครอบครัว โดยความรู้ที่ได้ สามารถนำไปสอนลูกและคนในครอบครัวอีกด้วย
  • มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ รายได้เพิ่มขึ้น มีเงื่อนไขในการทำงานที่ดีขึ้น
  • นายจ้างและสังคมจะมีผู้หญิงที่มีความรู้และศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
  • ไม่ตกเป็นเหยื่อของนายจ้างหรือมิจฉาชีพ
  • สามารถปกป้องสิทธิของตนเอง และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ในสังคมได้

สมาชิกภายในทีม 

นาวสาวสโรชินี อัญญเวชสัมฤทธิ์ (พี่เบียร์) พัฒนาหลักสูตรและวิทยากร 

นางสาวปนัดดา งามสมพล (พี่ปิ๋ม) ประสานงานโครงการและผู้ช่วยวิทยากร

นางสาวญาดา ช่วยชำแนก (พี่ญาดา) ประสานงานโครงการ

นางสาวพิกุล วาจาดี (พี่ดวง) ประสานงานโครงการ

ติดต่อทีมงาน staff@pratthanadee.org โทร 02 – 331 4731 มูลนิธิปิดทำการทุกวันศุกร์  

ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินกิจกรรมได้ที่ 

Facebook: https://www.facebook.com/Pratthanadee.Foundation/

Instagram: Pratthanadee 

Twitter: PratthanadeeOrg 

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC6Of-Gr8P0W-J24cZxDLNdA/featured

Website: https://pratthanadee.org/

เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

ผู้หญิง 17 คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเอง

1 July 2020

จัดกิจกรรม Self Assessment การพัฒนาตนเอง สำหรับผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้การเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผู้เข้าเรียนจะได้เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของตนเองในการเข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิปรารถนาดี ได้เรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง ให้สามารถเข้าใจว่าจุดอ่อน จุดแข็งนั้นๆ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการดำเนินชีวิต และสามารถระบุแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง รวมถึงสามารถวางแผนรูปแบบ วิธีการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการได้

ภาพกิจกรรม

นักเรียนเริ่มกิจกรรมวาดเป้าหมายของตัวเอง

นำเสนอผลงานกับภาพวาดของตนเอง

ผลงานของแต่ละท่าน

นักเรียนทั้ง 11 คน

ข้อคิดเห็นส่วนหนึ่งจากนักเรียน

Better me ผู้หญิงขาดโอกาส 9 คน เรียนรู้จนจบหลักสูตร

30 October 2020

โครงการ Better Me เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เฟส 2 เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 17 คน แต่เนื่องจากผลกระทบโควิดมูลนิธิฯ หยุดการเรียนการสอนช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนทำให้จำนวนตัวเลขของนักเรียนลดลงเหลือ จำนวน 9 คน สาเหตุของนักเรียนที่หยุดพักการเรียนคือปัญหาการทำงานที่สืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด นักเรียนบางคนต้องเพิ่มชั่วโมงในการทำงานจึงทำให้ไม่สามารถมาเรียนได้ดังเดิม นักเรียนบางส่วนมีรายได้น้อยลงและต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเรียนจึงทำให้ต้องยกเลิกการเรียนไป เป็นต้น

นักเรียนจำนวน 9 คนที่จบหลักสูตร Better Me 3 เดือนนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ นวดแผนโบราณ ดูแลผู้สูงอายุ แม่บ้าน และช่างทำผม ครึ่งนึงของนักเรียนเรียนจบระดับชั้นประถมศึกษา และบางส่วนที่เรียนจบมัธยมศึกษาตอนต้น (การศึกษานอกโรงเรียน -กศน.) สาเหตุที่นักเรียนไม่ได้เรียนต่อเนื่องมาจากครอบครัวไม่สามารถส่งเสียให้เรียนในโรงเรียนได้ ครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร นักเรียนเข้ามาหางานทำในกรุงเทพเพื่อช่วยเหลือครอบครัวในช่วงอายุเฉลี่ย 14-19ปี ชั่วโมงการทำงานของนักเรียนอยู่ระหว่าง 46-65 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นักเรียนเป็นหลักในการทำงานหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ส่วนใหญ่รายงานว่ารายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและสาเหตุของการเข้าร่วมโครงการ Better Me เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าเดิม

โครงการ Better me แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 หลักสูตร ดังนี้

  1. การเรียนภาษาอังกฤษที่ทำการเรียนการสอนโดยอาสาสมัครชาวต่างชาติ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีพื้นฐานการเรียนภาษาอังกฤษมาก่อน บางคนมีทักษะการพูดและการฟังพื้นฐานจากการพูดคุยกับลูกค้า การเรียนการสอนเน้นความมั่นใจในการพูดและใช้ภาษาอังกฤษ มารยาทในการใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นต้น
  2. การอบรมพัฒนาตนเอง เป็นการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีการทำกิจกรรมเชิงกระบวนการเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการแชร์ประสบการณ์ การแสดงความคิดเห็น และการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ การอบรมพัฒนาตนเอง แบ่งกิจกรรมออกเป็นหัวข้อดังนี้
    - การประเมินตนเอง
    - การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
    - แผนการในอนาคต
    - การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
    - การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
  3. เพื่อนคู่คิด เป็นกิจกรรมทางเลือกสำหรับนักเรียน คือการขอมีอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่จำนวน 1 คนเพื่อเป็นเพื่อนคู่คิด พูดคุย ปรับทุกข์ เป็นการส่วนตัว กิจกรรมนี้นักเรียนสามารถแจ้งกับทางมูลนิธิได้หากต้องการ

ภาพประกอบ

ตั้งใจเรียน

ผลงานของนักเรียนแต่ละคน

หลังจากนักเรียนเข้าร่วมโครงการครบ 3 เดือน นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • นักเรียนรายงานว่ามีความสุขกับชีวิตมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3 (ปานกลาง) เมื่อเทียบจบโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่ามีความสุขกับงานที่ทำในปัจจุบันมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 2-4 (น้อยถึงมาก) เมื่อเทียบกับภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-5 (ปานกลางถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่าประสบความสำเร็จมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 1-3 (น้อยที่สุดถึงปานกลาง) ภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-4 (ปานกลางถึงมาก)
  • นักเรียนรายงานว่ารู้สึกว่าอนาคตของตนเองมีความมั่นคงมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ จากคะแนน 1-5 ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 2-4 (น้อยถึงปานกลาง) ภายหลังเข้าร่วมโครงการนักเรียนส่วนใหญ่เลือก 3-5 (ปานกลางถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการมีประโยชน์ต่อนักเรียนด้วยคะแนน 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการมีความสนุกสนาน น่าสนใจ ด้วยคะแนน 5 (มากที่สุด)
  • นักเรียนส่วนใหญ่รายงานว่าโครงการทำให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง ด้วยคะแนน 4-5 (มากถึงมากที่สุด)
  • นักเรียนรายงานว่ามีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ Better Me
  • นักเรียน 1 คนรายงานมีรายได้เพิ่มขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ Better Me โดยแจ้งว่าพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษและการทำกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาตนเองมีส่วนช่วยทำให้ตนเองพัฒนาขึ้น นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น

จากการเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีความมั่นใจและมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีการพัฒนาทักษะทางด้านสังคม ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การทำกิจกรรมกลุ่ม การแชร์ประสบการณ์และการแสดงความคิดเห็นผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยวทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน ทักษะและความรู้ที่ได้รับเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจมากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

ความคิดเห็นของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการ

“กล้าแสดงออกและได้เจอเพื่อน ๆ ที่น่ารัก มีความมั่นใจมากขึ้น ภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้น อ่านออกเขียนได้มากขึ้นและได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น”

“เปลี่ยนเป็นคนมีวินัยมากขึ้น เป็นคนคิดบวกมากขึ้น ได้พบเจอเพื่อนหลาย ๆ คน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและได้รู้ภาษาอังกฤษที่ดีมากขึ้น เข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้นกว่าเดิม”

“ฉันขอขอบคุณมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีที่ทำให้ฉันได้พัฒนาตนเอง จากที่ไม่รู้จักการจัดการตัวเอง จากที่ใช้ภาษาไม่ได้ มูลนิธิทำให้ฉันมั่นใจในการใช้ภาษาและพัฒนาตัวเอง”

“ฉันได้มาเรียนภาษาอังกฤษที่มูลนิธิ ได้เพื่อนใหม่ ได้เจอคุณครู เจอพี่ ๆ น้อง ๆ ที่มูลนิธิ ได้คิดบวกต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ได้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ได้ข้อคิดดี ๆ ต่าง ๆ ที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ใช้คำศัพท์ที่อาจารย์สอน มีความสุข สนุก และประทับใจมากค่ะ”

“ดิฉันอยากบอกว่ามาเรียนที่นี่ได้ความรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ในตอนแรกเขียนชื่อตัวเองยังไม่ได้ ในชั้นเรียนอาจารย์ก็สอนได้เข้าใจและสนุกมากไม่เครียด และเวลาทำกิจกรรมก็ได้ข้อคิดมากมายที่มีประโยชน์ รู้สึกเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ขอบอกว่ามูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีคือดีมากค่ะ!”

“ฉันอยากบอกกับทางมูลนิธิว่าขอบคุณมากสำหรับความรู้และประสบการณ์ ก้าวแรกที่ก้าวเข้ามาที่นี่ ฉันได้อะไรหลายอย่างจากที่นี่มาก ได้รู้จักตัวเอง สังคมข้างนอก และประสบการณ์อีกหลาย ๆ อย่าง ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ”

ความคิดเห็นของอาสาสมัครสอนภาษาอังกฤษ

นักเรียนแต่ละคนที่ทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งนักเรียนได้ให้ความสนใจและตั้งใจในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านนี้ของตนเอง นักเรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนที่ดีและเป็นพื้นฐานต่อการเรียนที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต

มูลนิธิฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงตนเองของนักเรียน และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะนำไปสู่การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการมีชีวิตที่ดีและมีคุณภาพมากขึ้นในอนาคต

Budget plan


รายการหน่วย(คน)บาท

ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน 1 คน 5,930 บาท เพื่อดำเนินการต่อไปนี้

  • ฝึกอบรมต่อ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายการติดต่อประสานงานเพื่อติดตามประเมินผล  พร้อมให้โค้ชได้ให้คำปรึกษาจะมีระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน  หลังจากจบหลักสูตร


10


59,300

(รวมค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจเป็นเงินโดยประมาณ 5,930 บาท)