#พาน้องกลับห้องเรียน จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้ง

ระดมทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนออนไลน์เพื่อส่งมอบให้นักเรียนได้ยืมเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้งจำนวน 200 คน โดย Toolmorrow insKru วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์
Duration 05 ส.ค. 2564 ถึง 31 ต.ค. 2564 Area ทั่วประเทศ
Current donation amount
89,617 THBTarget
550,000 THBสำเร็จแล้ว
Project updates
พาน้องกลับห้องเรียนแล้วกว่า 142 คน ทั่วประเทศ
เนื่องจากการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียนและอินเทอร์เน็ต ทาง Toolmorrow, insKru, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เทใจ และ Saturday School ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนจึงเกิดเป็นโครงการ "พาน้องกลับห้องเรียน" ขึ้น
ขณะนี้ทางโครงการได้ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอสรุปผลโครงการ ดังนี้
กรกฎาคม 2564
เปิดลงทะเบียนโรงเรียนที่ต้องการอุปกรณ์การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวม 42 โรงเรียน
สิงหาคม-กันยายน 2564
เปิดรับบริจาค ได้ยอดบริจาค 82,444 บาท บุคคลทั่วไป 80,655 บาท และ Little Builder 1,789 บาท (เงินที่โครงการยังใช้ไม่หมด อีก 1,798.00 บาท)
ตุลาคม 2564
ได้รับการสนับสนุนมือถือ+ซิมจากโครงการ "Free School-in-a-Box" 130 เครื่อง, ได้รับบริจาคอุปกรณ์จากบุคคลทั่วไป 4 เครื่อง, จัดซื้อซิมเพิ่ม 4 อัน และจัดซื้อแท็บเล็ต+ซิม 8 เครื่อง
พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564
จัดส่งให้นักเรียน 142 คน 20 โรงเรียน รวม 15 จังหวัดทั่วประเทศ
มกราคม 2565
สรุปบัญชีคงเหลือเงิน 31,656.10 บาท จะนำไปเป็นงบประมาณดูแลรักษาอุปกรณ์ และจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
ลิงค์ต่าง ๆ
เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์
คนที่ 1 ครูข้าว นางสาวนริศรา มากมี คุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
คนที่ 2 ครูชัช นายชัชวาล สะบูดิง คุณครูจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์9 33 หมู่ 8 อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
Read more »
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
Saturday School ดําเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี ร่วมกับโรงเรียนต่างๆ และอาสาสมัครผ่านการทํากิจกรรมนอกหลักสูตรใน 27 พื้นที่/โรงเรียน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อเด็กๆได้รับ กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมบนพื้นที่ที่เอื้ออํานวยให้เกิดการเรียนรู้ จะทําให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถพัฒนาไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจะนํา ไปสู่การเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อพัฒนาศักยภาพและกลับมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชนของเด็กต่อไป
ปัจจุบันการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ส่งผลให้นักเรียนกว่าหลายแสนคน เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียน อินเทอร์เน็ต และเงินจ่ายค่าเทอม ข้อมูลจากกองทุนเสมอภาคทางการศึกษา คาดการณ์ว่าสิ้นปี 64
แม้ว่าประกาศจากกระทรวงในการอนุโลมให้โรงเรียนสามารถนำงบมาใช้ซื้ออินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ได้ แต่ผลสำรวจพบว่า งบที่โรงเรียนมีเพียงพอแค่เป็นค่าอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ทาง Toolmorrow insKru วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จึงได้รวมตัวกันเพื่อใช้จุดแข็งของตัวเองในการหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนในเรื่องของอุปกรณ์การเรียน
จึงเกิดเป็นโครงการ #พาน้องกลับห้องเรียน โดย
- ทีม insKru ซึ่งเป็น community ครูในการแบ่งปันไอเดียการสอน ได้ทำการเปิดรับความต้องการของนักเรียนผ่านครูในเครือข่าย
- ทาง Toolmorrow และ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมเสียงสะท้อนของครูถึงสาเหตุที่นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนได้ มาแต่งเพลง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาในสังคม
- มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จะเชิญชวนคนผู้ที่สนใจร่วมบริจาคอุปกรณ์มือ 2 และบริจาคเงินผ่านเทใจ เพื่อจัดส่งให้นักเรียนยืมเรียน โดยมีระบบตรวจสอบอย่างเข้มข้น ทั้งการเซ็นรับรองของผู้อำนวยการโรงเรียน หลักฐานจากนักเรียนในการได้รับอุปกรณ์ในการยืมเรียน และการตรวจสอบการใช้เงินของโครงการ
เราตั้งเป้าหมายว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้ได้กลับมาเข้าห้องเรียนอีกครั้งจำนวน 200 คน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
โครงการ #พาน้องกลับห้องเรียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจความต้องการอุปกรณ์
ทีมงานจะส่งแบบสำรวจความต้องการรับอุปกรณ์ไปยังเครือข่ายครูจากทั่วประเทศ จากนั้นเมื่อได้ข้อมูลกลับมาทีมงานจะพิจารณาข้อมูลโดยคัดเลือกส่งมอบอุปกรณ์ไปยังจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มก่อน และสีแดงตามลำดับ จากนั้นทีมงานคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนของคุณครูและโรงเรียนอีกครั้งก่อนส่งมอบ
โดยคุณครูสามารถแจ้งข้อมูลความต้องการมาให้ทางโครงการและช่วยเป็นตัวกลางในการประสานให้อุปกรณ์ถึงมือนักเรียนได้ที่ลิงค์นี้📍 https://bit.ly/3iYREXQ
ขั้นตอนที่ 2 เปิดรับบริจาคอุปกรณ์
สิ่งที่เราจะทำขนานกันไป คือ การเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ จากนั้นจะมีการโทรนัดหมายเพื่อสอบถามข้อมูลและแจ้งที่อยู่ในการจัดส่งอุปกรณ์ จากนั้นทีมงานจะรับอุปกรณ์มาตรวจสอบครั้งที่ 1 ก่อนส่งไปให้กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อเซ็ทเครื่องและลงโปรแกรมที่จำเป็น พร้อมทั้งลงเลขทะเบียนเครื่อง
หากใครที่พอมี Laptop / Tablet / Smart Phone เครื่องเก่า สามารถดูรายละเอียดการรับบริจาคได้ที่นี่📍 https://bit.ly/BacktoSchool_Phrase1
ขั้นตอนที่ 3 เปิดรับบริจาคเงินทุน
ในส่วนของเงินทุนนั้น เมื่อทีมงานได้รับมอบจะบริจาคเข้ามูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ จากนั้นทีมงานจะนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ และส่งไปให้กลุ่มอาสาสมัคร เพื่อเซ็ทเครื่องและลงโปรแกรมที่จำเป็น พร้อมทั้งลงเลขทะเบียนเครื่อง จากนั้นจะทยอยส่งมอบเดือนละ 2 ครั้ง ตัดรอบทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน
ขั้นตอนที่ 4 สรุปยอดทางการเงิน
เมื่อโครงการสิ้นสุด จะมีการสรุปยอดการใช้เงิน ผ่านช่องทาง Facebook ของมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์
ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์
ดำเนินโครงการโดย มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (Saturday School) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของเยาวชน และเติบโตไปพร้อมกับสังคมที่เกื้อกูลชีวิตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความเชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้ และจะประสบความสําเร็จได้หากพวกเขาและคนรอบข้างมองเห็นศักยภาพนั้นและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบชีวิตตนเอง โรงเรียน และสังคมรอบข้าง ที่จะนํามาซึ่งการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน
ร่วมกับ Toolmorrow, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล, ก่อการครู และ inskru
พาน้องกลับห้องเรียนแล้วกว่า 142 คน ทั่วประเทศ
เนื่องจากการระบาดอย่างรุนแรงของ COVID-19 ทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งคือการขาดอุปกรณ์การเรียนและอินเทอร์เน็ต ทาง Toolmorrow, insKru, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เทใจ และ Saturday School ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วนจึงเกิดเป็นโครงการ "พาน้องกลับห้องเรียน" ขึ้น
ขณะนี้ทางโครงการได้ส่งมอบอุปกรณ์การเรียนเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอสรุปผลโครงการ ดังนี้
กรกฎาคม 2564
เปิดลงทะเบียนโรงเรียนที่ต้องการอุปกรณ์การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวม 42 โรงเรียน
สิงหาคม-กันยายน 2564
เปิดรับบริจาค ได้ยอดบริจาค 82,444 บาท บุคคลทั่วไป 80,655 บาท และ Little Builder 1,789 บาท (เงินที่โครงการยังใช้ไม่หมด อีก 1,798.00 บาท)
ตุลาคม 2564
ได้รับการสนับสนุนมือถือ+ซิมจากโครงการ "Free School-in-a-Box" 130 เครื่อง, ได้รับบริจาคอุปกรณ์จากบุคคลทั่วไป 4 เครื่อง, จัดซื้อซิมเพิ่ม 4 อัน และจัดซื้อแท็บเล็ต+ซิม 8 เครื่อง
พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564
จัดส่งให้นักเรียน 142 คน 20 โรงเรียน รวม 15 จังหวัดทั่วประเทศ
มกราคม 2565
สรุปบัญชีคงเหลือเงิน 31,656.10 บาท จะนำไปเป็นงบประมาณดูแลรักษาอุปกรณ์ และจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
ลิงค์ต่าง ๆ
เสียงจากผู้ได้รับประโยชน์
คนที่ 1 ครูข้าว นางสาวนริศรา มากมี คุณครูจากโรงเรียนบ้านหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
คนที่ 2 ครูชัช นายชัชวาล สะบูดิง คุณครูจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์9 33 หมู่ 8 อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
Budget plan
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | แท็บเล็ต รุ่น Lenovo Tab M7 (2nd Gen) ราคาเครื่องละ 3,690 บาท | 100 เครื่อง | 369,000.00 |
2 | ปากกาทัชสกรีน สำหรับ Lenovo Tab M7 ราคาด้ามละ 130 บาท | 100 ชุด | 13,000.00 |
3 | ค่าขนส่ง (เครื่องใหม่) เที่ยวละ 150 บาท มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านนักเรียน (กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดพื้นที่สีแดง) | 100 เครื่อง | 15,000.00 |
4 | ค่าขนส่ง (เครื่องรับบริจาค) เที่ยวละ 150 บาท มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านอาสาสมัครที่ลงโปรแกรม (กรุงเทพฯ ปริมณฑล), บ้านอาสาสมัครที่ลงโปรแกรม มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี), มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (ปทุมธานี) - บ้านนักเรียน (กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดพื้นที่สีแดง) | 100 เครื่อง | 45,000.00 |
5 | ค่ากล่องลัง พลาสติกกันกระแทก และลงรหัสเครื่อง กล่องละ 40 บาท | 200 กล่อง | 8,000.00 |
6 | ค่าซิมอินเทอร์เน็ต 10 Mbps 3 เดือน ราคาซิมละ 500 บาท | 100 ซิม | 50,000.00 |