project Covid-19 กลุ่มคนเปราะบาง

สร้างอาชีพให้ 90 ครอบครัวเปราะบางใน จ.ยะลา สู้ภัยโควิด

หัวหน้าครอบครัวที่เคยเดินทางไปทำงานนอกหมู่บ้าน นอกจังหวัด และนอกประเทศต้องตกงานเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด ทำให้ครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้วมีความลำบากมากขึ้น ลูกเหรียงช่วย 90 ครอบครัวในจ.ยะลาที่ภาวะความลำบากพิเศษได้รับการจ้างงานมีรายได้เสริมซึ่งจะช่วยลดความเครียดและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่จำเป็น เกิดการหมุนเวียนเงินเพิ่มเติมในชุมชน

Duration 1 เดือน Area ยะลา

Current donation amount

224,770 THB

Target

190,300 THB
ดำเนินการไปแล้ว 118%
จำนวนผู้บริจาค 40

สำเร็จแล้ว

Project updates

ความคืบหน้าการสร้างอาชีพให้ 90 ครอบครัวเปราะบางในจังหวัดยะลา

18 June 2020

จากการจ้างงานในสถานการณ์โควิค-19ที่ผ่านมานั้นทำให้กับประชากรซึ่งมีความยากลำบากในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ตำบลปุโรง ตำบลท่าสาป และ ตำบลบาโงยซิแน จังหวัดยะลา เห็นว่าทุกครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานมีความเปลี่ยนแปลงในด้านรายได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิค-19 ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ตกงานและไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ ทำให้รายได้ลดลงและไม่พียงพอต่อรายจ่ายในครอบครัว เมื่อมีโครงการจ้างเงินเกิดขึ้นทำให้สามารถมีรายได้สามารถจุนเจือครอบครัวได้ อีกทั้งยังเกิดการหมุนเวียนสินค้าภายในชุมชนที่เป็นพืชผัก ทำให้ชุมชนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กและเป็นศูนย์กระจายอาหารให้กับชุมชนใกล้เคียงได้อีก

อาชีพที่ทำการจ้างงานในกับครอบครัวเปราะบางในครั้งนี้ประกอบไปด้วย

1. กลุ่มอาชีพเกษตร

ได้แก่ ปลูกผักสวนครัว ซึ่งตอนนี้ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น จากเดิม 3-5 แปลง หลายครอบครัวขยายเป็น 10-15 แปลง กลุ่มอาชีพจ้างงานปลูกผักสวนครัวมีจำนวน 51 คน ครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานปลูกผักสวนครัวหลายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น มะเขือ แตงกวา พริก ถั่วฝักยาว ซึ่งนอกจากนำไปขายนำรายได้มาเป็นค่าอาหารให้กับครอบครัวแล้วยังสามารถนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนลดการใช้จ่ายและไปซื้อจากร้านค้าได้ และนอกเหนือจากการนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายแล้วก็ยังสามารถแบ่งปันต้นกล้าและผลผลิตไปยังเพื่อนบ้านบริเวณรอบ ๆ ชุมชน ทำให้ตอนนี้หลายครอบครัวมีผักกินถ้วนหน้า และผักจากการเพราะปลูกได้ถูกนำส่งให้ครัวชุมชน เพื่อทำอาหารให้เด็กในชุมชนได้ทาน ในทุก ๆ วัน


2. อาชีพอาสาสมัครทำอาหารให้น้อง ๆ กลุ่มเปราะบาง “ครัวชุมชน”

เป็นการทำอาหารให้กับเด็ก ๆ เปราะบางในพื้นที่ 3 ตำบลได้แก่ ตำบลปุโรง ตำบลท่าสาป และ ตำบลบาโงยซิแน จังหวัดยะลา โดยผู้ถูกจ้างงานแยกเป็นตำบลละ 2 คน รวมเป็น 6 คน ซึ่งอาสาสมัครในทำอาหารให้น้องๆกลุ่มเปราะบางเป็นภาวะสีแดง (ภาวะที่ต้องการช่วยอย่างเร่งด่วน) อาหารที่ได้แจกจ่ายให้กับเด็ก ๆ และคนในชุมชนสามรถช่วยให้ครอบครัวหลายครอบครัวอิ่มท้องและสามารถลดค่าอาหารที่ต้องไปซื้อจากภายนอก ซี่งตอนนี้ทำอาหารไปแล้ว 66 มื้อ ใน3 ตำบล มีเด็กที่เข้าถึงอาหารมากกว่า 15,840 คน


3. อาชีพสอนพิเศษ/ให้ความรู้ด้านสุขภาพในสถานการณ์โควิค-19

การสอนพิเศษในช่วงสถานการณ์โควิค-19 ส่งผลให้น้อง ๆ นักเรียนไม่สามารถที่จะเดินทางไปเรียนได้ เลยทำให้เกิดการสอนพิเศษที่บ้านเกิดขึ้น ซึ่งนักศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและนักศึกษาที่เรียนจบในช่วงสถานการณ์โควิค-19 ได้นำความรู้ที่ศึกษาที่ร่ำเรียนมา โดยยึดวิชาหลัก คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และการ Diy สิ่งของ มาถ่ายทอดให้กับเด็ก ๆ ในชุมชนในช่วงที่ปิดเทอมและช่วงที่ไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้ทำให้ใช้เวลาว่างได้เกิดประโยชน์ โดยผู้ถูกจ้างงานในกลุ่มนี้มีจำนวน 33 คน การสอนพิเศษในกิจกรรมมนี้ทำให้คนในชุมชนเกิดการยอมรับ มีเด็กเข้าถึงการเรียนนี้ ในทุกสัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 10 อาทิตย์ที่ผ่านมา มากกว่า 210 คน 


การทำคลิปด้านสุขภาพในสถานการณ์โควิค-19 ผ่านชื่องทาง TIKTOK ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในทุกช่วงวัยและเข้าถึงได้ง่าย โดยเด็ก ๆ ได้ทำคลิปเกี่ยวกับการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์โควิค-19 และทำการเผยแพร่ทางสื่อโซเซียลมีเดีย ทำให้คนได้รู้จักและตระหนักถึงสถานการณ์ในปัจจุบันและเห็นถึงความสำคัญในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น

จากการจ้างงานที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นอกจะทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นสามรถนำไปซื้อสิ่งของที่จำเป็น เช่นอาหารแล้วนั้น ยังทำให้ผู้ถูกจ้างงานมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น มีความเครียดลดลงอย่างมากท่ามกลางสถานการณ์ที่ค่อนข้างจะเป็นปัญหาในขณะนี้ อีกทั้งได้รับการยอมรับมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชนและผู้นำชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การที่ผู้ถูกจ้างงานได้เห็นคุณค่าในตนเองและมองว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในขณะนี้ก็ยังมีทางออกและมีวิธีที่จะทำให้พวกเขาได้ดำรงชีวิตต่อไปได้




Read more »
See all project updates

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 นอกจากจะมีความน่ากังวลในเชิงสุขภาพ ทั้งในแง่ของ Physical และ Mental Health แล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชากร โดยเฉพาะประชากรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือเรื่องของเศรษฐกิจ 

นโยบายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งเรื่องของการปิดกิจการหลายประเภท, การห้ามรวมตัว, การห้ามเดินทางข้ามจังหวัด, อำเภอ หรือบางกรณีมีการปิดหมู่บ้านที่มีการระบาดรุนแรง ทำให้ทั้งเจ้าของกิจการต้องปิดกิจการ  ลูกจ้างในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ รวมทั้งแรงงาชาวไทยที่ข้ามไปทำงานฝั่งมาเลเซีย รวมทั้งจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศ ประสบกับภาวะตกงานกระทันหันพร้อม ๆ กัน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งยากจนอยู่แล้ว ยิ่งยากจนมากขึ้นไปอีก

จากการสำรวจของกลุ่มลูกเหรียงในตำบลนำร่อง 3 แห่งคือ ตำบลบาโงยซิแน, ท่าสาปและปุโรง ในช่วงเดือนเมษายน 2563 พบว่า

จำนวนเด็กที่ได้รับอาหารไม่ครบ 3 มื้อ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา

จำนวนคนต่อครัวเรือนที่อยู่เป็นประจำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2562เนื่องจากนักศึกษาที่สถาบันประกาศปิดการศึกษา, แรงงานที่เดินทางไปทำงานนอกหมู่บ้าน นอกจังหวัด และนอกประเทศ เดินทางกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้าน เนื่องจากกิจการต่าง ๆ ปิดลง โดยคนเหล่านี้เคยเป็นผู้หารายได้หลัก แต่ปัจจุบันกลับไม่มีรายได้ 

ภาพประกอบ : ทำอาหารแจกจ่ายแก่เด็กกลุ่มเปราะบางพิเศษที่อยู่ในระดับสีแดง ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือในด้านอาหารอย่างเร่งด่วน  


ลูกเหรียงจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาส ต่อการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานเร่งด่วนในชุมชน โดยมุ่งเน้นจ้างงานกลุ่มที่ยากจนและมีความยากลำบากเป็นพิเศษก่อน ซึ่งการสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานนี้ ช่วยให้ครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานมีรายได้เสริมซึ่งจะช่วยลดภาวะยากจนและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่จำเป็น เกิดการหมุนเวียนเงินเพิ่มเติมในชุมชน ชาวชุมชนรวมทั้งผู้ที่ได้รับการจ้างงาน มองเห็นความเป็นไปได้ในการประกอบอาชีพในชุมชน และที่สำคัญที่สุดการช่วยเหลือกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางในลักษณะนี้จะช่วยดำรงค์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ และการออกไปทำงานสร้างรายได้จะช่วยลดความเครียดให้กับตัวของผู้ได้รับการจ้างงานและครอบครัวอีกด้วย

ภาพประกอบ : นางรอกีเยาะ สาและ ครอบครัว 4 คน ก่อนหน้านี้มีอาชีพเป็นแม่บ้าน สามีรับจ้างทั่วไป มีลูก 2 คน ลูกคนโต 5 ขวบ และลูกคนเล็ก 2 ขวบ รายได้ส่วนใหญ่มาจากสามี จากสถานการณ์โควิค-19 ทำให้สามีไม่ได้ทำงาน ครอบครัวขาดรายได้ เมื่อมีโครงการจ้างงานช่วงนี้ ทำให้ครอบครัวมีรายได้สามารถนำเงินไปซื้ออาหารและนมลูก

แนวทางการทำงาน

1.คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีความยากลำบากเป็นพิเศษจากฐานข้อมูลซึ่งสำรวจโดยกลุ่มลูกเหรียง ร่วมกับกลไกระดับตำบล จำนวน 90 คน

2.ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคน เลือกอาชีพตามทักษะ ความสนใจ ของตนเอง โดยมีกลุ่มอาชีพเบื้องต้น 4 กลุ่มดังนี้

  • กลุ่มอาชีพเกษตร, กสิกรรมและอาชีพอิสระ เช่น การเพาะปลูก, จับปลา, เผาถ่าน, ทำน้ำตาลโตนด
  • กลุ่มอาชีพด้านศิลปะหัตถกรรม เช่น การทำผลิตภัณฑ์ชุมชน, ทำหน้ากากอนามัย
  • กลุ่มอาชีพด้านการบริการสังคม เช่น การช่วยสนับสนุนงานของสาธารณสุข, การทำอาหารเลี้ยงผู้ยากไร้ในชุมชน, ทำสื่อเพื่อให้ความรู้เรื่องสุขภาพ, โควิด-19
  • กลุ่มอาชีพด้านการศึกษา/การเรียนรู้ เช่น การสอนพิเศษเด็ก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ เป็นต้น


บรรยายภาพ : นางสาวรอมล๊ะ ดอเลาะ น้องเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อายุ 24 ปี มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ปัจจุบันเรียนจบและช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิค – 19 น้องหารายได้พิเศษจากการช่วยอาจารย์ลงพื้นที่ในการทำวิจัย มีรายได้เป็นรายชั่วโมง ตอนนี้มหาวิทยาลัยปิดจึงขาดรายได้ต้องกลับไปอยู่บ้านที่ อ.โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อสอนหนังสือเด็กๆในชุมชนตามโครงการการจ้างงานในช่วงโควิค -19

3. ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องโควิด-19 ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อครอบครัวของตนเองและชุมชน

4.ลูกเหรียงจะลงพื้นที่ติดตามการทำงาน การมอบความช่วยเหลือ 

ประโยชน์ของโครงการ

กลุ่มประชากรซึ่งมีความยากลำบากเป็นพิเศษจำนวน 90 คน มีอาชีพและรายได้ผ่านโครงการจ้างงาน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะเครียดลดลง จากการประเมินตนเองของผู้เข้าร่วม

เกิดการหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจระดับฐานรากในพื้นที่การทำงาน

เจ้าของโครงการ


ความคืบหน้าการสร้างอาชีพให้ 90 ครอบครัวเปราะบางในจังหวัดยะลา

18 June 2020

จากการจ้างงานในสถานการณ์โควิค-19ที่ผ่านมานั้นทำให้กับประชากรซึ่งมีความยากลำบากในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ตำบลปุโรง ตำบลท่าสาป และ ตำบลบาโงยซิแน จังหวัดยะลา เห็นว่าทุกครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานมีความเปลี่ยนแปลงในด้านรายได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิค-19 ทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ตกงานและไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ ทำให้รายได้ลดลงและไม่พียงพอต่อรายจ่ายในครอบครัว เมื่อมีโครงการจ้างเงินเกิดขึ้นทำให้สามารถมีรายได้สามารถจุนเจือครอบครัวได้ อีกทั้งยังเกิดการหมุนเวียนสินค้าภายในชุมชนที่เป็นพืชผัก ทำให้ชุมชนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กและเป็นศูนย์กระจายอาหารให้กับชุมชนใกล้เคียงได้อีก

อาชีพที่ทำการจ้างงานในกับครอบครัวเปราะบางในครั้งนี้ประกอบไปด้วย

1. กลุ่มอาชีพเกษตร

ได้แก่ ปลูกผักสวนครัว ซึ่งตอนนี้ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น จากเดิม 3-5 แปลง หลายครอบครัวขยายเป็น 10-15 แปลง กลุ่มอาชีพจ้างงานปลูกผักสวนครัวมีจำนวน 51 คน ครอบครัวที่ได้รับการจ้างงานปลูกผักสวนครัวหลายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น มะเขือ แตงกวา พริก ถั่วฝักยาว ซึ่งนอกจากนำไปขายนำรายได้มาเป็นค่าอาหารให้กับครอบครัวแล้วยังสามารถนำมาประกอบอาหารภายในครัวเรือนลดการใช้จ่ายและไปซื้อจากร้านค้าได้ และนอกเหนือจากการนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายแล้วก็ยังสามารถแบ่งปันต้นกล้าและผลผลิตไปยังเพื่อนบ้านบริเวณรอบ ๆ ชุมชน ทำให้ตอนนี้หลายครอบครัวมีผักกินถ้วนหน้า และผักจากการเพราะปลูกได้ถูกนำส่งให้ครัวชุมชน เพื่อทำอาหารให้เด็กในชุมชนได้ทาน ในทุก ๆ วัน


2. อาชีพอาสาสมัครทำอาหารให้น้อง ๆ กลุ่มเปราะบาง “ครัวชุมชน”

เป็นการทำอาหารให้กับเด็ก ๆ เปราะบางในพื้นที่ 3 ตำบลได้แก่ ตำบลปุโรง ตำบลท่าสาป และ ตำบลบาโงยซิแน จังหวัดยะลา โดยผู้ถูกจ้างงานแยกเป็นตำบลละ 2 คน รวมเป็น 6 คน ซึ่งอาสาสมัครในทำอาหารให้น้องๆกลุ่มเปราะบางเป็นภาวะสีแดง (ภาวะที่ต้องการช่วยอย่างเร่งด่วน) อาหารที่ได้แจกจ่ายให้กับเด็ก ๆ และคนในชุมชนสามรถช่วยให้ครอบครัวหลายครอบครัวอิ่มท้องและสามารถลดค่าอาหารที่ต้องไปซื้อจากภายนอก ซี่งตอนนี้ทำอาหารไปแล้ว 66 มื้อ ใน3 ตำบล มีเด็กที่เข้าถึงอาหารมากกว่า 15,840 คน


3. อาชีพสอนพิเศษ/ให้ความรู้ด้านสุขภาพในสถานการณ์โควิค-19

การสอนพิเศษในช่วงสถานการณ์โควิค-19 ส่งผลให้น้อง ๆ นักเรียนไม่สามารถที่จะเดินทางไปเรียนได้ เลยทำให้เกิดการสอนพิเศษที่บ้านเกิดขึ้น ซึ่งนักศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและนักศึกษาที่เรียนจบในช่วงสถานการณ์โควิค-19 ได้นำความรู้ที่ศึกษาที่ร่ำเรียนมา โดยยึดวิชาหลัก คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และการ Diy สิ่งของ มาถ่ายทอดให้กับเด็ก ๆ ในชุมชนในช่วงที่ปิดเทอมและช่วงที่ไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้ทำให้ใช้เวลาว่างได้เกิดประโยชน์ โดยผู้ถูกจ้างงานในกลุ่มนี้มีจำนวน 33 คน การสอนพิเศษในกิจกรรมมนี้ทำให้คนในชุมชนเกิดการยอมรับ มีเด็กเข้าถึงการเรียนนี้ ในทุกสัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 10 อาทิตย์ที่ผ่านมา มากกว่า 210 คน 


การทำคลิปด้านสุขภาพในสถานการณ์โควิค-19 ผ่านชื่องทาง TIKTOK ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในทุกช่วงวัยและเข้าถึงได้ง่าย โดยเด็ก ๆ ได้ทำคลิปเกี่ยวกับการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์โควิค-19 และทำการเผยแพร่ทางสื่อโซเซียลมีเดีย ทำให้คนได้รู้จักและตระหนักถึงสถานการณ์ในปัจจุบันและเห็นถึงความสำคัญในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น

จากการจ้างงานที่เกิดขึ้นในครั้งนี้นอกจะทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นสามรถนำไปซื้อสิ่งของที่จำเป็น เช่นอาหารแล้วนั้น ยังทำให้ผู้ถูกจ้างงานมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น มีความเครียดลดลงอย่างมากท่ามกลางสถานการณ์ที่ค่อนข้างจะเป็นปัญหาในขณะนี้ อีกทั้งได้รับการยอมรับมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชนและผู้นำชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ การที่ผู้ถูกจ้างงานได้เห็นคุณค่าในตนเองและมองว่าท่ามกลางสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในขณะนี้ก็ยังมีทางออกและมีวิธีที่จะทำให้พวกเขาได้ดำรงชีวิตต่อไปได้




Budget plan


รายการบาท
1.ค่าจ้าง 90 คน x 150 บาท  x 14 วัน162,000
2.ค่าลงพื้นที่ติดตาม และบริหารจัดการ11,000
3.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
17,300
รวม190,300