project เด็กและเยาวชน

โซล่าเซลล์ 6 โรงเรียนในจ.แม่ฮ่องสอน (3)

ร่วมมอบแสงสว่างให้ 6 โรงเรียน เพื่อเด็กในโรงเรียนบ้านทีฮือลือ โรงเรียนบ้านปู่แก้ว โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านทิชะ โรงเรียนบ้านเวฬุวัน โรงเรียนบ้านทิยาเพอ สาขาบ้านห้วยไชยยงค์ โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านขุนแม่คะตวนจ.แม่ฮ่องสอน มีแสงสว่างเพียงพอในการอ่านหนังสือ ทำการบ้านและธุระส่วนตัว

Duration 4 เดือน

Current donation amount

64,000 THB

Target

64,000 THB
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 1

สำเร็จแล้ว

Project updates

ติดโซล่าเซลล์ 6 โรงเรียนใน จ.แม่ฮ่องสอน

6 March 2019

ปัจจุบันทั้ง 6 โรงเรียนที่อยู่ในตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ดำเนินการติดตั้งชุดผลิตไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 16 จุด โดยจุดที่ติดตั้งนั้นจะมีทั้งส่วนที่เป็นหอพักเด็กนักเรียนชายและเด็กนักเรียนหญิง ห้องครัว โรงอาหาร ห้องเรียน ห้องน้ำ และจุดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ทำกิจวัตรประจำวันของเด็กๆ รวมแล้วมีเด็กจำนวนกว่า 300 คน ที่ได้มีไฟฟ้าใช้ในการเรียนหนังสือ และมีไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการติดโล่าเซลล์ ทั้ง 6 โรงเรียน

  1. โรงเรียนบ้านทีฮือลือ
  2. โรงเรียนบ้านทิยาเพอ และโรงเรียนบ้านทิยาเพอ สาขาบ้านห้วยไชยยงค์
  3. โรงเรียนบ้านปู่แก้ว
  4. โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านทิชะ
  5. โรงเรียนบ้านเวฬุวัน
  6. โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านขุนแม่คะตวน

ภาพประกอบ

โรงเรียนบ้านทีฮือลือ

มีไฟใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในตอนกลางคืน 

โรงเรียนบ้านทิยาเพอ

โรงเรียนบ้านปู่แก้ว

โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล

Read more »
See all project updates

 

โรงเรียนขนาดเล็กบนดอยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง บางโรงเรียนที่มีไฟฟ้าก็มาจากแผงโซล่าเซลล์ที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน โซล่าเซลล์เหล่านี้ใช้ได้บ้าง เสียบ้าง โดยเฉพาะในหน้าฝน ที่มีปริมาณแสงแดดน้อย เด็กๆแถบจะไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นอาทิตย์ การเรียกช่างมาซ่อมมาขั้นตอนพอสมควรและต้องรอคิวนาน ทำให้บางครั้งโรงเรียนขาดไฟฟ้านาน 2-3 เดือน

ช่วงกลางวันหากอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนหน่อย แสงสว่างจากพระอาทิตย์บางครั้งก็ไม่เพียงพอต่อการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อสายตาเด็กๆ 

ขณะที่กลางคืน เด็กกว่าครึ่งที่เป็นเด็กพักนอน ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าในการทำการบ้าน อ่านหนังสือ และเข้าห้อง อาบน้ำ หรือใช้ในการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาตอนกลางคืน หากไม่มีไฟฟ้า ต้องอาศัยแสงสว่างจากแสงเทียนเพื่อใช้ชีวิต ซึ่งค่อนข้างอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

 บรรยายภาพ โซล่าเซลล์สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก กล่องเก็บพลังงานเพื่อใช้กลางคืน

ชุดโซล่าเซลล์ขนาดเล็กจึงเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะมาเติมเต็มให้ชีวิตของเด็กๆบนดอยได้มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเท่าเทียมกับเด็กๆในพื้นที่อื่นๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข และเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตต่อไป

บรรยายภาพ : ชุดโซล่าเซลล์ขนาดเล็กมีไฟ 3 ดวง ทำให้ห้องสว่างพอที่เด็กจะอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมได้

รายชื่อโรงเรียนติดตั้งดังนี้


ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ พร้อมกิจกรรม  

- ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ : เดือน ธันวาคม 2561

- วันที่เริ่มดำเนินการ : 1 ธันวาคม 2561

- ระยะเวลาที่คาดว่าโครงการจะเห็นผลสำเร็จ : ช่วงเดือนธันวาคม 2561

กิจกรรมที่จะดำเนินการ

     1) ประชุมเพื่อวางแผนการโครงการจัดหาชุดโซล่าเซลล์ขนาดเล็กให้กับโรงเรียนบนดอย ร่วมกันกับผู้บริหารโรงเรียน คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและกรรมการสถานศึกษา ของทั้ง 9 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการฯ

     2) ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและกรรมการสถานศึกษา ของทั้ง 9 โรงเรียน ร่วมด้วยช่วยกันติดตั้งชุดโซล่าเซลล์ขนาดเล็ก ให้กับทั้ง 4 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการฯ

     3) เด็กนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาและชาวบ้านของทั้ง 9 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ช่วยกันดูแลบำรุงรักษาชุดโซล่าเซลล์ขนาดเล็กของโรงเรียน เพื่อให้สามารถใช้ได้ในระยะยาว

ประโยชน์ของโครงการ

1. เด็กนักเรียนของ 9 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีไฟฟ้าใช้ในดารศึกษาเล่าเรียน

2. เด็กนักเรียนพักนอนของ 9 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีไฟฟ้าใช้ในการทำการบ้าน และการดำรงชีวิต

3. ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก

ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

1.โรงเรียนบ้านทีฮือลือ 


 ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 โรงเรียนบ้านทีฮือลือ อยู่ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2ไม่มีรถโดยสารประจำทาง ในช่วงฤดูฝน การเดินทางค่อนข้างลำบาก เพราะสภาพพื้นที่การจราจรไม่อำนวย เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่สูง การเดินทางใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

เดิมโรงเรียนแห่งนี้สร้างขึ้นโดยชมรมอาสาพัฒนาชนบท สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2535 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 47 คน มีนายวิทยา ยะปัญญา เป็นครูคนแรก และได้แยกเป็นโรงเรียนเอกเทศ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้านทีฮือลือตามชื่อของหมู่บ้าน 

ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีข้าราชการครูจำนวน คน คือ นายหาญ ศิลาชาล นางกุลริสา ทาทะลักษณ์ ครูคศ.1 นางสาวสุกัญญา ปิ่นเปี่ยมครูผู้ช่วย และอัตราจ้างตามโครงการครูรายเดือนแก้ปัญหาสถานศึกษาขาดแคลนครูขั้นวิกฤตจำนวน 2 คน คือ นายเทอดพงษ์ ฟ้าอร่ามศรี และ นายวรพจน์ บงกชลาวัณย์ 

จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2561 มีจำนวนทั้งหมด 57 คน แยกเป็นชั้นก่อนประถมศึกษาจำนวน 28 คน การศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 29 คน ปัจจุบัน นายหาญ ศิลาชาล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทีฮือลือ 

สภาพปัญหา โรงเรียนมีเด็กพักนอน แต่โรงเรียนไม่มีกระแสไฟฟ้าในการให้นักเรียนทำกิจกรรมในเวลากลางคืน เช่นการทำการบ้าน การทบทวนบทเรียน และ การทำอาหารในช่วงเช้ามืดให้กับนักเรียนพักนอน และเด็กนักเรียนปกติ

2.โรงเรียนบ้านปู่แก้ว  

ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จัดตั้งครั้งแรกโดยความร่วมมือของข้าราชการครู ศึกษานิเทศก์ นักการภารโรง ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอสบเมย และชาวบ้านในชุมชน สภาพอาคารเรียนเป็นแบบชั่วคราว เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2527  

 ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีจำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2561 มีจำนวนทั้งหมด 22 คน แยกเป็นชั้นก่อนประถมศึกษาจำนวน 7 คน การศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 15 คปัจจุบัน นางสาวนลินีใจกลม ดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปู่แก้ว 

       สามารถเดินทางได้ทุกฤดูกาล ถนนที่ใช้ในการเดินทางเป็นถนนที่ชาวบ้านช่วยกันขุดเพื่อทำการสัญจรไปมา การเดินทางในช่วงฤดูฝนรถยนต์ไม่สามารถสัญจรได้ การเดินทางค่อนข้างลำบาก เพราะสภาพพื้นที่การจราจรไม่อำนวย เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่สูง และลาดชัน ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนใช้สัญจรโดยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ได้ ไม่มีรถโดยสารประจำทาง การเดินทางใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ช่วงฤดูฝนจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าอย่างมาก แม้โรงเรียนมีสื่อ ICT สำหรับจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน แต่ไม่สามารถนำมาใช้จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ เนื่องจากโรงเรียนมีกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ

3.โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านขุนแม่คะตวน  

ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยความร่วมมือของชาวบ้าน ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสบเมย ก่อสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราว โรงเรือนไม้ไผ่ หลังคามุงตองตึง เปิดทำการสอนครั้งแรก วันที่ 11 พฤษภาคม 2527 มีนักเรียน 75 คนเป็นโรงเรียนอนุบาลถึงประถม มีเด็กพักนอนทั้งชายและหญิง โรงเรียนในระบบไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์ แต่มีปัญหาติดๆดับๆ จึงต้องการโซล่าเซลล์ของโรงเรียนมาใช้ในการเรียนการสอน

4.โรงเรียนบ้านเวฬุวัน

 ตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 ตำบล สบเมย อำเภอ สบเมย จังหวัด แม่ฮ่องสอน เวฬุวัน (หมู่บ้านกลอโคะ ) เป็นภาษากะเหรี่ยง หมายถึง ป่าไผ่ โรงเรียนบ้านเวฬุวัน ตั้งขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2527 โดยชาวบ้านบ้านกลอโคะ ช่วยกันสร้างอาคารเรียนและบ้านพักครูแบบชั่วคราว มีครูทำการเรียนการสอนเพียงคนเดียว คือ นางสาวเอมอร นวลขจี ทำการสอนตามแผนชาวเขา จากนั้นวันที่ 3 ตุลาคม 2559 ทางราชการได้บรรจุแต่งตั้ง นายรณฤทธิ์ รุกขชาติ มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเวฬุวัน จนถึงปัจจุบันจำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ ทั้งหมด. 45 คน โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านดาวเทียม (ไกลกังวล) แต่ไม่สามารถนำมาใช้จัดการเรียนการสอนได้ เนื่องจากโรงเรียนมีกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ เพราะโซล่าเซลล์ของโรงเรียนเสื่อมสภาพ ไม่สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าได้

5.โรงเรียนบ้านทิยาเพอ 

ตั้งอยู่เลขที่ 400 หมู่ที่ 8 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 46 คน แยกเป็นนักเรียนชาย ด้านการศึกษาของโรงเรียนบ้านทิยาเพอและสาขาบ้านห้วยไชยยงค์ อดีตประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านไม่รู้หนังสือ และให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาน้อย นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนน้อยที่จะเรียนต่อ ส่วนใหญ่จะช่วยพ่อแม่ทำงานอยู่ที่บ้านหรือไปทำงานรับจ้างต่างจังหวัด แต่ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น โดยส่งบุตรหลานของงตนเองไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น

6.โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านทิชะ  

ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยความร่วมมือของชาวบ้าน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านทิชะ มีบุคลากร 2 คน เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 24 คน โรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นที่สูง และลาดชัน ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนใช้สัญจรโดยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ได้ ไม่มีรถโดยสารประจำทาง ปัจจุบันใช้พลังงานโซล่าเซลล์แต่หลายครั้งเครื่องเสียต้องรอการช่อมหลายเดือนทำให้ระหว่างการเรียนการสอนไม่มีไฟฟ้าใช้



ติดโซล่าเซลล์ 6 โรงเรียนใน จ.แม่ฮ่องสอน

6 March 2019

ปัจจุบันทั้ง 6 โรงเรียนที่อยู่ในตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ดำเนินการติดตั้งชุดผลิตไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งสิ้น 16 จุด โดยจุดที่ติดตั้งนั้นจะมีทั้งส่วนที่เป็นหอพักเด็กนักเรียนชายและเด็กนักเรียนหญิง ห้องครัว โรงอาหาร ห้องเรียน ห้องน้ำ และจุดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ทำกิจวัตรประจำวันของเด็กๆ รวมแล้วมีเด็กจำนวนกว่า 300 คน ที่ได้มีไฟฟ้าใช้ในการเรียนหนังสือ และมีไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจำวัน

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการติดโล่าเซลล์ ทั้ง 6 โรงเรียน

  1. โรงเรียนบ้านทีฮือลือ
  2. โรงเรียนบ้านทิยาเพอ และโรงเรียนบ้านทิยาเพอ สาขาบ้านห้วยไชยยงค์
  3. โรงเรียนบ้านปู่แก้ว
  4. โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านทิชะ
  5. โรงเรียนบ้านเวฬุวัน
  6. โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล สาขาบ้านขุนแม่คะตวน

ภาพประกอบ

โรงเรียนบ้านทีฮือลือ

มีไฟใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในตอนกลางคืน 

โรงเรียนบ้านทิยาเพอ

โรงเรียนบ้านปู่แก้ว

โรงเรียนบ้านห้วยกองมูล

Budget plan


รายการบาท
1.โซล่าเซลล์ชุดละ 4,000 บาท x  8 ชุด32,000