เงินบริจาคของคุณจะร่วมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาให้กับนักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาส8ทุน
ให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาตามที่ฝันได้ เพื่อเขาจะเติบโตบนเส้นทางการประกอบสัมมาอาชีพ พร้อมตอบแทนสังคมด้วยการเป็นต้นแบบที่ดีให้คนรุ่นต่อไป
"ครูแบงค์" อภิชัย ไชยวินิจ เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2010 ณ โรงเรียนในกลุ่มศึกษาสงเคราะห์ พบปัญหา 2 ประการที่สำคัญ
หนึ่ง : นักเรียนไม่กล้าฝัน ว่าอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่กล้าฝันว่าถึงการเรียนสูง เพราะเป็นคนต้นทุนต่ำ ได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ
สอง : นักเรียนขาดทุนการศึกษา แม้นบางคนอยากเรียนถึงปริญญาตรี แต่พวกเขาขาดทุนทรัพย์ มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขาซึ่งทำงานรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรอยู่บนดอยจะส่งเสียให้พวกเขาได้เรียนจนจบ
ตั้งแต่ปี 2014 มูลนิธิฯ ได้สนับสนุนนักเรียนทุนกว่า 47 คนให้มีโอกาสเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ (อาทิ ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ฯลฯ) ในจำนวนนี้มีนักเรียนทุน 16 คนที่จำการศึกษาและออกไปทำงานตามที่ตนฝัน (อาทิ ครู พยาบาล นักวิชาการการเกษตร) ในชุมชนของตน
ทุนการศึกษากับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้
คุณสมบัติของผู้สมัคร
ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนชาวเขา โดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้ • ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน • ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน
สนับสนุนทุนการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี กับนักเรียนโดยแบ่งออกเป็นทุน 2 ประเภท ดังนี้ • ทุนนักเรียนเรียนดี ไม่จำกัดจำนวนทุนต่อโรงเรียน • ทุนนักเรียนประพฤติดี จำนวน 1 ทุนต่อโรงเรียน
จัดค่ายสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ (3 วัน 2 คืน) นำทีมโดยครูอาสาจากสถาบันหรือบริษัทต่างๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะการนำเสนองาน (Presentation Skills)
จัดค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขา (3 วัน 2 คืน) เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อความฝัน แรงบันดาลใจ และแนวทางในการศึกษาต่อ
ติดตามผลการเรียน เมื่อนักเรียนผ่านการคัดเลือกและได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในระดับอุดมศึกษาแล้ว ในทุกๆภาคเรียน นักเรียนจะต้องรายงานผลการเรียนต่อมูลนิธิฯโดยส่งเอกสาร ดังนี้ 3.1 ผลการเรียน โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ในทุกภาคการศึกษา 3.2 ใบรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อเจ้าหน้าที่ประสานงานมูลนิธิฯตรวจสอบแล้ว จะดำเนินการชำระค่าเทอมในภาคการศึกษาถัดไป
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี จำนวน 8 ทุน ทุนละ 109,560 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาของนักเรียนแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคณะที่นักเรียนเลือกเรียน เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ มีค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยเฉลี่ยเทอมละ 12,000 บาท คณะครุศาสตร์ มีค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยเฉลี่ยเทอมละ 7,400 บาท เป็นต้น *** มูลนิธิฯ ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาให้นักเรียนในแต่ละเทอมเฉลี่ย 9,130 บาท ทั้งสิ้น 12 เทอม (รวมภาคฤดูร้อน) รวม 109,560 บาท โดยทางมูลนิธิฯ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่ให้เกินจากงบประมาณที่วางแผนไว้ ---- มูลนิธิฯ ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยตรงกับทางมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2566 ไปจนถึงภาคเรียนที่ 3 ของปีการศึกษา 2569 | 8คน | 876,480.00 |
ค่ายสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ (3 วัน 2 คืน) ค่าใช้จ่ายตลอด 4 ปี จำนวน 8 คน คนละ 5,220 บาท (คนละ 1,305 บาท/ปี) ---- มูลนิธิฯ จัดค่ายสัมมนานักเรียนทุกๆปี เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ นำทีมโดยครูอาสาจากสถาบันหรือบริษัทต่างๆ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะการนำเสนองาน (Presentation Skills) ---- ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในค่ายฯ ได้แก่ (1) ค่าที่พักนักเรียนและห้องประชุมสำหรับทำกิจกรรม (2) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (3) ค่าอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะ (4) ค่าอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมสันทนาการ (5) ค่าเดินทาง | 8คน | 41,760.00 |
ค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขา (3 วัน 2 คืน) ค่าใช้จ่ายตลอด 4 ปี จำนวน 8 คน คนละ 5,220 บาท (คนละ 1,305 บาท/ปี) ---- มูลนิธิฯ จัดค่ายแนะแนวการศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชาวเขาเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักเรียนในมูลนิธิฯ ได้ส่งต่อความฝัน แรงบันดาลใจ และแนวทางในการศึกษาต่อ ---- ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในค่าย ได้แก่ (1) ค่าที่พักนักเรียน (2) ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (3) ค่าเดินทาง | 8คน | 41,760.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 960,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 96,000.00 |
ครูแบงค์เริ่มเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยเป็นครูอาสาสอนเด็กชาวเขาเมื่อปี 2553 ณ โรงเรียนในกลุ่ม ศส. กลุ่มปัญหา 3 ประการที่ครูแบงค์พบระหว่างที่ตนเป็นครูอาสากว่าหนึ่งทศวรรษมีดังนี้ (1) นักเรียนไม่กล้าฝัน ส่วนใหญ่ไม่เคยคิดวาดฝันว่าตนอยากเป็นอะไรในอนาคต ไม่คิดว่าตนเองจะเรียนอะไรได้สูงนัก คิดว่าตนเองนั้นต้นทุนต่ำคงสู้นักเรียนในเมืองไม่ได้ การได้มีโอกาสเรียนถึง ม. 6 ที่โรงเรียนกินนอนแห่งนี้ก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว เพราะยังมีเด็กชาวเขาอีกหลายคนที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเหมือนพวกเขาเลยด้วยซ้ำ (2) นักเรียนขาดทุนการศึกษา หลายคนมีข้อกังขาว่า แม้นเขากล้าฝัน ขยันเรียนไป และเอนท์ติด พวกเขาก็อาจจะไม่มีโอกาสเรียนได้อยู่ดีเพราะขาดทุนทรัพย์ ปัจจุบันรัฐไม่ได้ส่งเสริมให้ทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ปกครองของนักเรียนชาวเขาซึ่งทำงานรับจ้างหรือเป็นเกษตรกรอยู่บนดอยจะส่งเสียให้พวกเขาได้เรียนจนจบ (3) ผู้นำโรงเรียนและครูขาดการส่งเสริมและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ งานวิจัยบ่งชี้ว่า งบประมาณในการพัฒนาผู้นำและบุคลากรจาก ศธ. มีไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรพัฒนาบุคลากรของ ศธ. ที่มีนั้นมีคุณภาพไม่พอต่อความต้องการของนักเรียนชาวเขาและบริบทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ พันธกิจของมูลนิธิฯ: ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนา (1) นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสให้เป็นบุคคลต้นแบบแก่เด็กนักเรียนด้อยโอกาส (2) ครู ผู้นำโรงเรียน และบุคลากรการศึกษาที่ทำงานให้นักเรียนชาวเขาและนักเรียนด้อยโอกาสในเขตภาคเหนือ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ: (1) ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้แก่นักเรียนด้อยโอกาสที่อาศัยในเขตพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและเด็กด้อยโอกาสทั่วไป ผ่านการให้ทุนการศึกษาและออกค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต (2) สนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการศึกต่อแก่นักเรียนด้อยโอกาส (3) พัฒนาการเรียนการสอนในและนอกโรงเรียนสำหรับเด็กด้อยโอกาสให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (4) พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กด้อยโอกาสให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชาวเขาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 59, 60, 61, 62 และโรงเรียน ศส. จิตอารีฯ
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้