project เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ร่วมสนับสนุนพ่อแม่ให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูกที่ป่วยขั้นวิกฤตขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดปัญหาการแอบหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วยเด็กให้ดีขึ้น

ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) , โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลศิริราช

ยอดบริจาคขณะนี้

2,499,035 บาท

เป้าหมาย

3,927,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 64%
256 วัน จำนวนผู้บริจาค 3,619

ความคืบหน้าโครงการ

ความช่วยเหลือบ้านพักพิงครอบครัวผู้ป่วยเด็ก ตั้งแต่ปี 2564-2566

29 มกราคม 2024

มูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ผ่านโครงการบ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็กมีพื้นที่บริการทั้งหมด 4 แห่ง ดังนี้

  1. บ้านพักพิงฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
  4. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลศิริราช

ให้บริการที่พักชั่วคราวให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต และโรคเรื้อรัง ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานในยามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยสูงสุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง

จากการระดมทุนโครงการบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก มูลนิธิฯ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้มากกว่า 5,300 คน ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานระหว่างที่รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2564 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,000 คน
  • ปี พ.ศ. 2565 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,300 คน
  • ปี พ.ศ. 2566 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 3,000 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก ระยะเวลาในการป่วยมากกว่า 1 ปี อาการเริ่มแรกของน้องมีอาการเจ็บที่หัวเข่าด้านขวาเดินไม่ถนัดแต่ฝ่าเท้ายังเหยียบพื้นได้อยู่ จึงได้พาน้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตราดคุณหมอให้น้อง Admit และพาน้องไปสแกนกระดูก แต่คุณหมอยังไม่แน่ใจจึงได้ส่งตัวน้องมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การเดินทางลำบากเพราะน้องไม่สามารถเดินเองได้กลัวกระดูกแตกได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ชั้น 12 ตึก(สก.) หลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง มีรอยยิ้มมีเพื่อนใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจดูแลลูก
และสุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิง ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ หากมีอะไรที่คนเป็นแม่จะขอพรได้ ก็ขอให้ลูกหายจากอาการป่วย และกลับไปใช้ชีวิตในวัยเด็ก เหมือนเด็กๆ ในวัยเดียวกัน และเจริญเติบโตไปตามวัยอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัยใดๆ ตลอดไป "
แม่อัจฉราพร ภู่ระย้า อายุ 38 ปี อาชีพทำสวน มาจากจังหวัดตราด และน้องต้นข้าว อายุ 13 ปี

 " น้องป่วยด้วยโรคมาแฟนชิโดม ป่วยมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ตอนคลอดน้องออกมาได้ 2 วัน อาของน้องได้สังเกตเห็นตาดำของน้องทั้ง2 ข้างเป็นสีฟ้าจึงตามหมอมาดูอาการ ในตอนนั้นหมอก็ยังให้คำตอบไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงส่งตัวน้องมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช จึงได้ทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 2 อาทิตย์ ได้รู้ผลว่าน้องเป็นโรคมาแฟนชิโดมค่ะ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะมาทำอะไรตรงไหนก่อน และต้องนำตัวน้องไปรักษาที่ตึกไหนและต้องไปติดต่อยังไง น้องจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงรึเปล่าและจะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าการที่เรามีบัตรส่งตัวมาแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายยังไง ไม่รู้ว่าจะพักที่ไหน และทางพยาบาลก็ได้แนะนำให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเข้ามาพักแล้วดิฉันรู้สึกมีความสุขและสบายใจมาก ทั้งเรื่องที่พักอาศัยและอาหารการกินและรู้สึกอบอุ่น เจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ คอยให้กำลังใจ เวลาที่รู้สึกไม่ดี รู้สึกดีใจมากที่ได้อยู่ใกล้ลูกในขณะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องขอพูดว่าทั้งคุณหมอคุณพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เป็นคนพิเศษของแม่ทุกๆ ท่านเลยคะ ถ้าดิฉันขอพรได้จะขอให้ลูกไม่ป่วย และขอให้น้องแข็งแรงและออกมาอยู่กับพ่อแม่นานๆ ตลอดไปค่ะ ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านเลยนะคะ "
แม่อัมพิกา แย้มศิลป์ อายุ 33 ปี อาชีพค้าขาย มาจากจังหวัดราชบุรี เป็นแม่ของน้องซี

 " น้องเป็นผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง อาการเริ่มต้นอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง จึงได้สังเกตุอาการและตัดสินใจปรึกษาหมอให้ทำการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากได้ทำการ CT Scan แพทย์วินิจฉัยว่าน้องได้เป็นเนื้องอกในสมอง ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวน้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำให้คุณแม่เดินทางไม่สะดวกต้องใช้เวลามาก อีกทั้งต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องฉายแสง 30 ครั้ง ไม่สะดวกต่อการเดินทางไป-กลับ
เมื่อเริ่มรับการรักษาคุณหมอได้หาที่พักให้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้ว่าครอบครัวของเราจะพักที่ไหน ทางคุณหมอส่งเข้าพัก ที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง และสามารถพูดระบายความรู้สึกและแชร์การรักษาตัวของน้องเบื้องต้น และเมื่อเกิดปัญหาหรือความกังวลใจก็จะได้กำลังใจจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองที่มีให้ซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
แม่ศิริพร บุตรดี อายุ 36 ปี อาชีพค้าขาย จากจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่ของน้องมิกซ์ 

 " ลูกชายของแม่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว น้องถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในตัวจังหวัด มารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นการรักษาซ้ำ ครั้งที่ 2 ของน้องที่รักษาตัว ทางโรงพยาบาลส่งต่อน้องมารักษาตัวที่นี่เพราะอย่างน้อยน้องยังมีโอกาสรักษาต่อและมีโอกาสจะหายจากโรคที่เป็นอยู่ ช่วงที่มาถึงความรู้สึกแรกทุกอย่างมันวุ่นมาก ไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการอะไรก่อนยังไงบ้าง แต่ด้วยความใจดีของบุคลากรในโรงพยาบาลทุกอย่างจึงเรียบร้อยด้วยดี และที่สำคัญได้รับการแนะนำที่พัก บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราชให้ด้วย
เรารู้สึกว่านาทีที่เรามีทุกข์ มีคนยื่นมือช่วยทำให้เรามีความหวัง ได้มีความสุขในเวลาที่ทุกข์ที่สุด บ้านพักแห่งนี้ให้ความอบอุ่น ให้กำลังใจ เป็นที่พึ่งให้คนทุกข์ยากจริงๆ ดิฉันขอให้ทุกข์ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสุข ความเจริญ สิ่งดีๆ ที่ท่านทำให้พวกเรา ขอให้กลับไปหาพวกท่านตลอดไป "
แม่สุภาพร ฤทธิ์มนตรี อายุ 43 ปี อาชีพเกษตรกร มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแม่ของน้องเจษ 

 " น้องป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเล่าย้อนให้ฟังว่า หลังจากผ่าคลอดน้องเรียบร้อยคุณหมอ พบว่ามีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำการตรวจอย่างละเอียดและพบว่าน้องมีลิ้นหัวใจรั่ว และได้ทำการรักษาน้องตั้งแต่แรกคลอด โดยในปัจจุบันน้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะน้องได้ทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ตอนนั้น และมีการอัปเดตการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบต่างๆ พอน้องโตขึ้น น้องเคยเกิดภาวะช็อค จึงทำให้ผมต้องเฝ้าระวังน้องเป็นพิเศษ และในตอนนั้นผมก็ลำบากในการที่จะต้องรักษาน้องเพราะต้องเดินทางจากชุมพร เพื่อพาน้องมารักษาโดยที่ผมขับรถส่วนตัวในระยะทางร่วมกว่า 500 กิโลเมตร และยังต้องขับรถเดินทางเพียงคนเดียว ทำให้เหนื่อยและร่างกายอ่อนเพลีย อีกทั้งต้องเฝ้าน้องเป็นระยะเวลานาน
คุณหมอและพยาบาลได้แนะนำให้เข้าพักบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพราะจะได้ดูแลน้องอย่างใกล้ชิด พอได้เข้ามาอยู่บ้านพักพิงจุฬาฯ ทำให้ผมนอนเต็มอิ่มมากขึ้น และมีแรงที่จะดูแลน้องได้ในทุกวัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินยังสามารถลงไปหาน้องได้ทันท่วงที และยังได้กำลังจากครอบครัวผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และกำลังใจจากเจ้าหน้าที่จากบ้านพักพิงด้วย
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
พ่อสุริยา แก้วประสบ อายุ 35 ปี เป็นพ่อของน้องสาคร 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ร่วมสนับสนุนพ่อแม่ 500 ครอบครัว ให้ได้อยู่ใกล้ชิดลูกที่ป่วยขั้นวิกฤตขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดปัญหาการแอบหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะ พัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้ป่วยเด็กให้ดีขึ้น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่า ไวรัส ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ยังคงดำเนินอยู่ คนไทยต้องใช้ชีวิตตามแบบฉบับวิถีใหม่ เว้นระยะห่างทางสังคม งดเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ดี การเดินทางมารักษาอาการป่วยของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง จากสถิติผู้เข้าพักตลอดปีพ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 มีเข้ามาพักที่บ้านพักพิง มีครอบครัวผู้ป่วยเด็กมาเข้าพัก 4,468 คน โดยเป็นผู้ปกครองเด็กที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด 4,113 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 92 จากผู้เข้าพักทั้งหมด (ค่าเฉลี่ย 1 คนพัก 7 คืน) แสดงให้เห็นว่าแม้ในสถานการณ์โควิด ก็ยังคงมีครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่มาจากต่างจังหวัดเพื่อพาบุตรหลานมารักษาอยู่เป็นจำนวนมาก และยังประสบปัญหาในการหาที่พักในกรุงเทพฯ

บ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก เปิดให้บริการที่พักชั่วคราวโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แก่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง ในพื้นที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งบ้านพักพิงฯ บริหารงานโดยมูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ได้รับการสนับสนุนจากการบริจาคขององค์กรต่าง ๆ และผู้มีจิตเมตตาในการช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัวให้ได้อยู่ใกล้ชิดกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เกณฑ์การคัดเลือกครอบครัวผู้ป่วยที่จะเข้าพักบ้านพักพิงฯ นั้น จะพิจารณาให้ครอบครัวผู้ยากไร้ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและไม่มีที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ แต่ทั้งนี้ หากเป็นครอบครัวของผู้ป่วยเด็กที่กำลังอยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ก็จะได้รับพิจารณาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือกลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรัง โดยแพทย์เจ้าของไข้และพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเข้าพัก และประสานงานกับเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เพื่อให้บริการครอบครัวผู้ป่วยเด็กในลำดับถัดไป

ครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านพักพิงฯ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตลอดการเข้าพัก ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินและค่าเดินทาง สามารถอยู่ใกล้ชิดกับลูกได้ในช่วงเวลาสำคัญ และยังช่วยให้กระบวนการรักษาครบวงจร แพทย์เจ้าของไข้ผู้ป่วยเด็กสามารถทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง ลดความกังวลทั้งผู้ป่วยเด็กและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการที่ครอบครัวผู้ป่วยเด็กต้องหาที่นอนในพื้นที่สาธารณะ (ริมทางเดินหรือเก้าอี้) ในโรงพยาบาล

การดำเนินงานบริการบ้านพักพิง

  1. บ้านพักพิงฯ จัดเตรียมสถานที่พักให้มีความพร้อม เพื่อรองรับครอบครัวผู้ป่วยเด็ก
  2. ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต (อายุไม่เกิน 18 ปี) มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
  3. แพทย์เจ้าของไข้ หรือ พยาบาล พิจารณาอนุมัติการเข้าพักตามคุณสมบัติของผู้เข้าพักที่ได้กำหนดไว้ และทำใบส่งตัวเพื่อลงทะเบียนเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ
  4. ผู้เข้าพักนำใบส่งตัวไปลงทะเบียนเพื่อเช็คอินเข้าพัก ณ เคาน์เตอร์ลงทะเบียนบ้านพักพิงฯ
  5. ผู้จัดการบ้านพักพิงฯ ทำการปฐมนิเทศผู้เข้าพัก พร้อมทั้งแจ้งกฎระเบียบการเข้าพักให้ผู้เข้าพักทราบ
  6. ผู้จัดการพาชมบ้านและแนะนำวิธีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน และพาผู้เข้าพักไปส่งที่ห้องพัก
  7. ผู้เข้าพักปฏิบัติตามระเบียบในการเข้าพักอย่างเคร่งครัด
  8. เมื่อบุตรหลานได้รับการรักษาและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ผู้เข้าพักลงทะเบียนแจ้งออกจากบ้านพักพิงฯ

ภาคี

  1. ศูนย์ประสานงาน โรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. กลุ่มงานพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  4. ฝ่ายกุมารบริรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช

เจ้าของโครงการ

มูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ 


Facebook : https://www.facebook.com/rmhcthailand

ความช่วยเหลือบ้านพักพิงครอบครัวผู้ป่วยเด็ก ตั้งแต่ปี 2564-2566

29 มกราคม 2024

มูลนิธิโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเดินหน้าสานต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ผ่านโครงการบ้านพักพิงโรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็กมีพื้นที่บริการทั้งหมด 4 แห่ง ดังนี้

  1. บ้านพักพิงฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
  2. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  3. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
  4. บ้านพักพิงฯ โรงพยาบาลศิริราช

ให้บริการที่พักชั่วคราวให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กขั้นวิกฤต และโรคเรื้อรัง ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานในยามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร มีมาตรการคัดกรองและปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยสูงสุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง

จากการระดมทุนโครงการบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก มูลนิธิฯ ได้ให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้มากกว่า 5,300 คน ให้ได้อยู่ใกล้ชิดบุตรหลานระหว่างที่รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2564 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,000 คน
  • ปี พ.ศ. 2565 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 1,300 คน
  • ปี พ.ศ. 2566 ให้บริการผู้เข้าพักกว่า 3,000 คน
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " น้องป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก ระยะเวลาในการป่วยมากกว่า 1 ปี อาการเริ่มแรกของน้องมีอาการเจ็บที่หัวเข่าด้านขวาเดินไม่ถนัดแต่ฝ่าเท้ายังเหยียบพื้นได้อยู่ จึงได้พาน้องไปตรวจที่โรงพยาบาลตราดคุณหมอให้น้อง Admit และพาน้องไปสแกนกระดูก แต่คุณหมอยังไม่แน่ใจจึงได้ส่งตัวน้องมารักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การเดินทางลำบากเพราะน้องไม่สามารถเดินเองได้กลัวกระดูกแตกได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ ให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ชั้น 12 ตึก(สก.) หลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง มีรอยยิ้มมีเพื่อนใหม่ๆ ทำให้มีกำลังใจดูแลลูก
และสุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิง ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ หากมีอะไรที่คนเป็นแม่จะขอพรได้ ก็ขอให้ลูกหายจากอาการป่วย และกลับไปใช้ชีวิตในวัยเด็ก เหมือนเด็กๆ ในวัยเดียวกัน และเจริญเติบโตไปตามวัยอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัยใดๆ ตลอดไป "
แม่อัจฉราพร ภู่ระย้า อายุ 38 ปี อาชีพทำสวน มาจากจังหวัดตราด และน้องต้นข้าว อายุ 13 ปี

 " น้องป่วยด้วยโรคมาแฟนชิโดม ป่วยมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ตอนคลอดน้องออกมาได้ 2 วัน อาของน้องได้สังเกตเห็นตาดำของน้องทั้ง2 ข้างเป็นสีฟ้าจึงตามหมอมาดูอาการ ในตอนนั้นหมอก็ยังให้คำตอบไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงส่งตัวน้องมารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช จึงได้ทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 2 อาทิตย์ ได้รู้ผลว่าน้องเป็นโรคมาแฟนชิโดมค่ะ ตอนแรกก็มีความกังวลว่าจะมาทำอะไรตรงไหนก่อน และต้องนำตัวน้องไปรักษาที่ตึกไหนและต้องไปติดต่อยังไง น้องจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรงรึเปล่าและจะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าการที่เรามีบัตรส่งตัวมาแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายยังไง ไม่รู้ว่าจะพักที่ไหน และทางพยาบาลก็ได้แนะนำให้มาเข้าพักที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อเข้ามาพักแล้วดิฉันรู้สึกมีความสุขและสบายใจมาก ทั้งเรื่องที่พักอาศัยและอาหารการกินและรู้สึกอบอุ่น เจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ คอยให้กำลังใจ เวลาที่รู้สึกไม่ดี รู้สึกดีใจมากที่ได้อยู่ใกล้ลูกในขณะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องขอพูดว่าทั้งคุณหมอคุณพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ เป็นคนพิเศษของแม่ทุกๆ ท่านเลยคะ ถ้าดิฉันขอพรได้จะขอให้ลูกไม่ป่วย และขอให้น้องแข็งแรงและออกมาอยู่กับพ่อแม่นานๆ ตลอดไปค่ะ ขอขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านเลยนะคะ "
แม่อัมพิกา แย้มศิลป์ อายุ 33 ปี อาชีพค้าขาย มาจากจังหวัดราชบุรี เป็นแม่ของน้องซี

 " น้องเป็นผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง อาการเริ่มต้นอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง จึงได้สังเกตุอาการและตัดสินใจปรึกษาหมอให้ทำการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังจากได้ทำการ CT Scan แพทย์วินิจฉัยว่าน้องได้เป็นเนื้องอกในสมอง ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวน้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำให้คุณแม่เดินทางไม่สะดวกต้องใช้เวลามาก อีกทั้งต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องฉายแสง 30 ครั้ง ไม่สะดวกต่อการเดินทางไป-กลับ
เมื่อเริ่มรับการรักษาคุณหมอได้หาที่พักให้ รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้ว่าครอบครัวของเราจะพักที่ไหน ทางคุณหมอส่งเข้าพัก ที่บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหลังจากที่ได้เข้ามาพักในบ้านพักพิงฯ รู้สึกอบอุ่นสบายใจ อยู่แบบครอบครัวแบบพี่น้อง และสามารถพูดระบายความรู้สึกและแชร์การรักษาตัวของน้องเบื้องต้น และเมื่อเกิดปัญหาหรือความกังวลใจก็จะได้กำลังใจจากผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่บ้านพักพิงฯ ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองที่มีให้ซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
แม่ศิริพร บุตรดี อายุ 36 ปี อาชีพค้าขาย จากจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่ของน้องมิกซ์ 

 " ลูกชายของแม่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว น้องถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในตัวจังหวัด มารักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นการรักษาซ้ำ ครั้งที่ 2 ของน้องที่รักษาตัว ทางโรงพยาบาลส่งต่อน้องมารักษาตัวที่นี่เพราะอย่างน้อยน้องยังมีโอกาสรักษาต่อและมีโอกาสจะหายจากโรคที่เป็นอยู่ ช่วงที่มาถึงความรู้สึกแรกทุกอย่างมันวุ่นมาก ไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการอะไรก่อนยังไงบ้าง แต่ด้วยความใจดีของบุคลากรในโรงพยาบาลทุกอย่างจึงเรียบร้อยด้วยดี และที่สำคัญได้รับการแนะนำที่พัก บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลศิริราชให้ด้วย
เรารู้สึกว่านาทีที่เรามีทุกข์ มีคนยื่นมือช่วยทำให้เรามีความหวัง ได้มีความสุขในเวลาที่ทุกข์ที่สุด บ้านพักแห่งนี้ให้ความอบอุ่น ให้กำลังใจ เป็นที่พึ่งให้คนทุกข์ยากจริงๆ ดิฉันขอให้ทุกข์ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความสุข ความเจริญ สิ่งดีๆ ที่ท่านทำให้พวกเรา ขอให้กลับไปหาพวกท่านตลอดไป "
แม่สุภาพร ฤทธิ์มนตรี อายุ 43 ปี อาชีพเกษตรกร มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแม่ของน้องเจษ 

 " น้องป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเล่าย้อนให้ฟังว่า หลังจากผ่าคลอดน้องเรียบร้อยคุณหมอ พบว่ามีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำการตรวจอย่างละเอียดและพบว่าน้องมีลิ้นหัวใจรั่ว และได้ทำการรักษาน้องตั้งแต่แรกคลอด โดยในปัจจุบันน้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะน้องได้ทำการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ตอนนั้น และมีการอัปเดตการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบต่างๆ พอน้องโตขึ้น น้องเคยเกิดภาวะช็อค จึงทำให้ผมต้องเฝ้าระวังน้องเป็นพิเศษ และในตอนนั้นผมก็ลำบากในการที่จะต้องรักษาน้องเพราะต้องเดินทางจากชุมพร เพื่อพาน้องมารักษาโดยที่ผมขับรถส่วนตัวในระยะทางร่วมกว่า 500 กิโลเมตร และยังต้องขับรถเดินทางเพียงคนเดียว ทำให้เหนื่อยและร่างกายอ่อนเพลีย อีกทั้งต้องเฝ้าน้องเป็นระยะเวลานาน
คุณหมอและพยาบาลได้แนะนำให้เข้าพักบ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพราะจะได้ดูแลน้องอย่างใกล้ชิด พอได้เข้ามาอยู่บ้านพักพิงจุฬาฯ ทำให้ผมนอนเต็มอิ่มมากขึ้น และมีแรงที่จะดูแลน้องได้ในทุกวัน และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินยังสามารถลงไปหาน้องได้ทันท่วงที และยังได้กำลังจากครอบครัวผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และกำลังใจจากเจ้าหน้าที่จากบ้านพักพิงด้วย
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณหมอ คุณพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของบ้านพักพิงฯ ทุกท่าน ที่ได้ดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาฯ แห่งนี้ ได้เป็นอย่างดี "
พ่อสุริยา แก้วประสบ อายุ 35 ปี เป็นพ่อของน้องสาคร 

รูปภาพการดำเนินกิจกรรม





แผนการใช้เงิน

รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)

ช่วยเหลือ

  • ค่าเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของบ้าน รวมถึงประสานงานกับโรงพยาบาลตลอด 24ชม. ทุกวันไม่เว้นวันหยุด
  • ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าพัก
  • ค่าเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด
  • ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้าของครอบครัวผู้ป่วยเด็กบ้านพักพิงทั้ง 4 แห่ง ตลอดระยะเวลา 1 ปี(2566)


    ค่าใช้จ่ายคืนละ 300 บาท (ช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยเด็กได้ 1,700 คน พักเฉลี่ยคนละ 7 คืน) 2,100 บาท








    3,570,000.00

    รวมเป็นเงินทั้งหมด
    3,570,000.00
    ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
    357,000.00

    ยอดระดมทุน
    3,927,000.00

    บริจาคให้
    บ้านพักพิงฯ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก

    เลือกการบริจาค

    จำนวนเงิน
    ช่องทางการชำระเงิน

    ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

    คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

    ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

    การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
    ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
    ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

    สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


    ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

    ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน