cover_1

ใครๆ ก็เรียนได้ เพื่อช่วยเหลือน้องกลุ่มเปราะบาง ปี 4

ธิดารัตน์ สุขะนินทร์ธิดารัตน์ สุขะนินทร์
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะสนับสนุนกิจกรรมศิลปะบำบัดให้กับเด็กในชุมชนแออัด80คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

1 ก.พ. 2567 - 31 พ.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ชุมชนแฟลตรถไฟ, ชุมชนจรัสเมือง จ.กรุงเทพมหานคร

เป้าหมาย SDGs

QUALITY EDUCATIONREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
80คน

เพราะเราอยากให้ “เด็กในชุมชนแออัด” กับ “เด็กเร่ร่อน” ที่เข้าร่วมโครงการ เรียนหนังสือจนจบไม่ไปข้องแวะกับการเป็นยุวอาชญากร (ลักเล็กขโมยน้อย) งานขายบริการ หรือ ใช้สารเสพย์ติด

เราเชื่อว่ากิจกรรมเสริมพลังบวกจะทำให้น้องๆ ได้พัฒนาตัวเองไปสู่เป้าหมายที่ฝันไว้ กิจกรรมครั้งนี้เราตั้งใจชวนเยาวชน 80 คนมาร่วมโครงการกับเรา

ปัญหาสังคม

ปัญหาหลักในชุมชน ที่เราพบนั่นก็คือ น้องๆกลุ่มเด็กเล็ก ทักษะการเรียนรู้ที่ถดถอยไปในช่วง 3 ปีที่มีโควิด มีปัญหาเรื่องการ อ่านออก เขียนได้ นับเลขไม่คล่อง และสภาพสุขอนามัยพื้นฐานต่ำกว่ามาตรฐาน ขณะที่ในกลุ่มวัยรุ่น มักเจอปัญหายาเสพติด  ลักขโมย เดินยา หรือ ขายบริการ  ซีงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและแรงจูงใจในการอยากเรียนหนังสือให้จบของน้องๆในปัจจุบัน

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ลงพื้นที่ชุมชน ตกแต่งชุมชนให้น่าอยู่ ทาสีกำแพง อ่านหนังสือ จัดกิจกรรมให้น้องๆชุมชนวัย 6-18 ปี จำนวน 80 คน ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา สันทนาการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ถดถอยไปในช่วง 3 ปีที่มีโควิด สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชิวิตโดยรวมให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้องๆกลับไปยุ่งเกี่ยวกับ ยาเสพย์ติด ในกลุ่มวัยรุ่น ลักขโมย เดินยา หรือ ขายบริการ

  2. น้องๆ ชุมชนแออัดหลายคนเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมสร้างคุณค่า เช่น ศิลปะ กีฬา หรือ สันทนาการ จะรู้สึกกระตือรือร้นในการเรียนหนังสือ อยากเรียนจบ ป.6, ปวช, ม.6 หรือ ปริญญาตรี อยากมีชีวิตที่ดีและมีงานดีๆทำแบบรุ่นพี่บ้าง เราจึงจัดกิจกรรมเสริมพลังบวกเพื่อให้น้องๆ มีสุขภาพกาย ใจที่ดีขึ้นและมีแรงจูงใจในการศึกษาต่อให้จบ และเมื่อเรียนจบ จะได้ทำงานที่ตนเองชอบและถนัด

แผนการดำเนินงาน

  1. กระบวนการเตรียมอาสาสมัครเพื่อให้การจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทางทีมงานได้ชักชวนเยาวชนจิตอาสามาร่วมจัดกิจกรรมกับน้องๆชุมชน เนื่องจากทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม น้องๆที่เข้าร่วมโครงการจะรู้สึกจูงใจมากยิ่งขึ้นที่มีพี่ๆมากันเยอะๆ ดังนั้นก่อนลงพื้นที่จริง เราจึงมีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญและเพื่อช่วยพัฒนาทักษะกับเยาวชนจิตอาสาที่มาเข้าร่วมโครงการกับเรา หัวข้อกิจกรรมพัฒนาอาสาทั้งหมด 8 ครั้ง - ความเข้าใจจิตวิทยาเด็กและเยาวชน - การสื่อสารกับเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ - การแก้ปัญหาความขัดแย้งและการเจรจาไกล่เกลี่ย - การเตรียมกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กแต่ละวัย - การใช้ศิลปะเพื่อเป็นเครื่องมือบำบัดและสร้างแรงจูงใจ -การฟังด้วยหัวใจ (deep listening) - การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็ก - ความรุนแรงกับปัญหาในวัยเด็ก

  2. จากนั้นอาสาจะช่วยกันพัฒนาการสอน โดยนำอุปกรณ์ (ศิลปะบำบัด, กีฬา, เกมและสันทนาการที่เตรียมลงพื้นที่มาพัฒนาและทดลองใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ - มีนาคม – เมษายน 2567 : รับสมัครอาสาพัฒนาเยาวชน และคัดเลือกอาสา - พฤษภาคม – กันยายน 2567 : กิจกรรมพัฒนาอาสา

  3. มิถุนายน – กันยายน 2567 : ลงพื้นที่จัดกิจกรรม 8 ครั้งต่อชุมชน ทั้งหมด 2 ชุมชน คือ ชุมชน แฟลตรถไฟ และชุมชนจรัสเมือง กิจกรรมสำหรับเด็กแบ่งเป็น 3 กิจกรรมหลัก - กิจกรรมศิลปะบำบัด :ทีมงานแพลนที่จะจัดกิจกรรมศิลปะบำบัด ให้น้องๆที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสวาดภาพ ระบายสี ทำงานประดิษฐ์ หรือ ทำของขวัญ แบบ D.I.Y เช่น การ์ด ของตกแต่ง ในสไตล์ของตัวเอง กิจกรรมศิลปะบำบัดนี้สามารถช่วยให้น้องๆมีสภาวะอารมณ์ที่ผ่อนคลายลง เมื่อจิตใจสงบลง ความรู้สึกบางอย่างที่อัดอั้นไว้จะถูกระบายออกมา ทำให้น้องๆเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น ซึ่งน้องๆจะสามารถแสดงออกความรู้สึกได้มากกว่าการบำบัดด้วยการพูดคุย - กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด เช่น การเล่นฟุตซอล เตะบอล ตีแบด ชักเย่อ วิ่ง 4x100 วิ่งผลัด วิ่งกระสอบ มอญซ่อนผ้า เก้าอี้ดนตรี ทำให้น้องรู้สึกสดชื่น ร่างกายแข็งแรง ส่งเสริมความสามัคคีและความมีน้ำใจนักกีฬา และไม่อยากเข้าไปข้องแวะกับสารเสพติดอีก - กิจกรรมเกมสันทนาการเช่น เกมส์ใบ้คำ บอร์ดเกมส์ yogi & spot it ทรายระบายสี จับฉลากปั้นดินน้ำมัน บิงโก อูโน่ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยดึงความสนใจน้องๆให้มีสมาธิกับกิจกรรมตรงหน้าน้องๆและอาสาสมัคร แต่ละคนมีโอกาสทำความรู้จักกัน สนิทกันมากขึ้น น้องจะเปิดใจรับฟังคำแนะนำเรื่องการเรียนและการใช้ชีวิตจากพี่ๆ ทั้งยังช่วยฝึกการแบ่งปันสิ่งของซึ่งกันและกัน และส่งเสริมการเข้าสังคมของน้องๆ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
จัดกิจกรรมพัฒนาอาสา

(ค่าอุปกรณ์, สถานที่, ของว่าง) ครั้งละ 2,000 x 8 ครั้ง =16000 -ค่าวิทยากรคนที่ 1 ครั้งละ 2500 x 4 ครั้ง =10000 -ค่าวิทยากรคนที่ 2 ครั้งละ 2500 x 4 ครั้ง = 10000

8ครั้ง36,000.00
ลงพื้นที่ชุมชนแฟลตรถไฟ -กิจกรรมศิลปะบำบัด

(ค่าอุปกรณ์ศิลปะและของว่าง) ครั้งละ 800 x 8 ครั้ง = 6400 -กิจกรรมกีฬา (ค่าอุปกรณ์กีฬาและของว่าง) 600 x 8 ครั้ง = 4800 -กิจกรรมเกมและสันทนาการ (ค่าอุปกรณ์เกมและของว่าง) 700 x 8 ครั้ง = 5600

8ครั้ง16,800.00
ลงพื้นที่ชุมชนจรัสเมือง -กิจกรรมศิลปะบำบัด

(ค่าอุปกรณ์ศิลปะและของว่าง) ครั้งละ 800 x 8 ครั้ง = 6400 -กิจกรรมกีฬา (ค่าอุปกรณ์กีฬาและของว่าง) 600 x 8 ครั้ง = 4800 -กิจกรรมเกมและสันทนาการ (ค่าอุปกรณ์เกมและของว่าง) 700 x 8 ครั้ง = 5600

8ครั้ง16,800.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด69,600.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)6,960.00
ยอดระดมทุน
76,560.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ธิดารัตน์ สุขะนินทร์

ธิดารัตน์ สุขะนินทร์

กรุงเทพมหานคร

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon